ประเทศฟิจิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Matanitu Tu-Vaka-i-koya ko Viti
มาตานีตู ตู-วากา-อี-โกยา โก วีตี
फ़िजी द्वीप समूह गणराज्य
ฟิจิ ทวีพฺ สมุหฺ คณราชยะ
สาธารณรัฐหมู่เกาะฟิจิ
ธงชาติฟิจิ ตราแผ่นดินของฟิจิ
ธงชาติ ตราแผ่นดิน
คำขวัญRerevaka na Kalou ka Doka na Tui
(ยำเกรงพระเจ้าและเกียรติของสมเด็จพระราชินีนาถ)
เพลงชาติGod Bless Fiji
ที่ตั้งของฟิจิ
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
ซูวา

18°10′S 178°27′E

ภาษาทางการ ภาษาอังกฤษ ภาษาฟิจิ และภาษาฮินดูสตานี (ฮินดี/อูรดู)
รัฐบาล สาธารณรัฐภายใต้รัฐบาลทหาร
  ประธานาธิบดี
นายกรัฐมนตรี
ประธานสภาผู้นำสูงสุด
ผู้นำสูงสุด
โจเซฟา อิโลอิโล
แฟรงก์ ไบนิมารามา
ราตู โอวินี โบกินี

สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2
เอกราช
  วันที่ จาก สหราชอาณาจักร
10 ตุลาคม พ.ศ. 2513 
เนื้อที่
 -  ทั้งหมด 18,270 กม.² (ลำดับที่ 156)
 -  พื้นน้ำ (%) น้อยมาก
ประชากร
 -  ก.ค. 2548 ประมาณ 848,000 (อันดับที่ 156)
 -  ความหนาแน่น 49/กม.² (อันดับที่ 148)
GDP (PPP) 2548 ประมาณ
 -  รวม 5.398 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 155)
 -  ต่อประชากร 6,000 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 93)
HDI (2546) 0.752 (กลาง) (อันดับที่ 92)
สกุลเงิน ดอลลาร์ฟิจิ (FJD)
เขตเวลา (UTC+12)
รหัสอินเทอร์เน็ต .fj
รหัสโทรศัพท์ +679
† - ได้รับการยอมรับโดยสภาผู้นำสูงสุด ไม่ได้ยกเลิก

ประเทศฟิจิ หรือ สาธารณรัฐหมู่เกาะฟิจิ (Republic of the Fiji Islands) ตั้งอยู่บนหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของประเทศวานูอาตู ทางทิศตะวันตกของประเทศตองกา และทางทิศใต้ของประเทศตูวาลู

เนื้อหา

[แก้] ประวัติศาสตร์

ฟิจิมีชนพื้นเมืองอาศัยกระจัดกระจายอยู่บนเกาะต่างๆมาราว 3,500 ปีมาแล้ว ชนพื้นเมืองมักต่อต่อสู้แย่งชิงอำนาจกัน ต่อมาคาโคบาอูซึ่งเป็นหัวหน้าซึ่งเป็นหัวหน้าของชนเผ่าหนึงสามารถรวบรวมชนเผ่าต่างๆให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ และสถาปนาให้เป็นกษัตริย์ฟิจิ แต่ไม่สามารถรักษาความสงบเรียบร้อยภายในและทนความกดดันจากมหาอำนาจมหาชาติต่างๆได้ จึงนำฟิจิเข้าเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2417 ในยุคอาณานิคมมีความพยายามในการปกป้องกรรมสิทธิ์ในการที่ดินและปกป้องการใช้แรงงานชนพื้นเมือง ชาวยุโรปที่ต้องการทำไร่ต้องเช่าที่ดินจากชนพื้นเมืองและจ้างแรงงานภายนอกชาวอินเดียจำนวนมากมาทำไร่

[แก้] การเมือง

ระบบรัฐสภา ระบบสองสภา ประกอบด้วยวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้ง และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้ง

[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง

ระบอบสาธารณรัฐมีประธานาธิบดีเป็นประมุข

[แก้] ภาคกลาง (ซูวา)

[แก้] ภาคเหนือ (ลาบาซา)

[แก้] ภาคตะวันออก (เลวูกา)

[แก้] ภาคตะวันตก (เลาโตกา)

(*) เกาะโรตูมา 46 ตารางกิโลเมตร

[แก้] ภูมิศาสตร์

[แก้] ภูมิประเทศ

ประกอบด้วยเกาะ 322 เกาะ แต่มีประชากรอาศัยอยู่ 106 เกาะ เป็นเกาะ หินภูเขาไฟ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและมีพื้นที่ราบเพียง เล็กน้อย มีแร่ธรรมชาติ เช่น ทอง เงิน ทองแดง แมงกานีส ในเกาะวิติเลวู มีบ่อน้ำพุร้อนและหุบเขาที่มีแม่น้ำไหลผ่าน พื้นที่ส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยป่าไม้ และต้นมะพร้าวบริเวณชายฝั่ง บริเวณที่แห้งแล้งเป็นทุ่งหญ้า หรือใช้ในการทำไร่อ้อย

[แก้] ภูมิอากาศ

แบบร้อนชื้น

[แก้] เศรษฐกิจ

ปัจจุบันอุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้าของฟิจิยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ เนื่องจากประเทศคู่ค้าสำคัญเช่น สหรัฐอเมริกา ประเทศออสเตรเลีย และประเทศนิวซีแลนด์มีการนำเข้าลดลง นอกจากสินค้าประเภทเสื้อผ้าและสิ่งทอแล้ว ฟิจิยังมีเหมืองแร่ทองคำ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรม ที่มีความผันแปรตามราคาทองคำโลกค่อนข้างสูง ผลผลิตจากเหมืองทองคำ มีจำนวน 119,767 ออนซ์ ในปี พ.ศ. 2545 นอกจากนี้แล้ว ฟิจิยังส่งออกน้ำดื่มบรรจุขวดไปยังสหรัฐฯ อีกด้วย โดยอาศัยชื่อเสียงของฟิจิเรื่องการมีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สะอาด

[แก้] ประชากร

ประกอบด้วยชาวฟิจิ ร้อยละ 51 ส่วนอีกร้อยละ 44 เป็นชาวฟิจิเชื้อสายอินเดีย ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์46%ศาสนาฮินดู33%ศาสนาอิสลาม8%และศาสนาสิกข์ 0.9%ตามลำดับ

[แก้] อ้างอิง

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

ภาษาอื่น