ภาษามาลายาลัม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภาษามาลายาลัม
മലയാളം malayāḷaṁ มาลายะลัม
พูดใน: อินเดีย, มาเลเซีย และ สิงคโปร์ 
ภูมิภาค: รัฐเกราลา, ลักษทวีป, Mahé (Mayyazhii) ใน Puducherry, เขต โกทาคุ (Coorg) & บริเวณไมซอร์ ของรัฐการณกะ & นิลคิริ, Coimbatore, โปลาชิ, ติรุเนลเวลิ, เขตกาญะกุมาริ ของรัฐทมิฬนาดู มาเลเซีย,สิงคโปร์,ตะวันออกกลาง,อังกฤษ และ สหรัฐอเมริกา.
จำนวนผู้พูด: 35,757,100 คน[1].
35,351,000 ในอินเดีย,
37,000[2] ในมาเลเซีย, and
10,000 ในสิงคโปร์ 
อันดับ: 29
ตระกูลภาษา: ดราวิเดียน
 ภาษากลุ่มดราวิเดียนใต้
  ภาษากลุ่มทมิฬ-กันนาดา
   ภาษากลุ่มทมิฬ-โกทาคุ
    ภาษากลุ่มทมิฬ-มาลายาลัม
     ภาษามาลายาลัม 
ระบบการเขียน: อักษรมาลายาลัม(วัตเตลุตตุ) 
สถานะทางการ
ภาษาทางการใน: รัฐเกราลา และลักษทวีป & Puducherry
ผู้วางระเบียบ: ไม่มี
รหัสภาษา
ISO 639-1: ml
ISO 639-2: mal
ISO 639-3: mal
Indic script
บทความนี้มีอักษรในตระกูลอักษรพราหมีปรากฏอยู่ คุณอาจเห็นสัญลักษณ์อื่นแทนตัวอักษร หรือมองเห็นสระวางผิดตำแหน่ง หากคอมพิวเตอร์ของคุณไม่สามารถแสดงผลได้อย่างถูกต้อง
สารานุกรมภาษา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมภาษา

ภาษามาลายาลัมเป็นภาษาราชการของรัฐเกราลาทางภาคใต้ของอินเดีย มีผู้พูดประมาณ 36 ล้านคน และมีผู้พูดในเกาะลักษทวีปด้วย จัดอยู่ในภาษาตระกูลดราวิเดียน ใกล้เคียงกับภาษาทมิฬ เขียนด้วยอักษรมาลายาลัม

ภาษามาลายาลัมจัดอยู่ในกลุ่มดราวิเดียนใต้ คาดว่ามีกำเนิดร่วมกับภาษาทมิฬเมื่อราว พ.ศ. 1400 ก่อนจะแยกออกเป็นอีกภาษาหนึ่ง พัฒนาการของภาษาในช่วงแรกได้รับอิทธิพลจากภาษาทมิฬมาก การติดต่อค้าขายกับชาวอาหรับและเคยอยู่ภายใต้การปกครองของโปรตุเกส ทำให้ได้รับอิทธิพลของภาษากลุ่มโรมานซ์ เซมิติกและอินโด-อารยันเข้ามา ซึ่งอิทธิพลจากภาษาภายนอกเหล่านี้จะต่างกันไปในหมู่ผู้พูดที่นับถือศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลามและศาสนาฮินดู

[แก้] อ้างอิง

วิกิพีเดีย
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ในภาษามาลายาลัม