ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เขตการแพร่กระจายของภาษากลุ่มออสโตรเอเชียติก

ภาษากลุ่มออสโตร-เอเชียติก (อังกฤษ: Austro-Asiatic languages) เป็นภาษากลุ่มใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และบางส่วนในอินเดียและบังกลาเทศ ชื่อนี้มาจากคำในภาษาละตินที่แปลว่า “ใต้” และชื่อทวีปเอเชียในภาษากรีก ดังนั้นชื่อของภาษาตระกูลนี้จึงหมายถึงเอเชียใต้ ในบรรดาภาษากลุ่มนี้ทั้งหมด ภาษาเวียดนาม ภาษาเขมร และภาษามอญเป็นภาษาที่มีบันทึกทางประวัติศาสตร์ยาวนาน และเฉพาะภาษาเวียดนาม กับภาษาเขมรเท่านั้นที่เป็นภาษาทางการ ภาษาที่เหลือมักเป็นภาษาที่พูดโดยชนกลุ่มน้อย

ภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติกมีการแพร่กระจายตั้งแต่อินเดีย บังกลาเทศ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แยกจากกันด้วยบริเวณที่มีผู้พูดภาษาตระกูลอื่นอยู่ จึงเชื่อกันว่าภาษาตระกูลนี้เป็นภาษาดั้งเดิมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดียตะวันออก ส่วนภาษากลุ่มอื่นในบริเวณนี้ได้แก่ตระกูลอินโด-ยุโรเปียน ไท-กะได ดราวิเดียนและจีน-ทิเบตเป็นผลจากการอพยพเข้ามา มีตัวอย่างคำในภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติกอยู่ในภาษากลุ่มทิเบต-พม่าในเนปาลตะวันออก นักภาษาศาสตร์บางคนเชื่อว่า ภาษานี้เกี่ยวข้องกับตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนและจัดเป็นตระกูลใหญ่ออสตริก

เนื้อหา

[แก้] การจัดจำแนก

นักภาษาศาสตร์โดยทั่วไปจัดภาษานี้เป็นสองกลุ่มใหญ่คือภาษากลุ่มมุนดาที่พบในอินเดียตะวันออกและอินเดียกลางกับบางส่วนของบังกลาเทศและภาษากลุ่มมอญ-เขมร ที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดียตะวันออกเฉียงเหนือและหมู่เกาะนิโคบาร์ จากภาษาในตระกูลนี้ทั้งหมด 168 ภาษา อยุ่ในกลุ่มมอญ-เขมร 147 ภาษาและอยู่ในกลุ่มมุนดา 21 ภาษา การแบ่งย่อยลงไปอีกมีความแตกต่างกันดังนี้

[แก้] Grérard Diffloth (1974)

เป็นการจัดแบ่งที่มีผู้นำไปอ้างอิงมากที่สุด แต่ภาษาที่ยังไม่พบในขณะนั้นไม่ได้รวมไว้ด้วย

[แก้] Ilia Peiros (2004)

เป็นการแบ่งโดยใช้ข้อมูลจากการใช้คำศัพท์ร่วมกัน

  • นิโคบาร์
  • มุนดา-เขมร
    • มุนดา
    • มอญ-เขมร
      • ภาษากาสี
      • มอญ-เขมรศูนย์กลาง
        • ม้ง (ม้งและปยู)
        • เวียตติก
        • มอญ-เขมรเหนือ ประกอบด้วยกลุ่มปะหล่องและขมุ
        • มอญ-เขมรกลาง
          • ภาษาเขมรสำเนียงต่างๆ
          • เปียริก
          • อัสลี-บะห์นาริก
            • อัสเลียน
            • มอญ-บะห์นาริก
              • มอญ
              • กะตู-บะห์นาริก
                • กะตู
                • บะห์นาริก

[แก้] Grérard Diffloth (2005)

  • มุนดา
    • กลุ่มโกวาปุต
    • กลุ่มมุนดาแกนกลาง
    • กลุ่มคาเรีย-จวา 2 ภาษา
    • กลุ่มมุนดาเหนือ
      • กลุ่มกอร์กู, กลุ่มคาวาเรีย 12 ภาษา
  • กลุ่มกาสี-เขมร
    • กลุ่มกาสี 3 ภาษาในอินเดียและบังกลาเทศ
    • กลุ่มปะหล่อง-ขมุ
      • กลุ่มขมุ มี 13 ภาษาในลาวและไทย
      • กลุ่มปะหล่อง-ปะกัน
        • กลุ่มปะกันหรือปยู มี 2 ภาษาในจีนตอนใต้
        • กลุ่มปะหล่อง มี 21 ภาษาในพม่า จีนตอนใต้และไทย รวมภาษาม้งในเวียดนาม
  • กลุ่มมอญ-เขมรศูนย์กลาง
    • กลุ่มเขมร-เวียตติก
      • กลุ่มเวียต-กะตู
        • กลุ่มเวียตติก มี 10 ภาษาในเวียดนามและลาวรวทั้งภาษาเวียดนามซึ่งเป็นภาษาเดียวในตระกูลออสโตรเอเชียติกที่มีเสียงวรรณยุกต์
        • กลุ่มกะตู มี 19 ภาษาในลาว เวียดนามและไทย
      • กลุ่มเขมร-บะห์นาริก
        • กลุ่มบะห์นาริก มี 40 ภาษาในเวียดนาม ลาว และกัมพูชา
        • กลุ่มเขมร ซึ่งได้แก่ภาษาเขมรสำเนียงต่างๆ ในไทย กัมพูชา เวียดนามและกลุ่มเปียริกที่มี 6 ภาษาในกัมพูชา
  • กลุ่มนิโคบาร์-มอญ
    • กลุ่มนิโคบาร์ มี 6 ภาษาในหมุ่เกาะนิโคบาร์
    • กลุ่มอัสลี-มอญ
      • กลุ่มอัสเลียน มี 19 ภาษาในไทยและมาเลเซีย
      • กลุ่มมอญ มี 2 ภาษาคือภาษามอญในพม่าและภาษาญัฮกุ้รในไทย

และยังมีอีกหลายภาษาที่ยังจัดแบ่งไม่ได้ในจีนตอนใต้



Linguistics stub.svg ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก เป็นบทความเกี่ยวกับ ภาษา หรือ ตัวอักษร ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ภาษา