ภาษาโดกรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภาษาโดกรี
डोगरी ڈوگرى ḍogrī
พูดใน: อินเดีย, ปากีสถาน 
ภูมิภาค: รัฐจัมมู, รัฐแคชเมียร์, รัฐหิมาจัลประเทศ, รัฐปัญจาบ
จำนวนผู้พูด: 2 ล้านคน
ตระกูลภาษา: อินโด-ยูโรเปียน
 ภาษากลุ่มอินโด-อิหร่าน
  ภาษากลุ่มอินโด-อารยัน
   อินโด-อารยันเหนือ
    ภาษาโดกรี 
ระบบการเขียน: อักษรเทวนาครี, อักษรตกริ, อักษรอาหรับ
รหัสภาษา
ISO 639-1: ไม่มี
ISO 639-2: doi
ISO 639-3: มีหลากหลาย:
doi — ภาษาโดกรี (ทั่วไป)
dgo — ภาษาโดกรี (จำเพาะ)
xnr — กังกรี
Indic script
บทความนี้มีอักษรในตระกูลอักษรพราหมีปรากฏอยู่ คุณอาจเห็นสัญลักษณ์อื่นแทนตัวอักษร หรือมองเห็นสระวางผิดตำแหน่ง หากคอมพิวเตอร์ของคุณไม่สามารถแสดงผลได้อย่างถูกต้อง
สารานุกรมภาษา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมภาษา

ภาษาโดกรีเป็นภาษาในจัมมูร์และแคชเมียร์ รวมทั้งในรัฐปัญจาบและรัฐหิมาจัลประเทศ[1] มีผู้พูดราว 2.1 ล้านคน [2] แต่ก่อนถือว่าเป็นภาษาถิ่นของภาษาปัญจาบ แต่ปัจจุบันได้รับการยอมรับว่าเป็นอีกภาษาหนึ่งในอดีตเขียนด้วยอักษรตกริ[3] ซึ่งคล้ายกับอักษรสรทะที่ใช้เขียนภาษาแคชเมียร์ [3] ปัจจุบันเขียนด้วยอักษรเทวนาครีหรืออักษรอาหรับ-เปอร์เซียแบบนัสตาลิก

เนื้อหา

[แก้] ศัพท์ทั่วไป

ภาษาโดกรี ภาษาโดกรี คำแปล เปรียบเทียบ
آہ / ऑह Ah ใช่ Haan (ฮินดี,อูรดู,ปัญจาบ), Aa (แคชเมียร์), Ho (ภาษาพาชตู)
کنے / कन्ने Kanne กับ Saath (ฮินดี/อูรดู), Sityə (แคชเมียร์), Naal (ปัญจาบ)
نکے / नुक्के Nukke รองเท้า Jootey (ฮินดี,อูรดู), Chhittar/Juttiaan (ปัญจาบ)
پت / पित्त Pit ประตู Darwaza (ฮินดี/อูรดู/ปัญจาบ/แคชเมียร์), Buha (ปัญจาบ), Bar (แคชเมียร์)
کے / के Ke อะไร Kya (ฮินดี/อูรดู/แคชเมียร์), Kee (ปัญจาบ)
کى / की ทำไม Kyon (ฮินดี/อูรดู/ปัญจาบ), Kyazi (แคชเมียร์), Kate/Kanu (ปัญจาบ ในบางที่)
ادوانہ / अद्वाना Adwana แตงโม Tarbooz (ฮินดี/อูรดู), Hadwana (ปัญจาบ/ภาษาเปอร์เซีย), Indwanna (พาชตู)
دنيہ / दुनिया Duniyā โลก Duniya (อูรดู/ปัญจาบ/แคชเมียร์/เปอร์เซีย/ภาษาอาหรับ)

[แก้] หลักฐานทางประวัติศาสตร์

ปูโตมีชาวกรีกในสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชได้กล่าวถึงชาวโดกรีว่า “ครอบครัวชาวโดกรีผู้กล้าหาญที่อยู่ในหุบเขาศิวาลิก [4] ใน พ.ศ. 1860 อามีร์ ขุสโร กวีที่มีชื่อเสียงในภาษาฮินดีและภาษาเปอร์เซียได้กล่าวถึงภาษาโดกรีในการอธิบายถึงภาษาและสำเนียงในอินเดีย [5][6]


[แก้] ทฤษฎีเกี่ยวกับที่มาของชื่อ

นักปราชญ์ในสมัยพระเจ้ารับบีร สิงห์มหาราชแห่งชัมมูและกัษมีระ อธิบายคำว่า Duggar ว่ามาจากคำว่า Dwigart หมายถึงผ่านไปทั้งสอง ซึ่งอาจจะอ้างถึงทะเลสาบมันสัรและสรุอินสัร [7]


มีนักภาษาศาสตร์ได้เชื่อมโยงคำว่า Duggar เข้ากับคำว่า Doonger ในภาษาราชสถาน ซึ่งหมายถึงเนินเขาและ Dogra กับคำว่า Dongar [7] ความเห็นนี้ขาดการสนับสนุนเท่าที่ควรเพราะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนระหว่างภาษาราชสถานกับภาษาโดกรี และขาดเหตุผลว่าทำไมจึงเปลี่ยนแปลงไปเช่นนั้น [8]

ข้อสันนิษฐานอีกข้อหนึ่งคือมาจากศัพท์ Durger ซึ่งคำนี้หมายถึงไม่พ่ายแพ้ในหลายภาษาทางอินเดียเหนือ และอาจจะกลายมาเป็นคำที่ชาวโดกรียืมมาใช้ เพื่อสื่อถึงความเข้มแข็งและประวัติศาสตร์ด้านการทหารและการปกครองตนเองในสังคมชาวโดกรี

ใน พ.ศ. 2519 ในการประชุมวิชาการเรื่องอินเดียแห่งตะวันออกทั้งหมด ได้ปฏิเสธสมมติฐาน Dwigart และสมมติฐาน Durger แต่ยอมรับสมมติฐาน Doonger-Duggar ในการประชุมต่อมาใน พ.ศ. 2525 นักภาษาศาสตร์ยอมรับว่าวัฒนธรรม ภาษา และประวัติศาสตร์ของชาวราชสถานและชาวโดกรีมีบางส่วนคล้ายคลึงกัน ศัพท์ Duggar และ Dogra เป็นศัพท์ทั่งไปในภาษาราชสถาน

[แก้] ประวัติ

การแปลภาษาสันสกฤตเป็นภาษาโดกรี เขียนด้วยอักษรตกริเริ่มปรากฏเมื่อ พ.ศ. 1657 ภาษาโดกรีเองมีกวีนิพนธ์ นิยาย และละครพื้นเมืองเป็นของตนเองเช่นกันโดยมีประวัติสืบค้นได้ถึงพุทธศตวรรษที่ 23 มีสถานีวิทยุและโทรทัศน์ออกอากาศเป็นภาษาโดกรีในรัฐชัมมูและกัษมีระ เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2512 ภาษาโดกรีได้รับการยอมรับให้เป็นภาษาเขียนเอกเทศในอินเดีย [9] เป็นภาษาประจำรัฐภาษาหนึ่งของรัฐชัมมูและกัษมีระ ต่อมาในวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ภาษาโดกรีได้รับการยอมรับให้เป็นภาษาประจำชาติของอินเดีย [10][11]ในปากีสถาน ภาษานี้มีชื่อว่าภาษาปาหารี [12] ยังมีผู้ใช้อยู่มากแต่ยังไม่ได้รับการยอมรับให้เป็นภาษาราชการ [13]

[แก้] การเป็นภาษาหรือสำเนียง

ภาษาโดกรี ภาษาแคชเมียร์ ภาษาปัญจาบ ภาษาอูรดู และภาษาฮินดี ต่างเป็นภาษาที่ใช้พูดในบริเวณที่มีความขัดแย้งสูง ทำให้เกิดปัญหาว่าภาษาเหล่านี้เป็นภาษาเอกเทศหรือสำเนียง ในบางครั้งถือว่าภาษาปาหารีตะวันตกเป็นสำเนียงของภาษาปัญจาบ ภาษาปาหารีตะวันตกบางสำเนียงเช่นรัมบานี เคยถูกจัดเป็นสำเนียงของภาษาแคชเมียร์ [3] [14]ในบางครั้งภาษาปัญจาบก็เคยถูกจัดเป็นสำเนียงของภาษาฮินดี นักภาษาศาสตร์สมัยใหม่จัดให้ภาษาโดกรี ภาษาแคชเมียร์ ภาษาปัญจาบ ภาษาอูรดู และภาษาฮินดีเป็นภาษาเอกเทศในภาษากลุ่มอินโด-อิหร่าน ภาษาเหล่านี้จะมีภาษามาตรฐานที่ใช้ในการเขียนและมีสำเนียงย่อยๆอีกมาก

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ Billawaria, Anita K. (1978). History and Culture of Himalayan States, v.4. Light & Life Publishers. http://books.google.com/books?id=HL21AAAAIAAJ. 
  2. ^ Sharma, Sita Ram (1992). Encyclopaedia of Teaching Languages in India, v. 20. Anmol Publications. p. 6. http://books.google.com/books?id=wIJhAAAAMAAJ. 
  3. ^ 3.0 3.1 3.2 Masica, Colin P. (1993). The Indo-Aryan Languages. Cambridge University Press. ISBN 0521299446. http://books.google.com/books?id=Itp2twGR6tsC. 
  4. ^ Shastri, Balkrishan (1981). Dogri in the family of world languages (Translated). Dogri Research Centre, Jammu University. 
  5. ^ Shastri, Ram Nath (1981). Dogri Prose Writing before Independence (Translated). Dogri Research Centre, Jammu University. 
  6. ^ Datta, Amaresh (1987). Encyclopaedia of Indian Literature. Sahitya Akademi. http://books.google.com/books?id=R89jAAAAMAAJ. 
  7. ^ 7.0 7.1 Pathik, Jyoteeshwar (1980). Cultural Heritage of the Dogras. Light & Life Publishers. http://books.google.com/books?id=O_-1AAAAIAAJ. 
  8. ^ Bahri, Ujjal Singh (2001). Dogri: Phonology and Grammatical Sketch. Bahri Publications. http://books.google.com/books?id=2sljAAAAMAAJ. 
  9. ^ Rao, S. (2004). Five Decades: The National Academy of Letters, India : a Short History of Sahitya Akademi. Sahitya Akademi. http://books.google.com/books?id=12pjAAAAMAAJ. Indian Express, New Delhi, 3rd August, 1969
  10. ^ "Lok Sabha passes bill recognising Dogri, 3 other languages", Daily Excelsior (Jammu and Kashmir), 2003-12-23, http://www.dailyexcelsior.com/web1/03dec23/news.htm, เรียกดูวันที่ 2008-10-31, "Dogri among other three languages has been included in the Eighth Schedule of the Constitution when Lok Sabha unanimously approved an amendment in the Constitution" 
  11. ^ Tsui, Amy (2007). Language Policy, Culture, and Identity in Asian Contexts. Routledge. ISBN 0805856943. http://books.google.com/books?id=xuci1lT08fsC. 
  12. ^ Ghai, Ved Kumari (1991). Studies in Phonetics and Phonology: With Special Reference to Dogri. Ariana Publishing House. ISBN 8185347204. http://books.google.com/books?id=VAMiAAAAMAAJ. "non-Dogri speakers, also trained phoneticians, tend to hear the difference as one of length only, perceiving the second syllable as stressed" 
  13. ^ Alami Pahari Adabi Sangat (Global Pahari Cultural Association), http://www.pahari.org, เรียกดูวันที่ 2008-10-31 
  14. ^ Itagi, N.H. (1994). Spatial Aspects of Language. Central Institute of Indian Languages. p. 70. ISBN 8173420092. http://books.google.com/books?id=SQliAAAAMAAJ. 

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น