ประเทศแอลจีเรีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

الجمهورية الجزائرية الديمقراطية الشعبية
Al-Jumhurīyah al-Jazā’irīyah
อัลจุมฮูรียะห์ อัลจะซาอิรียะห์
ad-Dīmuqrātīyah ash-Sha’bīyah
อัดดีมุกรอตียะห์ อัชชะอ์บียะห์
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนแอลจีเรีย
ธงชาติแอลจีเรีย ตราแผ่นดินของแอลจีเรีย
ธงชาติ ตราแผ่นดิน
คำขวัญمن الشعب و للشعب
("การปฏิวัติโดยประชาชนและเพื่อประชาชน")
เพลงชาติKassaman ("คำสาบาน")
ที่ตั้งของแอลจีเรีย
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
แอลเจียร์

36°42′N 3°13′E

ภาษาทางการ ภาษาอาหรับ1
รัฐบาล สาธารณรัฐประชาธิปไตย
 -  ประธานาธิบดี อับเดลาซิซ บูเตฟลิกา
 -  นายกรัฐมนตรี อัมเหม็ด โอยาเฮีย
เอกราช
  วันที่ จาก ฝรั่งเศส
5 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 
เนื้อที่
 -  ทั้งหมด 2,381,741 กม.² (ลำดับที่ 11)
 -  พื้นน้ำ (%) น้อยมาก
ประชากร
 -  2548 ประมาณ 32,854,000 (อันดับที่ 37)
 -  2541 สำรวจ 29,100,867 
 -  ความหนาแน่น 14/กม.² (อันดับที่ 196)
GDP (PPP) 2548 ประมาณ
 -  รวม 237.684 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 38)
 -  ต่อประชากร 7,189 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 86)
HDI (2546) 0.722 (กลาง) (อันดับที่ 103)
สกุลเงิน ดีนาร์แอลจีเรีย (DZD)
เขตเวลา CET (UTC+1)
 -  ฤดูร้อน (DST) CET (UTC+1)
รหัสอินเทอร์เน็ต .dz
รหัสโทรศัพท์ +213
1 ภาษาฝรั่งเศส ใช้ในวงการธุรกิจ ส่วนภาษาเบอร์เบอร์ (บัรบัร) เป็นภาษาประจำชาติ)

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนแอลจีเรีย (People's Democratic Republic of Algeria) (ภาษาอาหรับ: الجمهورية الجزائرية الديمقراطية الشعبية) หรือ แอลจีเรีย (Algeria) (ภาษาอาหรับ: الجزائر) เป็นประเทศในแอฟริกาเหนือ และเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ในทวีปแอฟริกา รองจากประเทศซูดาน มีอาณาเขตทางตะวันออกเฉียงเหนือจรดประเทศตูนิเซีย ทางตะวันออกจรดประเทศลิเบีย ทางตะวันออกเฉียงใต้จรดประเทศไนเจอร์ ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดประเทศมาลีและประเทศมอริเตเนีย และทางตะวันตกจรดประเทศโมร็อกโก รวมถึงหลายกิโลเมตรของพื้นที่ที่ยึดครองมาได้บางส่วน คือ เวสเทิร์นสะฮารา

ประเทศแอลจีเรียมีประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ โดยรัฐธรรมนูญ ได้นิยามไว้ว่าแอลจีเรียเป็นประเทศ อิสลาม อาหรับ และอะมาซิก (เบอร์เบอร์) ชื่อประเทศแอลจีเรีย (Algeria) มาจากชื่อเมืองหลวงแอลเจียร์ ซึ่งมาจากคำภาษาอาหรับว่า อัลญะซาอีรฺ (al-jazā’ir) ซึ่งแปลว่า "หมู่เกาะ" หมายถึงเกาะ 4 เกาะ ที่อยู่นอกชายฝั่งของเมือง ก่อนกลายเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นดินใหญ่เมื่อปี พ.ศ. 2068

[แก้] ประวัติศาสตร์

กลุ่มชนที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานกลุ่มแรกคือชาวเบอร์เบอร์ จากนั้นจึงมีชาวฟินิเชียน ชาวโรมันและชาวอาหรับเข้ามา แอลจีเรียอยู่ภายใต้การปกครองของตุรกีในช่วง พ.ศ. 2061 - 2373 จากนั้นจึงตกอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส

แม้จะได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมฝรั่งเศสมาก แต่ชาวอาหรับในแอลจีเรียคงทำสงครามกองโจรต่อต้านฝรั่งเศสอย่างต่อเนื่อง จนฝรั่งเศสยอมถอนตัวจากแอลจีเรีย โดยแอลจีเรียได้รับเอกราชเมื่อ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 อาห์เม็ด เบลล์ เบลลาเป็นผู้นำในช่วง พ.ศ. 2505 - 2508 จากนั้นถูกคณะทหารปฏิวัติ พ.ศ. 2510 แอลจีเรียประกาศสงครามกับอิสราเอล และหันไปผูกมิตรกับสหภาพโซเวียต

ปัญหาทางเศรษฐกิจเป็นเหตุให้ประชาชนก่อการจลาจลเมื่อ พ.ศ. 2531 รัฐบาลปราบปรามด้วยความรุนแรงจนมีผู้เสียชีวิตไป 500 คน พ.ศ. 2532 แอลจีเรียประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนมากขึ้น

[แก้] อ้างอิง

  • ประเทศแอลจีเรีย กระทรวงต่างประเทศ
  • ธนู แก้วโอภาส. ประวัติศาสตร์แอฟริกา. กทม. สุขภาพใจ. 2548
ภาษาอื่น