ภาษาทมิฬ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภาษาทมิฬ
தமிழ் 
เสียงอ่าน: [t̪ɐmɨɻ] ตะมิฬ
พูดใน: อินเดีย และศรีลังกา และมีบางส่วนใน สิงคโปร์ มาเลเซีย มอริเชียส แอฟริกาใต้ 
ภูมิภาค: รัฐทมิฬนาดูและรัฐใกล้เคียง
จำนวนผู้พูด: 74 ล้าน (พ.ศ. 2542) 
อันดับ: 13-17 ใกล้เคียงกับ ภาษาเกาหลี ภาษาเวียดนาม ภาษาเตลูกู และ ภาษามาราธี
ตระกูลภาษา: ดราวิเดียน
 ดราวิเดียนใต้
  ทมิฬ-คันนาดา
   ทมิฬ-โคดากู
    ทมิฬ-มาลายาลัม
     ภาษาทมิฬ 
ระบบการเขียน: อักษรทมิฬ 
สถานะทางการ
ภาษาทางการใน: อินเดีย ศรีลังกา และ สิงคโปร์
ผู้วางระเบียบ: รัฐบาลของรัฐทมิฬนาดู และสถานศึกษาหลายแห่ง
รหัสภาษา
ISO 639-1: ta
ISO 639-2: tam
ISO 639-3: tam
Indic script
บทความนี้มีอักษรในตระกูลอักษรพราหมีปรากฏอยู่ คุณอาจเห็นสัญลักษณ์อื่นแทนตัวอักษร หรือมองเห็นสระวางผิดตำแหน่ง หากคอมพิวเตอร์ของคุณไม่สามารถแสดงผลได้อย่างถูกต้อง
สารานุกรมภาษา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมภาษา

ภาษาทมิฬ (ทมิฬ: தமிழ் Loudspeaker.svg [t̪ɐmɨɻ] ) เป็นหนึ่งใน ภาษากลุ่มดราวิเดียน เป็นหนึ่งในภาษาคลาสสิกของโลก วรรณกรรมภาษาทมิฬได้มีมาเป็นเวลา 2500 ปีแล้ว และเป็นภาษาคลาสสิกภาษาแรกที่มีพัฒนาการเขียนแบบเฉพาะสำหรับบทกวี

เสียง "l" ในคำว่า "Tamil" ออกเสียง "คล้าย" กับ "ร" กล่าวคือ ออกเสียงโดยให้ปลายลิ้นส่วนล่างติดกับเพดานปาก และมักจะเขียนเป็น "zh" ในอักษรโรมัน (ตรงกับเสียง j ในภาษาฝรั่งเศส ส่วนภาษาไทยไม่มีเสียงที่เทียบได้ตรง) เชื่อว่าอักษร 'ழ' ซึ่งพบใน 'தமிழ்' (ทมิฬ) มีการออกเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ที่ไม่พบในภาษาอื่น ๆ ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ อักษรทมิฬ

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

จารึกภาษาทมิฬในวิหารพริหเทสวระ ในทันชวุร

หลักฐานเริ่มแรกของภาษทมิฬมีอายุราว พ.ศ. 243 ภาษานี้พบในอินเดียในฐานะภาษาที่มีวรรณกรรมมากในยุคสันคัม (พ.ศ. 243 - 843) เป็นภาษาที่พบในจารึกมากที่สุดในเอเชียใต้ โดยพบถึง 30,000 ชิ้น วรรณกรรมภาษาทมิฬในยุคสันคัมเป็นวรรณกรรมที่เก่าแก่ที่สุดของตระกูลภาษาดราวิเดียนด้วย การเก็บรักษาวรรณกรรมในอินเดียมี 2 แบบคือ เขียนลงบนใบลานหรือท่องจำแบบมุขปาฐะ นักวิชาการของภาษาทมิฬแบ่งภาษาออกเป็นสามยุคคือ ภาษาทมิฬโบราณ ภาษาทมิฬยุคกลาง ภาษาทมิฬยุคใหม่

[แก้] ภาษาทมิฬโบราณ

จารึกภาษาทมิฬที่เก่าที่สุดพบราว พ.ศ. 243 เขียนด้วยอักษรทมิฬ-พราหมีที่พัฒนามาจากอักษรพราหมี[1] ไวยากรณ์ที่เก่าที่สุดคือ โตลกาปปิยัม (Tolkāppiyam)ซึ่งบรรยายเกี่วกับกวีและไวยากรณ์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ายุคคลาสสิกของภาษานี้อยู่ระหว่าง พ.ศ. 243 - 1043 วรรณคดีในยุคสันคัม พบบทกวีกว่า 50,000 บรรทัด เขียนโดยกวี 473 คน รวมทั้งกวีที่เป็นสตรีด้วย ส่วนใหญ่ใช้ในการขับร้อง

ภาษาทมิฬโบราณหลังยุคสันคัม มีวรรณคดีที่สำคัญอยู่ 5 เรื่อง ได้แก่ สิลิปปติการัม มนิเมกาลัย สีวกจินตามนิ วลัยยปฐี และกุนทลเกสิ ซึ่งถือเป็นงานที่ยิ่งใหญ่

[แก้] ภาษาทมิฬยุคกลาง

ยุคนี้เป็นยุคภักติ วรรณกรรมสำคัญคือรามายณะภาคภาษาทมิฬในชื่อ กัมพะ รามายณัม (พุทธศตวรรษที่ 17) ในช่วงท้ายของยุคนี้ ราวพุทธศตวรรษที่ 19-21 ภาษาทมิฬถูกทำให้เป็นสันสกฤต มากขึ้น เกิดภาษาผสมขึ้นมา

[แก้] ภาษาทมิฬยุคใหม่

ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 25 เกิดขบวนการทมิฬบริสุทธิ์เรียกร้องให้นำส่วนที่มาจากภาษาสันสกฤตและภาษาอื่นๆออกไปจากภาษาทมิฬ แนวคิดนี้ได้รับการสนับสนุนจากพรรคดราวิเดียนและนักชาตินิยมที่เรียกร้องเอกราชของทมิฬ มีการแทนที่คำยืมจากภาษาสันสกฤตด้วยคำจากภาษาทมิฬที่มีความหมายเหมือนกัน

[แก้] การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์

การแพร่กระจายของผู้พูดภาษาทมิฬในอินเดียใต้และศรีลังกา (พ.ศ. 2504)

ภาษาทมิฬเป็นภาษาหลักในรัฐทมิฬนาฑูของอินเดียและจังหวัดตะวันออกเฉียงเหนือของศรีลังกา และใช้พูดโดยขนกลุ่มเล็กๆในพื้นที่อื่นๆของทั้งสองประเทศนี้ เช่น รัฐกรณาฏกะ รัฐเกรละ รัฐอานธรประเทศ และรัฐมหาราษฏระของอินเดีย รวมทั้งโคลอมโบและทางตะวันออกของศรีลังกา

จากการอพยพของสมัยอาณานิคมทำให้ปัจจุบันมีผู้พูดภาษาทมิฬกระจายไปในหลายประเทศ เช่น อินโดนีเซีย [2] ไทย [3] มาเลเซีย สิงคโปร์ พม่า เวียดนาม แอฟริกาใต้และมอริเชียส นอกจากนั้นยังพบบ้างในกายอานา ฟิจิ ซูรินาเม ตรินิแดดและโตเบโก คนเหล่านี้เป็นคนที่พูดภาษาทมิฬมาก่อน [4] แต่ปัจจุบันเริ่มหันไปพูดภาษาอื่น และยังมีผู้อพยพจากอินเดียและศรีลังกาไปอยู่ที่แคนาดา สหรัฐ ออสเตรเลีย ตะวันออกกลาง และยุโรปตะวันตก สถานะทางกฏหมาย ภาษาทมิฬเป็นภาษาราชการของรัฐทมิฬนาฑู เป็นภาษาราชการร่วมในสหภาพพอนดิเชอรี[5] และหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ [6] เป็นหนึ่งในภาษษประจำชาติ 23 ภาษาของอินเดีย เป็นภาษาราชการร่วมของศรีลังกาและสิงคโปร์ ในมาเลเซียมีโรงเรียนประถมศึกษา 543 แห่งสอนเป็นภาษาทมิฬ[7]

เมื่อ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ดร. อับดุล กาลัมประธานาธิบดีอินเดียได้ประกาศยอมรับให้ภาษาทมิฬเป็นภาษาคลาสสิกของอินเดีย [8][9][10]

[แก้] สำเนียง

[แก้] ความแปรผันของคำยืม

สำเนียงของภาษาทมิฬในรัฐเกรละมีคำยืมจากภาษามาลายาลัมมาก และได้รับอิทธิพลจากการเรียงประโยคของภาษามาลายาลัม สำเนียงของกลุ่มผู้นับถือนิกายไวษณพ ซึ่งอพยพไปอยู่รัฐกรณาฏกะได้พัฒนาสำเนียงเป็นของตนเอง ภาษาทมิฬในศรีลังกามีคำยืมจากภาษาอังกฤษ ภาษาโปรตุเกสและภาษาดัตช์ด้วย

[แก้] ความผันแปรของท้องถิ่น

ความแตกต่างของภาษาทมิฬขึ้นกับการเปลี่ยยนแปลงการออกเสียงที่ต่างไปจากภาษาทมิฬโบราณ เช่นคำว่า ที่นี่ (iṅku) ในสำเนียงคลาสสิกกลายเป็น iṅkū ในสำเนียงโกนคู inga ในสำเนียงธันชวูร์ และ iṅkai ในบางสำเนียงของศรีลังกา คำว่า iṅkaṇ ในภาษาทมิฬโบราณเป็นแหล่งที่มาของ iṅkane ในสำเนียงติรูเนลเวลี ภาษาทมิฬโบราณ iṅkaṭṭu เป็นที่มาของ iṅkuṭṭu ในสำเนียงมาดูไร และ iṅkaṭe ในสำเนียงทางเหนืออื่นๆ แม้ว่าปัจจุบันในโจอิมบาตอเรจะเป็นปกติที่จะได้ยิน akkaṭṭa ซึ่งหมายถึงสถานที่นี้ สำเนียงของภาษาทมิฬไม่ได้ต่างกันทางด้านคำศัพท์มากนัก สำเนียงในศรีลังกายังคงรักษาคำศัพท์และรูปแบบไวยากรณ์ที่ไม่พบในการพูดในชีวิตประจำวันในอินเดียและใช้คำบางคำต่างไปบ้าง

[แก้] ความแตกต่างระหว่างภาษาพูดและภาษาเขียน

ภาษาทมิฬมีรูปแบบที่แตกต่างกันหลายแบบ เช่น รูปแบบวรรณคดีคลาสสิกที่มาจากภาษายุคโบราณ (สันกัตตามิฬ) รูปแบบการเขียนสมัยใหม่และเป็นทางการ (เจนตามิฬ) และรูปแบบสมัยใหม่สำหรับการพูด (โกฏูนตามิฬ) แต่ละรูปแบบอาจมีลักษณะร่วมกัน เช่น เป็นไปได้ที่จะเขียนแบบเจนตามิฬโดยใช้รูปศัพท์ที่ต่ำกว่า เรียกเจญกัตตามิฬ หรือใช้รูปแบบที่เกี่ยวข้องกับสำเนียงใดสำเนียงหนึ่งกับโกฏูนตามิฬ [11]


ในปัจจุบัน เจนตามิฬเป็นรูปแบบที่ใช้ทั่วไปในการเขียนและพูดอย่างเป็นทางการและเป็นภาษาในตำรา โกฏูนตามิฬเป็นภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน และเริ่มนำมาใช้ในภาพยนต์และการหาเสียงของนักการเมืองทำให้เกิดการพูดแบบมาตรฐานที่ไม่เป็นทางการขึ้น ในอินเดีย มาตรฐานของโกฏูนตามิฬขึ้นกับการพูดของผู้ที่ไม่ใช่พราหมณ์และระดับการศึกษา[12] แต่ได้รับอิทธิพลจากสำเนียงธันชวูร์และมาดูไร ส่วนในศรีลังกามาตรฐานขึ้นกับสำเนียงจาฟนา

[แก้] ระบบการเขียน

ดูบทความหลักที่ อักษรทมิฬ

อักษรทมิฬมีสระ 12 ตัว พยัญชนะ 18 ตัวและเครื่องหมายพิเศษคืออายตัม สระและพยัญชนะประสมกันได้รูปแบบผสม 216 แบบ ทำให้มีทั้งหมด 247 แบบ พยัญชนะทุกตัวมีพื้นเสียงเป็น /อะ/ ซึ่งเอาออกได้โดยเติมปุลลิซึ่งเป็นจุดอยู่ใต้พยัญชนะ ไม่มีการแยกเสียงโฆษะและอโฆษะ นอกจากอักษรมาตรฐานแล้ว ยังมีอักษรอีก 6 ตัวมาจากอักษรครันถ์ซึ่งเคยใช้เขียนภาษาสันสกฤตในหมู่ชาวทมิฬ และใช้แสดงเสียงที่ไม่ใช่เสียงพื้นฐานของภาษาทมิฬ ซึ่งเป็นคำยืมจากภาษาสันสกฤต ภาษาปรากฤต และภาษาอื่นๆ

[แก้] สระ

สระในภาษาทมิฬเรียกอูยิเรฬุตตุ แบ่งเป็นสระเสียงสั้น (กุริล) 5 เสียง เสียงยาว 5 เสียงและสระประสม (/ไอ/และ/เอา/) และสระที่ถูกทำให้สั้น (กุรริยัล) 3 เสียง สระเสียงยาว (เนฏิล) มีเสียงยาวเป็นสองเท่าของสระเสียงสั้น สระประสมออกเสียงเป็น 1.5 เท่าของสระเสียงสั้น แต่ในตำราไวยากรณ์มักเอาไปรวมกับสระเสียงยาว

Short Long
Front Central Back Front Central Back
Close i u
Mid e o
Open a (ai) (aw)
ஒள

[แก้] พยัญชนะ

พยัญชนะในภาษาทมิฬเรียกว่าเมยเยฬุตตุ แบ่งเป็นสามหมวดคือ เสียงหนัก (วาลิณัม) เสียงเบาหรือเสียงนาสิก (เมลลิณัม) และเสียงกลาง (อิฏายิณัม) ภาษาทมิฬต่างจากภาษาอื่นๆในอินเดียที่ไม่แยกเสียงมีลมและไม่มีลม เสียงนาสิกส่วนมากเป็นเสียงโฆษะ ภาษาทมิฬมีเสียงม้วนลิ้น (ฬ) ซึ่งในตระกูลภาษาดราวิเดียนด้วยกันพบในภาษามาลายาลัม หายไปจากการออกเสียงภาษากันนาดาเมื่อราว พ.ศ. 1543 แต่ยังมีอักษรใช้อยู่ และไม่พบในภาษาเตลูกู[13]

Labial Dental Alveolar Retroflex Palatal Velar
Plosives p (b) t̪ (d̪) ʈ (ɖ) tʃ (dʒ) k (ɡ)
Nasals m n ɳ ɲ ŋ
Tap ɾ̪
Trill r
Central approximants ʋ ɻ j
Lateral approximants ɭ

[แก้] อายตัม

ในภาษาทมิฬคลาสสิก มีหน่วยเสียงอายตัม เขียนเป็น ‘ஃ' ซึ่งไวยากรณ์ในยุคนั้นแยกเป็นหน่วยเสียงหนึ่ง[14] แต่พบน้อยในภาษาทมิฬสมัยใหม่ ในตำราไวยากรณ์ยุคคลาสสิกกล่าวว่าอายตัมเปลี่ยนเสียงที่เข้ารวมด้วยให้เป็นเสียงจากเส้นเสียงหรือใช้เปลี่ยนเสียงพยัญชนะ ส่วนในภาษาทมิฬสมัยใหม่ ใช้เปลี่ยน pa เป็น fa เมื่อเขียนภาษาอังกฤษด้วยอักษรทมิฬ

[แก้] ตัวเลขและเครื่องหมายอื่นๆ

0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 100 1000
วัน เดือน ปี debit credit เหมือนข้างบน รูปี numeral

[แก้] ไวยากรณ์

บทความหลัก:ไวยากรณ์ภาษาทมิฬ

ไวยากรณ์ภาษาทมิฬส่วนใหญ่ได้บรรยายไว้ในตำราไวยากรณ์เก่าสุด "โตลกาปปิยัม" การเขียนภาษาทมิฬสมัยใหม่ใช้ตามตำราไวยากรณ์ เมื่อราว พ.ศ. 1800 Nannūl ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปจากโตลกาปปิยัมบ้าง ภาษาทมิฬโบราณแบ่งเป็น5ส่วนคือ eluttu, col, porul, yāppu และ ani สองส่วนหลังมักใช้ในวรรณคดี

ภาษาทมิฬเป็นภาษารูปคำติดต่อเช่นเดียวกับภาษากลุ่มดราวิเดียนอื่นๆ คำภาษาทมิฬประกอบด้วยรากศัพท์ ซึ่งจะต่อท้ายด้วยปัจจัย 1ตัวหรือมากกว่า ปัจจัยเหล่านี้มีทั้งที่เปลี่ยนความหมายหรือชนิดของคำ และปัจจัยที่แสดงการผันตามบุคคล จำนวน มาลาและกาล ไม่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับความยาวของการเติมปัจจัย ทำให้มีการสร้างคำขนาดยาว ประกอบด้วยปัจจัยหลายตัวได้

[แก้] คำศัพท์

คำศัพท์ภาษาทมิฬสมัยใหม่ ส่วนมากมาจากภาษาทมิฬโบราณ คำยืมจากภาษาสันสกฤตพบได้ทั่วไป นอกจากนั้นมีคำยืมจากภาษาเปอร์เซียและภาษาอาหรับ ซึ่งเป็นผลจากการติดต่อค้าขายในอดีต ตั้งแต่พุทธศตวรรณที่ 25 เริ่มมีคำยืมจากภาษาอังกฤษโดยเฉพาะศัพท์เทคนิค มีการกำหนดศัพท์เทคนิคที่มาจากภาษาทมิฬเช่นกันโดยรัฐบาลศรีลังกาหรือมหาวิทยาลัยทมิฬวิชัล

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ Mahadevan 2003, pp. 90–95
  2. ^ Ramstedt 243
  3. ^ Kesavapany 60
  4. ^ McMahon, Suzanne. Overview of the South Asian Diaspora. University of California, Berkeley. สืบค้นวันที่ 2008-04-23
  5. ^ Ramamoorthy, L. Multilingualism and Second Language Acquisition and Learning in Pondicherry. Retrieved on 2007-08-16.
  6. ^ Sunwani, Vijay K. Amazing Andamans and North-East India: A Panoramic View of States, Societies and Cultures. Retrieved on 2007-08-16.
  7. ^ http://ccat.sas.upenn.edu/~haroldfs/540/handouts/sparadox/sparadox.html
  8. ^ Thirumalai, Ph.D., M. S. (November 2004). "Tradition, Modernity and Impact of Globalization – Whither Will Tamil Go?". Language in India 4. เรียกข้อมูลวันที่ 2007-11-17 
  9. ^ BBC. India sets up classical languages. August 17, 2004. Retrieved on 2007-08-16.
  10. ^ The Hindu. Sanskrit to be declared classical language. October 28, 2005. Retrieved on 2007-08-16.
  11. ^ Harold Schiffman, "Diglossia as a Sociolinguistic Situation", in Florian Coulmas (ed.), The Handbook of Sociolinguistics. London: Basil Blackwell, Ltd., 1997 at pp. 205 et seq.
  12. ^ Harold Schiffman, "Standardization or restandardization: The case for ‘Standard' Spoken Tamil". Language in Society 27 (1998), pp. 359–385.
  13. ^ V. S. Rajam. A Reference Grammar of Classical Tamil Poetry: 150 B.C.-Pre-Fifth/Sixth Century A.D.. สืบค้นวันที่ 2007-06-01
  14. ^ Krishnamurti, Bhadriraju (2003). The Dravidian Languages. Cambridge Language Surveys. Cambridge University Press. pp. 154. ISBN 0521771110. 
วิกิพีเดีย
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ในภาษาทมิฬ