ประเทศปาปัวนิวกินี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Independent State of Papua New Guinea
Independen Stet bilong Papua Niugini
อินเดเพนเด็น สเต็ต บิลอง ปาปัวนิอูกินี
รัฐเอกราชปาปัวนิวกินี
ธงชาติปาปัวนิวกินี ตราแผ่นดินของปาปัวนิวกินี
ธงชาติ ตราแผ่นดิน
คำขวัญUnity in diversity ("เอกภาพในความหลากหลาย")
เพลงชาติO Arise, All You Sons
ที่ตั้งของปาปัวนิวกินี
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
พอร์ตมอร์สบี

9°30′S 147°07′E

ภาษาทางการ ภาษาอังกฤษ ภาษาท็อกพิซิน และภาษาฮิรีโมตู
รัฐบาล ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
  ประมุข

ผู้สำเร็จราชการ
นายกรัฐมนตรี
สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร
เซอร์พอลเลียส มาตาเน
เซอร์ไมเคิล โซมาเร
เอกราช
  ปกครองตนเอง
เอกราช
จาก ออสเตรเลีย
1 ธันวาคม พ.ศ . 2516
16 กันยายน พ.ศ. 2518 
เนื้อที่
 -  ทั้งหมด 462,840 กม.² (ลำดับที่ 53)
 -  พื้นน้ำ (%) 2
ประชากร
 -  ก.ค. 2548 ประมาณ 5,887,000 (อันดับที่ 104)
 -  ความหนาแน่น 11/กม.² (อันดับที่ 198)
GDP (PPP) 2548 ประมาณ
 -  รวม 13.32 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 126)
 -  ต่อประชากร 2,400 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 131)
HDI (2546) 0.523 (กลาง) (อันดับที่ 137)
สกุลเงิน กีนา (PGK)
เขตเวลา AEST (UTC+10)
 -  ฤดูร้อน (DST) not observed (UTC+10)
รหัสอินเทอร์เน็ต .pg
รหัสโทรศัพท์ +675

ปาปัวนิวกินี (อังกฤษ: Papua New Guinea) เป็นประเทศในแถบโอเชียเนีย เป็นพื้นที่ทางตะวันออกของเกาะนิวกินี (พื้นที่ทางตะวันตกเป็นของจังหวัดปาปัวของประเทศอินโดนีเซีย) ตั้งอยู่ในบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก อยู่ทางเหนือของประเทศออสเตรเลีย และอยู่ทางตะวันตกของหมู่เกาะโซโลมอน

ปัจจุบัน ปาปัวนิวกินี เป็นประเทศสังเกตการณ์ในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน)

เนื้อหา

[แก้] ประวัติศาสตร์

มีชาวพื้นเมืองชื่อว่า ชาวปาปวน ประเทศปาปัวนิวกินีเป็นประเทศที่เปลี่ยนเจ้าของอยู่บ่อย ๆ เช่น ประเทศอังกฤษ ประเทศเยอรมนี ประเทศออสเตรเลีย

[แก้] การเมือง

ปกครองแบบสภาเดียว

[แก้] ภูมิศาสตร์

มีลักษณะเป็นภูเขาและชายฝั่งทะเลเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับที่2ของโลก (รองจากเกาะกรีนแลนด์) ตั้งอยู่ทิศเหนือของประเทศออสเตรเลีย ทิศตะวันตกติดกับอินโดนีเซีย

[แก้] เศรษฐกิจ

ปาปัวนิวกินีเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ ทรัพยากรทางทะเล ทองคำ ทองแดง น้ำมันดิบ แก๊สธรรมชาติ รายได้หลักของประเทศขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมการประมง เหมืองทองแดง เหมืองทองคำ และการท่องเที่ยว ส่วนด้านเกษตรกรรม ส่วนใหญ่เป็นการเพาะปลูกกาแฟ โกโก้ และมะพร้าว ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ได้แก่ ประเทศออสเตรเลีย ประเทศสิงคโปร์ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศนิวซีแลนด์ สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ทองคำ น้ำมันดิบ กาแฟ ทองแดง ซุง กาแฟ และสัตว์ทะเล ส่วนสินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมัน เครื่องจักรและอุปกรณ์การขนส่ง ส่วนประกอบรถยนต์ อาหาร และเชื้อเพลิง

รัฐบาลควบคุมสถานะการคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ อัตราเงินเฟ้อต่ำ อัตราแลกเปลี่ยนมีเสถียรภาพ เศรษฐกิจได้รับผลดีจากผลผลิตเหมืองแร่ที่เพิ่มขึ้น และราคาสินค้าส่งออกเพิ่มสูงขึ้นได้แก่ ทอง น้ำมันดิบ ทองแท่ง เป็นผลให้การส่งออกในช่วงไตรมาสของปีขยายตัวร้อยละ 14 เมื่อเทียบกับปีก่อน และคาดว่าในปีนี้ดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลและเศรษฐกิจโดยรวมจะเติบโตในทิศทางที่ดี อย่างไรก็ตาม ในเดือน มี.ค. 2549 UN ได้เสนอปรับสถานะการพัฒนาของปาปัวนิวกินีจากประเทศกำลังพัฒนาเป็นประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (LDCs) ซึ่ง นรม. Sir Michael ปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว

รัฐบาลพยายามดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ขยายการส่งออก (Export-led economy) แสวงหาความร่วมมือกับประเทศในเอเชีย (look north) และมีบทบาทนำในกลุ่มประเทศหมู่เกาะแปซิฟิก (Work Pacific) การลงนามความตกลงทางการค้ากับนิวซีแลนด์เมื่อเดือนมิ.ย. 2549 ทำให้ปาปัวนิวกินีส่งออกสินค้าเกษตร เช่น มะพร้าว เผือก ขิง ไปยังตลาดนิวซีแลนด์ นอกจากนี้ ปาปัวนิวกินียังได้รับโควตาการส่งออกปลาทูน่าไปยังตลาด EU เพิ่มขึ้น ในการประชุมรัฐมนตรีการค้าของเอเปคครั้งที่ 12 ปาปัวนิวกินีตอบรับที่จะยกเลิกการอุดหนุนสินค้าส่งออกทั้งหมดภายในปี 2556


[แก้] ประชากร

ปาปัวนิวกินี ประกอบด้วยชนหลายเผ่าพันธุ์ เช่น ชาวเมลานีเชียน ปาปัว เนกริด ไมโครนีเซียน และโปลินีเซียน

มีภาษาทางการเป็นภาษาอังกฤษ เนื่องจากเคยเป็นเมืองขึ้นของสหราชอาณาจักร แต่มีคนพูดได้น้อย ส่วนมากจะพูดภาษา ครีโอล แต่อย่างไรก็ตาม ประชากรประเทศนี้มีประมาณ 5 ล้านคน และมีภาษามากกว่า 800 ชนิด

ศาสนา คริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเป็นหลัก แต่ก็มีลัทธิศาสนาตามความเชื่ออื่น ๆ อีกมากมาย

[แก้] วัฒนธรรม

ประเทศปาปัวนิวกินีประกอบไปด้วยชนเผ่าเป็นจำนวนมาก มีภาษากว่า 800 ภาษาทำให้มีสังคมแบบชนเผ่าอย่างมากในประเทศ ทำให้มีประเพณีที่แตกต่างกันถึง 200 ประเพณี

ภาษาอื่น