ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แผนที่แสดงการแพร่กระจายของภาษากลุ่มจีน-ทิเบต (สีแดง)

ตระกูลภาษาจีน – ทิเบต เป็นตระกูลของภาษาที่รวมภาษาจีนและภาษากลุ่มทิเบต-พม่า มีสมาชิกทั้งสิ้น 250 ภาษา ส่วนใหญ่เป็นภาษาในเอเชียตะวันออกมีจำนวนผู้พูดเป็นอันดับสองของโลกรองจากภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปียน ภาษาในตระกูลนี้มีลักษณะร่วมกันคือมีเสียงวรรณยุกต์

เนื้อหา

[แก้] การจัดจำแนก

[แก้] การจัดจำแนกของ James Matisoff

[แก้] การจัดจำแนกของ George van Driem

การจัดแบ่งแบบนี้ให้ภาษากลุ่มทิเบต-พม่าขึ้นมาเป็นตระกูลใหญ่ และให้ภาษาจีนเป็นกลุ่มย่อย เป็นดังนี้

  • พราหมาปูตรัน ได้แก่ ภาษาธิมิล ภาษาโบโด-กอซ (รวมภาษาตรีปุระ ภาษากาโร) กลุ่มกอนยัค (รวมภาษานอคต์) กลุ่มกะฉิ่น (รวมภาษาจิ่งโป)
  • กลุ่มทิเบต-พม่าใต้ ได้แก่กลุ่มพม่า-โลโล กลุมกะเหรี่ยง
  • กลุ่มจีน-ทิเบต ได้แก่ ภาษาจีน ภาษากลุ่มทิเบต-หิมาลัย (รวมภาษาทิเบต) ภาษากลุ่มกิรันตี ภาษากลุ่มตามันกิก และอื่นๆ
  • ภาษากลุ่มอื่นๆที่เป็นกลุ่มหลักของภาษากลุ่มทิเบต-พม่าเดิม เช่น ภาษาเนวารี ภาษาเกวียง ภาษานุง ภาษามาคัร

การจัดแบ่งแบบนี้เรียกสมมติฐานจีน-ทิเบต โดยถือว่าภาษาจีนและภาษาทิเบตมีความใกล้เคียงกัน

[แก้] สมมติฐานจีน-ทิเบต

เหตุผลที่จัดภาษาจีนเข้าเป็นกลุ่มย่อยของภาษากลุ่มทิเบต-พม่า เพราะมีความสัมพันธ์กันระหว่างภาษาจีนกับภาษาทิเบต เช่นลักษณะคู่ขนานระหว่างภาษาจีนโบราณกับภาษาทิเบตสมัยใหม่ และมีรากศัพท์ที่คล้ายคลึงกัน อย่างไรก็ตามสมมติฐานนี้มีข้อโต้แย้งคือ ความชัดเจนของรากศัพท์ที่คล้ายคลึงกันระหว่างภาษาจีนกับภาษากลุ่มทิเบตยังไม่ชัดเจนพอ และจากการสร้างภาษาทิเบต-พม่าดั้งเดิมโดยใช้ข้อมูลจากวรรณคดีภาษาทิเบตและพม่า และข้อมูลจากภาษาจิ่งโปและภาษาไมโซ พบว่าภาษาจีนมีลักษณะที่จะเป็นภาษาลุกหลานของภาษาทิเบต-พม่าดั้งเดิมน้อย สมมติฐานนี้จึงยังไม่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย