ภาษาจีนกลาง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภาษาจีนกลาง
官話 / 官话 Guānhuà
พูดใน: PRC ROC สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และชุมชนจีนอื่นทั่วโลก 
ภูมิภาค: ตอนเหนือ และตะวันตกเฉียงใต้ ของจีน
จำนวนผู้พูด: 867.2 ล้าน 
อันดับ: 1
ตระกูลภาษา: ซีโน-ทิเบตาน
 ภาษาจีน
  ภาษาจีนกลาง 
สถานะทางการ
ภาษาทางการใน: PRC ROC สิงคโปร์ สหประชาชาติ
ผู้วางระเบียบ: ในสาธารณรัฐประชาชนจีน: องค์กรต่าง ๆ
ในสาธารณรัฐจีน: Mandarin Promotion Council
ในสิงคโปร์: Promote Mandarin Council/Speak Mandarin Campaign [1]
รหัสภาษา
ISO 639-1: zh
ISO 639-2: chi (B)  zho (T)
ISO 639-3: cmn
สารานุกรมภาษา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมภาษา

ภาษาจีนกลาง (จีนตัวเต็ม: 官話, จีนตัวย่อ: 官话, พินอิน: Guānhuà, Mandarin) เป็นหนึ่งในสำเนียงหลักของภาษาจีนและเป็น 1 ใน 6 ของภาษาราชการของสหประชาชาติ ในปัจจุบันมีผู้ใช้มากกว่า 800 ล้านคนทั่วโลก

[แก้] ชื่อภาษาจีนกลาง

ภาษาจีนกลาง ใช้เรียกคำต่าง ๆ ในภาษาจีน ที่ใช้เรียกประเภทของภาษาพูดจีนที่สัมพันธ์กัน ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า "Mandarin"

ในวงแคบ คำว่า ภาษาจีนกลาง ใช้เรียก ผู่ทงฮั่ว (普通话/普通話) และ กั่วอวี่ (国语/國語) ซึ่งเป็นภาษาพูดมาตรฐานที่เกือบจะเหมือนกัน ซึ่งมีพื้นฐานมาจากภาษาพูดที่ใช้กว้างขวาง คือ Beifanghua เป่ยฟางฮั่ว ซึ่งความหมายในวงแคบนี้ คือความหมายที่ใช้ในบริบทนอกวิชาการ

ในวงกว้าง คำว่า ภาษาจีน ใช้เรียก เป่ยฟางฮั่ว ("ภาษาพูดทางเหนือ") ซึ่งเป็นประเภทที่ประกอบด้วยภาษาย่อยต่าง ๆ ของภาษาจีนที่ใช้ในทางตอนเหนือและตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ซึ่งความหมายนี้มักจะพบในบริบททางวิชาการ และจะใช้ความหมายนี้ในบทความนี้ โดยที่ผู่ตงฮั่วและกั๋วอวี่ จะใช้ชื่อจีนเรียก รวมถึงใช้ "ภาษาจีนกลางมาตรฐาน" และ "ภาษาจีนมาตรฐาน" เรียก

ภาษาประเภทเป่ยฟางฮั่วมีคนพูดมากกว่าภาษาอื่น ๆ และเป่ยฟางฮั่วก็เป็นพื้นฐานของผู่ตงฮั่วและกั่วอวี่ด้วย อย่างไรก็ดี เป็นที่น่าสังเกตว่า เป่ยฟางฮั่วครอบคลุมภาษาย่อยจำนวนมากที่ไม่สามารถเข้าใจกันได้ นอกจากนี้ แนวคิดเป่ยฟางฮั่วส่วนใหญ่ ไม่ใช้นอกวงการวิชาการเป็นคำที่ใช้อธิบายตัวเอง เมื่อให้อธิบายชนิดของภาษาพูดที่ใช้ คนจีนที่พูดชนิดของเป่ยฟางฮั่วจะอธิบายตามชนิดของภาษาที่ใช้ เช่น ภาษาเสฉวนหรือภาษาจีนตะวันออกเฉียงเหนือ ชาวจีนมักจะถือชนิดของภาษาจีนกลางที่พูด เป็นส่วนหนึ่งของการระบุมณฑลที่อายอยู่ อย่างไรก็ดี แทบจะไม่มีอะไรที่สามารถระบุได้โดยทั่วไป เกี่ยวกับแนวคิดของภาษาพูดทางเหนือ

เหมือนกับภาษาอื่นๆ การจัดภาษาจีนกลางเป็นภาษาเดียวหรือเป็นภาษาย่อย ยังคงเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่

หมายเหตุ: ภาษาจีนกลางชนิดที่เป็นมาตรฐานเรียกว่า ผู่ตงฮั่ว (Putonghua, 普通话) และ กั๋วอวี่ (Guoyu, 國語) แต่มักจะเรียกรวม ๆ ในภาษาอังกฤษว่า Mandarin

[แก้] อ้างอิง

  • Chao, Yuen Ren (1968). A Grammar of Spoken Chinese. University of California Press. ISBN 0-520-00219-9. 
  • Norman, Jerry (1988). Chinese. Cambridge University Press. ISBN 0-521-29653-6. 
  • Ramsey, S. Robert (1987). The Languages of China. Princeton University Press. ISBN 0-691-01468-X.