คำเมือง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คำเมือง
Lanna-khammeuang.png กำเมือง 
อักษร: Lanna lng.png
พูดใน: ไทย พม่า ลาว 
ภูมิภาค: ภาคเหนือตอนบน (ไทย)
จำนวนผู้พูด: 6 ล้าน
ตระกูลภาษา: ไท-กะได
 คำ-ไท
  บี-ไท
   ไท-แสก
    ไท
     ไทตะวันตกเฉียงใต้
      ไทกลาง-ตะวันออก
       เชียงแสน
        คำเมือง 
ระบบการเขียน: ตัวเมือง, อักษรไทย 
สถานะทางการ
ภาษาทางการใน: ไม่มี
ผู้วางระเบียบ: ไม่มี
รหัสภาษา
ISO 639-1: -
ISO 639-2: tai
ISO 639-3: nod
สารานุกรมภาษา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมภาษา

คำเมือง (ᨣᩤᩴᨾᩮᩬᩥᨦ คำเมือง.png กำเมือง; คำหรือกำ แปลว่า ภาษา) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า "ภาษาถิ่นพายัพ" เป็นภาษาถิ่นที่ใช้ในภาคเหนือตอนบน หรือภาษาในอาณาจักรล้านนาเดิม มักจะพูดกันมากใน เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ อุตรดิตถ์ น่าน และยังมีการพูดและการผสมภาษากันในบางพื้นที่ของ จังหวัดตาก และ เพชรบูรณ์อีกด้วย

นอกจากนี้ คำเมืองเป็นภาษาของคนไทยวน ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยหรืออาณาจักรล้านนา และ อาณาจักรโยนกในอดีต ปัจจุบันกล่มคนไท-ยวนได้กระจัดกระจายและมีถิ่นที่อยู่ในจังหวัดสระบุรีอีกด้วย

ภาษาคำเมืองยังสามารถแบ่งออกเป็นสำเนียงล้านนาตะวันตก (ในจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน) และสำเนียงล้านนาตะวันออก (ในจังหวัดเชียงราย พะเยา ลำปาง อุตรดิตถ์ แพร่ น่าน) ซึ่งจะมีความแตกต่างกันบ้าง คือ สำเนียงล้านนาตะวันออกส่วนใหญ่จะไม่พบสระเอือะ เอือ แต่จะใช้สระเอียะ เอียแทน(มีเสียงเอือะ และเอือเพียงแต่คนต่างถิ่นฟังไม่ออกเอง เนื่องจากเสียงที่ออกมาจะเป๊นเสียงนาสิกใกล้เคียงกับเอียะ เอีย)

คนในจังหวัดลำพูนมักจะพูดสำเนียงเมืองยอง เพราะชาวลำพูนจำนวนมากสืบเชื้อสายมาจากชาวยองในรัฐฉาน จึงมีสำเนียงที่เป็นเอกลักษณ์

คำเมืองมีไวยากรณ์เหมือนกับภาษาไทยกลางแต่ใช้คำศัพท์ไม่เหมือนกัน แต่เดิมได้ใช้ คู่กับ ตัวเมือง ซึ่งเป็นตัวอักษรของอาณาจักรล้านนาที่อักษรมอญใช้เป็นต้นแบบ

เนื้อหา

[แก้] ระบบเสียง

[แก้] ระบบเสียงพยัญชนะ

ริมฝีปาก ริมฝีปากกับฟัน ฟัน-ปุ่มเหงือก เพดานแข็ง เพดานอ่อน เส้นเสียง
ระเบิด p,p',b t,t',d k,k' ʔ
กึ่งเสียดแทรก c
เสียดแทรก f s h
นาสิก m n ɲ ŋ
เปิดข้างลิ้น l
กึ่งสระ w j

[แก้] ระบบเสียงสระ

[แก้] สระเดี่ยว

อะ อา อิ อี อึ อือ อุ อู เอะ เอ แอะ แอ โอะ โอ เอาะ ออ เออะ เออ

[แก้] สระประสม

อัวะ อัว เอียะ เอีย เอือะ เอือ

เสียงสระเอือะ,เอือ จะไม่พบในบางท้องถิ่น คือในถิ่นล้านนาตะวันออก ได้แก่ จังหวัดแพร่ น่าน พะเยา ลำปาง โดยจะออกเสียงเป็นสระเอียะ,เอีย เช่น คำเมือง เป็น กำเมียง(มีเสียงเอือะ และเอือเพียงแต่คนต่างถิ่นฟังไม่ออกเอง เนื่องจากเสียงที่ออกมาจะเป๊นเสียงนาสิกใกล้เคียงกับเอียะ เอีย)

นอกจากนี้ยังมีสำเนียงแบบเมืองยองซึ่งพูดกันมากในจังหวัดลำพูน โดยจะไม่มีสระประสม สระอัว กลายเป็น โอ สระเอีย กลายเป็น เอ และสระเอือ กลายเป็น เออ เช่น เมือง เป็น เมิง, เกลือ เป็น เก๋อ, สวย เป็น โสย, หมี่เกี๊ยว เป็น หมี่เก๊ว เป็นต้น

[แก้] ระบบเสียงวรรณยุกต์

เสียงวรรณยุกต์บางที่มีถึง 9 เสียง ได้แก่

  • เสียงสามัญ
  • เสียงเอกต่ำ หรือเสียงเอกขุ่น
  • เสียงเอกสูง หรือเสียงเอกใส
  • เสียงโทต่ำ หรือเสียงโทขุ่น
  • เสียงโทพิเศษ
  • เสียงโทสูง หรือเสียงโทใส
  • เสียงตรีต่ำ หรือเสียงตรีขุ่น
  • เสียงตรีสูง หรือเสียงตรีใส
  • เสียงจัตวา

[แก้] ตัวอย่างคำศัพท์

ใช้ = จ้าย

อร่อย = ลำ

มาก = นักขนาด

ค่ะ = เจ้า

เชียงราย = เจียงฮาย

รัก = ฮัก

ฉันหรือเขา = เปิ้น

เธอ = ตั๋ว

รู้ = ฮู้

ยี่สิบ = ซาว

ไม่ = บ่

กลับบ้าน = ปิ๊กบ้านปิ๊กจอง, เมียบ้าน

เที่ยว = แอ่ว

เด็กๆ = หมู่ละอ่อน หรือ ละอ่อน

ตลาด = กาด

จริง = แต้ หรือ แท้

ปู่ ย่า ตา ยาย = อุ๊ย

พูด = อู้

ลื่นไถล = ผะเลิ่ด

[แก้] คำควบกล้ำ

ไม่ปรากฏคำควบกล้ำใดๆทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นเสียง ร ล ว อนึ่งเสียงรัวลิ้น "ร" และเสียงไม่รัวลิ้น "ล" ถือว่าไม่ต่างกัน ซึ่งบางครั้งเสียง "ล" จะกลายเป็นเสียง "ร" ก็ไม่ถือว่าต่างกันแต่อย่างใด

[แก้] ข้อสังเกต

ศัพท์ในคำเมืองบางคำคล้ายภาษาไทยกลาง เพียงแต่เปลี่ยนเสียงพยัญชนะ เช่น จาก "ท" เปลี่ยนเป็น "ต" (เช่น "ทาง" เป็น "ตาง"), "ร" เป็น "ฮ" (เช่น "รัก" เป็น "ฮัก"), "ช" เป็น "จ" (เช่น "ช้อน" เป็น "จ๊อน"), "พ" เป็น "ป" (เช่น "แพง" เป็น "แปง"), "ค" เป็น "ก" (เช่น "คำ" เป็น "กำ") เป็นต้น โดยมักจะคงเสียงวรรณยุกต์เดิม (เช่น "ใช้" เป็น "ใจ๊") แต่บางคำเมื่อเทียบกับคำในภาษากลางที่มีเสียงสามัญจะเปลี่ยนเป็นเสียงจัตวาในคำเมือง (เช่น "ตัว" เป็น "ตั๋ว", "ใจ" เป็น "ใจ๋")

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้] อ้างอิง

  • พจนี ศิริอักษรสาสน์. ภาษาถิ่นของไทย. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2545. ISBN 974-593-984-6