ประเทศนามิเบีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Republic of Namibia
สาธารณรัฐนามิเบีย
ธงชาตินามิเบีย ตราแผ่นดินของนามิเบีย
ธงชาติ ตราแผ่นดิน
คำขวัญUnity, Liberty, Justice
เพลงชาติNamibia, Land of the Brave
ที่ตั้งของนามิเบีย
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
วินด์ฮุก

22°33′S 17°15′W

ภาษาทางการ ภาษาอังกฤษ
รัฐบาล สาธารณรัฐ
  ประธานาธิบดี
นายกรัฐมนตรี
ฮิฟิเกปันเย โปฮัมบา
นาฮาส แองกูลา
สาธารณรัฐ
  ประกาศเอกราช จากแอฟริกาใต้
21 มีนาคม พ.ศ. 2533 
เนื้อที่
 -  ทั้งหมด 825,418 กม.² (ลำดับที่ 34)
 -  พื้นน้ำ (%) น้อย
ประชากร
 -  กรกฎาคม 2548 ประมาณ 2,031,000 (อันดับที่ 144)
 -  2545 สำรวจ 1,820,916 
 -  ความหนาแน่น 2.5/กม.² (อันดับที่ 225)
GDP (PPP) 2548 ประมาณ
 -  รวม 15.14 พันล้าน (อันดับที่ 123)
 -  ต่อประชากร $7,101 (อันดับที่ 88)
HDI (2545) 0.627 (ปานกลาง) (อันดับที่ 125)
สกุลเงิน ดอลลาร์นามิเบีย (NAD)
เขตเวลา (UTC+1)
 -  ฤดูร้อน (DST)  (UTC+2)
รหัสอินเทอร์เน็ต .na
รหัสโทรศัพท์ +264

ประเทศนามิเบีย หรือ สาธารณรัฐนามิเบีย เป็นประเทศในทวีปแอฟริกาตอนใต้ ริมฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก มีพรมแดนติดด้านเหนือกับประเทศแองโกลา และแซมเบีย ด้านตะวันออกเฉียงเหนือติดกับซิมบับเว ทางตะวันออกติดกับบอตสวานา และทางใต้ติดกับประเทศแอฟริกาใต้ นามิเนียได้รับเอกราชคืนจากประเทศแอฟริกาใต้เมื่อ พ.ศ. 2533 มีเมืองหลวงชื่อวินด์ฮุก

เนื้อหา

[แก้] ประวัติศาสตร์

  • ปลายพุทธทศวรรษที่ 20 บาร์โธโลมิวส์ (Bartholomius) ชาวโปรตุเกสเป็นชาวยุโรปคนแรกที่เดินทางไปนามิเบีย
  • พ.ศ. 2427 ตกเป็นเมืองขึ้นของเยอรมนี (ยกเว้น Walvis Bay ที่ตกเป็นของอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2421
  • พ.ศ. 2458 ตกเป็นเมืองขึ้นของแอฟริกาใต้ และตกอยู่ภายใต้การปกครองตามกฎหมายในปี พ.ศ. 2463 โดยเป็นผลมาจากสนธิสัญญาแวร์ซายส์
  • พ.ศ. 2501 South West African People's Organization (SWAPO) ก่อตั้งขึ้นเพื่อเคลื่อนไหวทางด้านแรงงาน (Anti - contract Labour Movement)
  • พ.ศ. 2509 แอฟริกาใต้ประกาศใช้กฎหมายแบ่งแยกสีผิว ท่ามกลางการต่อต้านของสหประชาชาติ SWAPO ใช้กำลังต่อสู้เพื่อเรียกร้องเสรีภาพ
  • พ.ศ. 2510 มีการจัดตั้ง UN Council for South West Africa
  • พ.ศ. 2511 องค์การสหประชาชาติเปลี่ยนชื่อ South West Africa เป็นนามิเบีย
  • พ.ศ. 2514 ศาลโลกตัดสินว่าการคงอยู่ในนามิเบียของแอฟริกาใต้เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย และยืนยันหน้าที่รับผิดชอบขององค์การสหประชาชาติต่อนามิเบีย
  • พ.ศ. 2516 องค์การสหประชาชาติให้การรับรองว่า SWAPO เป็นตัวแทนที่ถูกต้องของชาวนามิเบีย มีการแต่งตั้ง UN Commissioner for Namibia
  • พ.ศ. 2518 แอฟริกาใต้จัดตั้งผู้นำในประเทศและหัวหน้าเผ่าจากเผ่าต่าง ๆ เข้าสู่ Turnhalle Conference ซึ่งไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ
  • พ.ศ. 2519 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติประณามการกระทำของแอฟริกาใต้ในนามิเบียอย่างเป็นเอกฉันท์
  • พ.ศ. 2521 คณะมนตรีความมั่นคงมีมติที่ 435 จัดให้มีการเลือกตั้งภายใต้การดูแลขององค์การสหประชาชาติและยุติการต่อสู้ระหว่างแอฟริกาใต้กับ SWAPO แต่องค์การสหประชาชาติก็ปฏิเสธการเลือกตั้งที่มีแอฟริกาใต้อยู่เบื้องหลังครั้งนั้น
  • พ.ศ. 2528 แอฟริกาใต้จัดให้มีรัฐบาลชั่วคราว โดยแต่งตั้งผู้แทนผิวดำจากพรรคต่าง ๆ เพื่อร่างรัฐธรรมนูญของประเทศ
  • พ.ศ. 2531 แอฟริกาใต้ปฏิเสธร่างรัฐธรรมนูญของรัฐบาลชั่วคราว รัฐบาลของแอฟริกาใต้ แองโกลา คิวบา สหภาพโซเวียต และสหรัฐอเมริกา ยอมรับเอกราชของนามิเบียตามนัยของมติที่ 435 ของคณะมนตรีความมั่นคง
  • พ.ศ. 2532 UN Transition Assistance Group ได้จัดการเลือกตั้งที่ยุติธรรมขึ้น แซม นูโจมา ผู้นำของ SWAPO ได้รับการเลือกตั้ง และจัดตั้งคณะรัฐมนตรี
  • 21 มีนาคม พ.ศ. 2533 ได้รับเอกราชอย่างเป็นทางการจาก สาธารณรัฐแอฟริกาใต้
  • 23 เมษายน พ.ศ. 2533 เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 160 ขององค์การสหประชาชาติ และต่อมาเป็นสมาชิกลำดับที่ 50 ของเครือจักรภพ

[แก้] การเมืองการปกครอง

ประธานาธิบดี คนแรกของนามิเบีย แซม นูโจมา

รูปแบบการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ รัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่ในปัจจุบันได้รับความเห็นชอบโดยการลงประชามติเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533 ซึ่งกำหนดให้ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งทั่วไปอยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี และจำกัดไม่เกิน 2 สมัย ต่อมาเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2542 ได้มีการแก้ไขให้ประธานาธิบดีอยู่ในตำแหน่งเกิน 2 สมัยได้ มีวันชาติคือ 21 มีนาคม (เป็นวันที่ได้รับเอกราชจากการปกครองของแอฟริกาใต้ เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2533)

[แก้] สถาบันทางการเมือง

ประกอบไปด้วยฝ่ายนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ

[แก้] ฝ่ายนิติบัญญัติ

  • รัฐสภา (National Assembly) แบบ 2 สภา (bicameral) ประกอบด้วยสมาชิก 78 คน ซึ่ง 72 คนมาจากการเลือกตั้งและอยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี และอีก 6 คนมาจากการแต่งตั้ง
  • สภาที่ปรึกษาแห่งชาติ (National Council) ประกอบด้วยสมาชิก 2 คน จากแต่ละสภาท้องถิ่น (Regional Council)ซึ่งอยู่ในตำแหน่งคราวละ 6 ปี

[แก้] ฝ่ายบริหาร

ประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร

[แก้] ฝ่ายตุลาการ

ประกอบด้วยศาลฎีกาและศาลสูง นอกจากนี้ ยังมีผู้พิพากษาและศาลล่างอีกเป็นจำนวนมาก

[แก้] ภูมิศาสตร์

เนื่องจากมีสภาพเป็นทะเลทรายจึงทำให้อากาศแห้งแล้ง

[แก้] ภูมิประเทศ

ประกอบไปด้วยพื้นที่สูงและทะเลทราย

[แก้] ภูมิอากาศ

แห้งแล้ง และกึ่งแห้งแล้ง

[แก้] ประชากร


[แก้] ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้นมีความใกล้ชิดมากกับแอฟริกาใต้ แต่มีปัญหาทางด้านพรมแดนกับบอตสวานา และ แองโกลา

[แก้] ความสัมพันธ์กับแองโกลา

นับแต่ปี 2536 ความสัมพันธ์กับประเทศแองโกลาไม่สู้จะราบรื่นนัก เนื่องจากในปี พ.ศ. 2536 กลุ่ม UNITA กล่าวหาว่ากองกำลังของนามิเบียข้ามไปยังชายแดนภาคใต้ของแองโกลาเพื่อช่วยรัฐบาลแองโกลาต่อสู้กับ UNITA แต่นามิเบียปฏิเสธ และต่อมาในปี พ.ศ. 2537 นามิเบียก็ได้ปิดพรมแดนส่วนที่ติดกับแองโกลา หลังจากที่เกิดการต่อสู้ในบริเวณนั้น และชาวนามิเบียถูกฆ่าตาย ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 ทั้งสองฝ่ายตกลงกันที่จะเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยบริเวณชายแดน

[แก้] ความสัมพันธ์กับบอตสวานา

ความสัมพันธ์กับบอตสวานาดำเนินมาด้วยดี จนกระทั่งในต้นปี พ.ศ. 2539 มีข้อขัดแย้งกันเรื่องการปักปันเขตแดนบริเวณแม่น้ำโชเบ

[แก้] ความสัมพันธ์กับแอฟริกาใต้

ความสัมพันธ์กับแอฟริกาใต้เป็นไปอย่างใกล้ชิด ในการเดินทางไปเยือนนามิเบียเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2537 ประธานาธิบดีเนลสัน มันเดลา แถลงว่ามีความเป็นไปได้ที่แอฟริกาใต้จะยกเลิกหนี้สิน จำนวน 826.6 ล้านดอลลาร์นามิเบีย ที่นามิเบียมีต่อแอฟริกาใต้ตั้งแต่ครั้งยังไม่ได้รับเอกราช และเมื่อประธานาธิบดีแซม นูโจมา ไปเยือนแอฟริกาใต้ในเดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ. 2539 ก็ได้ร้องขอต่อสภาแอฟริกาใต้ให้ยกเลิกหนี้สินดังกล่าว และขอให้แอฟริกาใต้ไปลงทุนในนามิเบีย แม้ว่านโยบายต่างประเทศของนามิเบียแตกต่างจากนโยบายของแอฟริกาใต้บางประการ อาทิ นามิเบียสนับสนุนนโยบายของจีน ในการอ้างสิทธิเหนือไต้หวัน และการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับรัฐบาลไนจีเรีย แต่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองก็ยังคงดำเนินไปด้วยดี เนื่องจากนามิเบียต้องพึ่งพาแอฟริกาใต้ทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก

[แก้] องค์กรระหว่างประเทศ

นามิเบียเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ กลุ่ม 77 กลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (Non-aligned Movement - NAM) องค์การเอกภาพแอฟริกา (Organization of African Unity - OAU) สหภาพศุลกากรแอฟริกาใต้ (Southern Africa Customs Union - SACU) ประชาคมด้านการพัฒนาแห่งภูมิภาคแอฟริกาตอนใต้ (Southern African Development Community - SADC)


[แก้] เศรษฐกิจการค้า

  • อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 3 (2542)
  • รายได้ประชาชาติต่อหัว 4,300 ดอลลาร์สหรัฐ (2542)
  • ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศเบื้องต้น 7.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2542)
  • อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 8.5 (2542)
  • อุตสาหกรรมที่สำคัญ ผลิตภัณฑ์เนื้อบรรจุกระป๋อง ผลิตภัณฑ์นม ฟอกหนัง ทอผ้า เสื้อผ้าสำเร็จรูป
  • ดุลการค้า นำเข้า 1.55 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และส่งออก 1.45 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • สินค้าเข้าที่สำคัญ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและเชื้อเพลิง เครื่องจักรและอุปกรณ์เคมีภัณฑ์
  • สินค้าออกที่สำคัญ เพชร ทองแดง ทองคำ สังกะสี ตะกั่ว
  • สกุลเงิน 1 ดอลลาร์นามิเบีย (NAD) เท่ากับ 100 เซนต์ (cents)
  • อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 6.12 ดอลลาร์นามิเบีย (2543)
  • อัตราการว่างงานสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก (33.8% ในปีพ.ศ. 2547))[1]

[แก้] การคมนาคม

  • ถนน ในปี 2534 ถนนทั้งหมดมีความยาว 41,815 กิโลเมตร ซึ่งในจำนวนนี้เป็นถนนราดยาง 4,572 กิโลเมตร และมียานพาหนะจำนวน 132,331 คัน
  • ทางรถไฟ ระบบทางรถไฟของนามิเบียเชื่อมกับทางรถไฟสายหลักของแอฟริกาใต้ที่เมือง อาเรียมสว์เลอิ ทางรถไฟในประเทศมีความยาว 2,382 กิโลเมตร ในช่วงปี 2538-2539 มีผู้โดยสารรถไฟ 124,000 คน และมีการขนส่งสินค้า 1.7 ล้านตัน
  • การบินพลเรือน สายการบินแห่งชาติที่เป็นของรัฐชื่อแอร์นามิเบีย มีสนามบินนานาชาติที่เมืองวินด์ฮุกและสนามบินภายในประเทศที่เมืองอีรอส ผู้โดยสารระหว่างประเทศมีจำนวน 215,175 คน และสินค้า 2.8 ล้านกิโลกรัม ส่วนผู้โดยสารภายในประเทศมีจำนวน 7,117 คน และสินค้า 211,218 กิโลกรัม นอกจากนี้ ยังมีสายการบินอื่นที่บินผ่าน ได้แก่ แอร์ บอตสวานา, แอร์ ซิมบับเว, คอมเมอร์เชียล แอร์เวย์, ลัฟทันซา, เซาท์ แอฟริกัน แอร์เวย์
  • การเดินเรือ ท่าเรือที่สำคัญ ได้แก่ วอลวิส เบย์ (ตรงอ่าววอลวิส)
  • โทรคมนาคม ในปี 2535 มีที่ทำการไปรษณีย์ 72 แห่ง และมีโทรศัพท์ 89,722 เครื่อง สถานีวิทยุนามิเบียมี 3 สถานี และมีสถานีโทรทัศน์ 10 สถานี ในปี 2536 มีโทรทัศน์ จำนวน 27,000 เครื่อง และวิทยุจำนวน 195,000 เครื่อง

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ The Economist, Pocket World in Figures 2007 Edition, 2549

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

ASpacer.gifBlankMap-World6.svg ประเทศนามิเบีย เป็นบทความเกี่ยวกับ ประเทศ เมือง หรือเขตการปกครองต่าง ๆ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ ประเทศนามิเบีย ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ
ภาษาอื่น