ภาษามราฐี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภาษามราฐี
मराठी Marāṭhī มฺราฐี
พูดใน: อินเดีย มอริเชียส และอิสราเอล 
ภูมิภาค: รัฐมหาราษฏร์ รัฐกัว บางส่วนของคุชราต รัฐมัธยประเทศ รัฐกรณาฏกะ รัฐอานธรประเทศ รัฐทมิฬนาฑู ดาดราและนครหเวลี และ ดามันและดีอู
จำนวนผู้พูด: ภาษาแม่ 70 ล้านคน
ภาษาที่ 2 มี 20 ล้านคน 
อันดับ: 13–17 (ภาษาแม่)
ตระกูลภาษา: อินโด-ยูโรเปียน
 ภาษากลุ่มอินโด-อิหร่าน
  ภาษากลุ่มอินโด-อารยัน
   ภาษากลุ่มอินโด-อารยันใต้
    ภาษามราฐี 
ระบบการเขียน: อักษรเทวนาครี, อักษรโมดี (traditional) 
สถานะทางการ
ภาษาทางการใน: Maharashtra & Goa State, India
ผู้วางระเบียบ: Maharashtra Sahitya Parishad
รหัสภาษา
ISO 639-1: mr
ISO 639-2: mar
ISO 639-3: mar 
Marathispeak.png
Marathi is spoken in India, Mauritius and Israel. Marathi is also spoken by emigrant Maharashtrians worldwide, especially in the USA and Europe.
Indic script
บทความนี้มีอักษรในตระกูลอักษรพราหมีปรากฏอยู่ คุณอาจเห็นสัญลักษณ์อื่นแทนตัวอักษร หรือมองเห็นสระวางผิดตำแหน่ง หากคอมพิวเตอร์ของคุณไม่สามารถแสดงผลได้อย่างถูกต้อง
สารานุกรมภาษา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมภาษา

ภาษามราฐี (मराठी) เป็นภาษาหนึ่งในตระกูลอินเดีย-ยุโรป หรืออินโด-ยูโรเปียน (Indo-European) ที่พูดกันในประเทศอินเดีย และใช้เป็นประจำรัฐอย่างเป็นทางการของรัฐมหาราษฏระและรัฐใกล้เคียง โดยใช้อักษรที่เรียกว่า อักษรเทวนาครี

นอกจากนี้ภาษามราฐียังเป็นหนึ่งใน 18 ภาษาประจำชาติอย่างเป็นทางการของอินเดียด้วย โดยมีผู้ใช้เกือบร้อยล้านคน เฉพาะในรัฐมหาราษฏระ มีผู้ใช้ภาษามราฐีราว 90 ล้านคน ทั้งยังนับเป็นภาษาหนึ่งที่มีประวัติยาวนาน จารึกภาษามราฐีที่เก่าที่สุด พบครั้งแรกในรัฐกรณาฏกะ เป็นจารึก ของอินเดีย สันนิษฐานจารึกไว้เมื่อประมาณ 1,300 ปีที่แล้ว

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

ภาษามราฐีเป็นภาษาที่สืบทอดลักษณะทางไวยากรณ์และคำศัพท์จากภาษาสันสกฤต โดยผ่านภาษามหาราษฏรี ซึ่งเป็นภาษาถิ่นหนึ่งของภาษาปรากฤต ในสมัยจักรวรรดิสตวหาน ซึ่งมีราชธานีในเมืองประติษฐาน ในราวพุทธกาล ภาษามราฐีถือเป็นภาษาหลักของภูมิภาคนั้น และนับว่าเป็นภาษาปรากฤตที่แผร่หลายกว้างขวางที่สุดในยุคนั้น และโดดเด่นเหนือกว่าภาษาปรากฤตทั้งหมดที่ใช้ในวรรณคดีประเภทบทละคร (ได้แก่ มหาราษฏรี เสารเสนี และมาคธี) นอกจากนี้ยังมีการใช้ภาษามหาราษฎรีแขนงหนึ่งในการบันทึกคัมภีร์ศาสนาเชน ขณะที่จักรพรรดิสัตตสัยทรงแต่งโศลก 700 บท เป็นชิ้นงานที่มีชื่อเสียงที่สุดในบรรดาวรรณกรรมภาษามหาราษฎรี ภาษามหาราษฏรีค่อยๆ วิวัฒนาการไปสู่ภาษามราฐี ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15-16

[แก้] การจำแนก

ภาษามราฐีจัดเป็นภาษาในตระกูลอินเดีย-อารยะ (อินโด-อารยัน) ในตระกูลใหญ่ อินเดีย-ยุโรป อันเป็นตระกูลภาษาที่มีสาขากระจายไปทั่วเอเชียและยุโรป

[แก้] ไวยากรณ์

ไวยากรณ์ภาษามราฐีใกล้เคยงกับภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปรียนอื่นๆ เช่น ภาษาฮินดี ภาษาคุชราตและภาษาปัญจาบ หนังสือไวยากรณ์สมัยใหม่ของภาษามราฐีเล่มแรกพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2348 เขียนโดย 'William Kerry'[1] ไวยากรณืของภาษามราฐีได้รับอิทธิพลจากภาษาสันสกฤตด้วย

[แก้] เพศ

มี 3 เพศได้แก่

  • เพศชาย — पुल्लिंग (ปุลลินคะ)
  • เพศหญิง — स्त्रीलिंग (สตรีลินคะ)
  • เพศไม่ปรากฏ — नपुंसकलिंग (นปุสกลินคะ)

คำนามเพศชายลงท้ายด้วยอะหรืออุ คำนามเพศหญิงลงท้ายด้วย อา อี หรืออู

[แก้] การกระทำ

รูปแบบประโยคมี 3 แบบ คือ

  • กัรตารี ประโยค กริยาเปลี่ยนรูปตามประธาน ตัวอย่างเช่น Raam mhanato "รามพูด", Raam aambaa khaato "รามกินมะม่วง"
  • กัรมนี ประโยค คือประโยคที่กริยาเปลี่ยนรูปตามกรรม เช่น Raamaane aambaa khallaa "มะม่วงถูกรามกิน", Raamaane saangitale "มันถูกกล่าวโดยราม"
  • ภาเว ประโยค เป็นประโยคที่กริยาไม่เปลี่ยนรูปตามประธานหรือกรรม ใช้ในประโยคขอร้องหรือบังคับ เช่น Maajha nirop tyaala jaaun saang "ส่งข้อความของฉันให้เขา"

[แก้] สรรพนาม

มี 3 บุรุษคือ

  • ประถัม ปุรุษ สรรพนามบุรุษที่ 1 ได้แก่ mi "ฉัน" aamhi "เรา (ไม่รวมผู้ฟัง)" aapan "เรา" (รวมผู้ฟัง)
  • ทวิติยะ ปุรุษ สรรพนามบุรุษที่ 2 ได้แก่ tuu "คุณ" tumhi "คุณ (พหูพจน์หรือเป็นทางการ)" aapan (เป็นทางการมาก)
  • ตรุติยะ ปุรุษ สรรพนามบุรุษที่ 3 ได้แก่ to "เขา (ชาย)" tii "เขา(หญิง)" te "มัน" te "พวกเขา (ชายหรือใช้เป็นรูปเอกพจน์ที่เป็นทางการ)" tyaa "พวกเขา (หญิง)" tii "พวกเขา (ไม่ระบุเพศ)" (neuter)

[แก้] ชนิดของคำ

มี 7 ชนิดคือ

  1. นามะ (สามานยนาม)
  2. วิเศศนามะ (วิสามานยนาม)
  3. สารวะนามะ (สรรพนาม)
  4. วิเศษะณะ (คุณศัพท์)
  5. กริยาวิเศษะณะ (กริยาวิเศษณ์)
  6. กริยาปะทะ (กริยา)
  7. อับยายะ

[แก้] โครงสร้างประโยค

เป้นแบบประธาน-กรรม-กริยา ลำดับของคำเปลี่ยนไปได้บ้างแต่ไม่ทำให้ความหมายเปลี่ยนไป

[แก้] การผันคำนาม

ภาษามราฐีเป็นภาษาที่มีการผันคำมาก เช่นเดียวกับภาษากลุ่ม อินโด-ยุโรเปียนโบราณ เช่นภาษาสันสกฤต ซึ่งใช้การผันคำแทนการใช้คำบุพบท แบ่งคำนามออกได้ 8 การก

[แก้] คำศัพท์

[แก้] การแลกเปลี่ยนคำศัพท์กับภาษาอื่นๆ

ภาษาที่มีอิทธิพลต่อภาษามราฐี ได้แก่ ภาษาปรากฤต ภาษามหาราษฏรี ภาษาอัปภรามศะ และภาษาสันสกฤต นอกจากนั้นยังมีอิทธิพลด้านคำศัพท์และไวยากรณ์จากภาษากลุ่มดราวิเดียน และภาษาจากต่างชาติ เช่นภาษาอาหรับ ถาษาเปอร์เซีย ภาษาอังกฤษ และภาษาโปรตุเกส ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างคำยืมจากภาษาอื่นๆ

  • Khurchii "เก้าอี้ " มาจากภาษาอาหรับkursi
  • Jaahiraat "การโฆษณา" มาจากภาษาเปอร์เซีย zaahiraat
  • Shiphaaras "การแนะนำ" มาจากภาษาเปอร์เซีย sifarish
  • Marjii "ต้องการ" มาจากภาษาเปอร์เซีย "marzi"
  • Batataa "มันฝรั่ง", มาจากภาษาโปรตุเกส
  • Ananas "สับปะรด", มาจากภาษาโปรตุเกส
  • Niga "มองไปข้างหลัง" มาจากภาษาเปอร์เซียnîgâh "วิสัยทัศน์"

คำยืมภาษาอังกฤษจำนวนมากใช้ในบทสนทนาโดยทั่วไป เช่น "pen" (ภาษามราฐีlekhaṇii), "shirt" (sadaraa).

[แก้] การสร้างคำประสม

มีกฏในการเชื่อมคำคล้ายกับภาษาสันสกฤตและภาษาเยอรมัน คือการสนธิคำและการสมาส

[แก้] ระบบการนับ

ภามราฐีมีการกำหนดชื่อตัวเลขตั้งแต่ 1-20 แลละทวีคูณของ 10 มีชื่อเฉพาะของ ¼, ½, และ ¾. คือ ปาวะ, อัรธา, และ ปะอูนะ ตามลำดับ เมื่อจำนวนเหล่านี้มากกว่า 1 จะใช้อุปสรรค สัพวา-, ซาเฑ-, ปาวะเณ- ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของเลขยกกำลังของ 10

  • 100: shambhar
  • 1,000: hazaar
  • 100,000: laakh
  • 10,000,000: koti
  • 1,000,000,000: abja
  • 10,000,000,000: kharva
  • 100,000,000,000: nikharva
  • 100,000,000,000,000,000: parardha

[แก้] ตัวอย่างวลี

Words/phrases Transliteration Meaning
नमस्कार Namaskār. สวัสดี.
तुम्ही कसे आहात? Tumhī kase āhāt? คุณทำอย่างไร?
तू कसा आहेस? Tū kasā āhes? คุณเป็นอย่างไรบ้าง? (ใช้กับผู้ชาย)
तू कशी आहेस? Tū kaśī āhes? คุณเป็นอย่างไรบ้าง? (ใช้กับผู้หญิง)
आपण कसे आहात? Āpaṇ kase āhāt? คุณเป็นอย่างไรบ้าง? (เป็นทางการ)
तुम्हाला भेटून आनंद झाला Tumhālā bheṭūn ānaṃd jhālā. ดีใจที่ได้พบคุณ.
पुन्हा भेटू Punhā bheṭū. ลาก่อน. (ตรงตัว "เราจะพบกันอีก")
धन्यवाद Dhanyavād. ขอบคุณ
हो Ho. ใช่
नाही Nāhī. ไม่
नको Nako. ไม่, ขอบคุณ
किती? Kitī? มากเท่าไหร่?
कुठे? Kuṭhe? ที่ไหน?
कसे? Kase? อย่างไร?
केव्हा? Kevhā? เมื่อใด?
कोण? Koṇ? ใคร?
काय? Kāy? อะไร?
शुभ रात्री। Śubh rātrī. ราตรีสวัสดิ์

[แก้] อ้างอิง

วิกิพีเดีย
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ในภาษามราฐี