ภาษา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภาษาในความหมายอย่างกว้าง หมายถึง กริยาอาการที่แสดงออกมาแล้วสามารถทำความเข้าใจกันได้ ไม่ว่าจะเป็นระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับสัตว์ หรือสัตว์กับสัตว์ ส่วนภาษาในความหมายอย่างแคบนั้น หมายถึง เสียงพูดที่มนุษย์ใช้สื่อสารกันเท่านั้น

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. 2542 ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า ภาษา ไว้ว่า 'ถ้อยคำที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน หรือเพื่อสื่อความเฉพาะวงการ เช่น ภาษาราชการ ภาษากฎหมาย ภาษาธรรม; เสียง ตัวหนังสือ หรือกิริยา; อาการที่สื่อความได้ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาท่าทาง ภาษามือ'

วิชาที่ว่าด้วยการศึกษาภาษาในแง่ต่างๆ เรียกว่า "ภาษาศาสตร์" เริ่มบุกเบิกโดยแฟร์ดินอง เดอ โซซูร์ (Ferdinand de Saussure) บุคคลที่พูดภาษาใดก็ตาม ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนเชิงภาษาศาสตร์ของภาษานั้น ๆ

[แก้] ภาษามนุษย์

ภาษามนุษย์หรือเรียกว่าภาษาธรรมชาติ และอยู่ในเนื้อหาของวิชาภาษาศาสตร์ ภาษามนุษย์โดยทั่วไปเชื่อว่ามีพัฒนาการเริ่มแรกสำหรับใช้ในการพูด หลังจากนั้นจึงถูกนำมาใช้ในการเขียน และได้มีการทำการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจหลักไวยากรณ์

ภาษาต่าง ๆ มีการดำรงชีวิต เดินทางจากสถานที่หนึ่งไปอีกสถานที่หนึ่ง มีการเปลี่ยนแปลงไปกับเวลา และตายไป ภาษาใด ๆ ที่หยุดการพัฒนาหรือการเปลี่ยนแปลงจะถูกจัดให้เป็นภาษาตาย ส่วนภาษาที่ยังคงมีสภาวะไม่หยุดนิ่งหรือมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องก็จัดเป็นภาษาที่ยังมีชีวิต

[แก้] 10 ภาษา ที่มีจำนวนคนพูดมากที่สุดในโลก

ดูบทความหลักที่ รายชื่อภาษาเรียงตามจำนวนคนพูด
  1. ภาษาจีน 1,080,000,000 คน
  2. ภาษาฮินดี 370,000,000 คน
  3. ภาษาสเปน 350,000,000 คน
  4. ภาษาอังกฤษ 340,000,000 คน
  5. ภาษาอาหรับ 206,000,000 คน
  6. ภาษาโปรตุเกส 203,000,000 คน
  7. ภาษาเบงกาลี 196,000,000 คน
  8. ภาษารัสเซีย 145,000,000 คน
  9. ภาษาญี่ปุ่น 126,000,000 คน
  10. ภาษาปัญจาบ 104,000,000 คน

[แก้] ดูเพิ่ม

Linguistics stub.svg ภาษา เป็นบทความเกี่ยวกับ ภาษา หรือ ตัวอักษร ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ ภาษา ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ภาษา
ภาษาอื่น