สโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ด
Newcastle United
ชื่อเต็ม สโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ด
ฉายา เดอะแม็กพาย, เดอะทูน
ก่อตั้ง ค.ศ. 1892
สนามกีฬา เซนต์เจมส์พาร์ค
นิวคาสเซิล
อังกฤษ
(ความจุ: 52,387 คน)
เจ้าของ Flag of อังกฤษ ไมค์ แอชลีย์
ประธาน Flag of อังกฤษ ดีเร็ค แลมเบียส
ผู้จัดการ Flag of อังกฤษ คริส ฮิวส์ตัน
ลีก พรีเมียร์ลีก
2009-10 เดอะ แชมเปี้ยนชิพ อันดับที่ 1
สีชุดทีมเหย้า
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม

สโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิล ยูไนเต็ด (อังกฤษ: Newcastle United FC : NUFC) เป็นทีมฟุตบอลอาชีพทีมหนึ่งในฟุตบอลลีกอังกฤษ ตั้งอยู่ที่เมืองนิวคาสเซิล อัพพอน ไทน์ มีชื่อเล่นของทีมว่า แม็กพายส์ (สาลิกาดง หรือ กางเขนเหล็กในภาษาไทย) แฟนของทีมนิวคาสเซิล ยูไนเต็ด จะมีชื่อเรียกว่าเหล่าทูน อาร์มี

ในฤดูกาลปัจจุบัน นิวคาสเซิล ยูไนเต็ด เล่นอยู่ในศึกฟุตบอลพรีเมียร์ลีก ซึ่งเป็นลีกสูงสุดประเทศอังกฤษ โดยมีคู่แข่งในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วยกัน คือ ซันเดอร์แลนด์ (อังกฤษ: Sunderland) และ มิดเดิลสโบรช์ (อังกฤษ: Middlesbrough)

เนื้อหา

[แก้] ประวัติสโมสร

ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1881 ทีมคริกเก็ตสแตนลีย์ได้ตัดสินใจตั้งทีมฟุตบอลขึ้น เพื่อลงเล่นในช่วงที่ฤดูกาลแข่งขันคริกเก็ตปิดตัวลงในฤดูหนาว พวกเขาชนะเกมแรกที่ลงแข่งขันด้วยสกอร์ 5-0 โดยมีคู่แข่งเป็นทีมเอลสวิกเลเธอร์เวิร์คส์ชุดสำรอง หนึ่งปีต่อมา ทีมก็ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นสโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลอีสท์เอนด์

ขณะเดียวกัน ทีมคริกเก็ตอีกทีมหนึ่งในย่านเดียวกันก็ได้เริ่มสนใจที่จะตั้งทีมฟุตบอล จนกระทั่งมีการก่อตั้งสโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลเวสท์เอนด์ขึ้น ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1882 โดยในช่วงแรกนั้น พวกเขาใช้สนามคริกเก็ตเดิมเป็นสนามเหย้า ก่อนที่จะย้ายไปลงเตะในเซนต์เจมส์พาร์ค

หลังจากนั้น ได้มีการจัดตั้งฟุตบอลลีกท้องถิ่นขึ้นในปี ค.ศ. 1889 การที่มีลีกอาชีพในบริเวณใกล้เคียงให้ลงเตะ ประกอบกับความสนใจในถ้วยเอฟเอคัพ ทำให้นิวคาสเซิลอีสท์เอนด์เปลี่ยนจากทีมสมัครเล่นมาเป็นทีมอาชีพในปีเดียวกันนั้นเอง แต่ทว่าทางฝั่งนิวคาสเซิลเวสท์เอนด์กลับล้มเหลวที่จะตามรอยทีมเพื่อนบ้านสู่สถานะทีมฟุตบอลอาชีพ จนกระทั่งในช่วงต้นปี ค.ศ. 1892 ผู้บริหารของนิวคาสเซิลเวสท์เอนด์ได้ตัดสินใจที่จะขอเข้าควบกิจการกับนิวคาสเซิล อีสท์ เอนด์ เพื่อมิให้ทีมต้องยุบตัวลงโดยสิ้นเชิง

การควบกิจการเป็นไปด้วยดี ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1892 ชื่อ นิวคาสเซิลยูไนเต็ด ก็ถูกเลือกให้เป็นชื่อใหม่ของทีม

นิวคาสเซิลสามารถคว้าแชมป์ลีกสูงสุดของประเทศมาครองได้ถึงสามสมัยในช่วงทศวรรษ 1900s และยังเข้าชิงชนะเลิศเอฟเอคัพถึง 5 ครั้งใน 7 ฤดูกาล แต่สามารถเป็นแชมป์ได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้นในปี 1910 หลังจากเอาชนะบาร์นสลีย์ไปได้ในการเตะนัดรีเพลย์ที่กูดิสันพาร์ค

หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง พวกเขาคว้าแชมป์เอฟเอคัพได้อีกสมัยโดยการเอาชนะแอสตัน วิลลาในรอบชิงชนะเลิศที่สนามเวมบลีย์ นอกจากนั้น นิวคาสเซิลยังเป็นแชมป์ลีกได้อีกหนึ่งสมัยในปี 1927 อีกด้วย

ในช่วงทศวรรษ 1950s นิวคาสเซิลเป็นแชมป์เอฟเอคัพถึง 3 สมัยในช่วงเวลา 5 ปี โดยเอาชนะแบล็กพูล 2-0 ในปี 1951 ชนะอาร์เซนอล 1-0 ในปี 1952 และชนะแมนเชสเตอร์ ซิตี 3-1 ในปี 1955 โดยทีมนิวคาสเซิลในยุคนั้น มีผู้เล่นชื่อดังอยู่หลายคนด้วยกัน เช่น แจคกี มิลเบิร์น, บ็อบบี มิทเชลล์, และสแตน เซมัวร์

หลังจากตกชั้นลงไปเล่นในดิวิชันสองอยู่ชั่วขณะ นิวคาสเซิลที่นำโดยผู้จัดการทีม โจ ฮาร์วีย์ ก็ได้เลื่อนชั้นกลับสู่ลีกสูงสุดในปี 1965 แต่ทว่าฟอร์มของพวกเขาหลังจากนั้นไม่สม่ำเสมอนัก

ทีมของฮาร์วีย์สามารถทำอันดับผ่านเข้าไปเล่นฟุตบอลถ้วยยุโรปครั้งแรกในปี 1968 ก่อนจะคว้าแชมป์ถ้วยอินเตอร์-ซิตีส์ แฟร์ส คัพ (หรือถ้วยยูฟ่าคัพในปัจจุบัน) ไปครองอย่างเหนือความคาดหมายในปีถัดมา โดยสามารถเอาชนะทีมใหญ่ในยุโรปของยุคนั้นไปได้หลายราย ไม่ว่าจะเป็นสปอร์ติง ลิสบอน, เฟเยนูร์ด รอตเตอร์ดัม หรือ รีล ซาราโกซา และปิดท้ายด้วยการคว่ำทีมอุจเพสท์จากฮังการีในรอบชิงชนะเลิศ

นับตั้งแต่ก่อตั้งทีมมา นิวคาสเซิลมักจะมอบเสื้อหมายเลข 9 ให้แก่ผู้เล่นกองหน้าชื่อดังประจำทีม โดยประเพณีนี้ยังคงตกทอดต่อมาจนถึงปัจจุบัน สำหรับในช่วงเวลานั้น ผู้เล่นที่ได้ใส่เสื้อหมายเลข 9 มีหลายคนด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น วิน เดวีส์, ไบรอัน ร็อบสัน, บ็อบบี มอนเคอร์ หรือ แฟรงค์ คลาร์ก

หลังจากประสบความสำเร็จในฟุตบอลสโมสรยุโรป ฮาร์วีย์ก็ได้ดึงตัวผู้เล่นเกมรุกชื่อดังมากมายเข้ามาร่วมทีม นับตั้งแต่ จิมมี สมิธ, โทนี กรีน และเทอร์รี ฮิบบิทท์ ไปจนถึงยอดศูนย์หน้าอย่าง มัลคอล์ม แมคโดแนลด์ เจ้าของฉายา 'ซูเปอร์แมค' ผู้เป็นหนึ่งในตำนานของสโมสร แมคโดแนลด์พานิวคาสเซิลเข้าชิงชนะเลิศถ้วยเอฟเอคัพและลีกคัพกับลิเวอร์พูลและแมนเชสเตอร์ ซิตีในปี 1974 และ 1976 ตามลำดับ แต่พลพรรคแม็กพายส์กลับล้มเหลวในรอบชิงทั้งสองครั้ง

ในช่วงต้นทศวรรษ 1980s นิวคาสเซิลอยู่ในช่วงตกต่ำ โดยได้ตกชั้นลงไปเล่นอยู่ในดิวิชัน 2 อยู่เป็นเวลาหลายปี ก่อนที่ผู้จัดการทีมอาร์เธอร์ ค็อกซ์จะสร้างทีมขึ้นมาใหม่โดยมีเควิน คีแกน อดีตกัปตันทีมชาติอังกฤษเป็นแกนหลัก จนกระทั่งได้เลื่อนชั้นกลับสู่ลีกสูงสุด

หลังจากนั้น นิวคาสเซิลเล่นอยู่ในดิวิชัน 1 จนกระทั่งพวกเขาตกชั้นอีกครั้งในปี 1989

ในปี 1992 เควิน คีแกนได้กลับคืนสู่นิวคาสเซิลอีกครั้งในฐานะผู้จัดการทีม เมื่อเขาตอบรับสัญญาระยะสั้น เข้ามาคุมทีมแทนออสซี อาร์ดิเลส ตัวคีแกนเองนั้นกล่าวว่า งานคุมทีมนิวคาสเซิลเป็นงานเดียวเท่านั้น ที่สามารถทำให้เขาหวนคืนสู่วงการฟุตบอลได้ ในขณะนั้น นิวคาสเซิลกำลังดิ้นรนหนีการตกชั้นอยู่ในดิวิชัน 2 ถึงแม้ว่าจะเพิ่งถูกซื้อกิจการโดยเซอร์ จอห์น ฮอลล์ไปไม่นานก็ตาม

ในฤดูกาลนั้น นิวคาสเซิลสามารถหนีรอดพ้นการตกชั้นไปได้ โดยเปิดบ้านเอาชนะปอร์ทสมัธก่อนจะบุกไปเอาชนะเลสเตอร์ ซิตีในสองเกมสุดท้ายของฤดูกาล

ในฤดูกาลถัดมา (1992-93) ฟอร์มของนิวคาสเซิลเปลี่ยนแปลงไปจากหน้ามือเป็นหลังมือ พวกเขาเล่นฟุตบอลเกมรุกแบบตื่นตาตื่นใจ จนกระทั่งคว้าชัยชนะในเกมลีก 11 นัดแรก ก่อนที่จะก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งแชมป์ดิวิชัน 1 และเลื่อนชั้นขึ้นสู่พรีเมียร์ลีกด้วยชัยชนะเหนือกริมสบี ทาวน์ 2-0

นิวคาสเซิลประสบความสำเร็จในระดับสูงสุดภายใต้การคุมทีมของคีแกน พวกเขาจบฤดูกาล 1993-94 ที่อันดับ 3 และได้รับการตั้งฉายาโดยสื่อมวลชนอังกฤษว่าเป็น "The Entertainers"

ในปีถัดมา นิวคาสเซิลจบฤดูกาลที่อันดับ 6 หลังจากที่ช็อกแฟนบอลด้วยการขายกองหน้าจอมถล่มประตู แอนดี โคล ให้กับแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดด้วยค่าตัว 6 ล้านปอนด์บวกกับคีธ กิลเลสพี ปีกขวาดาวรุ่งชาวไอริช

ในปี 1995-96 นิวคาสเซิลเสริมทีมครั้งใหญ่ โดยดึงตัวผู้เล่นชื่อดังเช่นดาวิด ชิโนลาและเลส เฟอร์ดินานด์มาร่วมทีม พวกเขาเกือบที่จะคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกได้สำเร็จ แต่ก็ทำได้เพียงตำแหน่งรองแชมป์ ทั้งที่ในช่วงคริสต์มาส พวกเขาทิ้งห่างแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดถึง 12 คะแนน เกมที่นิวคาสเซิลพ่ายให้กับลิเวอร์พูลไป 3-4 ที่สนามแอนฟิลด์ในฤดูกาลนี้ ได้รับการโหวตให้เป็นเกมยอดเยี่ยมตลอดกาลของพรีเมียร์ลีกเลยทีเดียว

นิวคาสเซิลเข้าป้ายเป็นอันดับที่ 2 อีกครั้งในปีถัดมา แม้ว่าจะทำการเซ็นสัญญากองหน้าทีมชาติอังกฤษ อลัน เชียเรอร์ มาร่วมทีมด้วยค่าตัวสถิติโลก 15 ล้านปอนด์ สำหรับฤดูกาล 1996-97 นี้ เป็นที่จดจำของแฟนบอลหลายคน เนื่องจากนิวคาสเซิลได้ถล่มเอาชนะแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดไปด้วยสกอร์ถึง 5-0 เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1996

คีแกนลาออกจากตำแหน่งผู้จัดการทีมในเดือนมกราคม ปี 1997 และถูกแทนที่โดยเคนนี ดัลกลิช ซึ่งได้รับเลือกเพื่อมาช่วยแก้ปัญหาเกมรับของทีม ในช่วงครึ่งฤดูกาลหลังของปี 1997-98 ดัลกลิชพานิวคาสเซิลเข้าไปเล่นฟุตบอลยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก และพ่ายต่ออาร์เซนอลในรอบชิงชนะเลิศถ้วยเอฟเอคัพไป 0-2 หลังจากนั้น แฟนบอลก็เริ่มที่จะไม่พอใจกับสไตล์การทำทีมที่เน้นเกมรับของดัลกลิช เมื่อบวกกับผลงานที่ตกต่ำลงของทีม เป็นผลให้ดัลกลิชถูกปลดออกจากตำแหน่งในช่วงต้นฤดูกาล 1998-99

รุด กุลลิทก้าวเข้ามารับตำแหน่งผู้จัดการทีมต่อจากดัลกลิช และพาทีมเข้าชิงชนะเลิศเอฟเอคัพอีกครั้ง ก่อนจะพ่ายให้กับแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดไปในที่สุด แต่กุลลิทได้ทำการซื้อตัวผู้เล่นราคาแพงหลายคนที่ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงในพรีเมียร์ลีก เช่นมาร์เซลิโน กองหลังชาวสเปน และซิลวิโอ มาริช มิดฟิลด์โครเอเชีย นอกจากนี้กุลลิทยังมีปากเสียงกับผู้เล่นคนสำคัญหลายคนในทีม ทั้งหมดนี้ประกอบกับการเริ่มต้นฤดูกาล 1999-2000 ได้อย่างเลวร้าย ทำให้กุลลิทถูกกดดันให้ลาออกไป

นิวคาสเซิลตัดสินใจแต่งตั้งเซอร์ บ็อบบี ร็อบสัน อดีตผู้จัดการทีมชาติอังกฤษชาวจอร์ดี เข้ามากู้สถานการณ์ของทีม ซึ่งในขณะนั้นอยู่ในโซนตกชั้น เกมเหย้าเกมแรกของนิวคาสเซิลภายใต้ร็อบสันจบลงด้วยชัยชนะ 8-0 เหนือเชฟฟิลด์ เวนส์เดย์ พร้อมทั้ง 5 ประตูจากกัปตันทีมอลัน เชียเรอร์ ในช่วงที่ร็อบสันคุมทีม นิวคาสเซิลได้สร้างทีมขึ้นมาใหม่โดยอาศัยนักเตะดาวรุ่งเป็นแกนหลัก ผู้เล่นอย่างคีรอน ดายเออร์, เคร็ก เบลลามี่ และโลรองต์ โรแบร์ ทำให้นิวคาสเซิลกลับมาเป็นทีมระดับหัวแถวของพรีเมียร์ลีกอีกครั้ง ฟุตบอลเกมรุกอันน่าตื่นเต้นของพวกเขาทำให้นิวคาสเซิลทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมในฤดูกาล 2001-02 จนได้กลับเข้าไปเล่นในรายการยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก และได้เข้าไปเล่นในรอบ 8 ทีมสุดท้ายของถ้วยเอฟเอคัพและลีกคัพ

ในฤดูกาล 2002-03 นิวคาสเซิลได้สร้างประวัติศาสตร์ เป็นทีมแรกในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกที่แพ้ในรอบแบ่งกลุ่ม 3 เกมแรกแล้วยังสามารถผ่านเข้ารอบต่อไปได้ ก่อนจะตกรอบแบ่งกลุ่มรอบสอง หลังจากถูกจับฉลากแบ่งสายไปอยู่ในกลุ่มเดียวกับทีมยักษ์ใหญ่อย่างบาร์เซโลนาและอินเตอร์ มิลาน ส่วนผลงานในพรีเมียร์ลีกนั้น นิวคาสเซิลก็ยังคงทำได้ดีอย่างสม่ำเสมอ จนจบฤดูกาลในอันดับที่ 3

ต่อมาในฤดูกาล 2003-04 นิวคาสเซิลตกรอบคัดเลือกยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกหลังพ่ายในการดวลจุดโทษให้กับพาร์ทิซาน เบลเกรด จนต้องตกลงไปเล่นในถ้วยยูฟ่าคัพแทน นิวคาสเซิลจบฤดูกาลในอันดับที่ 5 และเข้าถึงรอบรองชนะเลิศถ้วยยูฟ่าคัพ ในฤดูกาล2007-2008 นิวคาสเซิ่ลได้แต่งตั้งแซม อัลลาไดซ์ เป็นผู้จัดการทีมและได้มีการซื้อนักแตะเสริมทัพหลายคนเช่น เฌเรมี่,อลัน สมิธ จากแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ด้วยค่าตัว6ล้านปอนด์,ดาวิด โรเซนนาล,เคลาดิโอ คาซาป้า,โจอี้ บาร์ตัน เป็นต้นแต่นักเตะที่ซื้อมากับทำผลงานได้ย่ำแย่และทำให้ทีมฟอร์มตกจนไปอยู่ท้ายตารางรวมถึงในเกมส์ในบ้านที่แพ้ลิเวอร์พูล3-0ชนิดว่าไม่มีลุ้นทำให้มีเสียงโห่จากแฟนนิวคาสเซิ่ลจำนวนมากในเซนต์ เจมส์ พาร์คก่อนที่แซมจะโดนปลดออกและแทนที่ด้วยเควิน คีแกนทำให้สร้างขวัญกำลังใจให้กับนักเตะและแฟนบอลจนผลงานดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและจบฤดูกาลด้วยอันดับ12

นัดสุดท้ายของฤดูกาล 2008-09 นิวคาสเซิลบุกไปแพ้แอสตันวิลลา 1-0 ที่วิลลาพาร์ค ทำให้ทีมต้องตกชั้นสู่[[ฟุตบอลลีกแชมเปียนชิพ|ด้วยอันดับ 18 ของตาราง หลังจากตกชั้นได้ไม่นานอลัน เชียเรอร์ ก็หมดสัญญาคุมทีม โดยมีคริส ฮิวจ์ตัน ทำหน้าที่รักษาการแทน หลังจากนั้นทีมต้องเสียนักเตะอย่าง ไมเคิล โอเว่น, มาร์ค วิดูก้า, ดาวิด เอ็ดการ์, โอบาเฟมี มาร์ตินส์,เชย์ กิฟเว่น,เซบาสเตียน บาสซง,เดเมี่ยน ดัฟ และฮาบิบ เบย์ ไปทำให้ทีมเริ่มระส่ำระส่ายมากขึ้นแต่ก่อนเปิดฤดูกาลใหม่นิวคาสเซิ่ลสามารถคว้านักเตะเสริมทัพได้โดยเป็นแดนนี่ ซิมป์สัน มาจากแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดในสัญญายืมตัว ยืมมาร์ลอน แฮร์วู้ดมาจากแอสตัน วิลล่าและเซ็นสัญญาคว้าตัวปีเตอร์ โลเวนครานด์กับฟาบริซ ป็องครัตมาแบบไร้ค่าตัว โดยผลงานของนิวคาสเซิ่ลในนัดเปิดฤดูกาล2009/2010สามารถบุกไปเสมอเวสบรอมวิช อัลเบี้ยน ได้ 1-1 หลังจากนั้นไม่นานนิวคาสเซิ่ลก็มีข่าวว่าเควิน คีแกนอดีตผู้จัดการทีมและขวัญใจแฟนนิวคาสเซิ่ลได้เรียกร้องเงินชดเชยที่ได้ระบุในสัญญาคุมทีม 3ปีก่อนคีแกนจะลาออกจากตำแหน่งเนื่องจากโดนแทรกแซงเรื่องการบริหารก่อนที่ศาลตัดสินให้นิวคาสเซิ่ลจ่ายเงินชดเชยจำนวน 2ล้านปอนด์หรือ112ล้านบาทโดยในเหตุการ์ณครั้งนั้นคีแกนไม่พอใจที่โดนเดนนิส ไวส์ ผู้อำนวยการแทรกแซงเรื่องการซื้อขายนักเตะโดยคีแกนไม่พอใจที่ขายเจมส์ มิลเนอร์ กองกลางทีมชาติอังกฤษของทีมให้แอสตัน วิลล่ารวมถึงการซื้อซิสโก้ กองหน้าชาวสเปนและอิ๊กนาซิโอ กอนซาเลซ นักเตะชาวอุรุกวัยโดยไม่ผ่านการตัดสินใจของคีแกน พร้อมกับทางสโมสรพยายามปล่อยตัวโจอี้ บาร์ตัน กองกลางที่พึ่งพ้นโทษออกจากคุกมาโดยที่ขัดแย้งกับคีแกนซึ่งพยายามรั้งตัวไว้หลังจากนั้นนิวคาสเซิลสามารถทำผลงานได้ดีอย่างต่อเนื่องจนสามารถคว้าแชมป์ เดอะแชมเปี่ยนชิพมาครองได้สำเร็จและส่วนหนึ่งมาจากแอนดี้ แคร์โรล เด็กปั้นของสโมสรซึ่งทำไป19ประตู เป็นดาวยิงสูงสุดของสโมสร

[แก้] รายชื่อผู้เล่นชุดปัจจุบัน

[แก้] ทีมชุดใหญ่

อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2552[1]

Note: ธงชาติที่ปรากฎบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่า ตามความเหมาะสม เพราะบางผู้เล่นอาจถือสองสัญชาติ

หมายเลข ตำแหน่ง ผู้เล่น
1 Flag of อังกฤษ GK สตีฟ ฮาร์เปอร์
2 Flag of อาร์เจนตินา DF ฟาบริซิโอ โคลอชชินี
3 Flag of สเปน DF โฆเซ เอ็นริเก
4 Flag of อังกฤษ MF เควิน โนแลน รองกัปตันทีม
6 Flag of สเปน DF ไมค์ วิลเลียมสัน
7 Flag of อังกฤษ MF โจอี บาร์ตัน
8 Flag of อังกฤษ MF แดนนี่ กัธทรี
10 Flag of อังกฤษ MF เวนย์ เราท์เลดจ์
11 Flag of เดนมาร์ก FW ปีเตอร์ โลเวนครานด์ส
12 Flag of อังกฤษ DF แดนนี่ ซิมป์สัน
13 Flag of ฝรั่งเศส MF ฟาบริซ ปองคราต
16 Flag of อังกฤษ DF ไรอัน เทย์เลอร์
17 Flag of อังกฤษ MF อลัน สมิธ รองกัปตันทีม
18 Flag of อาร์เจนตินา MF โฆนาส กูเตียร์เรส
19 Flag of สเปน FW ซิสโก
20 Flag of Ireland FW ลีออน เบสท์
22 Flag of อังกฤษ MF นิคกี บัตต์ กัปตันทีม
23 Flag of อังกฤษ FW โชลา อเมโอบี
24 Flag of อังกฤษ MF แอนดี คาร์โรลล์
25 Flag of the Democratic Republic of the Congo MF คาเซนกา ลัวลัว
26 Flag of the Netherlands GK ทิม ครุล
27 Flag of อังกฤษ DF สตีเวน เทย์เลอร์
30 Flag of อังกฤษ FW ไนล์ เรนเจอร์
41 Flag of อังกฤษ MF มาร์ค โดนิเกอร์
42 Flag of อังกฤษ FW ไรอัน โดนัลด์สัน
43 Flag of อังกฤษ MF จอห์นนี กอดสมาร์ก
44 Flag of อังกฤษ MF เจมส์ มาร์วู้ด
45 Flag of อังกฤษ DF ดาร์เรน ลอฟฟ์

[แก้] ทีมชุดสำรอง

อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2552[2] [3]

Note: ธงชาติที่ปรากฎบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่า ตามความเหมาะสม เพราะบางผู้เล่นอาจถือสองสัญชาติ

หมายเลข ตำแหน่ง ผู้เล่น
28 Flag of ฮังการี DF ทามาช คาดาร์
29 Flag of อิตาลี FW ฟาบิโอ ซัมเบลรา
31 Flag of the Netherlands FW แฟร็งค์ ดันกูอาห์
32 Flag of ฝรั่งเศส FW เวสลีย์ โง บาเฮง
33 Flag of สวีเดน GK โอเล โซเดอร์เบิร์ก
34 Flag of อังกฤษ GK เฟรเซอร์ ฟอร์สเตอร์
35 Flag of อังกฤษ DF เบน ทอเซอร์
37 Flag of อังกฤษ DF คัลลัมม์ มอร์ริส
38 Flag of the Democratic Republic of the Congo MF คาเซนกา ลัวลัว
40 Flag of the Netherlands GK ทิม ครุล
41 Flag of อังกฤษ MF มาร์ค โดนิเกอร์
หมายเลข ตำแหน่ง ผู้เล่น
42 Flag of อังกฤษ FW ไรอัน โดนัลสัน
43 Flag of อังกฤษ MF จอห์นนี กอดสมาร์ก
44 Flag of อังกฤษ MF เจมส์ มาร์วู้ด
45 Flag of อังกฤษ DF ดาร์เรน ลอฟฟ์
46 Flag of อังกฤษ FW ไนล์ เรนเจอร์
Flag of อังกฤษ DF แมทธิว กริฟ
Flag of อังกฤษ MF คีแรน ไรท์สัน
Flag of อังกฤษ MF สจ๊วต บาร์ท
Flag of ไอร์แลนด์เหนือ MF ไมเคิล แม็คคัตเดน
Flag of ไอร์แลนด์เหนือ MF พาทริค แม็คลาฟลิน
Flag of ไอร์แลนด์เหนือ MF เชน เฟอร์กูสัน
Flag of อังกฤษ FW แดเนี่ยล เดียร์ลี

[แก้] การบริหารและการจัดการ

[แก้] คณะผู้บริหาร

อัปเดตล่าสุดเมื่อ 1 เมษายน ค.ศ. 2009.

ตำแหน่ง ชื่อ
เจ้าของสโมสร ไมค์ แอชลีย์
ประธานกิตติมศักดิ์ เซอร์ จอห์น ฮอลล์
ประธานสโมสร ดีเร็ค แลมเบียส
ผู้อำนวยการด้านธุรกิจ เดวิด วิลเลียมสัน
ฝ่ายประสานงานด้านเทคนิค เจฟฟ์ เวเทเร

[แก้] สต๊าฟโค้ช

อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2552
ตำแหน่ง ชื่อ
ผู้จัดการทีม คริส ฮิวส์ตัน
ผู้ช่วยผู้จัดการทีม โคลิน คัดเดอร์วู้ด
ผู้จัดการทีมชุดสำรอง อลัน ธอมป์สัน
โค้ชทีมชุดใหญ่ [ -
โค้ชผู้รักษาประตู พอล บาร์รอน
ผู้จัดการทีมชุดเยาวชน โจ จอยส์
โค้ชเยาวชน
ปีเตอร์ เบียดลี่ยส์
หัวหน้าทีมแพทย์ ดีเร็ค ไรท์
ทีมแพทย์ เดวิด เฮนเดอร์สัน, เจมส์ เมอร์ฟี
แมวมอง วิค ฮาร์รม, พาบริโอ ลองกอเรีย, โอเล นีลล์เซ่น

[แก้] ผู้จัดการทีม

ตั้งแต่ ค.ศ. 1992 - ปัจจุบัน

ชื่อ สัญชาติ เริ่ม ถึง
เควิน คีแกน Flag of อังกฤษ 1992 1997
เคนนี ดัลกลิช Flag of สกอตแลนด์ 1997 1998
รุด กุลลิท Flag of the Netherlands 1998 1999
เซอร์ บ็อบบี ร็อบสัน Flag of อังกฤษ 1999 2004
แกรม ซูเนสส์ Flag of สกอตแลนด์ 2004 2006
เกล็น โรเดอร์ Flag of อังกฤษ 2006 2007
แซม อัลลาไดซ์ Flag of อังกฤษ 2007 2008
เควิน คีแกน Flag of อังกฤษ 2008 2008
โจ คินเนียร์ Flag of Ireland 2008 2009
อลัน เชียเรอร์ Flag of อังกฤษ 2009 '

[แก้] เกียรติยศ

[4]

เกียรติยศ จำนวน ปี
ฟุตบอลลีก
ฟุตบอลลีกดิวิชันหนึ่ง แชมป์ 4 1904/05, 1906/07, 1908/09, 1926/27
เอฟเอพรีเมียร์ลีก รองแชมป์ 2 1995/96, 1996/97
ฟุตบอลลีกดิวิชันสอง แชมป์ 3 1964/65, 1983/84, 1992/93
ฟุตบอลลีกดิวิชันสอง รองแชมป์ 2 1897/98, 1947/48
นอร์เทิร์นลีก แชมป์ 3 1902/03, 1903/04, 1904/05
ฟุตบอลถ้วยภายในประเทศ
เอฟเอคัพ ชนะเลิศ 6 1910, 1924, 1932, 1951, 1952, 1955
เอฟเอคัพ รองชนะเลิศ 7 1905, 1906, 1908, 1911, 1974, 1998, 1999
ลีกคัพ รองชนะเลิศ 1 1976
คอมมูนิตี้ชิลด์ ชนะเลิศ 1 1909
คอมมูนิตี้ชิลด์ รองชนะเลิศ 5 1932, 1951, 1952, 1955, 1996
เอฟเอยูธคัพ ชนะเลิศ 2 1962, 1985
ฟุตบอลถ้วยยุโรป
อินเตอร์ซิตีแฟร์สคัพ ชนะเลิศ 1 1969
ยูฟ่าอินเตอร์โตโต้คัพ ชนะเลิศ 1 2006
ยูฟ่าอินเตอร์โตโต้คัพ รองชนะเลิศ 1 2001
Anglo-Italian Cup ชนะเลิศ 1 1973
ฟุตบอลถ้วยอื่น
คีรินคัพ ชนะเลิศ 1 1983
เท็กเซโกคัพ ชนะเลิศ 2 1974, 1975
Sheriff of London Charity Shield ชนะเลิศ 1 1907
พรีเมียร์ลีกเอเชียโทรฟี่ ชนะเลิศ 1 2003

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ Breaking News: 2008/09 Squad Numbers. สืบค้นวันที่ 2008-08-02
  2. ^ Reserves - Academy. สืบค้นวันที่ 2008-08-01
  3. ^ NUFC Reserve Squad. สืบค้นวันที่ 2008-08-02
  4. ^ Club Honours. nufc.co.uk. สืบค้นวันที่ 2008-08-01

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้] เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ

[แก้] เว็บไซต์ของผู้ติดตามผลงาน