มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
Tra ubru.jpg
“ ปญฺญฺชีวีชีวิตมาหุ เสฏฺฐํ ชีวิตของผู้ที่เป็นอยู่ด้วยปัญญา นั้นประเสริฐ ”
ดูบทความหลักที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏ

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี (อังกฤษ: Ubon Ratchathani Rajabhat University)เป็นสถาบันการศึกษาที่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น และมีการจัดการศึกษาและการค้นคว้าวิจัยในด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยปัจจุบันนี้ได้มีความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว


  • ที่ตั้ง 2 ถนนราชธานี ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี (บนเนื้อที่ 280 ไร่-ในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี)
    • วิทยาเขตบ้านยางน้อย ถนนแจ้งสนิท ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี (ติดกับศูนย์ศิลปาชีพอุบลราชธานี) (บนเนื้อที่ 1027 ไร่)


เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาซึ่งจัดตั้งอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยจัดการการศึกษาและให้การบริการแก่ประชาชนในจังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร อำนาจเจริญและศรีสะเกษ (บางส่วน) และบุคลากรในเขตจังหวัดและประเทศใกล้เคียง โดยจัดการศึกษาในระดับอนุปริญญา ปริญญาบัณฑิต ปริญญามหาบัณฑิต และปริญญาดุษฎีบัณฑิต โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี มีพัฒนาการและการยกฐานะดังต่อไปนี้

  • พ.ศ. 2485 มีการจัดตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือขึ้นที่จังหวัดอุบลราชธานีในความดูแลของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2490 เปิด "โรงเรียนฝึกหัดครูอุบลราชธานี" ขึ้น โดยใช้อาคารสถานที่ของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดอุบลราชธานี
  • พ.ศ. 2490 จัดการเรียนการสอนหลักสูตร "ประกาศนียบัตรจังหวัด" และหลักสูตรประโยคครูมูล
  • พ.ศ. 2497 จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร "ประโยคครูประถม" (ป.ป.)
  • พ.ศ. 2498 จัดการเรียนการสอนหลักสูตร "ประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา" (ป.กศ.)
  • พ.ศ. 2499 เริ่มโครงการฝึกหัดครูชนบทซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลและองค์การยูเนสโก (Thailand Unesco Rural Teacher Education Project) หรือ TURTER
  • พ.ศ. 2501 ยกฐานะขึ้นเป็น "วิทยาลัยครูอุบลราชธานี" เปิดสอนถึงระดับ ป.กศ.สูง
  • พ.ศ. 2510 เปิดสอนหลักสูตรประโยคครูประถม (ป.ป.)
  • พ.ศ. 2517 ได้เปิดสอนระดับปริญญาตรี ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518
  • พ.ศ. 2527 มีการจัดตั้งวิทยาลัยชุมชนชั้นในวิทยาลัยครูอุบลราชธานี ชื่อ "วิทยาลัยครูอุบลราชธานี"
  • พ.ศ. 2534 ทำโครงการความร่วมมือกับสถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ เปิดสอนระดับปริญญาโท วิชาเอกพัฒนาสังคม และวิชาเอกการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และ/หรือ การบริหารโครงการและนโยบายสาธารณะ
  • พ.ศ. 2535 ได้รับพระราชทานนามว่า "สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี"
  • พ.ศ. 2540 เปิดสอนระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู และหลักสูตรปริญญาโท สาขาการบริหารการศึกษา ในปีการศึกษา 2541 ได้เปิดสอนเพิ่มอีก 2 สาขา คือ สาขาพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน และสาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา
  • ปีการศึกษา 2544 ได้เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
  • ปีการศึกษา 2545 ได้เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท สาขา บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA)
  • ปีการศึกษา 2547 ได้ยกฐานะขึ้นเป็น "มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี"
ศูนย์ศิลป์.jpg



  • ปัจจุบันนี้ได้เปิดสอนระดับปริญญามหาบัณฑิตในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต ครุศาสตรมหาบัณฑิต บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต และระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิตในหลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต และปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เป็นสถาบันการศึกษาที่มีคณาจารย์และนักศึกษาเป็นจำนวนมาก อาคารสถานที่และครุภัณฑ์ที่ทันสมัยและเป็นสถาบันการศึกษาที่มีการพัฒนาการอย่างต่อเนื่องเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างแท้จริง และเพื่อความคล่องตัวในการบริหารและการจัดการภายในจึงได้มีการสถานภาพเป็นนิติบุคคล นอกจากนี้ยังมีระบบการประกันคุณภาพการศึกษา การพัฒนาอาจารย์การพัฒนาการเรียนการสอนในทุกสาขาวิชาไม่ว่าจะเป็นวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์นั่นเอง



[แก้] ผู้บริหาร

1 พ.ศ. 2491 - 2501 นายประสิทธิ์ สุนทโรทก ครูใหญ่ รร.ฝึกหัดครู
2 พ.ศ. 2501 - 2508 นายประสิทธิ์ สุนทโรทก ผู้อำนวยการวิทยาลัยครู
3 พ.ศ. 2508 - 2509 นายสนอง สิงหพันธ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยครู
4 พ.ศ. 2509 - 2515 นายสกล นิลวรรณ ผู้อำนวยการวิทยาลัยครู
5 พ.ศ. 2515 - 2517 นายพจน์ ธัญญขันธ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยครู
6 พ.ศ. 2517 - 2519 นายจินต์ รัตนสิน อธิการบดีวิทยาลัยครู
7 พ.ศ. 2519 - 2521 นายประธาน จันทร์เจริญ อธิการบดีวิทยาลัยครู
8 พ.ศ. 2521 - 2523 นายอรุณ มุขสมบัติ อธิการบดีวิทยาลัยครู
9 พ.ศ. 2523 - 2529 ผศ.ดร.พล คำปังสุ์ อธิการบดีวิทยาลัยครู
10 พ.ศ. 2530 - 2537 ผศ.ปุณณะ ภูละ อธิการบดีวิทยาลัยครู
11 พ.ศ. 2537 - 2538 ผศ.สมชาย วงศ์เกษม อธิการบดีสถาบันราชภัฏอุบลราชธานี
12 พ.ศ. 2538 - 2546 ผศ.สมชาย วงศ์เกษม อธิการบดีสถาบันราชภัฏอุบลราชธานี
13 พ.ศ. 2546 - 2547 ผศ.เกษม บุญรมย์ อธิการบดีสถาบันราชภัฏอุบลราชธานี
14 พ.ศ. 2547 - 2551 ผศ.เกษม บุญรมย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
15 พ.ศ. 2551 - ปัจจุบัน ผศ.ชัยวัฒน์ บุณฑริก อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี


[แก้] สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

[แก้] ตราประจำมหาวิทยาลัย

  • ตราประจำมหาวิทยาลัย เป็นรูปวงรี 2 วงซ้อนกัน ระหว่างวงรีส่วนบน เขียนเป็นอักษรภาษาไทยว่า "มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ส่วนล่างเขียนเป็นอักษรภาษาอังกฤษว่า " UBON RATCHATHANI RAJABHAT UNIVERSITY"ภายใต้วงรีด้านในมีตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นรูปพระที่นั่งอัฐทิศประกอบด้วยวงจักร กลางวงจักรมีมีอักขระเป็นอุหรือเลข ๙รอบวงจักรมีรัศมีเปล่งออกโดยรอบ เหนือจักรเป็นรูปเศวตฉัตรเจ็ดชั้นตั้งอยู่บนพระที่นั่งอัฐทิศ แปลความหมายว่า ทรงมีพระบรมเดชานุภาพในแผ่นดิน
สีน้ำเงิน สีน้ำเงิน แทนค่าสถาบันพระมหากษัตริย์ ผู้ให้กำหนดและพระราชทานสถาบันราชภัฏ
สีเขียว สีเขียว แทนค่าที่ตั้งของสถาบันฯทั้ง 36 แห่งในแหล่งธรรมชาติของสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม
สีทอง สีทอง แทนค่าความเจริญรุ่งเรืองทางปัญญา
สีส้ม สีสัม แทนค่าความรุ่งเรืองทางศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ก้าวไกลใน 36 สถาบัน
สีขาว สีขาว แทนค่าความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

[แก้] สีประจำมหาวิทยาลัย

  • สีประจำมหาวิทยาลัย ได้แก่ สีเทา - ชมพู


[แก้] คณะและสาขาที่เปิดสอน

[แก้] การจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี

  • คณะวิทยาศาสตร์
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ)

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ)

  • สาขา เคมี
  • สาขา สถิติประยุกต์
  • สาขา ฟิสิกส์
  • สาขา ชีววิทยา
  • สาขา จุลชีววิทยา
  • สาขา คณิตศาสตร์
  • สาขา สาธารณสุขชุมชน
  • สาขา สาธารณสุขชุมชน (ต่อเนื่อง 2 ปี)
  • สาขา วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม


  • คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ)
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ)

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ)

  • สาขา ภาษาไทย
  • สาขา ภาษาจีน
  • สาขา ภาษาอังกฤษ
  • สาขา ภาษาอังกฤษธุรกิจ
  • สาขา รัฐประศาสนศาสตร์
  • สาขา การพัฒนาชุมชน
  • สาขา การพัฒนาชุมชน (ต่อเนื่อง 2 ปี)
  • สาขา ดนตรี
  • สาขา นาฏศิลป์และการละคร
  • สาขา ศิลปกรรม
  • สาขา อุตสาหกรรมท่องเที่ยว (ธุรกิจท่องเที่ยว)
  • สาขา อุตสาหกรรมท่องเที่ยว (ธุรกิจโรงแรม)
  • สาขา บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต(รป.บ)

  • สาขา การปกครองท้องถิ่น


  • คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ
หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (บช.บ)
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ)
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ)

หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (บช.บ)

  • สาขา การบัญชี


หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต(บธ.บ)

  • สาขา การตลาด
  • สาขา การบัญชี
  • สาขา คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
  • สาขา การบริหารทรัพยากรมนุษย์
  • สาขา การบริหารธุรกิจ (ต่อเนื่อง 2 ปี)


หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ)

  • สาขา นิเทศศาสตร์


  • คณะครุศาสตร์
หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ)

หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ)

  • สาขา พลศึกษา
  • สาขา สังคมศึกษา
  • สาขา ภาษาอังกฤษ
  • สาขา คณิตศาสตร์
  • สาขา วิทยาศาสตร์
  • สาขา การศึกษาพิเศษ
  • สาขา นวัตกรรมและคอมพิวเตอร์ศึกษา
  • สาขา การศึกษาปฐมวัย



  • คณะเกษตรศาสตร์
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ)

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ)

  • สาขา เกษตรศาสตร์
  • สาขา การประมง
  • สาขา สัตวศาสตร์
  • สาขา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
  • สาขา ธุรกิจอาหารและโภชนาการ



  • คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ)
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ)

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ)

  • สาขา วิทยาการคอมพิวเตอร์
  • สาขา วิทยาการคอมพิวเตอร์ (ต่อเนื่อง 2 ปี)
  • สาขา เทคโนโลยีสารสนเทศ
  • สาขา เทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อเนื่อง 2 ปี)
  • สาขา วิศวกรรมซอฟแวร์
  • สาขา การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • สาขา การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อเนื่อง 2 ปี)
  • สาขา เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
  • สาขา อิเล็กทรอนิกส์คอมพิวเตอร์
  • สาขา อิเล็กทรอนิกส์คอมพิวเตอร์ (ต่อเนื่อง 2 ปี)
  • สาขา มัลติมีเดียและแอนนิเมชันเทคโนโลยี
  • สาขา เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบ
  • สาขา เทคโนโลยีไฟฟ้า
  • สาขา เทคโนโลยีไฟฟ้า (ต่อเนื่อง 2 ปี)
  • สาขา เทคโนโลยีการก่อสร้าง
  • สาขา เทคโนโลยีการก่อสร้าง (ต่อเนื่อง 2 ปี)
  • สาขา เทคโนโลยีอุตสาหกรรม (ต่อเนื่อง 2 ปี)
  • สาขา เทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม
  • สาขา ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม


หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต(วศ.บ)

  • สาขา วิศวกรรมเครือข่าย


  • คณะนิติศาสตร์
หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (น.บ)

หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (น.บ)

  • สาขา นิติศาสตร์
  • สาขา การบริหารงานยุติธรรมและสังคม



  • วิทยาลัยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
หลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิต (พท.บ.)

หลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิต (พท.บ.)

  • สาขา การแพทย์แผนไทย



  • วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ
หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (พย.บ.)

หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (พย.บ.)

  • สาขา พยาบาลศาสตร์ (กำลังดำเนินการ)


[แก้] การจัดการศึกษาระดับปริญญาโทและเอก

การศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิต
การศึกษาระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต

หลักสูตรการศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิต

  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
    • สาขา สัตวศาสตร์
    • สาขา คณิตศาสตร์ศึกษา
    • สาขา วิทยาศาสตร์ศึกษา
    • สาขา คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
  • หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
    • สาขา ภาษาอังกฤษ
    • สาขา สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
    • สาขา ยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา
  • หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.)
    • สาขา บริหารธุรกิจ
    • สาขา การบริหารงานทรัพยากรมนุษย์
  • หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
    • สาขา การสร้างเสริมสุขภาพ
  • หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.)
    • สาขา การบริหารการศึกษา
    • สาขา วิจัยและประเมินผลการศึกษา
    • สาขา การพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน
  • หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
    • สาขา รัฐประศาสนศาสตร์
  • หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต (ป.บัณฑิต)
    • สาขา วิชาชีพครู
    • สาขา การบริหารการศึกษา



หลักสูตรการศึกษาระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต

  • หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ค.ด.)
    • สาขา การบริหารการศึกษา
  • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
    • สาขา ยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค

[แก้] หน่วยงานภายใน

  • สำนัก/สถาบัน/กองงาน
    • สำนักงานอธิการบดี
    • สถาบันวิจัยและพัฒนา
    • สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
    • สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
    • สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
    • สำนักบริการวิชาการชุมชน
    • สำนักงานตรวจสอบภายใน
    • กองกลาง
    • กองนโยบายและแผน
    • กองบริหารงานบุคคล
    • กองพัฒนานักศึกษา
    • สถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟแวร์
    • สถาบันเศรษฐศาสตร์ลุ่มน้ำโขง
    • งานวิเทศสัมพันธ์


  • ศูนย์
    • ศูนย์คอมพิวเตอร์
    • ศูนย์ภาษา
    • คลินิกเทคโนโลยี
    • ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ
    • ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
    • ศูนย์แม่น้ำโขงศึกษา
    • หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น จังหวัดอุบลราชธานี
    • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
    • ศูนย์ศึกษาและการพัฒนาครู
    • ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา



  • คณะ/วิทยาลัย
    • คณะวิทยาศาสตร์
    • คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
    • คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ
    • คณะครุศาสตร์
    • คณะเกษตรศาสตร์
    • คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
    • คณะนิติศาสตร์
    • วิทยาลัยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
    • วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ
    • บัณฑิตวิทยาลัย


  • วิทยาเขต
    • วิทยาเขตบ้านยางน้อย


[แก้] พิธีพระราชทานปริญญาบัตร

พิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต มหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จังหวัดสกลนคร โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตร แก่บัณฑิต มหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี


[แก้] เกียรติประวัติ/รางวัล/ผลงาน

  • วงโปงลางของวิทยาลัยครูอุบลราชธานี ในปี พ.ศ. 2534 ได้รับการยกย่องจาก สมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย ให้ได้รับรางวัลสังข์เงินและนับเป็นวงโปงลางแรกที่ได้รับเกียรตินี้ (การรำที่เป็นเอกลักษณ์ของวงโปงลางนี้คือ รำตังหวาย)
  • ทีม Beer Programmer นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ได้รับรางวัลชนะเลิศจากการแข่งขันการสร้างเกมคอมพิวเตอร์ 3 มิติ ด้วย Dark Babic Professional คว้ารางวัลชนะเลิศอันดับ 1 มาครองจากงานนิทรรศการ "Game Show 2008" นิทรรศการแสดงและประกวดผลงานเกมนักศึกษา ในความร่วมมือของมหาวิทยาลัยมหาสารคามกับสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟแวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)สาขาขอนแก่น เมื่อวันที่ 17-20 กันยายน 2551 ณ จังหวัดขอนแก่น และทีม Princess ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 และทีม Up To You และทีม Good Boy ได้รับรางวัลชมเชย จากการแข่งขันสร้างเกมคอมพิวเตอร์ 3 มิติจากนิทรรศการเดียวกัน

[แก้] บุคคลที่มีชื่อเสียง


[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น