ประเทศมอลตา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Ir-Repubblika ta' Malta
อีร์-เรปุบบลีกา ตะ มัลตา
Republic of Malta
สาธารณรัฐมอลตา
ธงชาติมอลตา ตราแผ่นดินของมอลตา
ธงชาติ ตราแผ่นดิน
เพลงชาติL-Innu Malti (The Maltese Anthem)
ที่ตั้งของมอลตา
เมืองหลวง วัลเลตตา
35°48′N 14°28′E / 35.8°N 14.467°E / 35.8; 14.467
เมืองใหญ่สุด บีร์กีร์การา
ภาษาทางการ ภาษามอลตาและภาษาอังกฤษ
รัฐบาล สาธารณรัฐ
 -  ประธานาธิบดี เอดเวิร์ด เฟเนช อะดามี
 -  นายกรัฐมนตรี ลอเรนซ์ กอนซี
เอกราช
 -  จาก สหราชอาณาจักร 21 กันยายน 1964 
 -  สาธารณรัฐ 13 ธันวาคม 1974 
เข้าร่วม EU 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
เนื้อที่
 -  ทั้งหมด 316 กม.² (ลำดับที่ 185)
 -  พื้นน้ำ (%) 0.001
ประชากร
 -  พ.ย. 2548 ประมาณ 404,039 (อันดับที่ 166)
 -  2548 สำรวจ 404,039¹ 
 -  ความหนาแน่น 1,282/กม.² (อันดับที่ 7)
GDP (PPP) 2548 ประมาณ
 -  รวม 7.574 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 144)
 -  ต่อประชากร 19,302 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 37)
GDP (ราคาปัจจุบัน) 2548 ประมาณ
 -  รวม 5.369 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 120)
 -  ต่อประชากร 13,683 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 35)
HDI (2547) 0.875 (สูง) (อันดับที่ 32)
สกุลเงิน ยูโร(€) (EUR)
เขตเวลา CET (UTC+1)
 -  ฤดูร้อน (DST) CEST (UTC+2)
รหัสอินเทอร์เน็ต .mt2
รหัสโทรศัพท์ +356
1ประชากรทั้งหมดรวมผู้มีถิ่นอาศัยชาวต่างชาติ ผู้อยู่อาศัยชาวมอลตาเมื่อสิ้นปี พ.ศ. 2547 มี 389,769 คน
2และยังใช้ .eu ร่วมกับรัฐสมาชิกสหภาพยุโรป อื่น ๆ ด้วย

มอลตา (Malta) หรือ สาธารณรัฐมอลตา (Republic of Malta) เป็นประเทศที่เป็นเกาะขนาดเล็กสองเกาะ ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แต่มีประชากรหนาแน่น (1,262 คน ต่อตารางกิโลเมตร) มีประชากรทั้งหมด (ล่าสุด พ.ศ. 2546) 399,867 คน เมืองหลวงชื่อเมืองวัลเลตตา (Valletta)

ที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของยุโรป ถัดลงมาจากตอนใต้ของประเทศอิตาลี นับเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานแห่งหนึ่งในยุโรป มีผู้มาครอบครองและถูกแย่งชิงนับครั้งไม่ถ้วนในอดีต

เนื้อหา

[แก้] ประวัติศาสตร์

มอลตาเป็นอาณานิคมของอังกฤษมาตั้งแต่ปี 2344 และได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2507 โดยได้รับความช่วยเหลือด้านการป้องกันประเทศและการเงินตามข้อตกลงที่มีกับอังกฤษเป็นระยะเวลา 10 ปี มอลตาเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2507 และยังอยู่ในเครือจักรภพอังกฤษ อย่างไรก็ดี ในช่วงสงครามเย็น มอลตามีรัฐบาลที่มาจากพรรคแรงงาน นำโดยนาย Dom Mintroff ซึ่งมีแนวทางสังคมนิยม-ชาตินิยม จึงดำเนินนโยบายด้านต่างประเทศที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (non-alignment) อย่างจริงจัง และได้ขอยกเลิกความตกลงที่ทำไว้กับอังกฤษฉบับปี 2507 และปี 2515 โดยขอทำความตกลงฉบับใหม่ซึ่งมีเนื้อหาที่จะรักษาอธิปไตยของประเทศและเพื่อเป็นหลักประกันว่า มอลตาจะได้รับประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่จากการที่มีฐานทัพนาโตประจำอยู่ในมอลตา ความตกลงฉบับใหม่มีระยะเวลา 7 ปี (ปี 2515-2522) สาระสำคัญโดยสรุปคืออังกฤษต้องจ่ายค่าเช่าในการคงฐานทัพในมอลตา 14 ล้านปอนด์ต่อปี ต่อมา ในเดือนมีนาคม 2522 รัฐบาลมอลตาได้ขอยกเลิกการต่อสัญญาให้เช่าพื้นที่สำหรับเป็นฐานทัพ ทำให้กองกำลังอังกฤษต้องถอนกำลังออกจากมอลตาตั้งแต่นั้นมา นอกจากนี้ รัฐบาลมอลตายังมีความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางด้านวัฒนธรรม เศรษฐกิจและการค้ากับหลายประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา อิตาลี สหภาพโซเวียต จีน กลุ่มประเทศในยุโรปตะวันออก ลิเบีย ตูนิเซีย และตกลงรับความช่วยเหลือด้านวิชาการจากประเทศต่างๆ โดยเฉพาะลิเบีย อีกทั้งได้ลงนามในความตกลงรับรองความเป็นกลางและการร่วมมือทางการค้ากับประเทศต่างๆ ผลของการดำเนินนโยบายด้านต่างประเทศที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดอย่างจริงจังทำให้ในปี 2524 สหภาพโซเวียตและอิตาลีได้ตกลงรับรองความเป็นกลางของมอลตา โดยเฉพาะอิตาลี ได้ให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการและการเงินแก่มอลตาเป็นระยะเวลา 5 ปี นอกจากนั้น มอลตายังมีความตกลงร่วมกับประชาคมเศรษฐกิจยุโรป ในปี 2513 ซึ่งได้ต่ออายุความตกลงมาจนถึงปัจจุบันในเวทีระหว่างประเทศ ปัจจุบัน มอลตาเป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศที่สำคัญหลายองค์การ อาทิ สหประชาชาติ กลุ่ม 77 IAEA OSCE UNCTAD UNESCO เป็นต้น มอลตาได้ถอนตัวจากการเป็นสมาชิกกลุ่มไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (NAM) ตั้งแต่เข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2547 มอลต้าได้เพิ่มบทบาทของตนเองในนโยบาย EU-Mediterranean ซึ่งเกี่ยวกับความสัมพันธ์ด้าน การเมือง เศรษฐกิจ และ สังคม ระหว่างประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปและกลุ่มประเทศอื่นๆ (โมรอโค อัลจีเรีย ตูนิเซีย อียิป อิสราเอล ปาเลสไตน์ จอร์แดน เลบานอน ซีเรีย และ ตุรกี ในเดือน กุมภาพันธ์ 2549 กระทรวงการต่างประเทศมอลต้าเสนอนโยบายด้านการต่างประเทศซึ่งเน้น การเพิ่มพูนความสัมพันธ์ในด้านต่างๆ ระหว่างมอลต้ากับประเทศอื่นที่ชาวมอลต้าได้ย้ายถิ่นฐานไป

[แก้] การเมือง

มอลตา เข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2547

[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้] ภูมิศาสตร์

ชายฝั่งเกาะมอลตา บริเวณ Sliema

พื้นที่เป็นเกาะที่เกิดจากหินภูเขาไฟ บริเวณชายฝั่งเป็นโขดหินเกือบทั้งหมด

[แก้] เศรษฐกิจ

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 7.93 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)

อัตราการเติบโตของ GDP ร้อยละ 1.0 (2549)

รายได้เฉลี่ยต่อหัว 7,926 ดอลลาร์สหรัฐ (2549)

อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 3.0 (2549)

ปริมาณการส่งออก 2.744 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)

ปริมาณการนำเข้า 3.859 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)

สินค้าส่งออกสำคัญ เครื่องจักรและอุปกรณ์เกี่ยวกับการขนส่ง

สินค้านำเข้าสำคัญ เครื่องจักร อาหารและสัตว์ ผลิตภัณฑ์เคมี แร่ธาตุ เครื่องดื่มและยาสูบ

ประเทศคู่ค้าสำคัญ ฝรั่งเศส สหรัฐฯ เยอรมนี อังกฤษ อิตาลี

ทรัพยากรธรรมชาติสำคัญ หินปูน เกลือ พื้นดินที่เหมาะกับการเพาะปลูก

อุตสาหกรรมหลัก อุตสาหกรรมด้านการท่องเที่ยว อิเล็กทรอนิกส์ การต่อและซ่อมเรือ การก่อสร้าง อาหารและเครื่องดื่ม สิ่งทอ รองเท้าและอุปกรณ์ ยาสูบ

[แก้] ประชากร

[แก้] วัฒนธรรม

ASpacer.gifBlankMap-World6.svg ประเทศมอลตา เป็นบทความเกี่ยวกับ ประเทศ เมือง หรือเขตการปกครองต่าง ๆ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ ประเทศมอลตา ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ

ภาษาอื่น