ตระกูลของภาษา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

(เปลี่ยนทางมาจาก ตระกูลภาษา)
ตระกูลภาษาต่างๆทั่วโลก

ภาษาส่วนใหญ่สามารถจะจำแนกให้อยู่ในตระกูลของภาษา (ซึ่งจะเรียกว่า "กลุ่มภาษา" ในบทความนี้) กลุ่มภาษาที่มีการจัดกลุ่มอย่างชัดเจน จะเป็นหน่วยทางวิวัฒนาการ กล่าวคือ ทุกสมาชิกจะสืบทอดมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน ส่วนใหญ่แล้ว ภาษาบรรพบุรุษมักจะไม่เป็นที่รู้จักโดยตรง เนื่องจากภาษาส่วนใหญ่จะมีประวัติของการเขียนสั้นมาก อย่างไรก็ดี เป็นไปได้ที่จะค้นพบคุณสมบัติต่าง ๆ ของภาษาบรรพบุรุษโดยใช้วิธีการเปรียบเทียบ (comparative method) -- เป็นวิธีการสร้างใหม่ที่คิดโดย นักภาษาศาตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ชื่อ เอากุสต์ ชไลเกอร์ ซึ่งสามารถแสดงถึงสถานภาพของกลุ่มภาษาของกลุ่มจำนวนมากที่จะได้กล่าวถึงต่อไป

ตระกูลของภาษาสามารถแบ่งย่อยเป็นหน่วยที่เล็กลงไปอีก ซึ่งมักจะเรียกหน่วยย่อยว่า "สาขา" (เนื่องจากประวัติของกลุ่มภาษามักจะเขียนเป็นแผนผังต้นไม้)

บรรพบุรุษของกลุ่มภาษา (หรือสาขาของภาษา) เรียกว่า "protolanguage" เช่น protolanguage ของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนที่สร้างใหม่เรียกว่า โปรโต-อินโด-ยูโรเปียน (Proto-Indo-European, ไม่เป็นที่รู้จักจากการเขียน เนื่องจากพูดกันในสมัยที่ก่อนจะมีการประดิษฐ์การเขียนขึ้น) ในบางกรณี สามารถจะระบุ protolanguage ได้เป็นภาษาที่รู้จักในสมัยประวัติศาสตร์ ด้วยเหตุนี้ ภาษาย่อยตามมณฑลชนบทต่าง ๆ ของภาษาละติน ("Vulgar Latin") ทำให้เกิดตระกูลภาษาโรมานซ์ปัจจุบัน ฉะนั้น ภาษาโปรโต-โรมานซ์จะค่อนข้างเหมือนกับภาษาละติน (ถ้าไม่ใช่ภาษาละตินที่นักเขียนคลาสสิกใช้เขียน) และภาษาย่อยของภาษานอร์สโบราณ (Old Norse) เป็น protolanguage ของภาษานอร์เวย์, ภาษาสวีเดน, ภาษาเดนมาร์ก และภาษาไอซ์แลนด์

ภาษาที่ไม่สามารถจัดได้อย่างแน่นอนลงไปในกลุ่มภาษาใด ๆ เรียกว่า ภาษาโดดเดี่ยว (language isolate)

เนื้อหา

[แก้] ภาษาธรรมชาติ

[แก้] ตระกูลใหญ่ ๆ ของภาษา (จัดกลุ่มตามภูมิศาสตร์ โดยไม่คำนึงความสัมพันธ์ระหว่างตระกูล)

ในรายชื่อดังต่อไปนี้ ชื่อที่มี "เครื่องหมาย" ข้างหน้า เป็นกลุ่มภาษาที่รู้จัก หัวข้อทางภูมิศาสตร์ข้างบนใช้สำหรับการจัดกลุ่มต่าง ๆ ให้อยู่ในกลุ่มที่สามารถเข้าใจง่ายกว่ารายชื่อของกลุ่มภาษาที่เป็นอิสระกันที่ไม่มีโครงสร้าง อย่างเดียวความสัมพันธ์ทางภูมิศาสตร์ สะดวกสำหรับการทำเช่นนี้ อย่างไรก็ดี หัวข้อเหล่านี้ไม่เป็นการแนะนำเกี่ยวกับการจัดตระกูลใหญ่ ("super-families") จากกลุ่มที่ได้กล่าวไว้

[แก้] กลุ่มภาษาในแอฟริกาและเอเชียตะวันตกเฉียงใต้

[แก้] กลุ่มภาษาในยุโรป และ เอเชียเหนือ ตะวันตก และใต้

[แก้] กลุ่มภาษาในเอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแถบแปซิฟิก

[แก้] กลุ่มภาษาในทวีปอเมริกา

บทความหลัก: ภาษาอเมริกันพื้นเมือง

[แก้] กลุ่มภาษา super-families ที่เสนอมา

[แก้] ภาษาจำพวกคริโอล ภาษาจำพวกพิดจิน และภาษาสำหรับการค้า

[แก้] ภาษาโดดเดี่ยว: Isolate Languages

[แก้] ภาษามือ

[แก้] ภาษาธรรมชาติอื่น ๆ ที่มีความน่าสนใจเป็นพิเศษ

[แก้] ภาษาที่นอกเหนือจากภาษาธรรมชาติ

นอกจากภาษาที่ได้กล่าวไว้ข้างบน ซึ่งเกิดมาจากความสามารถในการพูดสื่อสารกันได้แล้ว ยังมีภาษาอื่น ๆ ที่มีคุณสมบัติที่สำคัญของภาษาเหล่านั้นด้วย

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น