ประเทศเบลีซ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Belize
เบลีซ
ธงชาติเบลีซ ตราแผ่นดินของเบลีซ
ธงชาติ ตราแผ่นดิน
คำขวัญละติน: Sub Umbra Floreo
("เราเจริญขึ้นภายใต้ร่มเงา")
เพลงชาติLand of the Free
ที่ตั้งของเบลีซ
เมืองหลวง เบลโมแพน
17°15′N 88°46′W / 17.25°N 88.767°W / 17.25; -88.767
เมืองใหญ่สุด เบลีซซิตี
ภาษาทางการ ภาษาอังกฤษ
รัฐบาล เครือจักรภพ
  ประมุข

ผู้สำเร็จราชการ
นายกรัฐมนตรี
สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร
เซอร์คอลวิลล์ ยัง
ซาอิด มูซา
เอกราช
  วันที่ จาก สหราชอาณาจักร
21 กันยายน พ.ศ. 2524 
เนื้อที่
 -  ทั้งหมด 22,966 กม.² (ลำดับที่ 151)
 -  พื้นน้ำ (%) 0.7
ประชากร
 -  ก.ค. 2549 ประมาณ 287,730 (อันดับที่ 179*)
 -  ความหนาแน่น 12.5/กม.² (อันดับที่ 203*)
GDP (PPP) 2547 ประมาณ
 -  รวม 1.778 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 185)
 -  ต่อประชากร 7,832 ดอลลาร์สหรัฐ* (อันดับที่ 77)
HDI (2546) 0.753 (กลาง) (อันดับที่ 91)
สกุลเงิน ดอลลาร์เบลีซ (BZD)
เขตเวลา (UTC-6)
รหัสอินเทอร์เน็ต .bz
รหัสโทรศัพท์ +501
*ข้อมูลปี พ.ศ. 2548

เบลีซ (Belize) เป็นชาติขนาดเล็ก ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของอเมริกากลาง ริมทะเลแคริบเบียน มีอาณาเขตจรดประเทศเม็กซิโกทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และจรดประเทศกัวเตมาลาทางทิศตะวันตกและทิศใต้ มีประเทศฮอนดูรัสเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เคียง ห่างออกไปเพียง 75 กิโลเมตร (47 ไมล์) ตามอ่าวฮอนดูรัสทางด้านตะวันออก

เบลีซมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ซึ่งพระมหากษัตริย์จะทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ มีสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรเป็นประมุขพระองค์ปัจจุบัน

ชื่อประเทศมีต้นกำเนิดมาจากชื่อแม่น้ำเบลีซ ซึ่งเมืองเบลีซซิตี (เมืองหลวงเก่า) ก็ได้ชื่อมาจากแม่น้ำนี้ด้วยเช่นกัน ในภาษาสเปนมักจะเรียกว่า Belice เบลีซเคยเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักรเป็นเวลานานกว่าศตวรรษ โดยเป็นที่รู้จักกันในชื่อ บริติชฮอนดูรัส จนถึงปี พ.ศ. 2516 และมีฐานะเป็นชาติเอกราชในปี พ.ศ. 2524

เบลีซเป็นสมาชิกของประชาคมแคริบเบียน (CARICOM) และ the Sistema de Integracion Centro Americana (SICA) และจัดว่าตนเองอยู่ทั้งในกลุ่มประเทศแคริบเบียนและอเมริกากลาง

เนื้อหา

[แก้] ประวัติศาสตร์

[แก้] การเมืองการปกครอง

รูปแบบการปกครอง ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ประมุขของประเทศ สมเด็จพระบรมราชินีนาถเอลิซาเบธที่สอง ทรงใช้พระราชอำนาจโดยผ่านทางผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ประจำเบลิซ (Governor-General) ผู้สำเร็จราชการ Sir Colville YOUNG (ตั้งแต่ 17 พฤศจิกายน 2536) หัวหน้ารัฐบาล นายกรัฐมนตรี นาย Dean Barrow(เข้ารับตำแหน่ง 8 กุมภาพันธ์ 2551) มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี ฝ่ายบริหาร นายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากจะได้รับการแต่งตั้งจากผู้สำเร็จ ราชการ ส่วนคณะรัฐมนตรี ได้รับการเสนอชื่อโดยนายกรัฐมนตรี และแต่งตั้งโดยผู้สำเร็จราชการ ฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นระบบสภาคู่ ประกอบด้วย 1) วุฒิสภา มีสมาชิกจำนวน 12 คน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี 2) สภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิกจำนวน 31 คน ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี การเลือกตั้งครั้งต่อไป 2556 ฝ่ายตุลาการ หัวหน้าผู้พิพากษาได้รับการแต่งตั้งจากผู้สำเร็จราชการ โดยการเสนอชื่อจากนายกรัฐมนตรี พรรคการเมืองสำคัญ People's United Party ( PUP) (พรรครัฐบาล)United Democratic Party (UDP)

[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง

เบลีซแบ่งออกเป็น 6 เขต (districts) ได้แก่

  1. เขตเบลีซ
  2. เขตคาโย
  3. เขตโคโรซอล
  4. เขตออเรนจ์วอล์ก
  5. เขตสตันน์ครีก
  6. เขตโทเลโด

[แก้] ภูมิศาสตร์

[แก้] เศรษฐกิจ

[แก้] ประชากร

มีประชากรประมาณ 224,900 คน ชาวเบลีซส่วนใหญ่เป็นพวกมายา อินคา และครีโอล มีภาษามายา ภาษาอังกฤษ และภาษาครีโอลเป็นภาษาพูด ส่วนภาษาอังกฤษใช้เป็นภาษาทางการ

[แก้] วัฒนธรรม

[แก้] อ้างอิง

ภาษาอื่น