สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

(เปลี่ยนทางมาจาก โครงการหลวงอ่างขาง)
Angkang-sign.jpg

สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง เป็นโครงการพระราชดำริ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรม ทดแทนการปลูกฝิ่น สถานีวิจัยแห่งแรกของโครงการหลวง อยู่บนเทือกเขาตะนาวศรี ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,400 เมตร และมียอดดอยสูงถึง 1,928 เมตร พื้นที่รับผิดชอบประมาณ 26.52 ตารางกิโลเมตร หรือ 16,577 ไร่ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ว่า “ให้เขาช่วยตัวเอง” เปลี่ยนพื้นที่จากไร่ฝิ่นมาเป็นแปลงเกษตรเมืองหนาวที่สร้างรายได้ดีกว่าเก่าก่อน

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

สืบเนื่องมาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎร ที่หมู่บ้านผักไผ่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ และได้เสด็จผ่านบรเวณดอยอ่างขาง ทรงทอดพระเนตร เห็นว่าชาวเขาเผ่ามูเซอซึ่งในสมัยนั้นยังไว้แกละถักเปียยาว แต่งกายสีดำ สะพายดาบ ทำการปลูกฝิ่นแต่ยังยากจน ทั้งยังทำลายทรัพยากรป่าไม้ ต้นน้ำลำธารที่เป้นแหล่ง สำคัญต่อระบบนิเวศน์ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อส่วนอื่น ๆ ของประเทศได้

จึงทรงมีพระราชดำริว่าพื้นที่นี้มีภูมิอากาศที่หนาวเย็น มีการปลูกฝิ่นมาก ไม่มีป่าไม้อยู่เลยและสภาพพื้นที่ไม่ลาดชันนัก ประกอบกับ พระองค์ทรงทราบว่าชาวเขาได้เงินจากฝิ่นเท่ากับที่ได้จากการปลูกท้อพื้นเมือง และทรงทราบว่าที่สถานีทดลองไม้ผลเมืองหนาว ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทดลองวิธีติดตา ต่อกิ่งกับท้อฝรั่ง จึงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 1500 บาท เพื่อซื้อ ที่ดินและไร่ในบริเวณดอยอ่างขางส่วนหนึ่ง จากนั้นจึงโปรดเกล้าฯ ตั้งโครงการหลวงขึ้นเป็นโครงการส่วนพระองค์ เมื่อ พ. ศ. 2512 โดยทรงแต่งตั้งให้ หม่อมเจ้า ภีศเดช รัชนี เป็นผู้สนองพระบรมราชโองการในตำแหน่งมูลนิธิโครงการหลวง ใช้เป็นสถานีวิจัย และทดลองปลูกพืชเมืองหนาวชนิด ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นไม้ผล ผัก ไม้ดอกเมืองหนาว เพื่อเป็นตัวอย่างแก่เกษตรกรชาวเขา ในการนำพืช เหล่านี้มาเพาะปลูกเป็นอาชีพ ซึ่งต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทานนามว่า "สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง"

อ่างขางหมายถึง

คำว่า “อ่างขาง” ในภาษาเหนือหมายถึง อ่างรูปสี่เหลี่ยมตามลักษณะของดอยอ่างขาง ซึ่งเป็นดอยที่มีรูปร่างของหุบเขา ยาวล้อม รอบประมาณ 5 กิโลเมตร กว้าง 3 กิโลเมตร ตรงกลางของอ่างขางเดิมเป็นภูเขาสูง เช่นเดียวกับบริเวณโดยรอบ แต่เนื่องจากเป็นภูเขาหินปูน เมื่อถูกน้ำฝนชะก็จะค่อยๆ ละลายเป็นโพรงแล้วยุบตัวลงกลายเป็นแอ่ง มีพื้นที่ราบ ความกว้างไม่เกิน 200 เมตร ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง


[แก้] สถานที่ตั้ง สภาพอากาศ ประชากร

สถานีเกษตรหลวงอ่างขางตั้งอยู่ในเขตหมู่บ้านคุ้มหมู่ที่ 5 ต.แม่งอน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ พิกัด NC 049010 (เส้นละจิจูด) Lat 19’C 54 ลิปดา 32 ฟิลิบดาเหนือ (เส้นลองจิจูด) Long 99’C 02 ลิปดา 50 ฟิลิบดา E อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,400 เมตรมีพื้นที่ใช้ ทำการเกษตรในงานวิจัยประมาณ 1,800 ไร่ มีหมู่บ้านชาวเขาที่ทางสถานีฯให้การส่งเสริมและพัฒนาอาชีพรวม 6 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหลวง บ้านคุ้ม บ้านนอแล บ้านปางม้า บ้านป่าคา และบ้านขอบด้ง ซึ่งประกอบไปด้วยประชากร 4 เผ่าได้แก่ ไทยใหญ่ มูเซอดำ ปะหล่อง และจีนฮ่อ อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 17.7 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 องศาเซลเซียสในเดือนเมษายน และอุณหภูมิต่ำสุด –3 องศาเซเซียสในเดือนมกราคม ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 2,075 มิลลิเมตรต่อปี

วัตถุประสงค์ของสถานี

1.เป็นสถานีดำเนินงานวิจัยหลักของ โครงการวิจัยต่างๆโดยเฉพาะงานวิจัยไม้ผล เขตหนาวและงานวิจัยป่าไม้ และงานเกษตรที่สูง 2.เป็นสถานที่ฝึกอบรมและเผยแพร่ผลงานแก่เจ้าหน้าที่และเกษตรกร 3. ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพแก่เกษตรกรชาวเขาในหมู่บ้านรอบๆสถานี

การดำเนินงานของสถานี

1. งานศึกษาวิจัย สถานีเกษตรหลวงอ่างขางตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศเย็นตลอดปี ดังนั้นจึงเป็นสถานีหลักใน การศึกษาวิจัยไม้ผล เขตหนาว ของโครงการหลวง โดยสถานีเกษตรหลวงอ่างขางได้ดำเนิน การศึกษาวิจัย และขยายพันธุ์พืชชนิดต่างๆได้แก่

1.1 งานรวบรวมและศึกษาพันธุ์ไม้ผลเขตหนาวชนิดต่างๆ เช่น พีช สาลี่ พลับ พลัม บ๊วย กีวี และสตรอเบอรี่ 1.2 งานศึกษาพันธุ์ไม้โตเร็วชนิดต่างๆและไผ่ต่างๆสำหรับใช้ปลูกทดแทนป่าไม้ที่ถูกทำลาย เช่น ไม้โตเร็ว กระถินดอย, เมเปิลหอม และไผ่หวานอ่างขาง ฯลฯ 1.3 งานศึกษาและทดสอบพันธุ์ไม้ตัดดอก เช่น กุหลาบ,ฟรีเซีย,ไม้หัวและไม้ดอกกระถาง 1.4 งานศึกษาและรวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพร พืชผักเมืองหนาวชนิดต่างๆ 1.5 งานศึกษาพืชชนิดต่างๆ ได้แก่ ข้าวสาลี และ ลินิน

2. งานเผยแพร่และฝึกอบรม เนื่องจากสถานีเกาตรหลวงอ่างขาง เป็นแหล่งทางวิชาการปลูกพืชบนที่สูงที่สำคัญ ของ ประเทศ ในแต่ละปีจะใช้เป็นสถานที่ฝึกอบรม แก่เจ้าหน้าที่และเกษตรกรของมูลนิธิฯ จำนวนมากประกอบกับมีผู้สนใจ จากองค์กร และสถาบันต่างๆเข้าเยี่ยมชมและดูงาน มูลนิธิโครงการหลวงจึงได้จัดสร้างอาคาร ฝึกอบรมและเผยแพร่ งานของโครงการ หลวงในด้านต่างๆให้แก่เกษตรกรและเจ้าหน้าที่โครงการหลวง สว่นราชการ ผู้สนใจ และประเทศเพื่อนบ้าน โดยได้ เปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 ธันวาคม 2540

3. งานพัฒนาและส่งเสริมอาชีพแก่เกษตรกร เป็นการดำเนินงานส่งเสริม และพัฒนาอาชีพแก่เกาตรกรชาวเขา บริเวณรอบๆสถานีฯซึ่งเป็นชาวเขา เผ่าต่างๆ รวม 4 เผ่า ได้แก่ ปะหล่อง มูเซอ ไทยใหญ่ และจีนฮ่อ โดยมีส่วนราชการต่างๆ ร่วมดำเนินงานในรูปคณะทำงานศูนย์พัฒนา โครงการหลวง กิจกรรมที่สำคัญได้แก่ การพัฒนาแหล่งน้ำ การวางแผน การใช้ที่ดิน การส่งเสริมการปลูกไม้ผล ผัก ชา การฟื้นฟูระบบนิเวศ การฟื้นฟูสภาพธรรมชาติ และการปลูกป่าชาวบ้าน



[แก้] เล่าเรื่องสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง

  • จากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จเยี่ยมราษฎรชาวเขาบนดอย และทรงทอดพระเนตรเห็นการปลูกฝิ่น ทำไร่เลื่อนลอย จึงมีพระราชดำริให้ชาวเขาที่อยู่อาศัยตามดอยต่างๆ ในภาคเหนือเลิกการปลูกฝิ่น
  • จึงทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 1,500 บาท เพื่อซื้อที่ดินและไร่ในบริเวณดอยอ่างขางส่วนหนึ่ง จากนั้นจึงโปรดเกล้าตั้งโครงการหลวงขึ้นเป็นโครงการส่วนพระองค์ในปี พ.ศ. 2512
  • โดยทรงแต่งตั้งหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี เป็นองค์ประธานมูลนิธิโครงการหลวง
  • สถานีเกษตรหลวงอ่างขางจึงถือเป็นสถานีวิจัยแห่งแรกของมูลนิธิโครงการหลวงที่ใช้เป็นสถานที่วิจัยทดลองปลูกพืชเมืองหนาวชนิดต่างๆ อาทิเช่น ไม้ผล ผัก ไม้ดอกเมืองหนาว เพื่อเป็นตัวอย่างแก่เกษตรกรชาวเขาในการนำพืชเหล่านี้มาเพาะปลูกเป็นอาชีพ
  • สถานีเกษตรหลวงอ่างขางตั้งอยู่ในเขตหมู่บ้านคุ้ม หมู่ที่ 5 ต.แม่งอน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,400 เมตร มีพื้นที่ใช้ในการทำวิจัยประมาณ 1,200 ไร่
  • อ่างขาง ในภาษาเหนือหมายถึง อ่างรูปสี่เหลี่ยมตามลักษณะของดอยอ่างขางซึ่งเป็นดอยที่มีรูปร่างของหุบเขายาวล้อมรอบประมาณ 5 กิโลเมตร กว้าง 3 กิโลเมตร ตรงกลางของอ่างขางเดิมเป็นภูเขาสูงเช่นเดียวกับบริเวณโดยรอบ แต่เนื่องจากเป็นภูเขาหินปูน เมื่อถูกน้ำฝนชะก็จะค่อยๆละลายเป็นโพรงแล้วยุบตัวลงกลายเป็นแอ่ง มีพื้นที่ราบ ความกว้างไม่เกิน 200 เมตร ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
  • หมู่บ้านที่สถานีฯให้การส่งเสริมและพัฒนาอาชีพรวม 5 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหลวง บ้านคุ้ม บ้านปางม้า บ้านขอบด้ง และ บ้านนอแล
  • ชนเผ่าในพื้นที่สถานีฯอ่างขางประกอบไปด้วย ชาวไทยใหญ่ มูเซอดำ ปะหล่อง และจีนยูนนาน รวมทั้งหมด 4 เผ่า
  • อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 17 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 องศาเซสเซียส ในเดือนเมษายน และ อุณหภูมิต่ำสุด -3 องศาเซสเซียส ในเดือนมกราคม

[แก้] อ่างขางในอดีต และ ปัจจุบัน

อ่างขางในอดีต “อ่างขางวันนั้นสวยมากด้วยดอกฝิ่นและภูมิประเทศ เราได้เห็นต้นท้อ แอ๊ปเปิ้ลป่าและทราบว่าอากาศหนาวเราได้คุยกับผู้ที่ไปตั้งร้านขายของ ซื้อฝิ่นเขาขึ้นมาอีกทางหนึ่ง ห่างจากค่ายทหารจีนโดยที่ชาวเขาส่วนมากอพยพไปที่อื่น อ่างขางจึงมีที่เหลือให้หญ้าคาขึ้นอยู่มาก ด้วยเหตุนี้จึงโปรดเกล้าฯให้ตั้งสถานีเกษตรหลวงอ่างขางขึ้นเมื่อ 30 ปี มานี้ สถานีเกษตรหลวง อ่างขางได้ทำวิจัยได้” ม.จ. ภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวง


  • ผลสำเร็จของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง

ปัจจุบันสถานีฯอ่างขางมีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในด้านงานศึกษาวิจัยพืชเมืองหนาวชนิดต่างๆ จึงเป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้ด้านเกษตรที่สูง การฟื้นฟูป่าไม้ในพื้นที่ของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง รวมทั้งพื้นที่สูงอื่นๆ อีกทั่วไป ดังนั้นสถานีฯอ่างขาง จึงเป็นสถานที่ที่ส่วนราชการ สถาบันการศึกษา และองค์กรต่างๆ รวมทั้งนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศขึ้นไปเยี่ยมชมกิจกรรมของสถานีฯ เป็นจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของเกษตรกรชาวเขาบริเวณรอบๆสถานีฯ สามารถประกอบอาชีพการเกษตร จากการปลูกไม้ผล ไม้ตัดดอก และพืชผัก ซึ่งทำให้เกษตรกรชาวเขาเหล่านี้มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

โดยปัจจุบันเกษตรกรเหล่านี้สามารถช่วยตัวเองได้มากยิ่งขึ้น โดยเริ่มเข้าเป็นสมาชิกของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ในการเป็นแหล่งทุนสำหรับปัจจัยการผลิตเช่นเดียวกับเกษตรกรทั่วไป และในปัจจุบันสถานีฯยังได้ส่งเสริมอาชีพนอกภาคการเกษตรให้แก่เกษตรกรชาวเขาในด้านงานหัตถกรรมอีกด้วย

นอกจากนี้เกษตรกรชาวเขาที่สถานีฯอ่างขาง ยังได้ชื่อว่าเป็นผู้ร่วมให้การอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าได้ดีมาก ทำให้ป่าต้นน้ำลำธารได้รับการฟื้นฟูอยู่ในสภาพที่ดีขึ้น รวมทั้งปัจจัยพื้นฐานต่างๆ เช่น ถนน ไฟฟ้า โทรศัพท์ แหล่งน้ำ ก็ได้รับการปรับปรุงและพัฒนาให้ดีขึ้นตามลำดับ

[แก้] ข้อมูลสวนต่าง ๆ ภายในสถานี

[แก้] สวนต่าง ๆ ภายในสถานนี

[แก้] เส้นทางศึกษาธรรมชาติ

เส้นทางศึกษาธรรมชาติของสถานีเกษตรหลวงอ่างขางนั้นเป็นเส้นทาง

ที่กำหนดขึ้นบริเวณรอบสถานี ซึ่งมีเส้นทางทั้งหมด 10 เส้นทางด้วยกันและต้นไม้ที่ปลูกในเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาตินั้นจะเป็นต้นไม้ที่นำเข้ามาจากประเทศไต้หวันทั้งหมด โดยจะขอแนะนำเส้นทางทั้งหมดตามลำดับดังนี้

  • ซอยดงกระถินดอย

จะเริ่มต้นเส้นทางบริเวณหลังพระตำหนัก และระยะทางโดยรวมของเส้นทางนี้ประมาณ 200 เมตร ไม้หลักที่ปลูกจะเป็น ต้นเมเปิ้ลหอม, ต้นกระถินดอย และ ต้นจันทร์ทอง

  • ซอยสวนป่าผสม

เป็นเส้นทางที่ต่อเนื่องมาจาก ซอยดงกระถินดอย ไม้หลักที่ปลูกจึงเป็นประเภทเดียวกัน ระยะทางซอยนี้ ประมาณ 1,650 เมตร

  • ซอยสาม พ.ศ.

จะเชื่อมต่อทางมาจากซอยสวนป่าผสม ไม้หลักที่ปลูกนอกจากจะเป็นชนิดเดียวกับ ซอยดงกระถินดอยและซอยสวนป่าผสมแล้ว ไม้อีกชนิดที่ปลูกเฉพาะเส้นทางนี้ คือ ต้น Zelkova ระยะทางโดยรวมคือ 1,100 เมตร

  • ซอยสนหนามบน และ ซอยสนหนามล่าง

สนหนามจะเป็นไม้หลักที่ปลูกในสองเส้นทางนี้ ระยะทางของ ซอยสนหนามบนจะประมาณ 730 เมตร ส่วน ซอยสนหนามล่างจะมีระยะทาง 970 เมตร

  • ซอยสนซูงิ

เส้นทางนี้จะมีสนซูงิปลูกเป็นไม้หลัก และมีระยทางโดยรวมประมาณ 550 เมตร

  • ซอยนางพญาเสือโคร่ง (ซากุระดอย)

จุดเริ่มต้นของเส้นทางนี้จะอยู่บริเวณด้านหลังสำนักงานของสถานี จะมีระยะทาง 530 เมตร และจะมีต้นนางพญาเสือโคร่งอยู่ตลอดเส้นทาง

  • ซอยสวนไผ่

จะเริ่มต้นเส้นทางบริเวณอ่างเก็บน้ำของสถานี ซึ่งมีไผ่หลายชนิดที่ปลูกตลอดเส้นทาง อาทิ ไผ่บงใหญ่, ไผ่ลวก และ ไผ่หมาจู๋ จะมีระยะทาง 670 เมตร

  • ซอยหุบผาขาว

ต้นไผ่จะเป็นไม้หลักที่ปลูกในเส้นทางนี้ และชื่อของซอยนี้จะเรียกตามลักษณะเส้นทางที่ต้องเดินผ่านถ้ำในสถานีที่ชื่อ ถ้ำหุบผาขาว ระยะทางของเส้นทางนี้ ประมาณ 1,100 เมตร

  • ซอยศูนย์สาธิตการใช้ไม้

เริ่มต้นเส้นทางจากด้านหลังศูนย์สาธิตการใช้ไม้สมพรสหวัฒน์ โดยจะผ่านแปลงการบูร แล้วเดินเรื่อยไปจนจดซอยสนหนามล่าง

[แก้] ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ บริเวณรอบ ๆ สถานี

  • หมู่บ้านคุ้ม

ตั้งอยู่ใกล้กับสถานีฯ เป็นชุมชนเล็กๆประกอบด้วยผู้อยู่อาศัยหลายเชื้อชาติอยู่รวมกัน อาทิชาวไทยใหญ่ ชาวพม่าและชาวจีนฮ่อ ซึ่งได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนี้และเปิดร้านค้าบริการแก่นักท่องเที่ยว

  • จุดชมวิวกิ่วลม

อยู่ทางด้านซ้ายมือก่อนถึงทางแยกซึ่งจะไปหมู่บ้านปะหล่องนอแลทางหนึ่ง และบ้านมูเซอขอบด้งทางหนึ่ง สามารถชมวิวได้ทั้งพระอาทิตย์ขึ้นและตก หรือทะเลหมอก มองเห็นทิวเขารอบด้านและหากฟ้าเปิดจะมองเห็นสถานีเกษตรหลวงอ่างขางด้วย

  • หมู่บ้านนอแล

ตั้งอยู่บริเวณชายแดนไทย - พม่า แต่เดิมคนกลุ่มนี้อยู่ในพม่าและพึ่งอพยพมาที่นี่ได้ประมาณ 15 ปี คนที่นี่เป็นชาวเขาเผ่าปะหล่องเชื้อสายพม่า ซึ่งมีภาษาและวัฒนธรรมเป็นของตนเอง นับถือศาสนาพุทธ ทุกวันพระผู้คนที่นี่หยุดอยู่บ้านถือศีล จากหมู่บ้านนี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์สวยงามของธรรมชาติบริเวณพรมแดนไทย-พม่า

  • หมู่บ้านขอบด้ง

เป็นที่ที่ชาวเขาเผ่ามูเซอดำและเผ่ามูเซอแดงอาศัยอยู่ร่วมกัน คนที่นี่นับถือผี มีวัฒนธรรมและความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย หมู่บ้านแห่งนี้ได้รับการส่งเสริมจากโครงการหลวงในด้านการเกษตรและด้านหัตถกรรมพื้นบ้าน (เช่น อาบูแค เป็นกำไลถักด้วยหญ้าไข่เหามีสีสันและลวดลายในแบบของมูเซอ)

บริเวณหน้าหมู่บ้านจะมีการจำลองบ้านและวิถีชีวิตของชาวมูเซอ โดยชาวบ้าน ครู และนักเรียนโรงเรียนบ้านขอบด้งช่วยกันสร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้ที่สนใจได้มีโอกาสเรียนรู้และศึกษาวัฒนธรรมของหมู่บ้านโดยที่ไม่เข้าไปรบกวนความเป็นส่วนตัวของเขามากเกินไป และยังมีโครงการมัคคุเทศก์น้อยที่อบรมเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านขอบด้งเพื่อช่วยอธิบายวิถีชีวิตของพวกเขาให้ผู้มาเยือน ทั้งนี้เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกและสร้างความรักท้องถิ่นให้เด็กๆด้วย

  • หมู่บ้านหลวง

ชาวหมู่บ้านหลวงเป็นชาวจีนยูนานที่อพยพมาจากประเทศจีนในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และประกอบอาชีพด้านการเกษตรกรรมเป็นหลัก อาทิ ปลูกผักผลไม้ เช่น พลัม ลูกท้อ และสาลี่

[แก้] การเดินทาง

การเดินทาง สามารถเดินทางขึ้นดอยอ่างขางได้ทั้งหมด 3 เส้นทาง แต่เส้นทางที่ใช้เป็นหลัก มีอยู่เส้นทางเดียวคือ ขึ้นดอยอ่างข่างที่กิโลเมตรที่ 137 ณ วัดหาดสำราญ

[แก้] การเดินทางโดยรถยนต์

ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น การเดินทางโดยรถยนต์สามารถเดินทางไปได้หลาย 3 เส้นทาง ดังนี้

  • ขึ้นดอยอ่างขาง ณ วัดหาดสำราญ กม 137

สามารถใช้เส้นทาง เชียงใหม่-ฝาง (เส้นทางหลวงหมายเลข 107) มาถึงปากทาง ขึ้นดอยอ่างขางจะมีป้ายบอกด้านซ้ายมือ และจะมีวัดหาดสำราญ อยู่ปากทางขึ้น ให้เลี้ยวซ้ายแล้วขับรถตามถนนขึ้นมาเลย ทางเส้นนี้จะค่อนข้างลาดชันมาก มีทางโค้งหักศอกและสูงช้นแบบคล้าย ๆ กลับรถ ก่อนถึงยอดดอยประมาณ 4 - 5 โค้ง ถ้าไม่พักค้างบนดอยหรือผู้ที่ไม่มีความชำนาญเส้นทาง แนะนำว่าอาจจอดรถส่วนต้วไว้ที่บริเวณวัด แล้วว่าจ้างรถคิวสองแถว หน้าปากทาง ให้ขึ้นมาส่งได้ รถสองแถวมีความชำนาญเส้นทาง และปรับแต่งรถมาเพื่อขึ้นภูเขาราดชันโดยเฉพาะ ค่ารถต่อเที่ยว ไม่ต่ำกว่า 600 บาท (ขึ้นอย่างเดียว ถ้าเหมาแบบขึ้นลงประมาณ 1000 - 1200 บาท แต่ถ้ารวมพาไปชมพระอาทิตย์ขึ้น และจุชมวิว เพิ่มอีก 300 บาท) แต่หากตัดสินใจจะนำรถขึ้นมาเองก็ควรขับด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ แต่หากผู้ที่มาคนเดียว ก็สามารถว่าจ้างรถมอเตอร์ไซด์ บริเวณฝั่งตรงข้ามวัด ให้ขึ้นมาส่งได้ ค่ารถต่อเที่ยวต่อคนประมาณ 200 บาท (ขาลงอาจถูกกว่านี้ แล้วแต่เจรจา)

  • ขึ้นดอยอ่างขาง ณ อำเภอเชียงดาว กม 79

จากตัวเมืองจังหวัดเชียงใหม่ ใช้เส้นทางเชียงใหม่-ฝาง (ทางหลวงหมายเลข 107) เดินทางเรื่อยมาจนถึงอำเภอเชียงดาว บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 79 จะพบทางแยก (เส้นทางหมายเลข 1ในแผนที่) ถ้าเลี้ยวซ้ายตามป้ายบอกจะผ่าน ต.เมืองงาย บ้านอรุโณทัย บ้านหลวง เส้นทางจะค่อนข้างแคบแต่จะไม่ค่อยลาดชันเท่าใดนัก และเนื่องจากถนนเกือบตลอดทั้งสาย จะไม่มี สัญญาณ โทรศัพท์ ดังนั้นช่วงเวลาที่จะสัญจรโดยถนนสายนี้ ควรจะเป็นช่วงเช้าหรือกลางวันน่าจะดีกว่า ช่วงบ่ายไปแล้ว เพราะถ้าเกิดรถเสียหรือมีปัญหาขึ้นมาจะติดต่อ ขอความช่วยเหลือค่อนข้างลำบาก

  • เส้นทางจากอำเภอฝาง-หมู่บ้านนอแล

นอกจากสองเส้นทางนี้แล้ว ยังมีอีกเส้นทางหนึ่ง จากอำเภอฝางขึ้นมาที่หมู่บ้านนอแล ซึ่งมีระยะทางสั้นที่สุดระหว่างสามเส้นทางนี้ แต่เส้นทางนี้มีความลาดชัดมาก และไหล่ทางชำรุด เป็นหลุดเป็นบ่อ พื้นถนนเป็นหินกรวด บางช่วงเป็นดินลูกลัง รถยนต์หรือรถกะบะธรรมดาอาจไม่สามารถผ่านบางจุดของเส้นทางได้ (ปัจจุบัน(ปี2551)ทางหน่วยงานเกี่ยวข้องได้ซ่อมแซมถนนเส้นนี้เรียบร้อยแล้ว รถยนต์หรือรถกะบะธรรมดาสามารถขึ้นลงได้สะดวก) เส้นทางนี้ จะวิ่งเลาะตามตะเข็บชายแดนไทย-พม่า ตลอดทางจะมี ด่านทหาร คอยตรวจรถที่ผ่านไปมา และพบเห็นทั้งค่ายทหารทั้งของไทย และ พม่า บริเวณสองริมฝั่งหุเขา โดยปรกติจะไม่ได้เปิดใช้

[แก้] การเดินทางโดยรถไฟ

ยังไม่มีข้อมูล

[แก้] การเดินทางโดยรถประจำทาง

  • เดินทางจาก จังหวัดเชียงใหม่ - ดอยอ่างขาง

ถ้าเดินทางจากกรุงเทพ ให้ขึ้นรถจากสถานีหมอชิด จะไปสิ้นสุดที่เมืองเชียงใหม่ รถจะจอดบริเวณสถานีขนส่งช้างเผือก การเดินทางโดยรถประจำทางจากตัวเมืองเชียงใหม่ ไปยัง อ่างขาง ให้ขึ้นรถสายเชียงใหม่-ฝาง หรือ เชียงใหม่-ท่าตอน ที่สถานีขนส่งฯช้างเผือก แล้วบอกกระเป๋ารถ ให้แวะส่งที่ปากทางขึ้นดอยอ่างขาง หน้าวัดหาดสำราญ กิโลเมตรที่ 137 โดยค่าโดยสารจากเชียงใหม่ถึงปากทางอ่างขางประมาณ 100 บาท (6/1/2007) ใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง จากนั้นให้ว่าจ้างสองแถว รถตู้ หรือรถมอเตอร์ไซด์ขึ้นดอยอ่างขางอีกทีหนึ่ง หรือเดินทางด้วยรถตู้ประจำทางจากตัวเมืองเชียงใหม่ ไปยัง อ่างขาง ที่สถานีขนส่งฯช้างเผือก สายเชียงใหม่-ท่าตอน VIP 150 บาท ธรรมดา 130 บาท (21/12/2009) หากมีสำภาระมากสามารถฝากไว้ที่คิวรถตู้ได้ ใช้เวลา 2 ชั่วโมงครึ่ง ถึงหน้าวัดหาดสำราญ กิโลเมตรที่ 137 จากนั้นให้ว่าจ้างสองแถว รถตู้ หรือรถมอเตอร์ไซด์ขึ้นดอยอ่างขาง

  • เดินทางจาก จังหวัดเชียงราย - ดอยอ่างขาง

ถ้าเดินทางจากกรุงเทพ ให้ขึ้นรถที่สถานนีขนส่งหมอชิด รถออกประมาณ 18.00-19.00 นาฬิกา ค่าโดสารประมาณ 500-600 บาท (ปรับอากาศชั้น 1 36 ที่นั่ง) รถจะไปสิ้นสุดที่สถานนีขนส่งเชียงราย ใกล้ตลาดเชียงราย ไนท์บราซ่า การเดินทางโดยใช้เส้นทาง เชียงราย - ดอยอ่างขางนั้น อาจไม่สะดวกสบายเท่ากับเดินทางจากเมืองเชียงใหม่ เนื่องจากต้องต่อรถประมาณ 5 ต่อ กว่าจะถึงปากทางขึ้นดอยอ่างขาง โดยเริ่มจากสถานนีขนส่งเมืองเชียงราย ไปยัง อำเภอ แม่จ้น รถประจำทางสายนี้ เป็นรถบัสขนาดเล็ก ระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร ค่าโดยสาร 17 บาท (19/4/2007) ใช้เวลาประมาณ 40 นาที ให้ลงที่หน้าที่ว่าการอำเภอแม่จัน จากนั้นเดินข้ามวงเวียนไปที่คิวรถสองแถวสีเหลือง แม่จัน-กิ่วสะไต ซึ่งคิวรถแห่งนี้ ผู้โดยสารส่วนใหญ่เป็นชาวเขาแบบดั้งเดิม (ชาวไทยใหญ่) เครื่องแต่งกายและวัฒนธรรมยังเป็นแบบดังเดิมอยู่ ซึ่งหาชมได้ยาก รถโดยสารออกเป็นเวลา เมื่อรถออกเดินทางแล้ว ระหว่างทางจะมีผู้โดยสารขึ้นมาตลอด ระยะทางทั้งหมด 31 กิโลเมตร แต่เนื่องจากตลอดทางเป็นทางขึ้นเขา รถใช้เวลานานกว่าปรกติ ประกอบกับ คนขับใช้ความเร็วไม่มาก ประมาณ 40-50 กม/ชม ใช้เวลาทั้งสิ้น 1 ชั่วโมง กับ 10 นาที ค่าโดยสาร 30 บาท (19/4/2007) รถจะวิ่งไปสิ้นสุดที่ ปากทางขึ้นดอยแม่สลอง ซึ่งจะมีคิวรถสองแถวอีกคิวชื่อ แม่สลอง-ท่าตอน ซึ่งเส้นทางนี้ จะคดเคี้ยว และส่วนใหญ่เป็นทางลงเขา ระยะทาง 30 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 10 นาที ค่าโดยสาร 30 บาท (19/4/2007) เมื่อวิ่งไปถึงปลายทาง จะเกือบถึงวัดท่าตอน (ประมาณอีก 2 กิโลเมตรถึงวัดท่าตอน) จะมีคิวรถสองแถวอีกคิวชื่อ ท่าตอน-ฝาง มีรถออกตลอดเวลา ระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร ค่าโดยสาร 20 บาท ใช้เวลา 30-40 นาที เมื่อถึงเมืองฝางแล้ว จะมีคิวรถสองแถวอีกคิว บริเวณไกล้เคียงกับคิวรถท่าตอน-ฝางจอด ให้ขึ้นรถสองแถวสีเหลืองชื่อ ฝาง-ไชยปราการ ก่อนขึ้นสองแถว ให้บอกคนขับรถว่าจะลงหน้าปากทางดอยอ่างขาง ซึ่งจะถึงก่อนตัวเมืองไชยปราการ 8 กิโลเมตร ระยะทางประมาณ 15-20 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 20 นาที ค่าโดยสาร 10-20 บาท เมื่อถึงปากทางขึ้นดอยอ่างขางบริเวณหน้าวัดหาดสำราญแล้ว (วัดอยู่ทางขวามือ) ให้เข้าไปที่วัด

  • ปากทางดอยอ่างขาง วัดหาดสำราญ - สถานีเกษตรอ่างขาง

เมื่อเข้าไปที่วัด จะมีคิวรถสองแถวสีขาว รับนักท่องเที่ยวขึ้นดอยอ่างขาง แต่รถไม่ได้ขึ้นเป็นเวลา จะขึ้นก็ต่อเมื่อนักท่องเที่ยวเหมารถไป ค่ารถต่อเที่ยวประมาณ 600 บาท (ขึ้นเที่ยวเดียว ถ้าขึ้นลง ประมาณ 1200 บาท และถ้ารวม พาไปชมวิว ดูพระอาทิตย์ขึ้น คิดเพิ่ม 300 บาท) นอกจากนั้น ยังสามารถใช้บริการมอเตอร์ไซด์หน้าปากทางฝั่งตรงข้ามวัดได้ ค่าโดยสารขาชึ้น 200 บาท ส่วนขาลง ให้อาศัยรถชาวบ้าน แล้วช่วยชาวบ้านออกค่าน้ำมัน (100 บาท ราคามาตราฐานของการติดรถชาวบ้านลงดอย)

[แก้] การเดินทางโดยเครื่องบิน

การเดินทางโดยเครื่องบิน สามารถเดินทางได้สองเที่ยวบิน คือ กรุงเทพ-เชียงใหม่ (ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง) และ กรุงเทพ-เชียงราย (ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 15 นาที) ถ้าดูจากระยะทางระหว่างสองสนามบินนี้ถึงดอยอ่างขาง มีระยะทางพอพอกัน (จากสนามบินเชียงใหม่ประมาณ 160 กิโลเมตร และ จากสนามบินเชียงราย 164 กิโลเมตร) แต่ถ้าพิจารณาจากความสะดวกสบายเป็นหลัก ก็สามารถลงที่สนามบินเชียงใหม่และต่อรถโดยสาร เชียงใหม่-ท่าตอน แล้วแวะลงที่วัดหาดสำราญ จะถึงปากทางขึ้นดอย แต่ถ้าหากโดยสารเครื่องบินมาลงที่สนามบินเชียงราย จะต้องต่อรถประจำทางทั้งหมด 5 สายจะถึงปากทางขึ้นดอย และระหว่างทางจากสนามบินเข้าตัวเมืองนั้น ไม่มีรถประทาง ต้องอาศัย บริการรถแท๊กซี่สนามบินเพียงอย่างเดียว ค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 200 บาท (15/4/2007) ถ้าจังหวะดี อาจสามารถเรียกรถสามล้อที่มาส่งผู้โดยสารขาเข้าสนามบินได้ ค่าโดยสารของรถสามล้อระหว่างสนามบิน ไปยังตัวเมืองบริเวณสถานีขนส่ง ราคาประมาณ 100 บาท (สามล้อบางคันอาจไม่รับผู้โดยสาร เนื่องจากอาจเกรงว่าจะมีปัญหากับทาง รถแท๊กซี่สนามบิน) เส้นทางเชียงรายไปยังอ่างขาง อาจไม่สะดวกนัก แต่ถ้าใช้เส้นทางนี้ ก็จะได้ชมวิวทิวทัศน์ที่สวยงามของภูมิประเทศ และ ชีวิตความเป็นอยู่ของทั้งชาวบ้านและผู้โดยสารที่โดยสารมาด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิง เส้นทางจาก แม่จ้น-กิ่วสะไต จะได้พบกับวิวทิวทัศน์เทือกเขา และ ผู้โดยสารส่วนใหญ่เป็นชาวเขา ซึ่งเราจะเห็นความเรียบง่ายและวัฒนธรรมการแต่งตัว ข้าวของเครื่องใช้ ของผู้โดยสารที่นั่งมาด้วยกัน (เนื่องจากเป็นรถสองแถว สีเหลือง ผู้โดยสารนั่งหันหน้าชนกัน ทางด้านซ้ายและขวาของตัวรถ)

[แก้] ที่พัก

ยังไม่มีข้อมูล

[แก้] ที่พักภายในสถานีเกษตร

อ่างขางมีที่พักในบรรยากาศท่ามกลางธรรมชาติไว้บริการนักท่องเที่ยวให้เลือกพักได้ตามรสนิยมและเงินในกระเป๋าที่มีอยู่ มีทั้งที่พักหรูๆ ในบรรยากาศสุดยอดจนถึงที่พักแบบประหยัดบรรยากาศตามอัตภาพ ตลอดจนการนอนเต็นท์ก็มีเต็นท์ไว้ใช้เช่านอน


ที่พักของสถานีเกษตรอ่างขาง ติดต่อสำรองที่พักได้ที่ 053-450107


บ้านดาว คนละ 150 บาท/คืน 7 คน

บ้านไต้หวัน คนละ 150 บาท/คืน 20 คน

บ้าน AK 1-4 หลังละ 600 บาท/คืน 3 คน

บ้าน AK 5-6 หลังละ 600 บาท/คืน 2 คน

บ้าน AK 7-14 หลังละ 800 บาท/คืน 2 คน

บ้าน AK หลังใหญ คนละ 150 บาท/คืน 30 คน

[แก้] ที่พักเอกชนรอบ ๆ สถานนี

บ้านหลวงรีสอร์ท ติดต่อคุณธวัชชัย 081-881-8114 หรือ 053-450010 อ่างขางวิลล่า ติดต่อคุณเจิน 053-450010,450023

[แก้] ที่พักกางเต้นท์ของทางสถานนี

ที่พักกางเต็นท์ของทางสถานี จะอยู่ถึงก่อนสถานนีประมาณ 1 กิโลเมตร ที่พักจัดเป็นสัดเป็นส่วน มีเจ้าหน้าที่ดูแล จะเปิดให้บริการในช่วงฤดูหนาว แต่ถ้าหากต้องการไปกางเต้นท์พักแรกเป็นกลุ่มคณะในช่วงฤดูอื่น ก็สามารถติดต่อกับทางสถานนีได้ ที่กางเต้นท์จุดนี้ อากาศจะไม่หนาวเย็นเหมือนกับการกางเต้นท์บริเวณรอบ ๆ สถานี หรือบริเวณโรงเรียนบ้านคุ้ม อุณหภูมิจะสูงกว่าบริเวณดังกล่าวประมาณ 4-5 องศา สามารถรองรับผู้ที่จะมากางเต็นท์ ประมาณ 200 คน มีอัตราค่าบริการดังนี้ (ราคา ณ วันที่ 2 ธ.ค. 2007)

  • ค่าเช่าพื้นที่กางเต็นท์ อัตราคนละ 20 บาท/คน/คืน
  • ราคาเช่าเต็นท์ พัก 2 คน (15 หลัง) พร้อมเครื่องนอน หลังละ 300 บาท/คืน
  • ราคาเช่าเต็นท์ พัก 2 คน (15 หลัง) ไม่รวมเครื่องนอน หลังละ 200 บาท/คืน
  • ราคาเช่าเต็นท์ พัก 3 คน (47 หลัง) พร้อมเครื่องนอน หลังละ 400 บาท/คืน
  • ราคาเช่าเต็นท์ พัก 3 คน (47 หลัง) ไม่รวมเครื่องนอน หลังละ 250 บาท/คืน
  • ราคาเช่าเต็นท์ พัก 5 คน (5 หลัง) ไม่รวมเครื่องนอน หลังละ 1,000 บาท/คืน
  • เครื่องนอน มี หมอน ผ้าน่วม ที่นอน รวม 67 หลัง


หากต้องการเช่าเฉพาะเครื่องนอน มีกำหนดราคาดังนี้

  • ถุงนอน ผ้าน่วม ที่นอน อย่างละ 50 บาท/คืน
  • หมอนเล็ก 10 บาท/คืน
  • หมอนใหญ่ 20 บาท/คืน
  • ผ้าใบ เสื่อ อย่างละ 30 บาท
  • จำหน่ายฟืนมัดละ 20 บาท และมีจุดก่อกองไฟจัดไว้ให้ด้วย

ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อความถูกต้องกรุณาตรวจสอบราคาอีกครั้งกับทางเจ้าหน้าที่ที่เบอร์ 0-53450-107-9

[แก้] ที่พักกางเต้นท์โรงเรียนบ้านคุ้ม

ณ บริเวณบ้านคุ้ม ทางโรงเรียนจะจัดที่กางเต้นท์ให้สำหรับนักท่องเที่ยว ซึ่งจุดกางเต้นท์แห่งนี้ เป็นจุดกางเต้นท์ที่หนาวที่สุดในอ่างข่าง จาการวัดอุณหภูมิภายในเต้นท์ เวลาเที่ยงคืนของฤดูหนาว มีอุณหภูมิประมาณ 4 องศา ควรมีถุงน้ำร้อน หรือ ต้มน้ำร้อนใส่ขวดน้ำดื่ม 1.5 ลิตร จะสามารถอุ่นได้ครึ่งคืน ถ้าหากต้องการทราบถึงความหนาวเหน็บให้ใช้บริการที่จุดนี้ ทางโรงเรียน มีบริการ ผ้าห่ม และหมอนให้ ถ้านักท่องเที่ยวนำเต้นท์ไปเอง ก็ไม่ต้องเสียค่าเช่าเตนท์ แต่ควรเสียค่าน้ำค่าไฟค่าบำรุงรักษาสถานที่ คืนละ 100 บาท ถ้านักท่องเที่ยวไม่ได้นำเต้นท์ไป ทางโรงเรียนมีบริการเต้นท์ให้เช่า (เฉพาะช่วงฤดูหนาว) ค่าเช่าเต้นท์ 200 บาท / คืน รวมกับค่าบำรุงรักษาสถานที่ 100 บาท เป็นทั้งสั้น 300 บาท ที่จริงแล้วทางโรงเรียนไม่มีนโยบายเรียกเก็บเงินค่าบำรุงรักษาสถานที่โดยตรง แต่จากการสอบถามนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะให้ค่าบำรุงรักษาสถานที่ประมาณ 100 / คืน มีห้องน้ำ และห้องอาบน้ำให้ แต่ไม่แนะนำให้อาบน้ำเวลาตอนเย็นในฤดูหนาว เพราะน้ำจะเย็นมาก สามารถช๊อคได้ เมื่อตื่นเช้าขึ้นมา จะมีเด็กนักเรียน มาคอยเดินเก็บขยะ และคอยบริการอำนายความสะดวกกับนักท่องเที่ยว (เป็นภาพที่ประทับใจมาก) ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นชาวเขาอาศัยอยู่บริเวณอ่างขาง โรงเรียนแห่งนี้ เป็นพระราชดำริจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้สร้างขึ้น ปัจจุบัน มีนักเรียนทั้งสิ้น 350 คน (ปี 2007) มีนักเรียนตั้งแต่ชั้น ประถมศ๊กษา จนถึง มัธยมศึกษาปีที่ 3 (มีชั้นอนุบาลด้วย) มีคุณครูทั้งสิ้นประมาณ 10 คน โรงเรียนมีอาคารเดียว เป็นอาคารเตี้ย ชั้นเดียว มีประมาณ6-8 ห้อง ช่วงหน้าหนาว คุณครูต้องนำนักเรียนออกมาสอนกลางแดด(บางครั้งคุณครูชวนนักท่องเที่ยวไปสอนหนังสือเด็กนักเรียนด้วย) สามารถสอบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

  • โรงเรียนบ้านคุ้ม 053-450-054
  • คุณครูอุทัย (คุณครูพละศึกษา นักเรียนบนดอยอ่างขางเตะฟุตบอลเก่งมาก ถ้านักท่องเที่ยวไปตอนช่วงสงการณ์ โรงเรียนหยุด จะมีโอกาสได้เตะฟุตบอลกับนักเรียนที่สนามบริเวณหน้าเสาธง) เบอร์โทรศัพท์ 086-197-7122
  • คุณครูติ๋ว 081-998-6848

หากท่านใดต้องการบริจาค หนังสือ อุปกรณ์กีฬา และ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ให้กับเด็ก ๆ ก็สามารถติดต่อทางโรงเรียนได้ จากการสังเกต โรงเรียนมีห้องคอมพิวเตอร์ แต่ในห้องมีคอมพิวเตอร์เพียง 1-2 เครื่องเท่านั้น

[แก้] ข้อมูลการท่องเที่ยวประจำฤดูกาล

ยังไม่มีข้อมูล

[แก้] อ่างขางฤดูร้อน

อ่างขางฤดูร้อนนี้ มีเสน่ห์ และความสวยสดงดงามไม่แพ้ฤดูอื่น นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่ไปช่วงฤดูร้อน ชอบไปที่อ่างขางเพราะต้องการหลบลมร้อน อุณหภูมิสูงสุดโดยเฉลี่ย ประมาณ 25 องศา และ อุณหภูมิต่ำสุดโดยเฉลี่ยประมาณ 15 องศา ซึ่งอากาศกำลังสบาย ถ้าอยู่ในร่มไม้ก็จะเย็น แต่ถ้าตอนกลางคืนก็ต้องนอนห่มผ้าห่ม อากาศค่อนข้างเย็น ต้องใส่เสื้อหนาว และกางเกงขายาวช่วย แต่ถ้าวันใดฝนตก อากาศจะหนาวเย็นกว่าปรกติ (วันที่ 15 เมษายน 2007 ฝนตกที่ดอยอ่างขาง อุณหภูมิต่ำสุดคืนนั้นอยู่ที่ประมาณ 12 องศา) ในช่วงสงกรานต์ เป็นช่วงที่ลูกท้อและบ๊วยญี่ปุ่น กำลังออกดอก หากินได้ไม่บ่อยในเมืองอย่างกรุงเทพ อาจซื้อจากชาวเขาที่มาขายของอยู่ภายในสภานนีเกษตร รสชาติดี แต่จะให้ดียิ่งขึ้นก็ให้ซื้อจากร้านค้าของสถานี บริเวณด้านหน้า เพราะเป็นท้อพันธ์ดี รสชาติหวานหอม ราคาแล้วแต่ขนาด ท้อลูกเล็ก ประมาณ 1 กิโลกรัมอยู่ที่ประมาณ 20 บาท ถ้าลูกใหญ่หน่อย ก็ 30 จนถึง 45 บาท นอกจากนั้นแล้ว ดอยอ่างขางในฤดูร้อนจะเขียวขจีทั้งดอย ไม้พลัดใบต่าง ๆ ที่อยู่บนดอย ใบจะออกเต็มที่ จะมีใบสีเขียว ส่วนไม้ดอกนั้น ส่วนใหญ่จะงดงามอกดอกตลอดปี บรรยากาศร่มรื่น เหมาะสำหรับผู้ต้องการไปพักผ่อน หลบความวุ่นวาย และ หลบลมร้อนอย่างยิ่ง

[แก้] อ่างขางฤดูฝน

ช่วงฤดูฝน มิถุนายน - กันยายน ทางลื่นสักหน่อย แต่ป่าหน้าฝนก็คุ้มค่าที่จะมาเยือน เพราะสภาพป่าเขาและเทือกเขาจะมีสีเขียวสดชื่น ถึงแม้อาจจะเสี่ยงต่อการเจอฝน แต่ถ้าหากฝนไม่ตกก็จะเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุด เนื่องจากสภาพอากาศจะดี มองชมวิวได้ไกลๆ ไร้หมอกแดดขุ่นมัว

[แก้] อ่างขางฤดูหนาว

ยังไม่มีข้อมูล

[แก้] อ้างอิง

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

พิกัดภูมิศาสตร์: 19°54′08″N 99°02′25″E / 19.90210°N 99.04017°E / 19.90210; 99.04017