อำเภอสุไหงโก-ลก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

(เปลี่ยนทางมาจาก อำเภอสุไหงโกลก)
อำเภอสุไหงโก-ลก
แผนที่จังหวัดนราธิวาส เน้นอำเภอสุไหงโก-ลก
Cquote1.png สุไหงโก-ลกใต้สุดแดนสยาม วัฒนธรรมงามสองศาสนา ปาเต๊ะ-บาติกดูงามตา แหล่งศึกษาป่าพรุสิรินธร Cquote2.png
ข้อมูลทั่วไป
อักษรไทย อำเภอสุไหงโก-ลก
อักษรโรมัน Amphoe Su-ngai Kolok
จังหวัด นราธิวาส
รหัสทางภูมิศาสตร์ 9610
รหัสไปรษณีย์ 96120
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่ 138.3 ตร.กม.
ประชากร 73,290 คน (พ.ศ. 2552)
ความหนาแน่น 529.93 คน/ตร.กม.
ที่ว่าการอำเภอ
ที่ตั้ง ที่ว่าการอำเภอสุไหงโก-ลก ถนน
ทรายทอง 2 ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส 96120
พิกัด 6°1′46″N, 101°57′58″E
หมายเลขโทรศัพท์ 0 7361 1031
หมายเลขโทรสาร 0 7361 4296

สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

อำเภอสุไหงโก-ลก เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนราธิวาส มีตัวขนาดตัวเมืองใหญ่และมีความเจริญกว่าตัวจังหวัดมาก เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคใต้ตอนล่าง

เนื้อหา

[แก้] ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอสุไหงโก-ลกตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

[แก้] ประวัติ

สุไหงโก-ลกเดิมเป็นป่าดงดิบรกร้างว่างเปล่าในเขตตำบลปูโยะ อำเภอสุไหงปาดี ความเป็นป่าทึบทำให้ชาวบ้านเรียกว่า "ป่าจันตุหลี" หมายความว่า ทึบจนเรียกไม่ได้ยิน เหมือนหูหนวก เมื่อเริ่มมีผู้เข้ามาหักร้างถางพง จากชื่อป่าจันตุหลีเปลี่ยนเป็น "สุไหงโก-ลก" ซึ่งเป็นภาษามลายู มาจากคำว่า "สุไหง" แปลว่า แม่น้ำ ลำคลอง และคำว่า "โก-ลก" แปลว่า คดเคี้ยว ถ้าเป็นคำนามหมายถึง มีดพร้า (ที่คนพื้นเมืองนิยมใช้) เมื่อนำคำว่าสุไหงรวมกับโก-ลก จึงหมายถึง แม่น้ำที่คดเคี้ยว หรือ แม่น้ำมีดอีโต้ ชาวบ้านคงเรียกชื่อเมืองตามแม่น้ำที่ไหลผ่านพื้นที่ ปัจจุบันแม่น้ำสายนี้เป็นเส้นกั้นพรมแดนประเทศไทยกับรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย

เมื่อปี พ.ศ. 2460 ได้มีการกรุยทางเพื่อก่อสร้างทางรถไฟเชื่อมไปรัฐกลันตันโดยกำหนดตั้งสถานีรถไฟในเขตป่าจันตุหลี ซึ่งต่อมาก็คือสถานีรถไฟสุไหงโก-ลก ซึ่งเป็นสถานีรถไฟสถานีสุดท้ายของประเทศไทยที่มีระยะทางไกลที่สุด ชาวบ้านปูโยะที่เห็นการณ์ไกลได้เริ่มเข้ามาจับจองที่ดิน บ้างก็ขออนุญาตทำสวนยางพาราแต่ยังไม่มีการปลูกสร้างบ้านเรือน ชุมชนที่ชาวปูโยะติดต่อค้าขายมีเฉพาะรันตูปันยังของกลันตันซึ่งมีราษฎรอยู่อาศัยและประกอบอาชีพค้าขายเป็นหลักแหล่งแล้ว

แม้ว่าจะเปิดการเดินรถไฟเป็นรถรวมจากหาดใหญ่ไปสิ้นระยะที่สุไหงโกลกเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2464 แต่ราษฎรก็ยังไม่ได้รับความสะดวก เนื่องจากป่าถูกจับจองไว้โดยมิได้ก่อประโยชน์ ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2468 นายวงศ์ ไชยสุวรรณ อาศัยที่ดินของนายฉ่ำที่หลังสถานีรถไฟ พร้อมนายฮวด นายซั้ว นายกวาซ่อง นายเจ๊ะหมัด นายหลีหลง และนายหวัง รวม 7 คน เป็นเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียงซึ่งมีทั้งคนไทย คนมุสลิม และคนจีนร่วมกันพัฒนาเมือง (สุนทรธรรมพาที: 2501) นับเป็นต้นแบบแห่งสังคมพหุลักษณ์ที่มีเสน่ห์ยิ่ง ปี พ.ศ. 2472 กำนันตำบลปูโยะถึงแก่กรรม นายวงศ์ ไชยสุวรรณจึงได้รับแต่งตั้งเป็นกำนันได้พัฒนาจนเริ่มกลายเป็นเมือง ได้อาศัยเงินจากเพื่อน 5 คน ได้ 500 บาท ตัดถนนถึง 31 สาย ลักษณะถนนตัดพาดผ่านกันเป็นตาหมากรุก จึงมีสี่แยกจำนวนมาก แต่เชื่อว่านั่นคือแนวคิดการป้องกันการลุกลามของไฟเมื่อเกิดอัคคีภัย ดังนั้นจึงมีผู้คนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานและประกอบอาชีพมากมาย ตำบลปูโยะมีประชากรถึง 12,300 คน ทางราชการจึงแยกเป็น 2 ตำบล คือ ตำบลปูโยะและตำบลสุไหงโก-ลก

ต่อมาเมื่อจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ล่องใต้มาตรวจราชการที่ตำบลสุไหงโก-ลก นายวงศ์ ไชยสุวรรณได้ร้องขอให้ตั้งท้องถิ่นนี้ขึ้นเป็นเทศบาล ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีเห็นด้วย จึงได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลสุไหงโก-ลก เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2483 มีนายวงศ์ ไชยสุวรรณ เป็นนายกเทศมนตรีคนแรก เหตุการณ์นี้พระครูสุนทรธรรมภาณีได้เขียนคำกลอนบันทึกไว้ว่า

ใน พ.ศ. สองสี่แปดสิบสาม นายกนามจอมพล ป. พิบูลย์ศรี ออกเที่ยวตรวจราชการงานที่มี มาถึงแดนโก-ลกโชคดีแรง กำนันวงศ์ร้องขอต่อ ฯพณฯ ท่าน ขอเปิดการเทศบาลขึ้นในแขวง จอมพล ป. เห็นตามความชี้แจง คุณวงศ์แต่งเปิดเขตเทศบาล ฯลฯ ในเจ็ดปีที่คุณวงศ์เป็นนายก สร้างโก-ลกให้สง่าหรูหราแสน ทำประโยชน์มากมายเมืองชายแดน ตามแบบแปลนที่จะเล่ากล่าวต่อไป หนึ่งขอตั้งไปรษณีย์โทรเลข งานชิ้นเอกสร้างสรรค์ทันสมัย เรื่องที่สองร้องขอตั้งต่อไป โรงเรียนใหม่ถึงขั้นชั้นมัธยม ทางกระทรวงศึกษาอนุญาต ความมุ่งมาตรมั่นหมายก็ได้ผล ฯลฯ ประการสี่มีข้อขอเสนอ ตั้งเป็นอำเภอปรารถนา เพราะโก-ลกคนมากหากเป็นป่า กิจธุระต้องไปติดต่อสุไหงปาดี รัฐบาลเห็นพ้องอนุญาต แจ้งประกาศบอกกระบวนมาถ้วนถี่ ให้ตั้งก่อนเป็นกิ่งจึงจะดี แต่บัดนี้เป็นอำเภอเสมอกัน

หลังจากตั้งเทศบาลแล้ว 8 ปี ตำบลสุไหงโก-ลกจึงได้ยกฐานะเป็น กิ่งอำเภอสุไหงโก-ลก ขึ้นกับอำเภอสุไหงโกลก โดยมีเขตปกครอง 4 ตำบล คือ ตำบลสุไหงโก-ลก ตำบลปูโยะ ตำบลปาเสมัส และตำบลมูโนะ (รับโอนมาจากอำเภอตากใบ) กระทั่งวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2496 จึงได้รับการยกฐานะเป็น อำเภอสุไหงโก-ลก มีนายนอบ นพสงศ์ เป็นนายอำเภอคนแรก เขตการปกครอง 4 ตำบลเท่าเดิม ส่วนตำบลสุไหงโก-ลกอยู่ในเขตเทศบาล ความน่าภูมิใจของเทศบาลนี้คือ เป็นเทศบาลเดียวในประเทศไทยที่จัดตั้งก่อนอำเภอถึง 13 ปีและเกิดจากความต้องการของประชาชน ปัจจุบันเทศบาลตำบลสุไหงโก-ลกได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกเมื่อ ปี พ.ศ. 2545 เป็นต้นมา ปัจจุบันอำเภอสุไหงโก-ลกมีความเจริญและเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของภาคใต้ตอนล่าง มีด่านการค้าชายแดนที่ใหญ่ที่สุดของฝั่งตะวันออก เป็นศูนย์กลางของการค้าขายส่งสินค้าทั้งพืชผักผลไม้ ตลอดจนไม้ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และขนมนมเนยจากประเทศเพื่อนบ้าน และเป็นศูนย์กลางทางการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวจากประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ที่ผ่านเข้าออกด่านสุไหงโก-ลกกว่าปีล่ะหลายแสนคน

[แก้] การปกครองส่วนภูมิภาค

การปกครองของอำเภอสุไหงโก-ลกมี 4 ตำบล 19 หมู่บ้าน ได้แก่

1. สุไหงโก-ลก (Su-ngai Kolok) 1 หมู่บ้าน
2. ปาเสมัส (Pasemat) 7 หมู่บ้าน
3. มูโนะ (Muno) 5 หมู่บ้าน
4. ปูโยะ (Puyo) 6 หมู่บ้าน

[แก้] การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอสุไหงโก-ลกประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสุไหงโก-ลกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลปาเสมัส ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปาเสมัสทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมูโนะทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลปูโยะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปูโยะทั้งตำบล

[แก้] หน่วยกู้ภัย

  • มูลนิธิธารน้ำใจกู้ภัยสุไหโกลก
  • มูลนิธิสว่างอารมย์สุไหงโก-ลก

[แก้] ประชากร

[แก้] สถานที่ท่องเที่ยว

[แก้] โรงแรมและสถานที่พัก

โรงแรมและสถานที่พักอำเภอสุไหงโก-ลกมีหลายหลายให้เลือกโดยมีห้องพักทั้งหมดประมาณ มากกว่า 3,000 กว่าห้อง (พ.ศ. 2549)

  • โรงแรมเก็นติ้ง ถนนเอเซีย 18
  • โรงแรมมารีน่าสายธาร ถนนเจริญเขต 3 (ซอยภูธร)
  • โรงแรมแกรนการ์เดนร์ ถนนประชาวิวัฒ
  • โรงแรมอินเตอร์ทาวเวอร์ ถนนประชาวิวัฒ
  • โรงแรมธารารีเจน ถนนเจริญเขต 3 (ซอยภูธร)
  • โรงแรมซิตี้
  • โรงแรมเวนิส พาเลซ โฮเทล
  • โรงแรมเมอลิน
  • โรงแรมริเวียร่า
  • โรงแรมปาร์คสัน
  • โรงแรมทักษิณ 1
  • โรงแรมทักษิณ 2
  • โรงแรมอิมเพรส
  • โรงแรมพลาซ่า โอเต็ล
  • โรงแรมพิมานโฮเต็ล
  • โรงแรมวาเลนไทน์โฮเต็ล
  • โรงแรมรอยัลปาร์ค
  • บังกะโลโก-ลก (12 หลัง) และโรงแรมอื่นๆอีกประมาณ 30 แห่ง (รวมทั้งเมืองมีโรงแรมประมาณ 54 แห่ง)


[แก้] ข้อมูลพื้นฐาน

[แก้] ส่วนราชการ

[แก้] ห้างสรรพสินค้า/ศูนย์การค้า

  • ห้างสรรพสินค้าอารีภัณฑ์
  • ห้างสรรพสินค้านิยมนานช้อปปิ้งเซ็นเตอร์
  • ห้างสรรพสินค้าไทยอุดมเอก
  • ศูนย์พาณิชยกรรมเก็นติ้ง
  • ห้างเซ็นเตอร์ซุปเปอร์มาร์ท สาขาอินเตอร์ทาวเวอร์
  • ห้างเซ็นเตอร์ซุปเปอร์มาร์ท สาขาแกรนการ์เดนส์

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

พิกัดภูมิศาสตร์: 6°04′22″N 101°59′30″E / 6.07269°N 101.99158°E / 6.07269; 101.99158