พ่อขุนมังราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

(เปลี่ยนทางมาจาก พ่อขุนเม็งรายมหาราช)

พญาเม็งราย ถูกเปลี่ยนทางมาที่นี่ สำหรับชื่ออำเภอ ดูที่ อำเภอพญาเม็งราย

พระราชานุสาวรีย์ พ่อขุนมังราย ที่ห้าแยกพ่อขุน จังหวัดเชียงราย

พญามังราย เป็นปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา โดยทรงย้ายเมืองหลวงจากเมืองเชียงแสน มาสู่เมืองเชียงราย และในที่สุดก็ทรงตั้งเมืองเวียงพิงค์ หรือเชียงใหม่เป็นราชธานี

เนื้อหา

[แก้] พระราชประวัติ

พญามังรายเป็นพระราชโอรสในพระเจ้าลาวเม็งแห่งราชวงศ์ลวจังกราชผู้ครองหิรัญนครเงินยาง (อ.เชียงแสนปัจจุบัน) กับพระนางอั้วมิ่งจอมเมือง พระราชธิดาของท้าวรุ่งแก่นชายเจ้าเมืองเชียงรุ่ง ท้าวรุ่งแก่นชายทรงตั้งพระนามพระธิดาใหม่ว่าพระนางเทพคำข่ายหรือเทพคำขยายเพื่อเป็นมงคลนาม พญามังรายเป็นเชื้อสาย ของพระเจ้าลวจังกราชปกครองชนเผ่าไทยยวน ซึ่งมีอาณาจักร ของตนเรียกอาณาจักรหิรัญนครเงินยาง ได้สร้างเมืองหิรัญนครเงินยางเป็นเมืองหลวงขึ้นทีริมฝั่งแม่น้ำโขงเมื่อประมาณ พ.ศ. 1182 พญามังรายประสูติวันอาทิตย์ แรม 9 ค่ำ เดือน 3 ปีจอ สัมฤทธิ์ศกจุลศักราช 600 (พ.ศ. 1781) เวลาย่ำรุ่ง พญามังรายมีโอรส 3 องค์ ได้แก่ เจ้าขุนเครื่อง เจ้าขุนคราม (ไชยสงคราม) และเจ้าขุนเครือ พญามังรายเสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ. 1860 รวมพระชนมายุ 79 ชันษา

[แก้] การศึกษา

เจ้าชายมังราย (พญามังราย) ทรงรับการศึกษาที่สำนักอิสิฤๅษีร่วมกันกับเจ้าชายงำเมือง (พ่อขุนงำเมือง) และเจ้าชายราม (พ่อขุนรามคำแหง) แล้วได้รำเรียนวิชาจบแล้วก็ย้ายไปสุกทันตฤๅษีก็ยังพบสหายอยู่เมื่อเรียนวิชาสำเร็จเจ้าชายทั้งสามเห็นว่าต้องแยกจากกันจึงดื่มน้ำสาบานว่าจะเป็นเพื่อนกันตลอดไปแล้วได้พูดว่า หากใครบ่ซื่อคิดคดขอให้ตายในสามวันอย่าให้ทันในสามเดือนอย่าให้เคลื่อนในสามปี จากนั้นเจ้าชายทั้งสามก็กลับบ้านเมืองของตนไป

เมื่อพระองค์มีพระชนมายุได้ 20 พรรษาพญาลาวเม็งก็เสด็จสวรรคต พญามังรายจึงเสวยราชสมบัติแทน ต่อมาพระองค์ได้ไปตีเมืองหริภุญชัยแล้วได้ชัยชนะจึงสร้างเมืองใหม่ขึ้นมาแล้วเชิญสหายรักของท่านมาร่วมหาทำเลที่จะสร้างเมืองใหม่แล้วในที่สุดพ่อเมืองทั้งสามก็หาทำเลได้แล้วตั้งชื่อว่า

[แก้] นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่

นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ (เชียง (*เจียง)ในภาษาล้านนา แปลว่า เขา ดังนั้น เชียงใหม่ หรือ เจียงใหม่ จึงแปลว่า เขาใหม่นั่นเอง) เป็นเมืองที่พญามังรายทรงเลือกทำเลที่ตั้ง โดยเห็นว่าเป็นเมืองที่ไกลจากการรุกรานของจีนราชวงศ์มองโกลมากกว่าเมืองเชียงราย เมืองหลวงเดิม ซึ่งปัจจุบันเมืองที่สร้างขึ้นใหม่นี้ก็คือจังหวัดเชียงใหม่ในปัจจุบัน

ตามหลักสูตรการศึกษาของไทยมักกล่าวว่าเมืองเชียงใหม่นี้สร้างขึ้นโดยความร่วมมือของ 3 กษัตริย์เชื้อไท ได้แก่ พญามังราย พ่อขุนรามคำแหง (อาณาจักรสุโขทัย) และพ่อขุนงำเมือง (เมืองพะเยา) ซึ่งข้อมูลทางวิชาการปัจจุบันระบุว่าไม่มีทางเป็นไปได้ เนื่องจากสมัยก่อน การสร้างเมืองย่อมเป็นความลับต่อเมืองอื่น ดังนั้น การบอกว่ากษัตริย์ทั้ง 3 ร่วมมือกันนั้นย่อมขัดกับความเป็นจริง แต่อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ที่ทั้ง 3 พระองค์จะเป็นพันธมิตรกัน เนื่องจากอาณาจักรจีนได้ตีอาณาจักรพุกามในพม่าปัจจุบันแตก ซึ่งในขณะนั้นถือเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่มาก ทำให้เกิดการร่วมมือกันของกษัตริย์ไททั้ง 3

  • ออกเสียงตามภาษาถิ่นภาคเหนือ

[แก้] พระราชกรณียกิจ

เมื่อพระชนมายุได้ 20 ชันษา พระเจ้าลาวเม็งสวรรคต พญามังรายเสวยราชสมบัติปกครองเมืองหิรัญนครเงินยางสืบต่อมา นับเป็นราชกาลที่ 25 แห่งราชวงศ์ลวจังกราช เมื่อพระองค์ได้ขึ้นครองราชสมบัติแล้วก็ทรงพระราชดำริว่า แว่นแคว้นโยนก ประเทศนี้ มีท้าวพระยาหัวเมืองต่างๆ ซึ่งเป็นเชื้อวงศ์ของปู่เจ้าลาวจก (ลวจังกราช) ต่างก็ปกครองอย่างสามัคคีปรองดองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อีกประการหนึ่งบ้านเมืองใด หากมีผู้เป็นใหญ่ปกครองบ้านเมืองมากเจ้าหลายนายก็มักจะสร้างความทุกข์ยากให้แก่ ไพร่บ้านพลเมืองของตน และถ้าหากมีศัตรูต่างชาติเข้าโจมตีก็อาจจะเสียเอกราชของชนชาติไทยได้โดยง่าย

ฉะนั้นเพื่อความเป็นปึกแผ่นของบ้านเมือง พญามังรายจึงมีพระประสงค์ที่จะรวบรวมหัวเมืองต่างๆ เข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน วิธีดำเนินตามนโยบายก็คือ แต่งพระราชสาสน์ไปถึงบรรดาหัวเมืองต่างๆ ให้เข้ามายอมอ่อนน้อมในบรมโพธิสมภารของพระองค์เสียแต่ โดยดีหาไม่แล้วพระองค์จะทรงยกกองทัพไปปราบปราม

  • พ.ศ. 1818 ขณะที่ประทับที่เมืองฝาง ซึ่งเป็นเมืองที่สร้างมาแต่ครั้งพระเจ้าลวจังกราช เมืองฝางมีอาณาเขตติดต่อกับอาณาจักรหริภุญชัย ของพญายีบา พญามังรายทรงทราบเรื่องราวของความเจริญรุ่งเรือง และความอุดมสมบูรณ์ของเมืองหริภุญชัย พระองค์ทรงมอบ ให้ขุนฟ้าขุนนางเชื้อสายลัวะเป็นผู้รับอาสาเข้าไปเป็นไส้ศึกทำกลอุบายให้พญายีบามาหลงเชื่อ และทำให้ชาวเมืองหริภุญชัยเกลียดชัง พญายีบา พญามังรายทรงมุ่งมั่นที่จะขยายพระราชอำนาจเหนือดินแดนลุ่มแม่น้ำปิงตอนบนให้ได้ จึงมอบเมือง เชียงรายให้แก่ขุนเครื่องปกครอง ส่วนพระองค์มาประทับที่เมืองฝาง

ต่อมาพระองค์ทรงกรีฑาทัพเข้าตีเมืองพม่า แต่ด้วยเกรงในพระราชอำนาจ จึงถวายพระนางปายโคเป็นพระมเหสี เมื่อพระนางอั้วเวียงชัยทราบก็ทรงสลดพระทัย เนื่องจากทรงระลึกได้ว่าพญามังรายทรงผิดคำสาบาน ที่พระองค์ทรงสาบาน ในเมื่อประทับอยู่ที่เชียงแสนว่า จะมีมเหสีเพียง พระองค์เดียว พระนางจึงสละพระองค์ออกจากพระราชวัง ออกบวชชี ซึ่งเชื่อกันว่า ต่อมาบริเวณที่พระนางไปบวชนั้น เป็น เวียงกุมกาม

  • พ.ศ. 1824 ขุนฟ้าสามารถทำการได้สำเร็จ โดยหลอกให้พญายีบาเดินทางไปขอกำลังพลจากพญาเบิกเจ้าเมืองเขลางค์นคร(โอรสของพญายีบา) พญามังรายจึงสามารถเข้าเมืองหริภุญชัยได้พระองค์ทรงมอบเมืองหริภุญชัยให้ขุนฟ้าปกครอง ส่วนพระองค์ได้มาสร้างเมืองชั่วคราวขึ้นว่าเวียงชะแวและต่อมาก็สร้างเมืองขึ้นใหม่ซึ่ง อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือให้ชื่อว่า เมืองกุมกาม หรือเวียงกุมกาม ต่อมาพญามังรายทอดพระเนตรชัยภูมิระหว่างดอยอ้อยช้าง(ดอยสุเทพ)ด้านตะวันตกกับแม่น้ำปิง ด้านตะวันออก ทรงพอพระทัยจึงสร้างเมืองแห่งใหม่ให้นามว่า เมืองนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 1839 เรียกสั้นๆ ว่า นครเชียงใหม่ พญามังรายได้ย้ายเมืองหลวง จากเวียงกุมกามสถาปนาเมืองใหม่แห่งนี้ให้เป็นศูนย์กลางการปกครอง ของอาณาจักรล้านนามีอำนาจเหนือ ดินแดนลุ่มแม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำกกถึงแม่น้ำโขงตอนกลางจนถึงหัวเมืองไทยใหญ่ (เงี้ยว) 11 หัวเมืองลุ่มแม่น้ำสาละวิน

พญามังรายเสด็จสวรรคตเพราะต้องอสนีบาตเมื่อเสด็จประพาสตลาด เชื่อกันว่าเป็นปาฏิหารย์ของ พระนางอั้วเวียงชัย


[แก้] อนุสรณ์สถาน

ด้วยความสำนึกในพระกรุณาธิคุณของพ่อขุนมังราย จึงได้มีการสร้างอนุสรณ์สถาน และการรำลึกถึงพ่อขุนมังราย อาทิ

[แก้] อ้างอิง

สมัยก่อนหน้า พ่อขุนมังราย สมัยถัดไป
พญาลาวเม็ง
ราชวงศ์ลาว (ไม่ทราบปี - 1801)
2leftarrow.png กษัตริย์แห่งหิรัญนครเงินยางเชียงแสน
(ราชวงศ์ลาว (พ.ศ. 1801 - 1805))
2rightarrow.png
2leftarrow.png กษัตริย์แห่งอาณาจักรโยนก (เชียงราย)
(ราชวงศ์เม็งราย (พ.ศ. 1805 - 1835))
2rightarrow.png
เจ้าเมืองเชียงราย
(ราชวงศ์เม็งราย (พ.ศ. 1805 - 1816))
2rightarrow.png ขุนเครื่อง
ราชวงศ์เม็งราย (พ.ศ. 1816 - ไม่ทราบปี)
เจ้าลาวครัวกาว
ราชวงศ์ลาว (ประมาณพ.ศ. 1770)
2leftarrow.png เจ้าเมืองฝาง
(ราชวงศ์เม็งราย (พ.ศ. 1816 - 1835))
2rightarrow.png ท้าวน้ำท่วม
ราชวงศ์เม็งราย (พ.ศ. 1854 - ไม่ทราบปี)
พระยายีบา
ราชวงศ์หริภุญชัย (พ.ศ. 1814 - 1835)
2leftarrow.png กษัตริย์แห่งหริภุญชัย
(ราชวงศ์เม็งราย (พ.ศ. 1835))
2rightarrow.png
ผู้รั้งเมืองหริภุญชัย
(ราชวงศ์เม็งราย (พ.ศ. 1835 - 1837))
2rightarrow.png ขุนอ้ายฟ้า
(พ.ศ. 1837 - ไม่ทราบปี)
2leftarrow.png Seal of Lanna Chiangmai (Full).png
กษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา
(ราชวงศ์เม็งราย (พ.ศ. 1835 - 1854))
2rightarrow.png พญาไชยสงคราม
ราชวงศ์เม็งราย (พ.ศ. 1854 - 1868)
ผู้รั้งเวียงกุมกาม
(ราชวงศ์เม็งราย (พ.ศ. 1837 - 1839))
2rightarrow.png ไม่ทราบ
ผู้รั้งเวียงเชียงใหม่
(ราชวงศ์เม็งราย (พ.ศ. 1839 - 1854))
2rightarrow.png พญาไชยสงคราม
ราชวงศ์เม็งราย (พ.ศ. 1854) (4 เดือน)