ความผิดหมิ่นประมาทในประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

(เปลี่ยนทางมาจาก หมิ่น)

หมิ่นประมาท ความหมายตามพจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ความหมายว่า "แสดงกิริยาวาจาดูถูกเหยียดหยามผู้อื่น"[ต้องการอ้างอิง] ในกฎหมายไทยนั้นเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งจำแนกลักษณะฐานความผิดตามฐานะของผู้ที่ถูกหมิ่นประมาท วิธีการที่หมิ่นประมาท และการกระทำที่หมิ่นประมาทนั้นได้กระทำต่อบุคคลที่สามหรือบุคคลที่ถูกหมิ่นประมาทโดยตรง ในทางกฎหมายนั้นจะมีชื่อเรียกความผิดเหล่านี้แตกต่างกันไป

เนื้อหา

[แก้] การหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดา

[แก้] หมิ่นประมาท (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326)

[แก้] หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328)

[แก้] หมิ่นซึ่งหน้า (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393)

การหมิ่นประมาทบุคคลธรรมเป็นความผิดอันยอมความกันได้ ในทางกฎหมายได้นิยามคำว่าหมิ่นประมาทไว้ว่า "ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท" ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากกระทำผิดโดยการโฆษณาต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท ส่วนการหมิ่นซึ่งหน้านั้น อยู่ในหมวดลหุโทษของประมวลกฎหมายอาญา เป็น "การดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณา" (มาตรานี้ไม่ได้มีกล่าวถึงความเกี่ยวข้อต่อบุคคลที่สามไว้) มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

[แก้] การหมิ่นประมาทเจ้าหน้าที่รัฐ

[แก้] การหมิ่นประมาทเจ้าพนักงาน

ผู้ใดดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ หรือเพราะได้กระทำการตามหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136)

[แก้] การหมิ่นประมาทศาล

ผู้ใดดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณาหรือพิพากษาคดี หรือกระทำการขัดขวางการพิจารณาหรือพิพากษาของศาล ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 198)

[แก้] การหมิ่นประมาทบุคคลสำคัญระดับชาติ

[แก้] หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

ข้อหาที่เรียกกันว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้น เป็นความผิดที่กระทำต่อผู้ดำรงฐานะสี่อย่างของไทย ได้แก่ พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112) ผู้กระทำผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และความผิดตามมาตรานี้มิได้เพียงกล่าวถึงการดูหมิ่นอย่างเดียว แต่รวมถึง "แสดงความอาฆาตมาดร้าย" ด้วย

ความผิดตามกรณีนี้ไม่ว่าจะกระทำภายในหรือภายนอกราชอาณาจักรไทยก็ต้องรับโทษในราชอาณาจักร เพราะเป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 7)

[แก้] การหมิ่นประมาทบุคคลสำคัญของรัฐต่างชาติ

ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายราชาธิบดี ราชินี ราชสามี รัชทายาท หรือประมุขแห่งรัฐต่างประเทศ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 133)

ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายผู้แทนรัฐต่างประเทศซึ่งได้รับแต่งตั้งให้มาสู่พระราชสำนัก ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปีหรือปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 134)

[แก้] พัฒนาการบทลงโทษผู้กระทำความผิดหมิ่นประมาท

ฐานความผิด ระวางโทษ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
จำคุก/ปี ปรับ/บาท
หมิ่นประมาท ≤ 6 เดือน ≤ 1,000 กฎหมายลักษณอาญา ร.ศ. 127 มาตรา 282

ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 มาตรา 326

≤ 1 ≤ 2,000 คำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 (21 ตุลาคม พ.ศ. 2519)
≤ 1 ≤ 20,000 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2535
หมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ≤ 1 ≤ 2,000 กฎหมายลักษณอาญา ร.ศ. 127 มาตรา 282

ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 มาตรา 328

≤ 2 ≤ 4,000 คำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 (21 ตุลาคม พ.ศ. 2519)
≤ 2 ≤ 200,000 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2535
หมิ่นศาล ≤ 2 ≤ 1,000 กฎหมายลักษณอาญา ร.ศ. 127 มาตรา 151
≤ 3 ≤ 6,000 ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 มาตรา 198
1-7 2,000-14,000 คำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 (21 ตุลาคม พ.ศ. 2519)
หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ≤ 7 ≤ 5,000 กฎหมายลักษณอาญา ร.ศ. 127 มาตรา 98
≤ 7 - ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 มาตรา 112
3 -15 - คำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 (21 ตุลาคม พ.ศ. 2519)
หมิ่นประมาทต่อพระราชโอรส พระราชธิดา

ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ว่ารัชกาลหนึ่งรัชกาลใด

≤ 3 ≤ 2,000 กฎหมายลักษณอาญา ร.ศ. 127 มาตรา 100

(ยกเลิกไปโดยการออกใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499)

สั่งสอนทฤษฎีการเมืองหรือเศรษฐกิจ

เพื่อให้บังเกิดความเกลียดชังดูหมิ่นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

หรือเกิดความเกลียดชังระหว่างชนชั้น

≤ 10 ≤ 5,000 พระราชบัญญัติแก้ไขกฎหมายลักษณอาญา พ.ศ. 2470

(เป็นการแก้ไขกฎหมายลักษณอาญา ร.ศ. 127 มาตรา 104)

(ยกเลิกไปโดยการออกใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499)

Scale of justice.svg ความผิดหมิ่นประมาทในประเทศไทย เป็นบทความเกี่ยวกับ การเมือง การปกครอง หรือ กฎหมาย ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ ความผิดหมิ่นประมาทในประเทศไทย ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ