สงครามอ่าวเปอร์เซีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สงครามอ่าวเปอร์เซีย
Gulf War Photobox.jpg
ลำดับภาพตามเข็มนาฬิกา เครื่องบินของกองทัพอากาศสหรัฐกำลังบินเหนือบ่อน้ำมันในคูเวต; ทหารอังกฤษในปฏิบัติการแกรนบี้; ภาพจากล็อกฮีด เอซี-130; ทางหลวงมรณะ; เอ็ม 728
วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2533- 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534
(สิ้นสุดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538) [ต้องการอ้างอิง]
สถานที่ อ่าวเปอร์เซีย
ผลลัพธ์
  • ซัดดัม ฮุสเซนยังคงอยู่ในอำนาจต่อไป
  • มีการกำหนดโทษให้แซงชั่นทางเศรษฐกิจต่ออิรัก
  • กองกำลังอิรักถูกขับไล่ออกจากคูเวต
  • ฝ่ายอิรักได้รับความเสียหายอย่างหนักและโครงสร้างพื้นฐานของอิรักกับคูเวตถูกทำลาย
  • การลุกฮือขึ้นต่อต้านซัดดัม ฮุสเซนจากภายในถูกปราบปรามอย่างรุนแรง
  • สหรัฐอเมริกาตั้งฐานปฏิบัติการทางทหารในซาอุดิอาระเบีย
  • ชาวปาเลสไตน์ถูกขับไล่ออกจากคูเวต
ผู้ร่วมสงคราม
ธงของประเทศคูเวต คูเวต

ธงของประเทศบังกลาเทศ บังกลาเทศ
ธงของประเทศแคนาดา แคนาดา
ธงของประเทศอียิปต์ อียิปต์
ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
ธงของประเทศกรีซ กรีซ
ธงของประเทศอิตาลี อิตาลี
ธงของราชอาณาจักรโมร็อกโก โมร็อกโก
ธงของประเทศเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์
ธงของประเทศเบลเยียม เบลเยียม
ธงของประเทศนิวซีแลนด์ นิวซีแลนด์
ธงของประเทศออสเตรเลีย ออสเตรเลีย
ธงของประเทศโอมาน โอมาน
ธงของประเทศปากีสถาน ปากีสถาน
ธงของประเทศกาตาร์ กาตาร์
ธงของประเทศซาอุดีอาระเบีย ซาอุดีอาระเบีย
ธงของประเทศซีเรีย ซีเรีย
ธงของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
ธงของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร
ธงของสหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกา
กองกำลังผสมจากประเทศอื่น ๆ

Flag of อิรัก อิรัก
ผู้บัญชาการ
Flag of คูเวต จาเบอร์ อัลอะหมัด อัลจาเบอร์ อัลซาบาห์

Flag of the United States นอร์แมน ชวาร์ซคอพฟ์
Flag of the United States โคลิน โพเวลล์
Flag of ซาอุดีอาระเบีย คาลิด บิน สุลต่าน[1][2]
Flag of the United Kingdom แอนดรูว์ วิลสัน
Flag of the United Kingdom ปีเตอร์ เดอ ลา บิลแลร์

Flag of อิรัก ซัดดัม ฮุสเซน

Flag of อิรัก อลี ฮัสซัน อัลมาจิด

กองกำลัง
ทหาร 959,600 นาย[3]
เครื่องบินขับไล่และเครื่องบินโจมตีรวมกันทั้งหมด 1,820 ลำ (สหรัฐอเมริกา 1,376 ลำ; ซาอุดิอาระเบีย 175 ลำ; อังกฤษ 69 ลำ; ฝรั่งเศส 42 ลำ; แคนาดา 24 ลำ; อิตาลี 8 ลำ)

รถถัง 3,318 คัน (ส่วนมากมักจะเป็นเอ็ม 1 เอบรามส์ (สหรัฐอเมริกา) ชาเลนเจอร์ 1 (สหราชอาณาจักร) และเอ็ม 60 (สหรัฐอเมริกา)
เรือบรรทุกเครื่องบิน 8 ลำ
เรือประจัญบาน 2 ลำ
เรือลาดตระเวน 20 ลำ
เรือพิฆาต 20 ลำ
เรือดำน้ำ 5 ลำ[4]

ทหาร 545,000+ นาย (100,000+ นายในคูเวต)

เครื่องบินขับไล่ 649 ลำ
ร ถถัง 4,500 คัน (มีไทป์-59 และไทป์-69 ของจีน; ที-55 และที-62ที่ผลิตเอง; ที-72 ของโซเวียตอีก 500 คัน)[4]

ความสูญเสีย
ถูกศัตรูสังหาร: 190 นาย
บาดเจ็บ 719 นาย
ถูกจับเป็นเชลย 41 นาย (ไม่ทราบจำนวนผู้เสียชีวิตของฝ่ายคูเวต แต่มีอย่างน้อย 605 นายที่สูญหาย)

ยิงฝ่ายเดียวกัน: 44 นาย บาดเจ็บ 57 นาย
อุบัติเหตุจากระเบิด: 11 นาย
อุบัติเหตุ: 134 นาย
ทั้งสิ้น: มีประมาณ 1,800 นายที่เสียชีวิต บาดเจ็บ สูญหายและถูกจับเป็นเชลย

ถูกสังหาร 20,000 นาย

ถูกจับเป็นเชลย 80,000 นาย[5]
บาดเจ็บ 75,000 นาย
ทั้งสิ้น 175,000-355,000 นายที่ถูกสังหาร บาดเจ็บ สูญหาย และถูกจับเป็นเชลย

พลเรือน

ชาวอิรักถูกสังหาร 3,664 ราย[6]
ชาวอิสราเอลถูกสังหาร 2 ราย บาดเจ็บ 230 ราย[7]
ชาวซาอุถูกสังหาร 1 ราย บาดเจ็บ 65 ราย[8]
ชาวคูเวตประมาณ 1,000 คนถูกสังหารในช่วงที่อิรักเข้ายึดครอง และมีผู้อพยพกว่า 300,000 คน[9]

สงครามอ่าวเปอร์เซีย หรืออาจเรียกสั้น ๆ ว่า สงครามอ่าว (อังกฤษ: Gulf War) หรือที่รู้จักกันว่า สงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งที่หนึ่ง[10][11] หรือ สงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งที่สอง[12][13] เป็นความขัดแย้งทางทหารที่เริ่มโดยกองกำลังผสมจาก 34 ประเทศโดยมีสหประชาชาติเป็นผู้ดูแล กับอิรักและรัฐบาลร่วมที่ต้องการขับไล่กองกำลังอิรักออกจากคูเวตหลังจากที่อิรักเข้ายึดครองคูเวต ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2533

กองกำลังของฝ่ายกองกำลังผสมมาจากสหรัฐอเมริกาโดยมีซาอุดิอาระเบีย สหราชอาณาจักร และอียิปต์เป็นผู้สนับสนุน ซาอุดิอาระเบียระดมทุนให้ประมาณ 4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐจากทั้งมหด 6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในสงครามครั้งนี้[14]

การรุกรานคูเวตของกองทัพอิรักทำให้มีการลงโทษทางเศรษฐกิจต่ออิรักโดยสมาชิกสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และมีการเตรียมพร้อมสำหรับการทำสงครามโดยสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และแคนาดา การขับไล่ทหารอิรักออกจาคูเวตเริ่มขึ้นในเดือนมกราคม พ.ศ. 2534 และกองกำลังผสมก็ได้รับชัยชนะในที่สุด

การต่อสู้ทางอากาศและทางบกเกิดขึ้นในอิรัก คูเวต และตามแนวชายแดนของซาอุดิอาระเบีย อิรักได้ยิงขีปนาวุธสกั๊ดเข้าใส่ที่มั่นของกองกำลังผสมในซาอุดิอาระเบีย และที่ศูนย์รวมของพลเรือนในอิสราเอลในการพยายามแก้แค้นโดยรัฐยิวซึ่งจะขัดขวางรัฐบาลผสมด้วยการแยกสมาชิกของกลุ่มอาหรับ

หลังจากที่อิรักบุกคูเวต ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา จอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช ได้ส่งกำลังพลทั้งกองทัพบก กองทัพเรือ นาวิกโยธิน กองทัพอากาศ และยามชายฝั่งไปยังซาอุดิอาระเบียเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการดีเซิร์ทชีลด์ ในขณะเดียวกันก็กระตุ้นประเทศอื่น ๆ ให้ส่งกองกำลังเข้าร่วม กองกำลังผสมก็รวบรวมได้สำเร็จเมื่อถึงเวลารบโดยเริ่มขึ้นในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2534 โดย 12 ประเทศได้ส่งกองกำลังทางทะเลเข้าร่วมกับรัฐซาอุดิอาระเบียและรัฐในอ่าวเปอร์เซีย เช่นเดียวกับกองทัพเรือขนาดใหญ่ของสหรัฐ ซึ่งมีหมวดเรือบรรทุกเครื่องบิน 6 หมวด

8 ประเทศได้ส่งกองกำลังทางบกเข้าร่วมกับทหารจากบาห์เรน คูเวต โอมาน กาตาร์ ซาอุดิอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เช่นเดียวกันกับกองกำลังขนาดใหญ่ของสหรัฐ 4 ประเทศได้ส่งเครื่องบินรบเข้าร่วมกับกองทัพอากาศคูเวต กาตาร์ และซาอุดิอาระเบีย เช่นเดียวกันกับกองทัพอากาศสหรัฐ กองทัพเรือสหรัฐ และนาวิกโยธินสหรัฐ ทำให้มีเครื่องบินปีกนิ่งทั้งสิ้น 2,430 ลำ

อิรักมีเรือปืนเพียงไม่กี่ลำกับขีปนาวุธขนาดเล็กซึ่งต้องต่อกรกับกองเรือขนาดใหญ่ของกองกำลังผสม แต่มีทหารราบประมาณ 1.2 ล้านนาย รถถัง 5,800 คัน พาหนะหุ้มเกราะ 5,100 คัน และ ปืนใหญ่ 3,850 กระบอก ทั้งหมดนี้ทำให้อิรักมีกำลังเหนือกว่ามากบนบก อิรักยังมีเครื่องบินขับไล่และเครื่องบินทิ้งระเบิด 750 ลำ อากาศยานอื่นๆ 200 ลำ และการป้องกันแบบขีปนาวุธและปืนอีกจำนวนหนึ่ง

"ปฏิบัติการพายุทะเลทราย"เป็นปฏิบัติทางบกและทางอากาศของสหรัฐและมักถูกใช้อย่างผิดๆ เพื่อหมายถึงสงครามอ่าว

แต่ละประเทศที่เข้ามามีส่วนร่วมมีชื่อปฏิบัติการเป็นของตัวเอง อย่างเช่น สหรัฐอเมริกามีปฏิบัติการพายุทะเลทรายและดีเซิร์ทชีลด์ สหราชอาณาจักรมีปฏิบัติการแกรนบี้ แคนาดามีปฏิบัติการฟริกชั่น เป็นต้น

สงครามอ่าวทำให้เกิดสงครามอิรักตามมาใน พ.ศ. 2546[15][16]

เนื้อหา

[แก้] ที่มา

ตลอดสงครามเป็นอิรักเป็นพันธมิตรสหภาพโซเวียตและมีความขัดแย้งกับสหรัฐอเมริกา สหรัฐกังวลถึงตำแหน่งของอิรักในทางการเมืองอิสราเอลและชาวปาเลสไตน์และการที่อิรักไม่เห็นด้วยต่อความสงบระหว่างอิสราเอลกับอียิปต์

สหรัฐเองก็ไม่ชอบการที่อิรักเข้าสนับสนุนกลุ่มอาหรับและปาเลสไตน์ติดอาวุธอย่างอาบูไนดัล ซึ่งถูกรวมเข้าไปในรายชื่อกลุ่มผู้ให้การสนับสนุนผู้ก่อการร้ายข้ามชาติของสหรัฐในวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2522 สหรัฐยังคงสถานะเป็นกลางหลังจากการรุนรานของอิหร่านกลายมาเป็นสงครามอิรัก-อิหร่าน แม้ว่าจะแอบช่วยอิรักอย่างลับๆ อย่างไรก็ดีในเดือนมีนาคม 2525 อิหร่านเริ่มทำการโต้ตอบได้สำเร็จ ปฏิบัติการชัยชนะที่ปฏิเสธไม่ได้ และสหรัฐได้เพิ่มการสนับสนุนให้กับอิรักเพื่อป้องกันไม่ให้อิหร่านได้รับชัยชนะ

ในความพยายามของสหรัฐที่จะเปิดความสัมพันธ์ทางการเมืองกับอิรักอย่างเต็มตัว ประเทศถูกนำออกจากรายชื่อผู้ที่สนับสนุนผู้ก่อการร้าย นั่นก็เพราะว่าการพัฒนาในบันทึกการปกครอง แม้ว่าอดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมสหรัฐ นายโนเอล คอชได้กล่าวในเวลาต่อมาว่า "ไม่มีใครที่สงสัยในเรื่องที่อิรักยังคงมีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้ก่อการร้าย... เหตุผลจริงๆ คือเพื่อช่วยให้พวกเขามีชัยเหนืออิหร่าน"[17]

เมื่ออิหร่านประสบกับชัยชนะในสงครามและปฏิเสธการสงบศึกที่มีในกรกฎาคม การขายอาวุธให้กับอิรักก็ทำลายสถิติเมื่อปี 2525 แต่อุปสรรคยังคงมีอยู่ระหว่างสหรัฐกับอิรัก - กลุ่มอาบูไนดัลยังคงได้รับการสนับสนุนอยู่ในแบกแดด เมื่อประธานาธิบดีอิรักซัดดัม ฮุสเซนได้ขับไล่พวเขาไปยังซีเรียตามคำขอของสหรัฐในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2526

[แก้] ความตึงเครียดกับคูเวต

ดูบทความหลักที่ การรุกรานคูเวต

เมื่ออิหร่านทำการหยุดยิงในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2531 อิรักก็ประสบกับการล้มละลายโดยเป็นหนี้ซาอุดิอาระเบียและคูเวต อิรักกดดันทั้งสองชาติให้ยกเลิกหนี้ทั้งหมด แต่พวกเขาก็ปฏิเสธ คูเวตยังได้กล่าวหาอิรักว่าได้ทำการกดราคาน้ำมันเกินโควต้าของโอเปก นั่นทำให้อิรักประสบกับปัญหาด้านเศรษฐกิจเพิ่มเข้าไปอีก

การที่ราคาของน้ำมันตกลงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของอิรัก รัฐบาลอิรักได้บรรยายว่ามันเป็นสงครามทางเศรษฐกิจ ซึ่งอ้างว่าคูเวตเป็นต้นเหตุ[18]

อิรักอ้างว่าคูเวตเป็นส่วนหนึ่งในอาณาเขตบาสร่าของจักรวรรดิออตโตมาน ตระกูลอัลซาบาห์ที่ปกครองมันได้สรุปว่ามันเป็นดินแดนในการปกครองตามข้อตกลงเมื่อพ.ศ. 2442 ซึ่งได้ลงนามในการรับผิดชอบดินแดนโพ้นทะเลให้กับสหราชอาณาจักร อังกฤษเขียนชายแดนของสองประเทศและพยายามอย่างรอบคอบที่จะจำกัดการเข้าออกของอิรักในมหาสมุทรเพื่อที่รัฐบาลอิรักในอนาคตจะไม่มีทางที่จะคุกคามการครอบครองอ่าวเปอร์เซียของอังกฤษได้ อิรักปฏิเสธที่จะยอมรับชายแดนแบบนั้นและไม่ยอมรับรัฐบาลคูเวตจนกระทั่งปีพ.ศ. 2506[19]

เมื่อปลายเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2533 การเจรจาระหว่างอิรักกับคูเวตก็หยุดชะงัก อิรักส่งทหารจำนวนมากไปที่ชายแดน ในวันที่2 สิงหาคม พ.ศ. 2533 อิรักก็เริ่มการโจมตี หัวหอกคือคอมมานโดที่ส่งโดยเฮลิคอปเตอร์และเรือเพื่อเข้าโจมตีคูเวตซิตี ในขณะที่กองกำลังอื่นเข้ายึดสนามบินและฐานทัพอากาศอีกสองแห่ง

กระนั้นคูเวตก็ไม่กองกำลังที่เตรียมพร้อมและไม่ได้ระวังตัว หลังจากการต่อสู้อันดุเดือดสองวันกองทัพของคูเวตก็พ่ายแพ้ต่อรีพับลิกันการ์ดของอิรักและหนีไปยังซาอุดิอาระเบีย หลังจากชัยชนะของอิรักซัดดัม ฮุสเซนก็แต่งตั้งอลี ฮัสซาน อัลมาจิดให้เป็นผู้ว่าราชการแห่งคูเวต[20]

[แก้] สถานะทางการทูตก่อนสงคราม

[แก้] การแก้ไขปัญหาของสหประชาชาติ

ในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2533 ซัดดัมได้เปิดการรุกรานคูเวต ภายในหนึ่งชั่วโมงชาวคูเวตและคณะผู้แทนสหรัฐได้เรียกร้องให้มีการประชุมของสภาความมั่งคงแห่งสประชาชาติ พวกเขาประนามการรุกรานและร้องเรียกให้อิรักถอนทหารออกจากคูเวต ในวันที่ 3 สิงหาคมกลุ่มอาหรับก็หามติกันเอง พวกเขาหาวิธีแก้ไขกันเองภายในสหพันธ์และป้องกันการแทรกแซง ในวันที่ 6 สิงหาคมสหประชาชาติก็ลงโทษทางเศรษฐกิจต่ออิรัก

มติสภาความมั่นคงแห่งสประชาชาติ 665 ในปี 2534 ได้นำไปสู่สงครามอ่าวเปอร์เซีย สภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้ออกคำสั่งให้มีการปิดกั้นทางทะเลเพื่อบังคับห้ามเรือสินค้าเข้าอิรัก

[แก้] ปฏิบัติการดีเซิร์ทชีลด์

ฝั่งตะวันตกกังวลในเรื่องหนึ่งคือการที่อิรักเป็นภัยคุกคามต่อซาอุดิอาระเบีย การยึดคูเวตได้นำกองทัพอิรักเข้าใกล้บ่อน้ำของซาอุมากขึ้น หากว่าอิรักได้ครอบครองบ่อน้ำมันเหล่านี้เช่นเดียวกับในคูเวต อิรักจะเข้าควบคุมพลังงานสำรองหลักของโลก อิรักเองก็มีความไม่พอใจต่อซาอุดิอาระเบียไม่อยู่น้อย ชาวซาอุได้ให้อิรักยืมเงินจำนวน 2.6 หมื่นล้านดอลลาร์เพื่อทำการบุกอิหร่าน ซาอุได้หนุนหลังอิรักเพราะว่าพวกเขากลัวอิทธิพลจากนิกายชีอะห์จากอิหร่านเนื่องมาจากมีชาวชีอะห์จำนวนมากในซาอุ (บ่อน้ำมันส่วนมากของซาอุอยู่ในพื่นที่ที่มีชาวชีอะห์อาศัยอยู่) หลังจากสงครามซัดดัมรู้สึกว่าเขาไม่ควรคืนเงินที่ยืมมาเพราะว่าเขาได้ช่วยซาอุหยุดอิหร่านไปแล้ว

ไม่นานหลังจากที่เขายึดคูเวตประธานาธิบดีซัดดัมเริ่มเข้าโจมตีซาอุ เขากล่าวว่าการที่สหรัฐเข้ามาสนับสนุนนั้นเป็นสิ่งที่ผิด ซัดดัมได้รวบรวมกลุ่มอิสลามที่ล่าสุดได้ต่อสู้มาในอัฟกานิสถาน[21]

กองทัพเรือสหรัฐได้ส่งสองหมวดรบ คือ เรือบรรทุกเครื่องบินยูเอสเอส ดไวท์ ดี. ไอเซนฮาวและยูเอสเอส อินดีเพนเดนซ์และเรือคุ้มกัน เข้าไปยังพื้นที่ซึ่งพวกเขาเตรียมตัวในวันที่ 8 สิงหาคม เอฟ-15 ทั้งหมด 48 ลำจากกองทัพอากาศสหรัฐจากฐานทัพอากาศแลงลีย์ลงจอดที่ซาอุดิอาระเบียและทำการลาดตระเวนตามแนวชายแดนอิรัก คูเวต และซาอุเพื่อกดดันการรุกของอิรัก สหรัฐยังได้ส่งเรือประจัญบานยูเอสเอส มิสซูรีและยูเอสเอส วิสคอนซินเข้าไปในพื้นที่ กำลังเสริมเริ่มเข้ามาต่อจากจุดนี้จนในที่สุดก็มีทหาร 543,000 นาย มากเป็นสองเท่าที่ใช้ในการรุกรานอิรักปีพ.ศ. 2546 วัสดุจำนวนมากถูกส่งทางอากาศทำให้เสริมกำลังได้อย่างรวดเร็ว

[แก้] กองกำลังผสม

มติที่ยาวนานของสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและสหพันธ์อาหรับผ่านไปในช่สงการรุกราน หนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่สุดคือมติสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ 678 ที่มีขึ้นในวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 โดยกำหนดเส้นตายให้อิรักถอนกำลังออกในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2534

รัฐมนตรีต่างประเทศเจมส์ เบเกอร์ได้รวบรวมกองกำลังผสมเพื่อเข้าร่วมต่อต้านอิรัก โดยมีทั้งสิ้น 34 ประเทศได้แก่ อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย บาห์เรน บังกลาเทศ เบลเยียม แคนาดา เดนมาร์ก อียิปต์ ฝรั่งเศส กรีซ อิตาลี คูเวต โมรอกโก เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ ไนเจอร์ นอร์เวย์ โอมาน ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ โปรตุเกส กาตาร์ เกาหลีใต้ ซาอุดิอาระเบีย เซเนกัล เซียร์ราลีโอน สิงคโปร์ สเปน ซีเรีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา[22]

แม้ว่าญี่ปุ่นและเยอรมนีจะไม่ได้ส่งทหารของต้นเข้าร่วม แต่พวกเขาก็สนับสนุนทุนทั้งสิ้น 1 หมื่นล้านและ 6.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐตามลำดับ ทหารสหรัฐคิดเป็น 73% ของกองกำลังทั้งหมด 956,600 นายในอิรัก

กองกำลังผสมมากมายไม่เต็มใจที่จะเข้าร่วม บ้างรู้สึกว่าสงครามเป็นเรื่องภายในของพวกอาหรับ หรือไม่ก็ไม่ต้องการที่จะเพิ่มอิทธิพลของสหรัฐในตะวันออกกลาง เมื่อสิ้นสุดลงหลายประเทศถูกโน้มน้าวโดยความก้าวร้าวของอิรักต่อรัฐอาหรับ โดยเสนอการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจหรือยกเลิกหนี้สิ้น [23]

[แก้] การทัพทางอากาศ

สงครามอ่าวเปอร์เซียเริ่มต้นขึ้นด้วยการทิ้งระเบิดอย่างมากมาย กองกำลังผสมทำการบินกว่า 100,000 ครั้ง ทิ้งระเบิดไป 88,500 ตัน[24] และได้ทำลายสิ่งก่อสร้างทางทหารและของพลเมืองไปเป็นจำนวนมาก[25] ภารกิจทางอากาศถูกควบคุมโดยนายพลชัค ฮอร์เนอร์แห่งกองทัพอากาศสหรัฐ

[แก้] ภารกิจหลักทางอากาศเริ่มขึ้น

หนึ่งวันหลังจากที่มีการขีดเส้นตาย กองกำลังผสมก็เริ่มภารกิจทางอากาศขนาดใหญ่ซึ่งเริ่มการโจมตีด้วยปฏิบัติการพายุทะเลทรายโดยมีการบินมากกว่า 1,000 ครั้งต่อวัน มันเริ่มขึ้นในวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2534 เมื่อกองกำลังเฉพาะกิจนอร์มังดี (ประกอบด้วยเอเอช-64 อาพาชี่ 8 ลำและนำโดยเอ็มเอช-53 เพฟโลว์ 2 ลำของสหรัฐ) ได้ทำลายฐานเรดาร์ของอิรักที่อยู่ใกล้กับชายแดนอิรัก-ซาอุเมื่อเวลา 02.38 ตามเวลาในแบกแดด ซึ่งเป็นการเตือนอิรักว่าการโจมตีกำลังเข้ามาแล้ว

เมื่อเวลา 02.43 อีเอฟ-111 ราเวนสองลำได้นำทางให้กับเอฟ-15อี สไตรค์อีเกิล 22 ลำเข้าโจมตีสนามบินในทางตะวันตกของอิรัก ไม่กี่นาทีต่อมาลูกเรือของอีเอฟ-111 ลำหนึ่ง ผู้กองเจมส์ เดนตันและผู้กองเบรนท์ แบรนดอน ได้ทำลายดัซโซลท์ มิราจ เอฟ1 เมื่อเอฟ1 บินตามพวกเขามาในระดับต่ำจนตก

เมื่อเวลา 03.00 เอฟ-117 ไนท์ฮอว์ค 10 ลำของสหรัฐภายใต้การป้องกันจากอีเอฟ-111 ได้เข้าทิ้งระเบิดใส่แบกแดด กองกำลังตกอยู่ท่ามกลางการยิงของปืนต่อต้านอากาศยาน 3,000 กระบอก

ภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังจากการบุกเริ่มต้น เรดาร์ของกองทัพเรือสหรัฐได้ตรวจพบเรือลาดตระเวนของอิรักจำนวนมากที่พยายามบุกเข้าน่านน้ำของอิหร่าน

เอ-10 ธันเดอร์โบลท์ 2 ของสหรัฐเหนือทุ่งวงกลมในปฏิบัติการพายุทะเลทราย

ในขณะเดียวกันขีปนาวุธร่อนบีจีเอ็ม-109 โทมาฮอว์คของกองทัพเรือสหรัฐได้เข้าโจมตีแบกแดด และเครื่องบินของกองกำลังผสมก็เข้าโจมตีเผ้าหมายทั่วอิรักอีกครั้ง ทั้งสิ่งก่อสร้างของรัฐบาล สถานนีโทรทัศน์ ฐานทัพอากาศ และที่พักของประธานาธิบดีถูกทำลาย

ห้าชั่วโมงหลังจากการโจมตีครั้งแรก มีการกระจายเสียงในแบกแดดซึ่งเป็นเสียงของซัดดัม ฮุสเซนที่ประกาศว่า "การต่อสู้ครั้งยิ่งใหญ่ มหาสงครามได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว ชัยชนะกำลังใกล้เข้ามา ในขณะที่การเผชิญหน้าเริ่มขึ้น”

บางครั้งสงครามอ่าวเปอร์เซียก็ถูกเรียกว่า"สงครามคอมพิวเตอร์"เพราะมีการใช้อาวุธที่ก้าวหน้าในการโจมตีทางอากาศซึ่งรวมทั้งอาวุธนำวิถีและขีปนาวุธร่อน แม้ว่ามันจะเป็นส่วนน้อยก็ตามเมื่อเทียบกับระเบิดทั่วไป ชุดระเบิดพวงและบีแอลยู-82 ก็ถูกใช้เช่นกัน

อิรักตอบโต้ด้วยการยิงขีปนาวุธสกั๊ดแบบดัดแปลง 8 ลูกเข้าใส่อิสราเอลในวันต่อมา ขีปนาวุธเหล่านี้ยังคงถูกใช้ต่อไปตลอด 6 สัปดาห์ของสงคราม

เป้าหมายแรกของกองกำลังผสมคือทำลายกองทัพอากาศและอาวุธต่อต้านอากาศยานของอิรัก อีเอ-6บี อีเอฟ-111 และเอฟ-117เอ ถูกใช้อย่างมากมายในขั้นตอนนี้เพื่อหลีกเลี่ยงขีปนาวุธพื้นสู่อากาศจำนวนมากและอาวุธต่อต้านอากาศยานของอิรัก การบินส่วนมากมาจากซาอุดิอาระเบียและหมวดเรือบรรทุกเครื่องบินหกหมวดในอ่าวเปอร์เซียและทะเลแดง

เรือรบที่อยู่ในอ่าวเปอร์เซียประกอบด้วยยูเอสเอส มิดเวย์ ยูเอสเอส จอห์น เอฟ. เคเนดี้ และยูเอสเอส เรนเจอร์ ส่วนในทะเลแดงมีเรือยูเอสเอส อเมริกา ยูเอสเอส ธีโอดอร์ รูสเวลท์ และยูเอสเอส ซาราโตกา

อาวุธป้องกันอากาศยานของอิรักมีทั้งขีปนาวุธพื้นสู่อากาศแบบประทับบ่า มันพบว่าได้ผลมากอย่างน่าแปลกใจต่ออากาศยานของกองกำลังผสมและทำให้กองกำลังผสมต้องสูญเสียเครื่องบินไป 75 ลำ[26] ในทางหนึ่งเครื่องบินของกองทัพอากาศอังกฤษและกองทัพเรือสหรัฐซึ่งบินในระดับต่ำเพื่อหลีกเลี่ยงเรดาร์กลับถูกยิงตกบ่อยที่สุด เพราะว่าการป้องกันของอิรักพึ่งพาเรดาร์น้อยมาก และด้วยการที่อิรักมีอาวุธขนาดเล็กจำนวนมากซึ่งเหมาะในการจัดการกับเครื่องบินที่บินต่ำ[27]

เป้าหมายต่อไปของกองกำลังผสมคือศูนย์การสื่อสารและบัญชาการ ซัดดัม ฮุสเซนบ่งการในกองกำลังของอิรักอย่างใกล้ชิดในสงครามอิรัก-อิหร่าน นักวางแผนของกองกำลังผสมหวังว่ากองกำลังต่อต้านของอิรักจะล่มสลายลงอย่างรวดเร็วหากสูญเสียการบัญชาการและการควบคุม

[แก้] เครื่องบินของอิรักหลบหนี

สัปดาห์แรกของการรบทางอากาศจะพบเห็นการโจมตีจากเครื่องบินอิรักน้อยมาก แต่มันก็สร้างความเสียหายได้เล็กน้อย มีมิก 38 ลำถูกยิงตกโดยเครื่องบินของกองกำลังผสม ไม่นานหลังจากนั้นกองทัพอากาศอิรักเริ่มหลบหนีไปยังอิหร่านโดยมีเครื่องบิน 115-140 ลำบินไปที่นั่น[28] การหลบหนีจำนวนมากของเครื่องบินอิรักทำให้กองกำลังผสมต้องแปลกใจเมื่อพวกเขาคาดว่าอันที่จริงอิรักจะหนีไปยังจอร์แดน ประเทศที่เป็นพันธมิตรกับอิรัก มากกว่าที่จะเป็นอิหร่าน ประเทศที่เป็นศัตรู เมื่อจุดประสงค์ของการรบคือทำให้กองทัพของอิรักอ่อนกำลังลง กองกำลังผสมจึงได้วางกำลังเครื่องบินไว้เหนือด้านตะวันตกของอิรักเพื่อพยายามที่จะหยุดการล่าถอยสู่จอร์แดนของอิรัก นั่นหมายความว่าพวกเขาไม่สามารถตอบโต้ได้ก่อนเครื่องบินส่วนมากของอิรักหลบหนีอย่างปลอดภัยไปยังฐานบินในอิหร่าน ท้ายสุดกองกำลังผสมก็สร้างกองกำลังเอฟ-15 อีเกิล เอฟ-14 ทอมแคท และเอฟ-16 ไฟท์ติ้งฟอลคอนตามแนวชายแดนอิรัก-อิหร่าน ด้วยวิธีนี้เองพวกเขาก็สามารถหยุดการหลบหนีของฝ่ายอิรักได้ อิหร่านไม่เคยคืนเครื่องบินให้กับอิรักและไม่อนุญาตให้ลูกเรือถูกปล่อยตัวจนกระทั่งอีกหลายปีต่อมา อย่างไรก็ตามเครื่องบินส่วนมากของอิรักยังคงอยู่ในอิรัก พวกมันถูกทำลายโดยเครื่องบินของกองกำลังผสมตลอดสงคราม[ต้องการอ้างอิง]

[แก้] การทิ้งระเบิดสิ่งก่อสร้างพื้นฐาน

เป้าหมายที่สามและขั้นตอนที่ใหญ่ที่สุดของภารกิจทางอากาศคือเป้าหมายทางทหารทั่วทั้งอิรักและคูเวต เช่น ขีปนาวุธสกั๊ด โณงงานวิจัยอาวุธ และกองทัพเรือ ประมาณหนึ่งในสามของกำลังทางอากาศของกองกำลังผสมได้รับมอบหมายให้โจมตีขีปนาวุธสกั๊ด ซึ่งบางลูกก็อยู่บนรถบรรทุกและยากที่จะตามหา กองกำลังพิเศษบางหน่วยของสหรัฐและอังกฤษได้แทรกซึมเข้าไปทางตะวันตกของอิรักเพื่อช่วยในการตามหาและทำลายขีปนาวุธสกั๊ด อย่างไรก็ตามด้วยการที่พวกเขาขาดความเชี่ยวชาญเรื่องภูมิประเทศที่พวกเขาปฏิบัติการทำให้หลายคนถูกสังหารหรือถูกจับ —อย่างเหตุการณ์บราโว ทู ซีโร่ของหน่วยเอสเอเอส

[แก้] สิ่งก่อสร้างของพลเมือง

การทิ้งระเบิดของกองกำลังผสมประสบความสำเร็จในการทำลายสิ่งก่อสร้างของพลเมืองอย่างมาก สถานีพลังงานขนาดใหญ่ 11 แห่งจาก 20 แห่งและสถานีย่อย 119 แห่งถูกทำลาย ในขณะที่สถานทีพลังงานขนาดใหญ่อีก 6 แห่งได้รับความเสียหาย[29][30] เมื่อสิ้นสุดสงครามการผลิตไฟฟ้าก็ลดลงเหลือเพียง 4% ของช่วงก่อนสงคราม การทิ้งระเบิดได้ทำลายเขื่อนทั้งหมด สถานีสูบน้ำและโรงบำบัดน้ำเสีย มันได้เปลี่ยนอิรักจากหนึ่งในประเทศอาหรับที่ก้าวหน้ากลายเป็นหนึ่งในประเทศที่ไร้ความเจริญ อุปกรณ์สื่อสารทางไกล ท่าเรือ โรงกลั่นน้ำมัน ทางรถไฟ และสะพานถูกทำลายเช่นเดียวกัน

เป้าหมายในอิรักถูกพบด้วยภาพถ่ายทางอากาศและใช้จีพีเอสของสถานทูตสหรัฐในแบกแดด ซึ่งกำหนดโดยนายทหารจากกองทัพอากาศสหรัฐในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2533 เขามาถึงสนามบินพร้อมกับกระเป๋าที่มีเครื่องรับจีพีเอส จากนั้นรถจากสถานทูตก็มารับเขาไปที่สถานทูต เขาเดินไปตามสนามหน้าสถานทูต เปิดกระเป๋า ปล่อยให้จีพีเอสอ่านตำแหน่ง และใส่มันกลับเข้าไปในกระเป๋า จากนั้นเขาก็กลับไปที่สหรัฐ นำเครื่องรับจีพีเอสให้กับฝ่าข่าวกรองในแลงลีย์ เวอร์จิเนีย ที่ซึ่งพิกัดที่แท้จริงของสถานทูตสหรัฐในแบกแดดถูกกำหนด ตำแหน่งนี้จะทำหน้าที่เป็นระบบพิกัดหลักเพื่อใช้กำหนดเป้าหมายในแบกแดด[31]

สภาพเป็นกลางของจอร์แดนในสงครามกระตุ้นให้สหรัฐทำการทิ้งระเบิดใส่ทางหลวงที่เชื่อมต่อระหว่างจอร์แดนกับอิรัก เพื่อเป็นการทำให้ทั้งสองฝ่ายไม่สามารถร่วมมือกันได้

[แก้] การสูญเสียของฝ่ายพลเรือน

รัฐบาลสหรัฐอ้างว่ารัฐบาลอิรักได้โจมตีสิ่งก่อสร้างศักดิ์สิทธิ์มากมายเพื่อเกณฑ์ชาวมุสลิม หนึ่งในการโจมตีได้ถูกรายงานโดยอิรักว่ากองกำลังผสมได้เข้าโจมตีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของนาจาฟและคาร์บาลา จำนวนพลเมืองอิรักที่ถูกสังหารคือ 2,278 ราย ในขณะที่อีก 5,965 รายได้รับรับบาดเจ็บ.[32]

ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 สมาร์ทบอมบ์สองลูกได้ทำลายที่หลบภัยของพลเมืองทำให้มีผู้เสียชีวิตนับร้อย ทางการสหรัฐอ้างว่าที่หลบภัยนั้นเป็นศูนย์การสื่อสารทางทหาร เจเรมี โบเวน นักข่าวของบีบีซี เป็นหนึ่งในผู้รายงานข่าวคนแรกที่ไปถึงที่เกิดเหตุ โบเวนสามารถเข้าไปยังบริเวณนั้นได้และไม่พบหลักฐานใดๆ ที่บ่งบอกว่ามันเป็นศูนย์การสื่อสารทางทหาร[33]

[แก้] อิรักยิงขีปนาวุธ

ชาวอิรักหวังว่าการโจมตีอิสราเอลจะทำให้อิสราเอลต้องร่วมสงคราม เป็นที่คาดกันว่านั่นจะทำให้สหรัฐสูญเสียพันธมิตรในอาหรับ[ต้องการอ้างอิง] ผู้ที่ต้องการจะต่อสู้เคียงข้างกับอิสราเอลมากกว่าจะเป็นศัตรู อสราเอลไม่ได้เข้าร่วมกับกองกำลังผสม และรัฐอาหรับทั้งหมดอยู่ในกองกำลังผสม โดยทั่วไปแล้วขีปนาวุธสกั๊ดจะสร้างความเสียหายระดับเบาเท่านั้น แม้ว่าในเหตุการณ์ในดารานจะสังหารทหารของสหรัฐไป 28 นาย

สกั๊ดที่มีเป้าหมายไปที่อิสราเอลถูกพบว่าไร้ประสิทธิภาพด้วยการที่พิสัยที่มากของมันส่งผลให้ความแม่นยำและหัวรบลดลง กระนั้นขีปนาวุธ 39 ลูกที่ตกลงในอิสราเอลก็สร้างความเสียหายแก่ทรัพย์สินจำนวนมากและมีผู้เสียชีวิตสองราย และทำให้สหรัฐต้องติดตั้งขีปนาวุธเพเทรียทสองตำแหน่งในอิสราเอล และของเนเธอร์แลนด์อีกหนึ่งหน่วยเพื่อตอบโต้การโจมตี กองทัพอากาศพันธมิตรยังได้ทำการฝึกซ้อมการตามล่าขีปนาวุธสกั๊ดในทะเลทรายของอิรัก เพื่อพยายามที่จะหาตำแหน่งของรถบรรทุกก่อนที่มันจะทำการยิงขีปนาวุธเข้าใส่อิสราเอลหรือซาอุดิอาระเบีย

ขีปนาวุธสกั๊ดสามลูกและขีปนาวุธเพเทรียทของกองกำลังผสมที่ผิดพลาดได้ยิงเข้าใส่อิสราเอลในวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2534 ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 96 รายและทำให้ผู้สูงอายุสามรายตายเพราะหัวใจวาย

นโยบายของอิสราเอลเมื่อ 40 ปีก่อนหน้านั้นเตรียมพร้อมสำหรับการเอาคืน แต่หลังจากที่ถูกขีปนาวุธสกั๊ดโจมตี นายกรัฐมนตรีของอิสราเอลนายยิทซัค ชาเมียร์ตกลงอย่างไม่เต็มใจที่จะไม่ตอบโต้แรงกดดันจากสหรัฐเพื่อถอยห่างจากสงคราม[34] รัฐบาลสหรัฐกังวลว่าการประทำของอิสราเอลจะทำให้สูญเสียพัมธมิตร และการโจมตีทางอากาศของอิสราเอลจะต้องบินผ่านเหนือประเทศศัตรูอย่างจอร์แดนและซีเรีย ซึ่งสามารถไปกระตุ้นพวกเขาให้ร่วมสงครามกับฝ่ายอิรักเพื่อร่วมกันโจมตีอิสราเอล

[แก้] ยุทธการคาฟจิ

ในวันที่ 29 มกราคม อิรักได้เข้าโจมตีและยึดครองเมืองคาฟจิของซาอุดิอาระเบียด้วยรถถังและทหารราบ อย่างไรก็ตามยทุธการคาฟจิจบลงเมื่ออิรักถูกขับไล่กองกำลังของซาอุและกาตาร์ที่สนับสนุนโดยนาวิกโยธินสหรัฐด้วยการสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิดตลอดสองวัน จำนวนผู้เสียชีวิตมีมากสำหรับทั้งสองฝ่าย กองกำลังสหรัฐสูญเสียทหารไป 25 นาย สิบเอ็ดคนถูกพวกเดียวกันเองยิงตาย และอีกสิบสี่นายถูกสังหารเมื่อเครื่องบินเอซี-130 ถูกยิงตกโดยขีปนาวุธของอิรัก ซาอุและกาตาร์ศูญเสียทหารรวม 18 นาย ทหารอเมริกันสองนายถูกจับ กองกำลังอิรักถูกสังหารในคาฟจิไปประมาณ 60-300 นายและอีก 400 นายถูกจับ คาฟจิกลายเป็นเมืองยุทธศาสตร์ทันทีหลังจากที่อิรักรุกรานคูเวต การที่อิรักไม่เต็มใจที่จะใช้กองยานเกราะจำนวนมากเข้ายึดและทำให้คาฟจิถูกใช้เพื่อเป็นฐานในการป้องกันฝั่งตะวันออกของซาอุดิอาระเบีย ถูกมองว่าเป็นความผิดพลาดทางยุทธศาสตร์ ไม่ใช่แค่เพียงว่าอิรักอาจครอบครองแหล่งน้ำมันขนาดใหญ่ของตะวันออกกลาง มันอาจเป็นไปได้ด้วยที่อิรักจะพบว่าตัวเองเหนือกว่าแนวป้องกันของสหรัฐ

[แก้] ความอ่อนแอจากการโจมตีทางอากาศของอิรัก

ผลกระทบจากภารกิจทางอากาศคือการทำลายกองกำลังของอิรักที่อยู่ในทะเลทรายเปิดให้ราบคาบ ภารกิจทางอากาศยังป้องกันการหนุนกำลังอันมีประสิทธิภาพของอิรักเข้าร่วมการต่อสู้ และป้องกันไม่ให้ทหาร 450,000 นายเข้าบุก

ภารกิจทางอากาศมีผลอย่างมากในยุทธวิธีอื่นๆ มันทำให้ไม่มีกองกำลังใดกล้ายืนต้านทหารสหรัฐในที่โล่ง แต่กลับกระจายตัวกันออกไปแทน เช่นเดียวกับกองกำลังยูโกสลาเวียในโคโซโว กองกำลังสมมติฝ่ายตรงข้ามยังช่วยลดความยาวของแถวเสบียงและพื้นที่ที่ต้องป้องกัน สิ่งนี้แสดงให้เห็นในสงครามอัฟกานิสถานเมื่อตาลีบันจับจองพื้นที่รกร้างขนาดใหญ่และหลบหนีไปยังที่ซ่อนของพวกเขา สิ่งนี้เป็นการเพิ่มความสนใจเฉพาะจุดของกองกำลังและลดโอกาสที่สายเสบียงของพวกเขาที่จะถูกพบเห็น ในการรุกรานอิรัก กองกำลังอิรักก็ล่าถอยจากเคอร์ดิสถานเหนือของอิรักเข้าไปในเมือง

[แก้] การสูญเสีย

อิรักสูญเสียเครื่องบินทั้งสิ้น 259 ลำในสงคราม 122 ลำในการรบ พวกเขาเสียเครื่องบิน 36 ลำในปฏิบัติการพายุทะเลทราย[35] เฮลิคอปเตอร์ 3 ลำและเครื่องบินขับไล่ 2 ลำในช่วงที่ทำการบุกคูเวตในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2533 คูเวตอ้างว่าได้ยิงเครื่องบินของอิรัก 37 ลำแต่ก็ยังไม่ได้รับการยืนยัน[36] นอกจากนี้แล้วอากาศยานปีกนิ่ง 68 ลำและเฮลิคอปเตอร์ 13 ลำถูกทำลายขณะจอด และอากาศยาน 137 ลำบินหนีไปยังอิหร่านและไม่กลับมาอีกเลย[37]

กองกำลังผสมสูญเสียอากาศยานปีกนิ่ง 52 ลำและเฮลิคอปเตอร์ 23 ลำในปฏิบัติการพายุทะเลทราย[38] มีเครื่องบินขับไล่เพียงหนึ่งลำของกองกำลังผสมที่ถูกยิงขณะต่อสู้ทางอากาศ และอิรักอ้างว่ายิงได้สองลำ[39] การสูญเสียกองกำลังผสมที่เหลือเกิดจากปืนต่อต้านอากาศยาน อเมริกาศูญเสียอากาศยานปีกนิ่ง 28 ลำและเฮลิคอปเตอร์ 5 ลำ อังกฤษสูญเสียอากาศยานปีกนิ่ง 7 ลำ ซาอุสูญเสีย 2 ลำ อิตาลี 1 ลำ และคูเวต 1 ลำ[40] นอกจากนี้ในตอนที่อิรักรุกรานคูเวตในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2533 กองทัพอากาศคูเวตต้องสูญเสียอากาศยานปีกนิ่ง 12 ลำที่จอดอยู่ เฮลิคอปเตอร์ 6 ลำถูกยิงตกและอีก 2 ลำถูกทำลายขณะจอด[41]

[แก้] การทัพทางบก

กองกำลังผสมได้ครอบครองพื้นที่ในอากาศด้วยความได้เปรียบทางเทคโนโลยี แต่ทางบกนั้นกองกำลังถูกมองว่าเทียบกันไม่ได้ กองกำลังทางบกของกองกำลังผสมนั้นได้เปรียบด้วยการที่สามารถปฏิบัติการภายใต้การป้องกันทางอากาศ ซึ่งเป็นเพราะว่ากองทัพอากาศเฝ้าน่านฟ้าก่อนหน้าที่จะมีการบุก กองกำลังผสมมีสองปัจจัยสำคัญในความได้เปรียบทางเทคโนโลยี คือ

  1. รถถังประจัญบานหลักของกองกำลังผสมคือเอ็ม1 เอบรามส์ของสหรัฐ ชาเลนเจอร์ 1 ของอังกฤษ และเอ็ม-84เอบีของคูเวต พวกมันล้วนเหนือกว่าที-72 ของโซเวียตที่ใช้โดยอิรัก ด้วยการที่พวกมันมีลูกเรือที่ได้รับการฝึกมาดีและกองยานเกราะที่เหนือกว่า;
  2. การใช้จีพีเอสทำให้กองกำลังผสมสามารถหาทางได้โดยไม่ต้องพึ่งถนนหรือจุดสังเกต เมื่อรวมกับการสอดแนมทางอากาศทำให้พวกเขามีความได้เปรียบทางการเคลื่อนพลมากกว่าการโต้กลับ พวกเขารู้ว่าตนเองอยู่ที่ไหนและศัตรูอยู่ที่ไหน ดังนั้นพวกเขาจึงสามารถทำการโจมตีได้อย่างแม่นยำ

[แก้] เริ่มบุกเข้าอิรัก

ขั้นตอนการบุกทางบกใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่าปฏิบัติการดีเซิร์ทเซเบอร์[42] หน่วยแรกที่เคลื่อนที่เข้าอิรักคือทีมลาดตระเวนสามทีมจากหน่วยเอสเอเอสของอังกฤษ โดยใช้ชื่อรหัสว่าบราโววันซีโร่ บราโวทูซีโร่ และบราโวทรีซีโร่ กลุ่มลาดตระเวนที่ประกอบด้วยทหารแปดนายเหล่านี้ได้แทรกซึมเข้าไปหลังแนวของอิรักเพื่อรวบรวมข้อมูลของขีปนาวุธสกั๊ดซึ่งมองเห็นได้ยากจากทางอากาศ ในตอนกลางวันพวกมันจะถูกซ่อนเอาไว้ซ่อนตัวใต้สะพานและลายพราง เป้าหมายอื่นๆ รวมทั้งการทำลายเครื่องยิงขีปนาวุธและการสื่อสารที่อยู่ในท่อ

ส่วนของกองพันทหารม้าที่ 1 ของสหรัฐได้ทำการสอดแนมในอิรักเมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2534 ตามมาด้วยการเข้าทำลายกองทหารของอิรักในวันที่ 20 กุมภาพันธ์[ต้องการอ้างอิง] ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 อิรักได้ตกลงตามข้อตกลงหยุดยิงที่เสนอโดยโซเวียต ข้อตกลงนั้นระบุให้อิรักถอนทหารออกไปยังตำแหน่งก่อนการบุกภายใน 6 สัปดาห์หลังจากการหยุดยิง และระบุให้มีการเฝ้าตรวจตราการหยุดยิงโดยสภาความมั่นคงของยูเอ็น กองกำลังผสมได้ปฏิเสธข้อเสนอแต่กล่าวว่าการถอนกำลังของอิรักจะไม่ถูกขัดขวาง [ต้องการอ้างอิง] และให้เวลา 24 ชั่วโมงกับอิรักเพื่อเริ่มถอนกำลัง ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ผลของการต่อสู้ทำให้มีทหารอิรัก 500 ถูกจับ ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์กองยานเกราะของอังกฤษและสหรัฐได้ข้ามชายแดนของอิรัก-คูเวตและเข้าสู่อิรัก พวกเขาจับเชลยได้เป็นจำนวนมาก การต่อต้านของอิรักมีน้อยมากและมีทหารอเมริกันเพียง 4 นายเท่านั้นที่ถูกสังหาร[43] อย่างไรก็ตามในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ทหารอิรักได้ทำการยิงขีปนาวุธเข้าใส่ค่ายทหารของกองกำลังผสมในเมืองดารานประเทศซาอุดิอาระเบีย การโจมตีครั้งนั้นทำให้ทหารอเมริกันเสียชีวิตไป 28 นาย[44]

[แก้] กองกำลังผสมเข้าสู่อิรัก

ไม่นานหลังจากที่สหรัฐรวมกำลังและมีหัวหอกเป็นกองทหารม้ายานเกราะที่ 2 พวกเขาก็เริ่มการเข้าโจมตีอินักในเช้าวันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ในทางตะวันตกของคูเวต ทำให้ฝ่ายอิรักประหลาดใจ ในเวลาเดียวกันนั้นเหล่ากองกำลังขนส่งทางอากาศของสหรัฐก็เข้าเก็บกวาดท้องทะเลทรายที่ไร้การป้องกันในทางใต้ของอิรัก ซึ่งนำโดยกองทหารม้ายานเกราะที่ 3 และกองพันทหารราบที่ 24 ทางปีกซ้ายได้รับการป้องกันจากกองยานเกราะขนาดเบาที่ 6 ของฝรั่งเศส กองกำลังของฝรั่งเศสเอาชนะกองพันทหารราบที่ 45 ได้อย่างรวดเร็วโดยได้รับความเสียหายเพียงเล็กน้อย พวกเขาได้เข้าปิดกั้นการโต้ตอบของอิรักต่อปีกซ้ายของกองกำลังผสม ทางปีกขวาได้รับการป้องกันจากกองพันยานเกราะที่ 1 ของอังกฤษ เมื่อเหล่าพันธมิตรได้บุกลึกเข้าไปในเขตแดนของอิรัก พวกเขาก็หันหน้าไปทางตะวันออกเพื่อเริ่มการโจมตีรีพับลิกันการ์ดก่อนที่พวกเขาจะหลบหนี การสู้รบกินเวาลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง ยานเกราะ 50 คันของอิรักถูกทำลาย กองกำลังผสมได้รับความเสียหายน้อยมาก

เศษซากยานพาหนะของพลเรือนและของทหารบนทางหลวงมรณะ

การรุกของกองกำลังผสมนั้นรวดเร็วกว่าที่เหล่านายพลของสหรัฐคาดการณ์เอาไว้ ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ทหารของอิรักได้เริ่มล่าถอยออกจากคูเวต พวกเขาวางเพลิงบ่อน้ำมันในตอนที่พวกเขาจากไป (มีบ่อน้ำมัน 73 แห่งที่ถูกวางเพลิง) ขบวนรถที่ยาวเหยียดของอิรักถอดแนวยาวตลอดทางหลวงคูเวต-อิรัก แม้ว่าพวกเขาจะล่าถอย แต่ขบวนรถนี้ก็ถูกทิ้งระเบิดใส่ยับเยินโดยกองกำลังผสมซึ่งต่อมารู้จักกันในชื่อทางหลวงมรณะ ทหารอิรักนับร้อยถูกสังหาร กองกำลังของสหรัฐ สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศสยังคงไล่ตามกองกำลังที่ล่าถอยของอิรักข้ามชายแดนและกลับเข้าในอิรัก การต่อสู้เกิดขึ้นถี่มากซึ่งทำให้เกิดการสูญเสียต่อิรักมหาศาลแต่น้อยต่อกองกำลังผสม ในท้ายที่สุดแล้วการต่อสู้ก็อยู่ห่างจากแบกแดดเพียง 150 ไมล์

100 ชั่วโมงหลังจากที่การทัพทางบกเริ่มขึ้น ประธานาธิบดีบุชก็ได้ประกาศให้มีการหยุดยิงในวันที่ 6 เมษายน โดยประกาศว่าคูเวตเป็นอิสระแล้ว

[แก้] การประเมินด้านทหารหลังสงคราม

แม้ว่าในตอนนั้นสื่อของตะวันตกได้กล่าวว่ามีทหารอิรักประมาณ 545,000-600,000 นาย แต่ในปัจจุบันผู้เชี่ยวชาญคิดว่าการนับจำนวนและคุณภาพของทหารอิรักในตอนนั้นผิดพลาด เพราะพวกเขาได้รวบเอาทั้งปัจจัยประกอบมากมาย ทหารอิรักจำนวนมากยังหนุ่มและได้รับการฝึกมาไม่ดี

กองกำลังผสมแนะว่ามีทหารประมาณ 540,000 นาย นอกจากนี้แล้วมีอีก 100,000 คนที่เป็นทหารตุรกีซึ่งอยู่ตามชายแดน สิ่งนี้เป็นการทำให้ทหารอิรักต้องกระจายตัวออกไปตามชายแดนและหมายความว่ามันเป็นการลดความแข็งแกร่งของกองทัพ มันทำให้สหรัฐไม่เพียงได้เปรียบทางเทคโนโลยีเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของจำนวนที่เหนือกว่าอีกด้วย

หารสนับสนุนที่กระจายกันออกไปของอิรักในสงครามอิรัก-อิหร่านทำให้อิรักต้องใช้อาวุธจากพ่อค้าอาวุธทั่วโลก นั่นทำให้เกิดกองกำลังที่ไม่มีมาตรฐานขนาดใหญ่ ซึ่งประกอบกับการไร้การฝึกและการเคลื่อนที่ กองยานเกราะส่วนใหญ่ของอิรักยังคงใช้รถถังเก่าๆ ของจีนอย่างไทป์ 59 และไทป์ 69 ที-55 ของโซเวียตจากพ.ศ. 2493 และ 2503 และที-72 ตั้งแต่พ.ศ. 2513 รถถังเหล่านี้ไม่ได้รับอุปกรณ์ที่พัฒนาแล้ว อย่างกล้องมองความร้อนหรือเลเซอร์วัดระยะ และประสิทธิภาพของพวกมันก็มีอย่างจำกัด อิรักล้มเหลวที่จะหาเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมาโต้ตอบกล้องจับความร้อนและกระสุนแซ็บบ็อทที่ใช้โดยกองกำลังผสม อุปกรณ์เหล่านี้ทำให้รถถังของกองกำลังผสมสามารถต่อกรและทำลายรถถังของอิรักได้จากระยะที่ไกลกว่าฝ่ายอิรักถึง 3 เท่า รถถังอิรักใช้กระสุนเจาะเกราะที่เก่าและถูกในการจัดการกับเกราะช็อบแฮมของสหรัฐและอังกฤษ กองกำลังอิรักยังไม่สามารถใช้ประโยชน์จากการรบในเมือง ต่อสู้ภายในคูเวตซิตี ซึ่งจะทำให้ฝ่ายบุกได้รับความสูญเสียอย่างมาก การต่อสู้ในเมืองเป็นการลดระยะในการเข้าปะทะและลดความได้เปรียบของเทคโนโลยีบางประเภท

อิรักยังได้พยายามใช้ยุทธวิธีแบบโซเวียต แต่ก็ล้มเหลวเพราะว่าขาดทักษะของผู้บัญชาการและไร้การป้องกันจากกองกำลังทางอากาศของกองกำลังผสมที่เข้าโจมตีเครื่องมือสื่อสารและบังเกอร์ของพวกเขา

[แก้] การมีส่วนร่วมของกองกำลังผสม

สมาชิกของกองกำลังผสมมีอาร์เจนติน่า ออสเตรเลีย บาห์เรน บังกลาเทศ เบลเยียม แคนาดา เชสโกสโลวาเกีย เดนมาร์ก อียิปต์ ฝรั่งเศส กรีซ ฮอนดูรัส ฮังการี อิตาลี คูเวต โมรอกโก เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ ไนเจอร์ นอร์เวย์ โอมาน ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ โปแลนด์ โปรตุเกส การ์ตา โรมาเนีย ซาอุดิอาระเบีย เซเนกัล เกาหลีใต้ สเปน ซีเรีย ตุรกี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา[5] เยอรมนีและญี่ปุ่นนั้นเป็นฝ่ายให้ทุนช่วยเหลือและมอบฮาร์ดแวร์แทนที่จะเป็นการช่วยเหลือโดยตรง สหรัฐได้ขอให้อิสราเอลอย่าเข้าร่วมสงคราม แม้ว่าการโจมตีจากขีปนาวุธจะเกิดขึ้นในอิสราเอลก็ตาม อินเดียได้ให้การสนับสนุนทางทหารแก่สหรัฐในรูปแบบของการให้เชื้อเพลิงในทะเลอาหรับ

[แก้] สหราชอาณาจักร

สหราชอาณาจักรเป็นประเทศจากยุโรปที่มีส่วนร่วมมากที่สุด ปฏิบัติการแกรนบี้เป็นชื่อของปฏิบัติการในอ่าวเปอร์เซีย กองทัพบก (มีกองกำลังหลักคือกองพลยานเกราะที่ 1) กองทัพอากาศ และกองทัพเรือของอังกฤษได้เคลื่อนกำลังเข้าสู่อ่าว กองทัพอากาศได้ใช้อากาศยานหลายรูปแบบที่ปฏิบัติการจากฐานบินในซาอุดิอาระเบีย]] มียานเกราะเกือบ 2,500 คันและทหาร 43,000 นาย[5] were shipped for action.

ทางกองทัพเรือได้วางกำลังเรือในอ่าวโดยมีเรือฟริเกตชั้นบรอดซอร์ด และเรือพิฆาตชั้นเชฟฟีลด์ เรือบรรทุกเครื่องบินขนาดเบาอาร์คโรยัลไม่ได้ถูกนำมาใช้ในพื้นที่อ่าว แต่ถูกวางตำแหน่งไว้ที่ทะเลมิดิเตอร์เรเนียนแทน

[แก้] ฝรั่งเศส

กองกำลังของยุโรปที่ใหญ่รองลงมาคือของฝรั่งเศส โดยมีทหาร 18,000 นาย[5] พวกเขาทำหน้าที่ที่ด้านปีกซ้ายของกองพลขนส่งทางอากาศที่ 18 ของสหรัฐ กองกำลังหลักของฝรั่งเศสคือกองพลยานเกราะขนาดเบาที่ 6 รวมทั้งทหารจากกองกำลังต่างแดนของฝรั่งเศส ในตอนแรกฝรั่งเศสทำหน้าที่ภายใต้คำสั่งและการควบคุมที่แยกต่างหาก แต่ก็ทำงานร่วมกับอเมริกา ซาอุ และเซนท์คอม (CENTCOM) อย่างใกล้ชิด ในเดือนมกราคมกองกำลังก็ถูกวางกำลังภายใต้การควบคุมของกองพลขนส่งทางอากาศที่ 18 ของสหรัฐ ฝรั่งเศสยังได้วางกำลังอากาศยานและเรือรบอีกด้วย ฝรั่งเศสเรียกมันว่าOpération Daguet

[แก้] แคนาดา

แถวของเอพีซีเอ็ม-113 และยานพาหนะอื่นๆ ของกองทัพบกซาอุดิอาระเบียที่กำลังเคลื่อนพลไปตามทางฝ่าทุ่งกับระเบิดในปฏับัติการพายุทะเลทรายในคูเวต เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2534

แคนาดาเป็นหนึ่งในประเทศแรกๆ ที่ตกลงที่จะลงโทษการกระทำของอิรักและไม่นานก็ร่วมกับกองกำลังผสมที่นำโดยสหรัฐ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2534 นายกรัฐมนตรีแห่งแคนาดาไบรอัน มัลโรนีย์ได้สั่งให้กองกำลังแคนาดาใช้เรือหลวงอธาบาสคันและเรือรบหลวงเทอร์ราโนว่าเพื่อเข้าร่วมกับกองกำลังบุกทางทะเล เรือเสบียงเรือหลวงโปรเทกเตอร์ก็ถูกส่งเข้าไปให้การช่วยเหลือกองกำลังผสมในอ่าวเปอร์เซีย เรือลำที่สี่คือเรือหลวงฮิวรอนที่เข้าร่วมเมื่อศัตรูทำการหยุดยิงและไปเยือนคูเวต

หลังจากที่ยูเอ็นได้ออกคำสั่งให้ใช้กองกำลังเต็มรูปแบบเพื่อจัดการกับอิรัก กองกำลังของแคนาดาได้ใช้ซีเอฟ-18 ฮอร์เน็ทพร้อมกับบุคคลากรสนับสนุนเช่นเดียวกับโรงพยาบาลสนามเพื่อช่วยเหลือคนเจ็บ เมื่อสงครามทางอากาศเริ่มขึ้นซีเอฟ-18 ของแคนาดาก็ถูกรวมเข้ากับกองกำลังผสมและได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่คุ้มกันทางอากาศและโจมตีเป้าหมายบนพื้นดิน นี่เป็นครั้งแรกตั้งแต่สงครามเกาหลีที่กองทัพแคนาดาได้มีส่วนร่วมในปฏิบัติการโจมตี

[แก้] ความสูญเสีย

[แก้] กองกำลังผสม

มีการรายงานว่ากองกำลังสหรัฐเสียทหารไปในการรบ 148 นาย (35 นายเสียชีวิตจากการยิงพวกเดียวกันเอง) มีนักบินหนึ่งนายที่ขึ้นว่าสูญหาย (ร่างของเขาถูกพบและระบุตัวได้ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552) อีก 145 นายเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ[45] สหราชอาณาจักรเสียทหารไป 47 นาย (9 นายเสียชีวิตจากการยิงพวกเดียวกันเอง) ฝรั่งเศสเสียไป 2 นาย และอาหรับ ไม่รวมคูเวต เสียทหารไป 37 นาย (ซาอุ 18 นาย อียิปต์ 10 นาย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 6 นาย และซีเรีย 3 นาย)[45] ทหารคูเวตอย่างน้อย 605 นายที่ยังคงหายสาบสูญหลังจากผ่านไป 10 ปี[46]

การสูญเสียครั้งใหญ่ที่สุดในกองกำลังผสมคือเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 เมื่อขีปนาวุธอัล ฮุสเซนของอิรักตกใส่ค่ายทหารอเมริกาในเมืองดารานประเทศซาอุดิอาระเบีย ทำให้ทหารสหรัฐเสียชีวิตไป 28 นาย ทั้งสิ้นมีทหารของกองกำลังผสมเสียชีวิตไป 190 นายด้วยฝีมือทหารอิรัก 113 นายเป็นอเมริกัน จากการตายทั้งหมด 358 นาย ทหารอีก 44 นายถูกสังหารและ 57 นายได้รับบาดเจ็บจากการยิงพวกเดียวกันเอง ทหาร 145 นายเสียชีวิตเพราะอุบัติเหตุจากการระเบิดหรือไม่ใช่การรบ[ต้องการอ้างอิง]

ผู้บาดเจ็บของกองกำลังผสมอยู่ที่ประมาณ 776 รวมทั้งทหารอเมริกัน 458 นาย[47]

อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงปีพ.ศ. 2543 ทหารผ่านศึกจากสงครามอ่าวจำนวน 183,000 นาย เป็นจำนวนที่มากกว่าเสี้ยวหนึ่งของทหารอเมริกาที่เข้าร่วมสงคราม ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าถูกปลดประจำการจากกลุ่มทหารผ่านศึก[48] มีทหารประมาณ 30% จาก 7 แสนนายทั้งชายและหญิงที่รับใช้ในกองกำลังสหรัฐในสงครามอ่าวที่ได้รับผลกระทบทางจิตใจ[49]

[แก้] การสูญเสียโดยศัตรู

ทหารกองกำลังผสม 190 นายถูกสังหารโดยทหารอิรัก ที่เหลืออีก 379 นายเสียชีวิตเพราะยิงพวกเดียวกันเอง จำนวนนี้ต่ำกว่าที่คาดการณ์เอาไว้ ท่ามกลางการตายของทหารอเมริกันมีทหารหญิง 3 นาย

Flag of the United States สหรัฐอเมริกา - 293 นาย (ถูกข้าศึกสังหาร 113 นาย อุบัติเหตุ 145 นาย ยิงพวกเดียวกันเอง 35 นาย)

Flag of the United Kingdom สหราชอาณาจักร - 47 นาย (ถูกข้าศึกสังหาร 38 นาย ยิงพวกเดียวกันเอง 9 นาย)

Flag of ซาอุดีอาระเบีย ซาอุดิอาระเบีย - 18 นาย[50]

Flag of อียิปต์ อียิปต์ - 11 นาย[51]

Flag of the United Arab Emirates สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ - 6 นาย[52]

Flag of ซีเรีย ซีเรีย - 2 นาย[53]

Flag of ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส - 2 นาย

Flag of คูเวต คูเวต - 1 นาย (จากปฏิบัติการพายุทะเลทราย)[54]

[แก้] การยิงพวกเดียวกันเอง

ในขณะที่การตายของกองกำลังผสมมาจากการปะทะกับทหารอิรักนั้นต่ำมาก การตายส่วนมากเกิดจากการยิงพวกเดียวกันเอง ทหารอเมริกัน 148 นายที่เสียชีวิตในการรบมี 24% ที่ถูกพวกเดียวกันเองยิง อีก 11 นายเสียชีวิตจากการระเบิด ทหารอังกฤษ 9 นายถูกสังหารโดยพวกเดียวกันเองเมื่อเอ-10 ธันเดอร์โบลท์ 2 ของกองทัพอากาศสหรัฐโจมตีใส่กลุ่มยานพาหนะของพันธมิตร

[แก้] การตายของฝ่ายอิรัก

จำนวนที่แท้จริงของผู้เสียชีวิตของฝ่ายอิรักนั้นไม่มีใครรู้แน่ชัด แต่มีจำนวนมากแน่นอน มีการประมาณว่าอิรักเสียทหารประมาณ 20,000-35,000 นาย[55]

รายงานของกองทัพอากาศสหรัฐ ประมาณว่ามีทหารอิรักเสียชีวิต 10,000-12,000 นายจากการทัพทางอากาศและบนพื้นดินอาจมีถึง 10,000 นาย[56] การประเมินนี้อ้างอิงจากการรายงานจำนวนเชลยศึกชาวอิรัก เป็นที่ทราบกันว่ามีทหารอิรักเสียชีวิต 20,000 นาย

รัฐบาลของซัดดัมแจ้งจำนวนพลเรือนที่เสียชีวิตสูงมากเพื่อเรียกร้องการสนับสนุนจากกลุ่มประเทศอิสลาม[ต้องการอ้างอิง] รัฐบาลอิรักอ้างว่ามีพลเรือนเสียชีวิต 2,300 รายจากการทัพทางอากาศ

ตามการศึกษาของการป้องกันทางเลือก (Defense Alternatives)[57] มีพลเรือนประมาณ 20,000 รายและทหารอีก 26,000 นายที่ถูกสังหาร ทหารอิรักได้รับบาดเจ็บทั้งสิ้น 75,000 นายในสงคราม

[แก้] การตายของพลเรือน

จากการโจมตีทางอากาศทั้งของเครื่องบินรบและขีปนาวุธร่อนทำให้มีการโต้เถียงอย่างรุนแรงถึงอัตราการตายของพลเรือนในช่วงแรกของสงคราม ภายใน 24 ชั่วโมงแรกของสงครามมีการบินมากกว่า 1,000 เที่ยว หลายครั้งที่มีเป้าหมายอยู่ในแบกแดด เมืองได้รับความเสียหายอย่างหนักจากการทิ้งระเบิดเพราะว่ามันเป็นที่ตั้งของซัดดัม ฮุสเซนและศูนย์บัญชาการทางทหาร อย่างไรก็ตามมันก็ทำให้พลเรือนได้รับความสูญเสียอย่างมาก

ตลอดการทัพที่ทิ้งระเบิดเป็นระยะเวลานานก่อนที่จะเริ่มการบุกภาคพื้นดิน มันได้ทำให้พลเรือนได้รับความเสียหายอย่างมาก ในเหตุการณ์หนึ่งเครื่องบินทิ้งระเบิดสเตลท์ได้โจมตีบังเกอร์ในอาเมียร์ย่า ทำให้พลเรือนเสียชีวิตไป 200-400 ราย ซึ่งเป็นผู้ลี้ภัยในตอนนั้น ผลที่ตามมาคือภาพสถานที่เกิดเหตุถูกถ่ายทอดและการโต้เถียงในเรื่องสถานะของบังเกอร์ก็เกิดขึ้น โดยมีบางคนที่กล่าวว่ามันเป็นที่หลบภัยของพลเรือนในขณะที่คนอื่นๆ กล่าวว่ามันเป็นฐานปฏิบัติการทางทหารและพลเมืองถูกย้ายไปที่นั่นเพื่อใช้เป็นโล่มนุษย์ การสอบสวนของBeth Osborne Daponteได้ประมาณว่ามีพลเรือนบาดเจ็บสาหัส 3,500 รายจากการทิ้งระเบิด[55][58][59] กองกำลังผสมอ้างว่าพวกเขาได้หลีกเลี่ยงการโจมตีเป้าหมายในเขตพลเรือนและหลีกเลี่ยงการทำลายที่อยู่อาศัยของพลเรือน ไม่เหมือนกับการทัพก่อนหน้าอย่างการทิ้งระเบิดโตเกียวในสงครามโลกครั้งที่ 2

[แก้] การตายของพลเรือนจากขีปนาวุธสกั๊ด

ขีปนาวุธสกั๊ด 42 ลูกถูกยิงเข้าใส่อิสราเอลโดยอิรักตลอด 7 สัปดาห์ของสงคราม[60] พลเรือนอิสราเอลสองคนเสียชีวิตจากการโจมตี มีบาดเจ็บอีก 230 ราย ในรายงาน 10 คนได้รับบาดเจ็บปานกลางและสาหัสหนึ่งราย[7] อีกหลายคนตายเพราะหัวใจวาย อิสราเอลกระหายที่จะโต้ตอบด้วยกำลังทางทหาร แต่ตกลงที่จะไม่เข้าร่วมเมื่อรัฐบาลสหรัฐขอร้อง ซึ่งกลัวว่าหากอิสราเอลเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง ประเทศอาหรับอื่นๆ ก็จะเข้าร่วมกับอิรัก อสราเอลได้รับแท่นยิงเอ็มไอเอ็ม-104 เพเทรียทสำหรับการป้องกันขีปนาวุธ[61] กองทัพอากาศเนเธอแลนด์ยังติดตั้งขีปนาวุธเพเทรียทเอาไว้ในตุรกีและอิสราเอลเพื่อตอบโต้จากโจมตีจากสกั๊ด ต่อมากระทรวงกลาโหมของเนเธอแลนด์ได้กล่าวว่าการใช้ขีปนาวุธเพเทรียทนั้นไม่มีประสิทธิภาพ แต่คุณค่าทางจิทยานั้นก็สูง[62] มีการแนะนำว่าการก่อสร้างที่แข็งแรงในอิสราเอล และด้วยเหตุที่ว่าสกั๊ดมักยิงในตอนกลางคืน เป็นปัจจัยที่ทำให้มีการเสียชีวิตและบาดเจ็บน้อย[7]

นอกจากนี้แล้วขีปนาวุธวกั๊ด 44 ลูกถูกยิงถล่มซาอุดิอาระเบีย หนึ่งลูกยิงใส่บห์เรน และอีกลูกยิงใส่กาตาร์ ขีปนาวุธถูกยิงใส่เป้าหมายทางทหารและของพลเรือน ชาวซาอุหนึ่งคนถูกสังหารและ 65 รายได้รับบาดเจ็บ ส่วนบาห์เรนและกาตาร์ไม่มีดานรายงานถึงผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ขีปนาวุธลูกหนึ่งตกใส่ค่ายทหารของสหรัฐในดารานประเทศศาอุ ทำให้ทหารเสียชีวิตไป 28 นายและบาดเจ็บกว่า[63]

[แก้] การถกเถียง

[แก้] การเจ็บป่วยจากสงครามอ่าว

ดูบทความหลักที่ กัลฟ์วอร์ซินโดรม

ทหารของกองกำลังผสมหลายนายที่กลับมาถูกรายงานว่าเจ็บป่วยหลังจากที่พวกเขาได้มีส่วนร่วมในสงครามอ่าว อาการดังกล่าวถูกเรียกว่ากัลฟท์วอร์ซินโดรม (Gulf War syndrome) มีการไตร่ตรองอย่างแพร่หลายและการไม่เห็นด้วยถึงสาเหตุของอาการป่วย บางปัจจัยถูกมองว่าเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วย อย่าง กระสุนยูเรเนียม อาวุธเคมี วัคซีนแอนแทร็กซ์ที่ทหารต้องได้รับ และการติดเชื้อ ผู้พันไมเคิล ดอนเนลลี่ อดีตนายทหารกองทัพอากาศสหรัฐในสงครามอ่าว ได้ช่วยกระจายข่าวของการเจ็บป่วยและเรียกร้องสิทธิให้กับทหารผ่านศึกเหล่านี้

[แก้] ผลกระทบจากกระสุนยูเรเนียม

พื้นที่ที่คาดว่ามีกระสุนยูเรเนียมตกอยู่

กระสุนยูเรเนียม (Depleted uranium) ถูกใช้ในสงครามอ่าวเป็นกระสุนเจาะเกราะพลังงานจลล์ของรถถังและกระสุนปืนใหญ่ขนาด 20-30 ม.ม. การใช้กระสุนแบบนี้ในสงครามอ่าวครั้งแรกถูกกล่าวว่าเป็นผลทำให้สุขภาพของทหารผ่านศึกและพลเรือนได้รับผลกระทบ[64][65][66]


[แก้] ทางหลวงมรณะ

ดูบทความหลักที่ ทางหลวงมรณะ

ในคืนของวันที่26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 กองกำลังอิรักที่พ่ายแพ้กำลังล่าถอยออกจากคูเวตโดยใช้ทางหลวงสายเหนือของอัล จาห์ราโดยเป็นแถวขบวนรถทั้งสิ้น 1,400 คัน เครื่องบินลาดตระเวนอี-8 จอยท์สตาร์สลำหนึ่งได้ตรวจพบกองกำลังดังกล่าวและส่งข้อมูลให้กับศูนย์ปฏิบัติการทางอากาศ[67] เครื่องบินของกองทัพอากาศและกองทัพเรือสหรัฐได้เข้าติดตามและทำลายขบวนรถ ด้วยการทิ้งระเบิดใส่เป็นเวลาหลายชั่วโมง เนื่องจากว่าการโจมตีมากจากอากาศยานปีกนิ่งที่บินในระดับสูง จึงทำให้ทหารอิรักไม่มีโอกาสในการยอมจำนน[ต้องการอ้างอิง]

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ Gulf War, the Sandhurst-trained Prince Khaled bin Sultan al-Saud was co commander with General Norman Schwarzkopf www.casi.org.uk/discuss
  2. ^ General Khaled was Co-Commander, with U.S. General Norman Schwarzkopf, of the allied coalition that liberated Kuwait www.thefreelibrary.com
  3. ^ Gulf War Coalition Forces (Latest available) by country www.nationmaster.com
  4. ^ 4.0 4.1 Geoffrey Regan, p.214
  5. ^ 5.0 5.1 5.2 5.3 Crocker III, H. W. (2006). Don't Tread on Me. New York: Crown Forum. pp. 386. ISBN 9781400053636. 
  6. ^ The Wages of War: Iraqi Combatant and Noncombatant Fatalities in the 2003 Conflict. Project on Defense Alternatives. สืบค้นวันที่ 2009-05-09
  7. ^ 7.0 7.1 7.2 http://www.publicpolicy.umd.edu/Fetter/1993-Nature-Scud.pdf
  8. ^ http://www.iraqwatch.org/government/US/Pentagon/dodscud.htm
  9. ^ The Use of Terror during Iraq’s invasion of Kuwait. The Jewish Agency for Israel. สืบค้นวันที่ 2009-05-09
  10. ^ Frontline Chronology (PDF). Public Broadcasting Service. สืบค้นวันที่ 2007-03-20
  11. ^ Tenth anniversary of the Gulf War: A look back, CNN, 16 January 2001, Archived from the original on January 16, 2001, http://web.archive.org/web/19960101-re_/http://archives.cnn.com/2001/US/01/16/gulf.anniversary/index.html 
  12. ^ http://www.defence.gov.au/ARMY/AHU/HISTORY/gulfwar.htm
  13. ^ http://www.cfr.org/publication/13865/isn.html
  14. ^ Peters, John E; Deshong, Howard (1995). Out of Area or Out of Reach? European Military Support for Operations in Southwest Asia. RAND. ISBN 0833023292. http://www.rand.org/pubs/monograph_reports/2007/MR629.pdf. 
  15. ^ http://www.defence.gov.au/ARMY/AHU/HISTORY/gulfwar.htm
  16. ^ http://www.cfr.org/publication/13865/isn.html
  17. ^ Douglas A. Borer (2003). Inverse Engagement: Lessons from U.S.-Iraq Relations, 1982–1990. U.S. Army Professional Writing Collection. U.S. Army. สืบค้นวันที่ 2006-10-12
  18. ^ Cleveland, William L. A History of the Modern Middle East. 2nd Ed pg. 464
  19. ^ Cleveland, William L. A History of the Modern Middle East. 2nd Ed pg. 463
  20. ^ The Significance of the "Death" of Ali Hassan al-Majid By Ibrahim al-Marashi
  21. ^ Gilles Kepel Jihad: The Trail of Political Islam.
  22. ^ The Unfinished War: A Decade Since Desert Storm. CNN In-Depth Specials (2001). เรียกข้อมูลเมื่อวันที่ 2008-04-05
  23. ^ http://www.washingtonpost.com/wp-dyn/content/article/2006/10/31/AR2006103101217.html
  24. ^ In the Gulf war, every last nail was accounted for, but the Iraqi dead went untallied. At last their story is being told ITV - John Pilger
  25. ^ Operation Desert Storm globalsecurity.com
  26. ^ CNN.com In-depth specials — Gulf War. CNN (2001).
  27. ^ Atkinson, Rick (2003). frontline: the gulf war: chronology. SBS.
  28. ^ Iraqi Air Force Equipment — Introduction. สืบค้นวันที่ January 18 2005
  29. ^ IRAQ & AFGHANISTAN: DEJA VU ALL OVER AGAIN
  30. ^ John Sweeney Responds on Mass Death in Iraq
  31. ^ Clancy, Tom (1994). Armored Cav. Berkley Books. pp. 180. ISBN 0425158365. http://www.amazon.com/exec/obidos/ASIN/0425158365. 
  32. ^ Lawrence Freedman and Efraim Karsh, The Gulf Conflict: Diplomacy and War in the New World Order, 1990-1991 (Princeton, 1993), 324-29.(
  33. ^ Report aired on BBC 1, 14 February 1991
  34. ^ Lawrence Freedman and Efraim Karsh, The Gulf Conflict: Diplomacy and War in the New World Order, 1990-1991 (Princeton, 1993), 331-41.
  35. ^ Air-To-Air Victories in Desert Storm
  36. ^ Iraqi Invasion of Kuwait - ACIG.org
  37. ^ The Operation Desert Shield/Desert Storm Timeline - Defenselink.mil
  38. ^ The Operation Desert Shield/Desert Storm Timeline - Defenselink.mil
  39. ^ [1]
  40. ^ Fixed-wing combat attrition in Desert Storm
  41. ^ Iraqi Invasion of Kuwait - ACIG.org
  42. ^ http://www.globalsecurity.org/military/ops/desert_sabre.htm
  43. ^ http://www.leyden.com/gulfwar/week6.html
  44. ^ twentieth century battlefields, the gulf war
  45. ^ 45.0 45.1 In-Depth Specials - Gulf War, CNN, 2001, Archived from the original on 2001, http://web.archive.org/web/20070510125644/http://edition.cnn.com/SPECIALS/2001/gulf.war/facts/gulfwar/ 
  46. ^ Blanford, Nicholas (2001), Kuwait hopes for answers on its Gulf War POWs, Christian Science Monitor, http://www.csmonitor.com/2002/1223/p07s01-wome.html 
  47. ^ Persian Gulf War - MSN Encarta
  48. ^ NGWRC: Serving veterans of recent and current wars
  49. ^ Is an Armament Sickening U.S. Soldiers?
  50. ^ Saudi Arabia - Persian Gulf War, 1991
  51. ^ The Associated Press. "Soldier Reported Dead Shows Up at Parents' Doorstep." March 22, 1991.
  52. ^ The Role of the United Arab Emirates in the Iran-Iraq War and the Persian Gulf War
  53. ^ Miller, Judith. "Syria Plans to Double Gulf Force." The New York Times, March 27, 1991.
  54. ^ Role of Kuwaiti Armed Forces in the Persian Gulf War
  55. ^ 55.0 55.1 Robert Fisk, The Great War For Civilisation; The Conquest of the Middle East (Fourth Estate, 2005), p.853.
  56. ^ Keaney, Thomas (1993). Gulf War Air Power Survey. United States Dept. of the Air Force. ISBN 0-16-041950-6. 
  57. ^ Wages of War - Appendix 2: Iraqi Combatant and Noncombatant Fatalities in the 1991 Gulf War
  58. ^ Toting the Casualties of War. Businessweek (February 6, 2003).
  59. ^ Ford, Peter (April 09, 2003). Bid to stem civilian deaths tested. Christian Science Monitor.
  60. ^ Information Paper: Iraq's Scud Ballistic Missiles. Special Assistant for Gulf War Illnesses Department of Defense (2000). สืบค้นวันที่ 2009-05-21
  61. ^ Three Isrealis killed as Scuds hit Tel Aviv. The Tech (1991). สืบค้นวันที่ 2009-01-11
  62. ^ Betrokkenheid van Nederland. Ministerie van Defensie (2009). สืบค้นวันที่ 2009-01-11 (Dutch)
  63. ^ อ้างอิงผิดพลาด: Invalid <ref> tag; no text was provided for refs named iraqwatch.org
  64. ^ Schröder H, Heimers A, Frentzel-Beyme R, Schott A, Hoffman W (2003). "Chromosome Aberration Analysis in Peripheral Lymphocytes of Gulf War and Balkans War Veterans". Radiation Protection Dosimetry 103: 211–219 
  65. ^ Hindin, R. et al. (2005) "Teratogenicity of depleted uranium aerosols: A review from an epidemiological perspective," Environmental Health, vol. 4, pp. 17.
  66. ^ An Analysis of Uranium Dispersal and Health Effects Using a Gulf War Case Study, Albert C. Marshall, Sandia National Laboratories
  67. ^ http://www.globalsecurity.org/intell/systems/jstars-back.htm

[แก้] ดูเพิ่ม

Scale of justice.svg สงครามอ่าวเปอร์เซีย เป็นบทความเกี่ยวกับ การเมือง การปกครอง หรือ กฎหมาย ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ สงครามอ่าวเปอร์เซีย ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ
Nuvola apps agent.svg สงครามอ่าวเปอร์เซีย เป็นบทความเกี่ยวกับ ทหาร การทหาร หรืออาวุธ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ สงครามอ่าวเปอร์เซีย ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:การทหาร