ประเทศจอร์เจีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Қырҭтәыла Аҳәынҭқарра
Қyrҭtәyla Aҳәynҭқarra
Гуырдзыстон
Guyrdzyston
เกิร์ดซิสตอน
საქართველო
Sakartvelo
ซาคาร์ตเวลอ
จอร์เจีย
ธงชาติจอร์เจีย ตราแผ่นดินของจอร์เจีย
ธงชาติ ตราแผ่นดิน
คำขวัญจอร์เจีย: ძალა ერთობაშია
(Dzala ertobashia: พลังอยู่ในเอกภาพ)
เพลงชาติTavisupleba (อิสรภาพ)
ที่ตั้งของจอร์เจีย
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
ทบิลิซิ

41°43′N 44°48′E

ภาษาทางการ ภาษาจอร์เจียและ ภาษารัสเซีย
รัฐบาล สาธารณรัฐ
  ประธานาธิบดี
นายกรัฐมนตรี
มีเคอิล ซาคัชวีลี
ซูรับ โนไกเดลี
ได้รับเอกราช
   - วันที่
 - อดีต
จากสหภาพโซเวียต
9 เมษายน พ.ศ. 2534
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตจอร์เจีย 
เนื้อที่
 -  ทั้งหมด 69,700 กม.² (ลำดับที่ 118)
 -  พื้นน้ำ (%) น้อยมาก
ประชากร
 -  2547 ประมาณ 4,677,401 (อันดับที่ 114)
 -  2533 สำรวจ 5.5 ล้าน 
 -  ความหนาแน่น 67/กม.² (อันดับที่ 101)
GDP (PPP) 2548 ประมาณ
 -  รวม 15.52 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 122)
 -  ต่อประชากร 3,039 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 127)
HDI (2546) 0.732 (กลาง) (อันดับที่ 100)
สกุลเงิน ลารี (GEL)
เขตเวลา MSK (UTC+3)
 -  ฤดูร้อน (DST) MSD (UTC+4)
รหัสอินเทอร์เน็ต .ge
รหัสโทรศัพท์ +995

ประเทศจอร์เจีย (ภาษาจอร์เจีย: საქართველო, Sakartvelo) เดิมระหว่างปี พ.ศ. 2534-2538 เรียกว่า สาธารณรัฐจอร์เจีย เป็นประเทศที่อยู่ทางตะวันออกของทะเลดำในคอเคซัสตอนใต้ ในอดีตเป็นสาธารณรัฐหนึ่งของสหภาพโซเวียต มีอาณาเขตทางเหนือจรดประเทศรัสเซีย ทางใต้จรดประเทศตุรกี ประเทศอาร์เมเนีย และประเทศอาเซอร์ไบจาน

เนื้อหา

[แก้] ประวัติศาสตร์

[แก้] การเมือง

จอร์เจียเป็นประเทศที่แยกตัวออกมาจากสหภาพโซเวียต (คอมมิวนิสต์) ช่วงหลังสงครามเย็น ซึ่งก่อนที่จะแยกออกมานั้นมีชื่อประเทศว่า "สาธารณรัฐสังคมนิยมจอร์เจีย" แต่ก็ยังไม่ได้การรับรองจากประเทศใด ๆ ทำให้เกิดการต่อสู้เพื่อแบ่งแยกดินแดนจากคนต่างเชื้อสายในประเทศเดียวกันเองอยู่เสมอ ส่วนเมืองที่รัสเซียให้การสนับสนุนก็ได้ออกมาในรูปแบบของชนกลุ่มน้อยที่ต่อต้านรัฐบาลจอร์เจียซึ่งทางรัสเซียถือหางอยู่ จอร์เจียถือเป็นรัฐกันชนอีกแห่งที่จะสามารถเชื่อมต่อไปยังยุโรปตะวันออกได้ และในอดีตทางยุโรปตะวันออกก็ถือได้ว่าเป็นเขตอิทธิพลของระบอบคอมมิวนิสต์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาวยุโรปและโดยเฉพาะกับยุโรปตะวันตกเป็นอย่างมาก และเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2551 ก็ได้ประกาศสงครามและสู้รบอย่างเป็นทางการกับทางรัสเซียแล้ว เพราะเนื่องจากถูกทหารรัสเซียบุกเข้าโจมตีทางเซาท์ออสซีเชียก่อนหน้านี้เป็นเวลา 2 วันแล้ว

[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง

จอร์เจียแบ่งเป็น 9 จังหวัด (mkhare) จังหวัดต่าง ๆ แบ่งย่อยลงไปเป็นเขต (raioni) 2 สาธารณรัฐปกครองตนเอง (avtonomiuri respublika) และ 1 นคร (k'alak'i) * ดังนี้

Regions of Georgia.png

หมายเลข เขตการปกครอง เมืองหลวง
1 สาธารณรัฐปกครองตนเองอับฮาเซีย (Abkhazia) ซุคุมี (Sukhumi)
2 ซาเมเกรลอ-เซมอสวาเนตี (Samegrelo-Zemo Svaneti) ซุกดีดี (Zugdidi)
3 กูเรีย (Guria) โอซูร์เกตี (Ozurgeti)
4 สาธารณรัฐปกครองตนเองอัดจารา (Adjara) บาตูมี (Batumi)
5 ราชา-เลชคูมีและคเวมอสวาเนตี อัมบรอลาอูรี (Ambrolauri)
(Racha-Lechkhumi and Kvemo Svaneti)
6 อีเมเรตี (Imereti) คูไตซี (Kutaisi)
7 ซัมซเค-จาวาเคตี (Samtskhe-Javakheti) อะคัลต์ซีเค (Akhaltsikhe)
8 ชีดาคาร์ตลี (Shida Kartli) กอรี (Gori)
9 มซเคตา-มเตียเนตี (Mtskheta-Mtianeti) มซเคตา (Mtskheta)
10 คเวมอคาร์ตลี (Kvemo Kartli) รุสตาวี (Rustavi)
11 คาเคตี (Kakheti) เตลาวี (Telavi)
12 ทบิลิซิ* (Tbilisi)

[แก้] ภูมิศาสตร์

ที่ตั้ง

ทางตอนใต้ของเทือกเขาคอเคซัส

  • ทิศเหนือ จรดพรมแดนรัสเซีย
  • ทิศตะวันออก จรดพรมแดนอาเซอร์ไบจาน
  • ทิศใต้จรดพรมแดนอาร์เมเนีย และตุรกี
  • ทิศตะวันตก ติดชายฝั่งทะเลดำ
พื้นที่

69,700 ตารางกิโลเมตร หรือ 26,911 ตารางไมล์ ความหนาแน่นของประชากร 206 คน ต่อตารางไมล์

[แก้] เศรษฐกิจ

[แก้] ประชากร

เป็นเชื้อชาติจอร์เจีย 70% ชาวอาร์เมเนีย 8% ชาวรัสเซีย 6% และอื่น ๆ 16%

[แก้] วัฒนธรรม

นับถือศาสนาคริสต์นิกายออร์ทอดอกซ์ 75% นับถือศาสนาอิสลาม 11% อื่น ๆ 14%

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] อ้างอิง

ASpacer.gifBlankMap-World6.svg ประเทศจอร์เจีย เป็นบทความเกี่ยวกับ ประเทศ เมือง หรือเขตการปกครองต่าง ๆ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ ประเทศจอร์เจีย ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ

ภาษาอื่น