ภาษามอลตา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มอลตา
Malti
พูดใน: Flag of มอลตา มอลตา

Flag of ออสเตรเลีย ออสเตรเลีย
Flag of แคนาดา แคนาดา
Flag of ยิบรอลตาร์ ยิบรอลตาร์
Flag of อิตาลี อิตาลี
Flag of the United Kingdom สหราชอาณาจักร
Flag of the United States สหรัฐอเมริกา[1]

จำนวนผู้พูด: 371,900 คน (ค.ศ. 1975)[2]
ตระกูลภาษา: แอโฟร-เอเชียติก
 เซมิติก
  เซมิติกตะวันตก
   เซมิติกกลาง
    เซมิติกกลางใต้
     อาหรับ
      มอลตา 
สถานะทางการ
ภาษาทางการใน: Flag of Europe สหภาพยุโรป
Flag of มอลตา มอลตา
ผู้วางระเบียบ: สภาภาษามอลตาแห่งชาติ
รหัสภาษา
ISO 639-1: mt
ISO 639-2: mlt
ISO 639-3: mlt
สารานุกรมภาษา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมภาษา

ภาษามอลตา (อังกฤษ: Maltese; มอลตา: Malti) เป็นภาษาประจำชาติของประเทศมอลตา และเป็นภาษาราชการของประเทศนี้ร่วมกับภาษาอังกฤษ[3] ภาษามอลตามีต้นกำเนิดจากภาษาซิคูโล-อาหรับ (ภาษาถิ่นของภาษาอาหรับที่มีวิวัฒนาการขึ้นในเกาะซิซิลี เกาะมอลตา และภาคใต้ของประเทศอิตาลี)[4][5] แต่ก็มีคำยืมจากภาษาอิตาลี ภาษาซิซิลี และภาษาอังกฤษในสัดส่วนสูงเช่นกัน ปัจจุบันภาษามอลตายังเป็นภาษาในกลุ่มเซมิติกเพียงภาษาเดียวที่เป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรปและใช้อักษรละตินในภาษาเขียนมาตรฐาน

เนื้อหา

[แก้] ผู้ใช้ภาษา

ในปี ค.ศ. 1975 มีผู้พูดภาษามอลตาประมาณ 371,000 คน จากจำนวนผู้อาศัย 300,000 คนในประเทศมอลตา[6] ผู้ย้ายถิ่นฐานมาจากมอลตาในประเทศออสเตรเลีย แคนาดา ยิบรอลตาร์ อิตาลี สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ยังคงพูดภาษานี้[1] และในปี ค.ศ. 2007 มีรายงานว่า ภาษามอลตายังคงใช้กันในหมู่ผู้สืบเชื้อสายจากผู้ย้ายถิ่นฐานชาวมอลตาในประเทศตูนิเซีย[7]

[แก้] สัทวิทยา

[แก้] เสียงพยัญชนะ

เสียงพยัญชนะในภาษามอลตา[8]
  ริมฝีปาก ริมฝีปาก
กับฟัน
ฟัน หลัง
ปุ่มเหงือก
เพดานอ่อน ช่องคอ เส้นเสียง
เสียงนาสิก m   n        
เสียงกัก ไม่ก้อง p   t   k   ʔ
ก้อง b   d   g    
เสียงเสียดแทรก ไม่ก้อง   f s ʃ   ħ  
ก้อง   v z        
เสียงกัก
เสียดแทรก
ไม่ก้อง     ts      
ก้อง     dz      
เสียงรัว     r        
เสียงเปิด     l        

[แก้] เสียงสระ

ภาษามอลตามีสระเสียงสั้น 5 ตัว ได้แก่ /ɐ ɛ ɪ ɔ ʊ/ (เขียนแทนด้วย a e i o u) สระเสียงยาว 6 ตัว ได้แก่ /ɐː ɛː ɪː iː ɔː ʊː/ (เขียนแทนด้วย a, e, ie, i, o, u) และสระประสมอีก 7 ตัว /ɐɪ ɐʊ ɛɪ ɛʊ ɪʊ ɔɪ ɔʊ/ (เขียนแทนด้วย aj หรือ għi, aw หรือ għu, ej หรือ għi, ew, iw, oj, และ ow หรือ għu)[5]

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ 1.0 1.1 Ethnologue entry for Maltese
  2. ^ [1]
  3. ^ Constitution of Malta, I.5.(1),
  4. ^ Brincat, Joseph M. (2005). "Maltese-an unusual formula" (27). MED Magazine. เรียกข้อมูลวันที่ 2008-02-22 
  5. ^ 5.0 5.1 Maltese. Albert J. Borg, Marie Azzopardi-Alexander, Azzopardi-Alexa. Routledge, 1997.
  6. ^ [2]
  7. ^ Times of Malta, 11 February 2007
  8. ^ Hume, Elizabeth (1996). "Coronal Consonant, Front Vowel Parallels in Maltese". Natural Language & Linguistic Theory 14 (1): 165 

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

วิกิพีเดีย
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ในภาษามอลตา


Linguistics stub.svg ภาษามอลตา เป็นบทความเกี่ยวกับ ภาษา หรือ ตัวอักษร ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ ภาษามอลตา ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ภาษา