ประเทศเซนต์ลูเซีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Saint Lucia
เซนต์ลูเซีย
ธงชาติเซนต์ลูเซีย
ธงชาติ
คำขวัญThe Land, The People, The Light
(แผ่นดิน ประชาชน แสงสว่าง)
เพลงชาติ"Sons and Daughters of Saint Lucia"
Royal anthem: "God Save the Queen"
ที่ตั้งของเซนต์ลูเซีย
เมืองหลวง แคสตรีส์ (Castries)
14°1′N 60°59′W / 14.017°N 60.983°W / 14.017; -60.983
เมืองใหญ่สุด แคสตรีส์
ภาษาทางการ ภาษาอังกฤษและภาษาครีโอลฝรั่งเศส
รัฐบาล ประชาธิปไตยระบบรัฐสภา
เครือจักรภพ
 -  ประมุข สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร
 -  ผู้สำเร็จราชการ เดมเพียร์เลตต์ ลุยซี
 -  นายกรัฐมนตรี เซอร์จอห์น คอมป์ตัน
เอกราช จาก สหราชอาณาจักร 
 -  วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 
เนื้อที่
 -  ทั้งหมด 620 กม.² (ลำดับที่ 193)
 -  พื้นน้ำ (%) ร้อยละ 1.6
ประชากร
 -  พ.ศ. 2548 สำรวจ 160,765 
 -  ความหนาแน่น 298/กม.² (อันดับที่ 41)
GDP (PPP) พ.ศ. 2545 ประมาณ
 -  รวม 866 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 197)
 -  ต่อประชากร 5,950 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 98)
HDI (พ.ศ. 2547) 0.790 (ปานกลาง) (อันดับที่ 71)
สกุลเงิน ดอลลาร์แคริบเบียนตะวันออก (XCD)
เขตเวลา (UTC-4)
รหัสอินเทอร์เน็ต .lc
รหัสโทรศัพท์ +1-758

เซนต์ลูเซีย (อังกฤษ: Saint Lucia) เป็นประเทศที่เป็นเกาะ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของทะเลแคริบเบียน และติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก เซนต์ลูเซียเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะแอนทิลลิสน้อย (Lesser Antilles) โดยอยู่ทางทิศเหนือของประเทศเซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศบาร์เบโดส และทางทิศใต้ของเกาะมาร์ตินีกของฝรั่งเศส ประเทศเซนต์ลูเซียรู้จักในนาม "Helen of the West"

เซนต์ลูเซียเป็นหนึ่งในหมู่เกาะวินเวิร์ด (Windward Islands) ได้รับการตั้งชื่อตามนามของนักบุญลูซีแห่ง Syracuse ซึ่งเป็นนักบวชในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ชาวยุโรปมาเยือนเซนต์ลูเซียครั้งแรกประมาณปี พ.ศ. 2043 มีการทำสนธิสัญญาระหว่างชนพื้นเมืองที่นี่กับฝรั่งเศส ทำให้เซนต์ลูเซียก็ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2203 ในระหว่างปี พ.ศ. 2206-2210 เซนต์ลูเซียถูกอังกฤษเข้ายึดครอง และต่อมา เกิดสงครามแย่งชิงเซนต์ลูเซียระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศสทั้งหมด 14 ครั้ง จนท้ายที่สุด อังกฤษสามารถยึดครองเซนต์ลูเซียได้สมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2357 เซนต์ลูเซียเริ่มใช้การปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน ในปี พ.ศ. 2467 (เริ่มเปิดให้มีการออกเสียงของประชาชนในปี พ.ศ. 2496) และในระหว่างปี พ.ศ. 2501-2505 เซนต์ลูเซียได้เข้าเป็นสมาชิกสหพันธรัฐเวสต์อินดีส ท้ายที่สุด ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 เซนต์ลูเซียได้รับเอกราช และเป็นส่วนหนึ่งของเครือจักรภพอังกฤษ ดังนั้นในวันนี้ของทุก ๆ ปีจึงถือเป็นวันหยุดสำคัญประจำชาติ นอกจากนี้วันที่ 22 กุมภาพันธ์ ยังบังเอิญตรงกับวันเกิดของนักการทูตอังกฤษที่มีชื่อเสียงชื่อ ลูเซีย ลาดี (Lucia Ladi) อีกด้วย

เนื้อหา

[แก้] การเมือง

ในฐานะที่เป็นสมาชิกของเครือจักรภพ เซนต์ลูเซียมีสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร เป็นประมุขของประเทศ อย่างไรก็ตาม อำนาจในการปกครองประเทศจะอยู่ที่รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี โดยปกตินายกรัฐมนตรีจะมาจากหัวหน้าพรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้ง โดยในรัฐสภา ประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎร 17 คน และวุฒิสภา 11 คน

เซนต์ลูเซีย เป็นหนึ่งในสมาชิกของประชาคมแคริบเบียน (Caribbean Community: CARICOM) และองค์การรัฐแคริบเบียนตะวันออก (Organisation of Eastern Caribbean States: OECS)

[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง

Santa lucia Quarters numbered English.png เซนต์ลูเซียแบ่งการปกครองออกเป็น 11 เขต (quarters) ดังนี้
  1. เขตอองส์-ลา-เร (Anse-la-Raye)
  2. เขตแคสตรีส์ (Castries)
  3. เขตชัวเซิล (Choiseul)
  4. เขตโดแฟง (Dauphin)
  5. เขตเดนเนอรี (Dennery)
  6. เขตโกรซีสเล (Gros Islet)
  7. เขตลาบอรี (Laborie)
  8. เขตมีกู (Micoud)
  9. เขตปราสแลง (Praslin)
  10. เขตซูฟรีแยร์ (Soufrière)
  11. เขตวีเยอฟอร์ (Vieux Fort)

[แก้] ภูมิศาสตร์

แผนที่ของเซนต์ลูเซีย

เซนต์ลูเซียมีลักษณะเป็นเกาะภูเขาไฟ ภูมิประเทศมีความเป็นภูเขามากกว่าเกาะอื่นๆในแถบทะเลแคริบเบียน จุดที่สูงที่สุดของประเทศอยู่ที่ Mount Gimie มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 950 เมตร ลักษณะเด่นของภูมิประเทศเกิดจากการวางตัวของภูเขาสองลูก ที่เรียกว่า the Pitons ทอดตัวระหว่างเขตซูฟรีแยร์และเขตชัวเซิล ทางด้านทิศตะวันตกของเกาะ

1 ใน 3 ของประชากรของเซนต์ลูเซียอาศัยอยู่ในเมือง แคสตรีส์ (Castries) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศ เมืองสำคัญอื่น ๆ ของประเทศได้แก่ ซูฟรีแยร์ และเมืองวีเยอฟอร์ ลักษณะภูมิอากาศของเซนต์ลูเซียเป็นแบบเขตร้อน และได้รับอิทธิพลจากลมสินค้าตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศจะแห้งในช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายน และฝนตกชุกในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงพฤศจิกายน

[แก้] เศรษฐกิจ

เศรษฐกิจของเซนต์ลูเซียขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์จากกล้วยและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว รวมถึงอุตสาหกรรมขนาดเล็กบางส่วน ประเทศเซนต์ลูเซียมีกิจการทางด้านเกษตรกรรมทั้งขนาดเล็กและขนาดกลางเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก และภาษีจากภาคเกษตรกรรมก็มีส่วนในการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเป็นอย่างมากตั้งแต่ พ.ศ. 2503

[แก้] ประชากร

ประชากรมากกว่า 90% ของประเทศสืบเชื้อสายมาจากชาวแอฟริกา ประมาณร้อยละ 5 ของประชากรทั้งหมดเป็นลูกครึ่งระหว่างชาวผิวขาวกับผิวดำ คนกลุ่มนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อเศรษฐกิจของประเทศ นอกจากนี้เซนต์ลูเซียยังมีประชากรเชื้อสายอื่น ๆ อีก ได้แก่ อินโด-แคริบเบียน (อินเดีย) ประมาณร้อยละ 3 และมีเพียงร้อยละ 1.1 ที่เป็นชาวยุโรปแท้ (สืบเชื้อสายฝรั่งเศส อังกฤษ สกอตแลนด์ หรือไอร์แลนด์ ตั้งแต่ยุคล่าอาณานิคม) ภาษาทางการของประเทศคือ ภาษาอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ตามท้องถิ่นต่าง ๆ พบว่ามีการใช้ภาษาฝรั่งเศส (French patois) ด้วย

เซนต์ลูเซียเป็นประเทศที่มีอัตราส่วนของจำนวนผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบล ต่อจำนวนประชากรทั้งหมดของประเทศสูงที่สุดในโลก กล่าวคือ มีผู้ได้รับรางวัลโนเบลทั้งหมด 2 คนที่เป็นชาวเซนต์ลูเซีย คือ เซอร์อาเทอร์ ลิวอิส ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2522 และเดเร็ก วัลคอตต์ ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมใน ปี พ.ศ. 2535

[แก้] ศาสนา

ประชากรของเซนต์ลูเซียประมาณร้อยละ 68 ของประชากรทั้งหมดนับถือศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก นอกจากนี้มีศาสนาอื่น ๆ ได้แก่ เซเวนท์-เดย์แอดเวนติสต์ (ร้อยละ 9) เพนเทคอสทัล (ร้อยละ 6) อีแวนเจลิคัล (ร้อยละ 2) แองกลิกัน (ร้อยละ 2) และราสตาฟาเรียน (ร้อยละ 2) เป็นต้น (ข้อมูล พ.ศ. 2544[1])

[แก้] วัฒนธรรม

วัฒนธรรมของเซนต์ลูเซียมีประวัติศาสตร์มายาวนาน โดยได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมแอฟริกา, ฝรั่งเศส และอังกฤษ หนึ่งในภาษาที่สองของประเทศ คือ ภาษา Kreole เป็นภาษาที่เป็นที่เป็นรูปแบบหนึ่งของภาษาฝรั่งเศส

[แก้] ดนตรีและการเต้นรำ

การเต้นรำแบบพื้นเมืองที่เป็นที่นิยมในเซนต์ลูเซีย คือ กาดรีย์ (Quadrille) นอกจากนี้ ในส่วนของดนตรี เซนต์ลูเซียมีดนตรีพื้นบ้านที่เป็นจุดแข็งไม่แพ้ดนตรีประเภท soca zouk หรือ reggae ของชาวแคริบเบียนแห่งอื่น ๆ และทุกๆ ปี เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 เซนต์ลูเซียจะเป็นเจ้าภาพในการจัดงานเทศกาลเพลงแจ๊สที่มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติ

[แก้] การท่องเที่ยวในเซนต์ลูเซีย

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของเซนต์ลูเซียมีความสำคัญอย่างมากต่อเศรษฐกิจของประเทศรองจากการส่งออกผลิตภัณฑ์จากกล้วย และเป็นที่คาดหวังว่าอุตสาหรรมท่องเที่ยวจะเจริญเติบโตต่อไปเรื่อยๆ เนื่องจากปัจจุบันตลาดการส่งออกกล้วยเริ่มมีการแข่งขันที่สูงขึ้น ทุก ๆ ปีในช่วง dry season (มกราคม-เมษายน) นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางไปเซนต์ลูเซีย โดยสิ่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวได้มากก็คือลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เป็นเขตร้อน รวมถึงชายหาดและรีสอร์ทต่างๆมากมาย นอกจากนี้ สิ่งอื่นๆที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยว ได้แก่ การเป็นเกาะภูเขาไฟ สวนพฤกษศาสตร์ ป่าดิบชื้น (Rainforest) และอุทยานแห่งชาติเกาะพิเจียน

[แก้] ภาพบรรยากาศในเซนต์ลูเซีย

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น