มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ฮาร์วาร์ดยาร์ด และรูปปั้นจอห์น ฮาร์วาร์ด

มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (อังกฤษ: Harvard University อ่านว่า ฮาร์เวิร์ด) มหาวิทยาลัยเอกชนในเมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกาได้ขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของโลก แห่งหนึ่งและเป็นหนึ่งมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดของสหรัฐอเมริกา โดยก่อตั้งเมื่อปี 8 กันยายน พ.ศ. 2179 (ค.ศ. 1636) มีอายุครบ 370 ปีใน พ.ศ. 2549

ฮาร์วาร์ดเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยในกลุ่มไอวีลีก โดยในปี พ.ศ. 2551 มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของสหรัฐอเมริกา โดยนิตยสารยูเอสนิวส์[1]

เนื้อหา

[แก้] ประวัติมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

กลุ่มผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดคือ คณะนักบวชที่เรียกตนเองว่า "เพียวริตัน" ซึ่งอพยพมาจากประเทศอังกฤษโดยได้มีตั้งวิทยาลัยขึ้นมา มีจุดประสงค์ที่จะสร้างนักบวชเพื่อให้สามารถเผยแพร่ศาสนาตามแนวทางของลัทธิของตนได้ โดยเริ่มต้นในชื่อว่า "เดอะ นิว คอลเลจ" (The New College) ในปี พ.ศ. 2179 (ค.ศ. 1636) และได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อ วิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard College) เมื่อ 13 มีนาคม พ.ศ. 2182 (ค.ศ. 1639) ซึ่งตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ จอห์น ฮาร์วาร์ด นักบวชเพียวริแตนท่านหนึ่ง ซึ่งสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยเอมมานูเอล (Emmanuel College) ของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ผู้ได้ทำพินัยกรรมบริจาคหนังสือจำนวนประมาณ 400 เล่มและเงินจำนวนหนึ่งที่ไม่มากนักแก่ทางวิทยาลัย และในปี พ.ศ. 2323 (ค.ศ. 1780) วิทยาลัยได้เปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัย ในชั้นแรกนั้นวิทยาลัยมีครูเพียงคนเดียว และมีนักเรียนชุดแรก 12 คน โดยเป็นลักษณะโรงเรียนกินนอน

มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเริ่มเข้าสู่ยุคของความเป็นมหาวิทยาลัยสมัยใหม่ภายใต้การบริหารของ อธิการบดี ชาร์ล วิลเลียม อีเลียต (Charles William Eliot) ในระหว่างปี ค.ศ. 1869-1909 โดยอธิการบดีอีเลียต ได้เริ่มนำระบบวิชาเลือก การใช้ระบบหน่วยกิต การสอบคัดเลือก เข้ามาใช้กับมหาวิทยาลัย

[แก้] เกียรติภูมิของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

อาคารในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดมีชื่อเสียงมากในเรื่องคุณภาพทางวิชาการ คุณภาพของอาจารย์ที่สอนและคุณภาพของนักศึกษา โดยศิษย์เก่าและอาจารย์ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้รับรางวัลโนเบลรวมกัน 75 รางวัล และรางวัลพูลิตเซอร์ 15 รางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 มีคณาจารย์เข้าไปเป็นที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของรัฐบาลหลายท่าน และได้ผลิตผู้บริหารองค์การทางธุรกิจที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก ทำให้นักธุรกิจหรือผู้ประสงค์ที่จะประสบความสำเร็จทางธุรกิจจากทั้งในและนอกประเทศได้เข้ามาเรียนกันมาก

ในปัจจุบัน ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยได้ชื่อว่าเป็นห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก (15,555,533 เล่ม) [1] และฮาร์วาร์ดได้ชื่อว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่มีเงินกองทุน (Endowment) สูงที่สุดในโลก คือ 34.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ (พ.ศ. 2550) [2]

[แก้] ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงของฮาร์วาร์ดมีหลากหลายคน รวมถึงประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา 8 คน ได้แก่

นอกจากนี้ยังมีมหาเศรษฐี บิล เกตส์ เจ้าของบริษัทคอมพิวเตอร์ไมโครซอฟท์ (ดรอปเรียนในช่วงปริญญาตรี อายุ1 9 เพื่อไปทำความฝัน แต่ทางมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดประสาทปริญญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ หรือ ปริญญาเอก ในปี ค.ศ. 2007) และผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบลอีก 15 คน และในรายการ The Amazing Race Season 14 แทมมี่ และ วิคเตอร์ ก็จบหลักสูตรกฎหมายที่นี่ด้วยเช่นกัน

[แก้] ศิษย์เก่าชาวไทยที่มีชื่อเสียง

ศิษย์เก่าที่ทำคุณประโยชน์แก่ชาวไทยหรือเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ได้รับการยอมรับมากมีหลายท่าน อาทิ

[แก้] ฮาร์วาร์ดและประเทศไทย

  • คนไทยคนแรกที่เข้าเรียนฮาร์วาร์ด คือ พระยาศัลวิธานนิเทศ หรือ นายแอบ รักตประจิต (Aab Raktaprachit) ยังมีเกียรติประวัติเป็นคนที่มีชื่อแรกอยู่ในหนังสือรายชื่อศิษย์เก่าของฮาร์วาร์ดทุกปี เป็นเวลา 80 ปีติดต่อกัน และเรื่องราวของท่านได้บันทึกไว้ในหนังสือเรื่องน่ารู้ของฮาร์วาร์ด (Harvard A to Z) [4] และในบทความ Harvard A to Z ; From Aab to Zeph Greek — and everything Crimson in between) [5]

[แก้] อ้างอิง

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

Commons


มหาวิทยาลัยในไอวีลีก IvyLeague.png

คอร์เนลล์ · โคลัมเบีย · ดาร์ตมัธ · บราวน์ · พรินซ์ตัน · เพนซิลเวเนีย · เยล · ฮาร์วาร์ด