ภาษาคุชราต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภาษาคุชราต
ગુજરાતી गुजराती گُجراتی Gujǎrātī 
เสียงอ่าน: /gudʒ.(ə)'ɾɑ̈t̪i/
พูดใน: อินเดีย แอฟริกาใต้ ยูกันดา แทนซาเนีย เคนยา ปากีสถาน สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย ฟิจิ แคนาดา
จำนวนผู้พูด: 46 ล้าน 
อันดับ: 22
ตระกูลภาษา: อินโด-ยูโรเปียน
 อินโด-อิเรเนียน
  อินโด-อารยัน
   อินโด-อารยันตะวันตก
    ภาษาคุชราต 
ระบบการเขียน: อักษรคุชราต 
สถานะทางการ
ภาษาทางการใน: คุชราต (ประเทศอินเดีย)
ผู้วางระเบียบ: Language Academy
รหัสภาษา
ISO 639-1: gu
ISO 639-2: guj
ISO 639-3: guj
Indic script
บทความนี้มีอักษรในตระกูลอักษรพราหมีปรากฏอยู่ คุณอาจเห็นสัญลักษณ์อื่นแทนตัวอักษร หรือมองเห็นสระวางผิดตำแหน่ง หากคอมพิวเตอร์ของคุณไม่สามารถแสดงผลได้อย่างถูกต้อง
สารานุกรมภาษา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมภาษา

ภาษาคุชราต (ગુજરાતી คุชราตี) คือภาษากลุ่มอินโด-อารยัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของตระกูลอินโด-ยุโรเปียน เป็นหนึ่งใน 22 ภาษาทางการ และ 14 ภาษาภูมิภาคของอินเดีย และเป็นหนึ่งในภาษาชนกลุ่มน้อยของปากีสถาน มีผู้พูดภาษาคุชราตประมาณ 46 ล้านคนทั่วโลก มากเป็นอันดับที่ 23 ของโลก โดยที่ 45.5 ล้านคนอาศัยอยู่ในอินเดีย 150,000 คนในยูกันดา 100,000 คนในปากีสถาน 250,000 คนในแทนซาเนีย และ 50,000 คนในเคนยา

ภาษาคุชราต คือภาษาหลักของรัฐคุชราตในอินเดีย รวมถึงพื้นที่สหภาพที่ติดกันคือ ดามานและดีอู และ ดาดราและนครหเวลี และยังเป็นภาษาของชุมชนชาวคุชราตในเมืองมุมไบ (บอมเบย์เดิม) นอกจากนี้ยังปรากฏประชาการจำนวนหนึ่งที่พูดภาษาคุชราตได้ในอเมริกาเหนือ และสหราชอาณาจักร คุชราตเป็นภาษาแม่ของมหาตมะ คานธี "บิดาของอินเดีย" โมฮัมเหม็ด อาลี จินนาห์ "บิดาของปากีสถาน" และซาร์ดาร์ วัลลัภภัย ปาเทล "บุรุษเหล็กแห่งอินเดีย"

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

ภาษาคุชราตเป็นภาษากลุ่มอินโด-อารยันสมัยใหม่ที่พัฒนามาจากภาษาสันสกฤตโดยทั่วไปแบ่งภาษาในกลุ่มนี้ออกเป็น 3 กลุ่มตามระยะเวลาคือ

  1. ภาษากลุ่มอินโด-อารยันโบราณ ได้แก่ภาษาพระเวทและภาษาสันสกฤตคลาสสิก
  2. ภาษากลุ่มอินโด-อารยันยุคกลางได้แก่ภาษาปรากฤตสำเนียงต่างๆ และภาษาอปพราหมศัส
  3. ภาษากลุ่มอินโด-อารยันสมัยใหม่ เช่น ภาษาฮินดี ภาษาปัญจาบ ภาษาเบงกาลี

จากทั้งสามกลุ่มที่กล่าวมา ภาษาคุชราตมีพัฒนาการแยกจากภาษากลุ่มอินโด-อารยันอื่นๆเป็น 4 ขั้นตอนด้วยกันคือ

  1. ภาษากลุ่มอินโด-อารยันแยกเป็นกลุ่มเหนือ กลุ่มตะวันออกและตะวันตกขึ้นกับการเปลี่ยนแปลงลักษณะ เช่นเปลี่ยนเสียงกักเป็นเสียงก้องในกลุ่มเหนือ (ภาษาสันสกฤต ทันตะ เป็นภาษาปัญจาบ ทานต์) และเสียงจากฟันและเสียงม้วนลิ้นรวมกับเสียงเพดานแข็ง (เช่น ภาษาสันสกฤต สันธยา เป็น ภาษาเบงกาลี สาฌ)
  2. กลุ่มตะวันตกแยกเป็นกลุ่มกลางและกลุ่มใต้
  3. กลุ่มกลางแยกเป็นภาษาคุชราต/ราชสถาน ภาษาฮินดีตะวันตก และภาษาปัญจาบ/ลหันทะ/สินธี ตามลักษณะการเปลี่ยนกริยาช่วยและปรบทในภาษาคุชราต/ราชสถาน
  4. ภาษาคุชราต/ราชสถาน แยกเป็นภาษาคุชราตและภาษาราชสถานโดยการพัฒนาของลักษณะบางอย่าง เช่นเครื่องหมายความเป็นเจ้าของ -n- ในพุทธศตวรรษที่ 20

การเปลี่ยนแปลงจากภาษาสันสกฤตที่สำคัญที่พบในภาษาคุชราตได้แก่

  • สัทวิทยา ได้แก่ ตัดเสียงสระที่ตัวสุดท้ายออก เปลี่ยนกลุ่มพยัญชนะเป็นพยัญชนะตัวเดียวที่มีเสียงสระยาวขึ้น
  • ด้านลักษณะคำ ได้แก่ ลดจำนวนคำประสม รวมทวิพจน์ เข้ากับพหูพจน์ เปลี่ยนปัจจัยแบบการกเป็นแบบปรบท พัฒนาโครงสร้างของกาล การกระทำ มาลาที่อ้อมค้อม
  • การเรียงประโยค ได้แก่ตัดสัมพันธการก มีระบบการตกลงที่ซับซ้อน

ภาษาคุชราตเองแบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้

  • ภาษาคุชราตโบราณ (พ.ศ. 1643 - 2043) บรรพบุรุษของภาษาคุชราตและภาษาราชสถานใช้พูดโดยคุรชารส์ในคุชราตเหนือและราชสถานตะวันตก เอกสารในยุคนี้แสดงลักษณะของภาษาคุชราต เช่นรูปแบบของนามแบบกรรมตรง ปรบทและกริยาช่วย มี 3 เพศ เช่นเดียวกับภาษาคุชราตในปัจจุบัน และในราว พ.ศ. 1843 มีการจัดมาตรฐานภาษาขึ้น ในขณะที่ภาษานี้เป็นที่รู้จักในชื่อภาษาคุชราตโบราณ แต่มีนักวิชาการบางคนเรียกภาษาราชสถานตะวันตกโบราณ โดยถือว่าภาษาคุชราตและภาษาราชสถานไม่แยกออกจากกันในเวลานั้น ไวยากรณ์ที่เป็นทางการของภาษาเริ่มต้นของภาษานี้เขียนโดยนักบวชในศาสนาเชนและนักวิชาการ เหมาจันทระ สุรี ในสมัยกษัตริย์ราชบุตร สิทธราช ชยสิญแห่งฮัญ อญิลลวธะ (ปาตาน) งานเขียนที่สำคัญในยุคนี้ได้แก่
    • ราสะ เป็นเรื่องเล่าที่เป็นคำสอน
    • ผาคุ
    • พัรมาสี อธิบายเกี่ยวกับธรรมชาติทั้ง 12 เดือน
    • อาขยานะ เป็นบทร้อยกรอง
  • ภาษาคุชราตยุคกลาง (พุทธศตวรรษ 20 -23)แยกออกจากภาษาราชสถาน ปรากฏเสียง ɛ และ ɔ ตัวช่วย -ch และเครื่องหมายความเป็นเจ้าของ -h- ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างภาษาคุชราตยุคโบราณกับยุคปัจจุบันได้แก่
    • u เป็น ə ในพยางค์เปิด
    • เสียงกล้ำ əi, əu เปลี่ยนเป็น ɛ และ ɔ ในพยางค์แรกและเป็น e และ o ในที่อื่น
    • əũ เป็น ɔ̃ ในพยางค์แรกและเป็น ű ในพยางค์สุดท้าย

การเปลี่ยนแปลงนี้มีผลต่อไวยากรณ์ในลำดับต่อมา ตัวอย่างเช่น ภาคุชราตโบราณมีรูปการกเครื่องมือ-สถานที่ เอกพจน์เป็น -i กลายมาซ้ำกับ การกประธาน-กรรมตรง เอกพจน์ ซึ่งเป็น -ə

  • ภาษาคุชราตสมัยใหม่ (ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 23 เป็นต้นมา) ความเปลี่ยนแปลงทางด้านสัทวิทยาที่สำคัญตัดเสียงท้าย ə's มีคำที่ลงท้ายด้วยเสียงพยัญชนะ มีเครื่องหมายพหูพจน์ใหม่ ลงท้ายด้วย-o


[แก้] การแพร่กระจาย

แผนที่รัฐคุชราต

มีผู้พูดภาษาคุชราต 46 ล้านคนโดยอยู่ในอินเดีย 45.5 ล้านคนที่เหลืออยู่ในยูกันดา 150,000 คน แทนซาเนีย 250,000 คน เคนยา 50,000 คน และในปากีสถานประมาณ 100,000 คนชุมชนของผู้พูดภาษาคุชราตที่ใหญ่ที่สุดอยู่ในมุมไบ

ในอังกฤษมีผู้พูดภาษานี้ราว 300,000 คน ส่วนใหญ่อยู่ในลอนดอน มีผู้พูดภาษานี้ในอเมริกาเหนือ ส่วนใหญ่เป็นผู้ลี้ภัยจากแอฟริกาตะวันออก เช่นจากยูกันดาที่ลี้ภัยในกรณี อีดี้ อามินขับไล่ชาวเอเชีย 50,000 คน

[แก้] สถานะการเป็นภาษาทางการ

ภาษาคุชราตเป็นภาษาทางการหนึ่งใน 22 ภาษาของอินเดีย และเป็น 1 ใน 14 ภาษาประจำถิ่นของอินเดีย และเป็นภาษาทางการของรัฐคุชราต

[แก้] สำเนียง

หนังสือพิมพ์ที่พิมพ์ด้วยภาษาคุชราตสำเนียงปาร์ซี เมื่อราว พ.ศ. 2435 [1]

สำเนียงที่ถือเป็นมาตรฐานของภาษาคุชราตคือสำเนียงที่ใช้พูดในบริเวณพโรทะจนถึงอะห์เมดาบัดและทางเหนือ.[2] สำเนียงอื่นๆของภาษาคุชราตได้แก่

  • สำเนียงมาตรฐาน แบ่งได้อีกเป็น สำเนียงมาตรฐานเสารัตตระ สำเนียงนครี สำเนียงคุชราตบอมเบย์ สำเนียงปัตนุลี
  • สำเนียงกะมะเดีย แบ่งได้อีกเป็น สำเนียงครัมยะ สำเนียงสุรตี สำเนียงอนาละ สำเนียงพรเดละ สำเนียงคุชราตพรอชตะวันออก สำเนียงจโรตรี สำเนียงปติทรี สำเนียงวโททรี สำเนียงอะห์เมดาบัด สำเนียงปตนี
  • สำเนียงปาร์ซี
  • สำเนียงกถิยวดี แบ่งได้อีกเป็น สำเนียงฌลวดี สำเนียงโสรถี สำเนียงโหลดี สำเนียงโคหัลวดี สำเนียงภัพนครี
  • สำเนียงบัรวา
  • สำเนียงบกรี
  • สำเนียงตริมุขี แบ่งได้อีกเป็น สำเนียงฆิสดี

[แก้] อ้างอิง

วิกิพีเดีย
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ในภาษาคุชราต

แม่แบบ:ภาษาทางการอินเดีย