ภาษาเบงกาลี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภาษาเบงกาลี
বাংলা บังลา 
อักษร: อักษรเบงกาลี 
เสียงอ่าน: baŋla
พูดใน: บังคลาเทศ อินเดีย และประเทศอื่น 
ภูมิภาค: ส่วนตะวันออกของเอเชียใต้
จำนวนผู้พูด: 207 ล้าน 
อันดับ: 4
ตระกูลภาษา: อินโด-ยูโรเปียน
 อินโด-อิหร่าน
  อินโด-อารยัน
   เขตตะวันออก
    อปภรันสา อวาฮัตธา
     ภาษาเบงกาลี 
สถานะทางการ
ภาษาทางการใน: บังคลาเทศ อินเดีย รัฐเบงกอลตะวันตกในอินเดีย
ผู้วางระเบียบ: Bangla Academy
รหัสภาษา
ISO 639-1: bn
ISO 639-2: ben
ISO 639-3: ben
Indic script
บทความนี้มีอักษรในตระกูลอักษรพราหมีปรากฏอยู่ คุณอาจเห็นสัญลักษณ์อื่นแทนตัวอักษร หรือมองเห็นสระวางผิดตำแหน่ง หากคอมพิวเตอร์ของคุณไม่สามารถแสดงผลได้อย่างถูกต้อง
สารานุกรมภาษา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมภาษา

ภาษาเบงกาลี (বাংলা: บังคลา) เป็นภาษาที่พูดโดยประชากรของประเทศบังคลาเทศ และรัฐเบงกอลตะวันตกในประเทศอินเดีย ที่ติดกับบังคลาเทศ นอกจากนี้ยังมีชุมชนของคนที่พูดภาษาเบงกอลที่ใหญ่พอควรในรัฐอัสสัม (อีกรัฐในอินเดีย ติดกับทั้งรัฐเบงกอลตะวันตกและประเทศบังคลาเทศ) และในประชากรที่อพยพไปทางตะวันตกและตะวันออกกลาง รูปแบบมาตรฐานของภาษานี้เรียกว่า cholit bhaashaa: จลิตภาษา เป็นภาษาย่อยที่พูดกันมากที่สุด มีแบบมาจาก "Calcutta Bengali" (ภาษาเบงกอลที่พูดในเมืองกัลกัตตา) ในประเทศบังกลาเทศ เขียนด้วยอักษรเบงกาลี

ในภาษาอังกฤษ Bengali ใช้เรียกทั้งภาษาและคนที่พูดภาษานี้ ในภาษาเบงกาลีเองเรียกภาษาว่า Bangla: บังคลา (বাঙলা) , ซึ่งเป็นคำที่เริ่มใช้มากขึ้นในภาษาอังกฤษ ส่วนในภาษาบังคลา ชาวเบงกอลเรียกว่า Bangali: บางกาลี (বাংলা) ถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมเนียมของชาวเบงกาลีเรียกว่า Bengal: เบงกอล ในภาษาอังกฤษ และ Bongo: บองโก Banga: บางกา หรือ Bangla: บังคลา ในภาษาเบงกาลี "Bangadesh: บางกาเทศ" และ "Bangladesh: บังคลาเทศ" เป็นคำที่ใช้เรียกภูมิภาคของชางเบงกอลก่อนที่จะมีการแยกเป็นสองส่วน คือ เบงกอลตะวันตก (West Bengal หรือ Poshchim Bongo: ปอจิม บองโก หรือ ประจิมบังกา) ซึ่งได้กลายเป็นรัฐของอินเดีย และส่วนตะวันออก (เบงกอลตะวันออก: East Bengal หรือ Purbo Bongo: ปูร์โบ บองโก หรือ บูรพาบังกา) กลายเป็นประเทศบังคลาเทศ

เนื่องจากมีผู้ใช้ภาษาเบงกาลีมากกว่า250ล้านคนทั่วโลก ชีค ฮาซินา วาเจด นายกรัฐมนตรีบังกลาเทศ เสนอเมื่อ เดือนกันยายน พ.ศ. 2552 ให้สหประชาชาตินำภาษาเบงกาลีเป็นภาษาราชการของสหประชาชาติ ที่ปัจจุบันมีอยู่แล้ว 6 ภาษา คือภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาสเปน ภาษารัสเซีย ภาษาจีนและภาษาอาหรับ [1]


เนื้อหา

[แก้] ไวยากรณ์

บทความหลัก: ไวยากรณ์ภาษาเบงกาลี

คำนามในภาษาเบงกาลีไม่มีการกำหนดเพศ ทำให้มีการผันคำน้อย คำคุณศัพท์ คำนาม และสรรพนามมี 4 การก คำกริยามีรูปแบบการผันมาก แต่ต่างจากภาษาฮินดีที่ไม่มีการผันคำกริยาตามเพศ

[แก้] คำศัพท์

67% เป็นคำยืมจากภาษาสันสกฤต 28% เป็นคำศัพท์ดั้งเดิมในภาษาเบงกาลี นอกจากนี้มีบางส่วนเป็นคำยืมจากภาษาฮินดี ภาษาอัสสัม ภาษาจีน ภาษาพม่า ภาษาตุรกี ภาษาอาหรับ และภาษาเปอร์เซีย คำยืมที่มาจากภาษาในยุโรป ส่วนใหญ่มาจากภาษาอังกฤษ

[แก้] อ้างอิง

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

วิกิพีเดีย
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ในภาษาเบงกาลี
Linguistics stub.svg ภาษาเบงกาลี เป็นบทความเกี่ยวกับ ภาษา หรือ ตัวอักษร ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ ภาษาเบงกาลี ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ภาษา