สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ข้อมูล
วันประสูติ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๐๕
วันสิ้นพระชนม์ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๖
พระอิสริยยศ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
พระบิดา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
มารดา เจ้าจอมมารดาชุ่ม

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (21 มิถุนายน พ.ศ. 2405 - 1 ธันวาคม พ.ศ. 2486) ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 57 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาชุ่ม เมื่อวันเสาร์ แรม 9 ค่ำ เดือน 7 ปีจอ ตรงกับวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2405 พระองค์ยังทรงเป็นต้นราชสกุลดิศกุล

เนื้อหา

[แก้] พระประวัติ

[แก้] ประสูติ

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 57 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาชุ่ม ภายในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2405 พระองค์ได้รับพระราชทานพระนามจากสมเด็จพระบรมชนกนาถเมื่อวันสมโภชเดือน โดยมีรายละเอียดว่า[1]

"สมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าแผ่นดินสยามผู้พระบิดา ขอตั้งนามกุมารบุตรที่เกิดแต่ชุ่มเล็กเป็นมารดานั้น และซึ่งคลอดในวันเสาร์ แรม 9 ค่ำ เดือน 7 ปีจอจัตวาศกนั้น ว่าดังนี้ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร นาคนาม ขอจงเจริญชนมายุ วรรณ สุข พล ปฏิภาณ สรรพสิริสวัสดิพิพัฒนมงคลทุกประการ สิ้นกาลนานต่อไป เทอญ"

ชาววังโดยทั่วไป เรียกกันว่า "พระองค์ดิศ" โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำเอานามของพระอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ โรจนดิศ) ซึ่งเป็นบิดาของเจ้าจอมมารดาชุ่มมาตั้งพระราชทาน เนื่องจากทรงพระราชดำริว่าท่านเป็นคนซื่อตรง[2]

[แก้] ทรงศึกษา

พระองค์ทรงเริ่มเรียนหนังสือไทยชั้นต้นจากสำนักคุณแสงและคุณปาน ราชนิกุล ในพระบรมมหาราชวัง ทรงศึกษาภาษาอังกฤษในโรงเรียนหลวง ซึ่งมีมิสเตอร์ ฟรานซิส ยอร์ช แพตเตอร์สัน เป็นพระอาจารย์

  • พ.ศ. ๒๔๑๘ เมื่อมีพระชนม์ได้ 13 พรรษา ได้ทรงผนวชเป็นสามเณรที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงเป็น พระอุปัชฌาย์ และประทับจำพรรษาที่วัดบวรนิเวศวิหาร
  • พ.ศ. ๒๔๒๐ ทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก ได้รับพระราชทานยศเป็นนายร้อยตรีทหารมหาดเล็ก บังคับกองแตรวง พระชนมายุได้ 15 ปี

[แก้] สิ้นพระชนม์

เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๖ ที่วังวรดิศ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สิ้นพระชนม์ สิริรวมพระชนม์มายุได้ ๘๑ พรรษา ได้ทรงประกอบพระกรณียกิจด้านต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่เป็นงานใหญ่ และงานสำคัญอย่างยิ่ง ของบ้านเมือง ทรงเป็นกำลังสำคัญในการบริหารประเทศหลายด้าน และทรงเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นอย่างสูง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เคยตรัสชมพระองค์ เปรียบเทียบว่าเป็นเสมือน "เพชรประดับพระมหาพิชัยมงกุฎ" ผลงานด้านต่าง ๆ ของพระองค์แสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพอันสูง เป็นที่ประจักษ์แก่มหาชนทุกยุคทุกสมัย

[แก้] พระกรณียกิจ

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงฉายกับ เจ้าจอมมารดาชุ่ม ในรัชกาลที่ ๔

[แก้] พระอิสริยยศ

  • พ.ศ. ๒๔๐๕ พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร
  • พ.ศ. ๒๔๑๑ พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร
  • พ.ศ. ๒๔๒๙ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ (ทรงศักดินา ๑๕๐๐๐)[3]
    • เจ้ากรม - หมื่นดำรงราชานุภาพ (ศักดินา ๖๐๐)
    • ปลัดกรม - หมื่นปราบบรพล (ศักดินา ๔๐๐)
    • สมุห์บาญชี - หมื่นสกลคณารักษ์ (ศักดินา ๓๐๐)
  • พ.ศ. ๒๔๔๒ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ (ทรงศักดินา ๑๕๐๐๐)
    • เจ้ากรม - หลวงดำรงราชานุภาพ (ศักดินา ๖๐๐)
    • ปลัดกรม - ขุนปราบบรพล (ศักดินา ๔๐๐)
    • สมุห์บาญชี - หมื่นสกลคณารักษ์ (ศักดินา ๓๐๐)
  • พ.ศ. ๒๔๕๔ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ อิสสริยลาภบดินทร์ สยามพิชิตินทรวโรปการ มโหฬารราชกฤตยานุสร อาทรประพาสการสวัสดิ์ วรรัตนปัญญาศึกษาพิเศษ นรินทราธิเบศบรมวงศ์อดิศัย ศรีรัตนตรัยคุณธาดา อุดมเดชานุภาพบพิตร(ทรงศักดินา ๑๕๐๐๐)[4]
    • เจ้ากรม - พระดำรงราชานุภาพ (ศักดินา ๘๐๐)
    • ปลัดกรม - หลวงปราบบรพล (ศักดินา ๖๐๐)
    • สมุห์บาญชี - ขุนสกลคณารักษ์ (ศักดินา ๔๐๐)
  • พ.ศ. ๒๔๗๒ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ อิสสริยลาภบดินทร สยามวิชิตินทรวโรปการ มโหฬารรัฐประศาสน์ ปิยมหาราชนรานุศิษย์ ไพศาลราชกฤตยการี โบราณคดีปวัติศาสตรโกศล คัมภีรพนธ์นิรุกติปฏิภาน ราชบัณฑิตวิธานนิติธรรมสมรรถ ศึกษาภิวัธปิยวาที ขันติสัตยตรีสุจริตธาดา วิมลรัตนปัญญาอาชวาศรัย พุทธาทิไตรสรณาทร พิเศษคุณาภรณ์ธรรมิกนาถบพิตร (ทรงศักดินา ๓๕๐๐๐)
    • เจ้ากรม - พระยาดำรงราชานุภาพ (ศักดินา ๑๐๐๐)
    • ปลัดกรม - พระปราบบรพล (ศักดินา ๘๐๐)
    • สมุห์บาญชี - หลวงสกลคณารักษ์ (ศักดินา ๕๐๐)

[แก้] พระโอรสและพระธิดา

พระองค์ทรงมีพระโอรส-ธิดาทั้งหมด ๓๗ องค์ สิ้นชีพิตักษัยตั้งแต่ทรงพระเยาว์ก่อน ๑ ปี ๔ องค์ เหลือ ๓๓ องค์

[แก้] หม่อมเฉื่อย ยมาภัย

กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กับพระธิดา คือหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย หม่อมเจ้าหญิงพิไลยเลขา และหม่อมเจ้าหญิงพัฒนายุ

พระองค์ทรงมีพระโอรส-ธิดากับหม่อมเฉื่อยทั้งหมด ๑๐ องค์ คือ

[แก้] หม่อมนวม โรจนดิศ

พระองค์ทรงมีพระโอรส-ธิดากับหม่อมนวมทั้งหมด ๕ องค์ คือ

[แก้] หม่อมลำดวน วสันต์สิงห์

พระองค์ทรงมีพระโอรส-ธิดากับหม่อมลำดวนทั้งหมด ๗ องค์ คือ

[แก้] หม่อมแสง ศตะรัตน์

พระองค์ทรงมีพระโอรส-ธิดากับหม่อมแสงทั้งหมด ๖ องค์ คือ

[แก้] หม่อมเจิม สนธิรัตน์

พระองค์ทรงมีพระโอรส-ธิดากับหม่อมเจิมทั้งหมด ๘ องค์ คือ

[แก้] หม่อมอบ สุขไพบูลย์

พระองค์ทรงมีพระโอรส-ธิดากับหม่อมอบเพียงองค์เดียว คือ

[แก้] หม่อมหลวงหญิงใหญ่ อิศรเสนา

พระองค์ทรงมีพระโอรส-ธิดากับหม่อมหลวงหญิงใหญ่ อิศรเสนา (บุตรีคนโตของหม่อมเทวาธิราช (หม่อมราชวงศ์แดง อิศรเสนา))เพียง ๒ องค์ คือ

[แก้] หม่อมหยาด กลัมพากร

พระองค์ทรงมีพระโอรส-ธิดากับหม่อมอบเพียงองค์เดียว คือ

นอกจากนั้นพระองค์ยังทรงมีหม่อมอีก 3 คน คือ หม่อมเป๋า หม่อมเยื้อน และ หม่อมเพิ่ม

[แก้] ราชตระกูล

พระราชตระกูลในสามรุ่นของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร
กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

พระชนก:
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระอัยกาฝ่ายพระชนก:
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
เจ้าขรัวเงิน
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์
พระชนนี:
เจ้าจอมมารดาชุ่ม ในรัชกาลที่ 4
พระอัยกาฝ่ายพระชนนี:
พระยาอัพภันตริกามาตย์
(ดิศ โรจนดิศ)
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
ไม่ทราบ
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
ไม่ทราบ
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
ขรัวยายคล้าย
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
ไม่ทราบ
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
ไม่ทราบ

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, คาถาพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระนามพระราชโอรสธิดา, โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, พ.ศ. 2472
  2. ^ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ, หน้า ๒-๓
  3. ^ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งกรม พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงค์ราชานุภาพ, เล่ม ๓, ตอน ๙, ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๑๘๘๖, หน้า ๖๙
  4. ^ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เลื่อน แลตั้งกรม แลตั้งเจ้าพระยา, เล่ม ๒๘, ตอน ๐ ง, ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๔, หน้า ๑๗๓๕-๑๗๓๗

[แก้] หนังสือ

  • Jeffy Finestone. 2542. สมุดพระรูป พระราชโอรส พระราชธิดา พระราชนัดดาใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ปรียนันทนา รังสิต,ม.ร.ว. โลมาโฮลดิ้ง
  • สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และ หม่อมเจ้าหญิง จงจิตรถนอม ดิศกุล. จดหมายถึงหญิงใหญ่ (ฉบับชำระใหม่). กรุงเทพ : สถาพรบุ๊คส์, 2551. ISBN 978-974-16-6535-8
  • สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ, ความทรงจำ, สำนักพิมพ์สมาคมสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย, 12 พฤศจิกายน 2505
สมัยก่อนหน้า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สมัยถัดไป
นราธิปประพันธ์พงศ์
(กรมพระ)
2leftarrow.png พระนามกรมพระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๔
ดำรงราชานุภาพ
(กรมพระยา)

2rightarrow.png พิทยลาภพฤฒิธาดา
(กรมขุน)


พระองค์แรก 2leftarrow.png เจ้าพนักงานใหญ่ ผู้ช่วยบัญชาการทหารบก
(พ.ศ. 2432)
2rightarrow.png จอมพล เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต)


พระองค์แรก 2leftarrow.png เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย
(เมษายน พ.ศ. 2435 - สิงหาคม พ.ศ. 2458)
2rightarrow.png เจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐ์ศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร)