ภาษาบาลี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บาลี
Pāli - ปาลิ 
เสียงอ่าน: paːli
พูดใน: อินเดีย พม่า ศรีลังกา
การสูญหาย: ไม่มีผู้ใช้ในชีวิตประจำวัน แต่มีการใช้ในวรรณกรรมและการศึกษา
ตระกูลภาษา: อินโด-ยูโรเปียน
 อินโด-อิเรเนียน
  อินโด-อารยัน
   บาลี 
ระบบการเขียน: ไม่มีอักษรเฉพาะแน่ชัด แต่มีบันทึกใน อักษรพราหมี อักษรเทวนาครี รวมถึง อักษรล้านนา อักษรขอม อักษรไทย อักษรมอญ อักษรโรมัน
รหัสภาษา
ISO 639-1: pi
ISO 639-2: pli
ISO 639-3: pli
Indic script
บทความนี้มีอักษรในตระกูลอักษรพราหมีปรากฏอยู่ คุณอาจเห็นสัญลักษณ์อื่นแทนตัวอักษร หรือมองเห็นสระวางผิดตำแหน่ง หากคอมพิวเตอร์ของคุณไม่สามารถแสดงผลได้อย่างถูกต้อง
สารานุกรมภาษา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมภาษา

ภาษาบาลี (บาลี: ปาลิ; สันสกฤต: पाऴि) เป็นภาษาที่เก่าแก่ภาษาหนึ่ง ในตระกูลอินเดีย-ยุโรป (อินโด-ยูโรเปียน) ในสาขาย่อย อินเดีย-อิหร่าน (อินโด-อิเรเนียน) ซึ่งจัดเป็นภาษาปรากฤตภาษาหนึ่ง เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเป็นภาษาที่ใช้บันทึกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท (มี พระไตรปิฎก เป็นต้น) โดยมีลักษณะทางไวยากรณ์ และคำศัพท์ที่คล้ายคลึงกับภาษาสันสกฤต ไม่มีอักษรชนิดใดสำหรับใช้เขียนภาษาบาลีโดยเฉพาะ มีหลักฐานจารึกภาษาบาลีด้วยอักษรต่าง ๆ มากมายในตระกูลอักษรอินเดีย เช่น อักษรพราหมี อักษรเทวนาครี จนถึง อักษรล้านนา อักษรขอม อักษรไทย อักษรมอญ แม้กระทั่งอักษรโรมัน (โดยมีการเพิ่มเครื่องหมายเล็กน้อย) ก็สามารถใช้เขียนภาษาบาลีได้

อนึ่ง บางตำราสะกด “บาลี” ว่า “ปาฬิ” หรือ “ปาฬี” ก็มี

เนื้อหา

[แก้] สถานภาพ

ร้อยกรอง และงานประพันธ์อื่น ๆ แม้กระทั่งการพูดเพื่อสื่อสารระหว่างผู้รู้ภาษาบาลีด้วยกัน (เช่น การประชุมนานาชาติ)

[แก้] กำเนิดและพัฒนาการ

ชื่อเรียกภาษานี้ คือ ปาลิ (อักษรโรมัน : Pāli) นั้น ไม่ปรากฏที่มาที่ชัดเจน และเป็นที่ถกเถียงเรื่อยมาโดยไม่มีข้อสรุป สำหรับชาวพุทธโดยทั่วไปเชื่อว่า ภาษาบาลีมีกำเนิดจากแคว้นมคธ ในชมพูทวีป และเรียกว่าภาษามคธ หรือภาษามาคธี หรือมาคธิกโวหาร ซึ่ง "มาคธิกโวหาร" พระพุทธโฆสาจารย์พระอรรถกถาจารย์นามอุโฆษมีชีวิตอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 10 อธิบายว่าเป็น "สกานิรุตติ" คือภาษาที่พระพุทธเจ้าตรัส[1]

นักภาษาศาสตร์บางท่านมีความเห็นว่าภาษาบาลีเป็นภาษาทางภาคตะวันตกของอินเดีย นักวิชาการชาวเยอรมันสมัยปัจจุบันซึ่งเป็นนักสันสกฤตคือศาสตราจารย์ไมเคิล วิตเซลแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา ถือว่าภาษาบาลีเป็นภาษาทางภาคตะวันตกของอินเดีย และเป็นคนละภาษากับภาษาจารึกของ พระเจ้าอโศกมหาราช

ภาษาบาลีมีพัฒนาการที่ยาวนาน มีการใช้ภาษาบาลีเพื่อบันทึกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา (เถรวาท) เป็นจำนวนมาก วิลเฮล์ม ไกเกอร์ (Wilhem Geiger) นักปราชญ์บาลีชาวเยอรมัน ได้เขียนหนังสือที่มีชื่อเสียงในสมัยศตวรรษที่ 19 คือ Pali Literatur und Sprache โดยวางทฤษฎีที่คนไทยรู้จักกันดีว่าภาษาบาลีในพระไตรปิฎกนั้นสามารถแบ่งวิวัฒนาการการแต่งได้ 4 ยุค ตามรูปลักษณะของภาษาที่ใช้ดังนี้:

  • ยุคคาถา หรือยุคร้อยกรอง มีลักษณะการใช้คำที่ยังเกี่ยวพันกับภาษาไวทิกะซึ่งใช้บันทึกคัมภีร์พระเวทอยู่มาก
  • ยุคร้อยแก้ว มีรูปแบบที่เป็นภาษาอินโดอารยันสมัยกลาง แตกต่างจากสันสกฤตแบบพระเวทอย่างเด่นชัด ภาษาในพระไตรปิฎกเขียนในยุคนี้
  • ยุคร้อยกรองระยะหลัง เป็นช่วงเวลาหลังพระไตรปิฎก ปรากฏในคัมภีร์ย่อย เช่น มิลินปัญหา วิสุทธิมรรค เป็นต้น
  • ยุคร้อยกรองประดิษฐ์ เป็นการผสมผสาน ระหว่างภาษายุคเก่า และแบบใหม่ กล่าวคือคนแต่งสร้างคำบาลีใหม่ ๆ ขึ้นใช้เพราะให้ดูสวยงาม

บางทีก็เป็นคำสมาสยาว ๆ ซึ่งไม่ปรากฏในพระไตรปิฎก แสดงให้เห็นชัดเจนว่าแต่งขึ้นหลังจากที่มีการเขียนคัมภีร์แพร่หลายแล้ว

ปัจจุบันมีการศึกษาภาษาบาลีอย่างกว้างขวางในประเทศที่นับถือพุทธศาสนาเถรวาท เช่น ศรีลังกา พม่า ไทย ลาว กัมพูชา และอินเดีย แม้กระทั่งในอังกฤษ ก็มีผู้สนใจศึกษาพระพุทธศาสนาได้พากันจัดตั้ง สมาคมบาลีปกรณ์ (Pali Text Society) ขึ้นในกรุงลอนดอนของประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2424 เพื่อศึกษาภาษาบาลีและวรรณคดีภาษาบาลี รวมถึงการแปลและเผยแพร่ ปัจจุบันนั้น สมาคมบาลีปกรณ์ดังกล่าวนี้มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ตำบลเฮดดิงตัน ในเมืองอ๊อกซฟอร์ดของสหราชอาณาจักร

เฉพาะในประเทศไทยนั้น มีการศึกษาภาษาบาลีในวัดมาช้านาน และยังมีเปิดสอนในลักษณะหลักสูตรเร่งรัดที่มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งกล่าวคือมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยเฉพาะที่มหามกุฏราชวิทยาลัยนั้น ได้ดำเนินการเรียนการสอนภาษาบาลี ให้บรรดาแม่ชี ซึ่งแบ่งเป็น ๙ ชั้นเรียกว่า บ.ศ. 1-9 มาเป็นเวลาช้านาน และปัจจุบันนี้ ก็มีแม่ชีสำเร็จการศึกษาเปรียญ ๙ ตามระบบนี้เพิ่มจำนวน มากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย

[แก้] หน่วยเสียงในภาษาบาลี

หน่วยภาษาบาลี แบ่งเป็นหน่วยเสียงสระ และหน่วยเสียงพยัญชนะ ดังนี้

  • หน่วยเสียงสระ มีด้วยกัน 8 ตัว หรือ 8 หน่วยเสียง ได้แก่ อะ อา อิ อี เอ อุ อู โอ
  • หน่วยเสียงพยัญชนะ มีด้วยกัน 33 ตัว หรือ 33 หน่วยเสียง (ในภาษาสันสกฤต มี 35 หน่วยเสียง) โดยแบ่งเป็นพยัญชนะวรรค 25 ตัว และพยัญชนะอวรรค 8 ตัว
ตารางแสดงหน่วยเสียงในภาษาบาลี ตามแหล่งเสียง (วรรค) เขียนด้วยอักษรไทยและอักษรโรมัน
วรรค สระ อโฆษะ (ไม่ก้อง) โฆษะ (ก้อง) นาสิก
รัสสระ (สั้น) ทีฆสระ (ยาว) สิถิล (เบา) ธนิต (หนัก) สิถิล (เบา) ธนิต (หนัก)
กัณฐชะ อะ a อา ā กฺ k ขฺ kh คฺ g ฆฺ gh งฺ ng
ตาลุชะ อิ i อี ī, เอ e จฺ c ฉฺ ch ชฺ j ฌฺ jh ญฺ ñ
มุทธชะ - - ฏฺ ṭh ฑฺ ฒฺ ḍh ณฺ
ทันตชะ - - ตฺ t ถฺ th ทฺ d ธฺ dh นฺ n
โอฏฐชะ อุ u อู ū, โอ o ปฺ p ผฺ ph พฺ b ภฺ bh มฺ m

อวรรค (เศษวรรค) ได้แก่ ยฺ (y) รฺ (r) ลฺ (l) วฺ (v) สฺ (s) หฺ (h) ฬฺ (l) อํ (mฺ)

[แก้] บาลีกับอักษรโรมัน

อักษรโรมัน (Roman alphabet) ที่ใช้เขียนภาษาละติน เป็นอักษรที่ชาวโรมันใช้เขียนภาษาละตินตั้งแต่ศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล อักษรโรมันที่ใช้เขียนภาษาละตินได้วิวัฒนาการมาจากอักษร อีทรัสกัน (Etruscan script) และอักษรกรีก (มีใช้ตั้งแต่ศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสตกาล) ซึ่งมีรากฐานมาจากอักษรฟีนิเซียน (มีใช้ตั้งแต่ศตวรรษที่ 14 ก่อนคริสตกาล) อักษรโรมันจึงนับว่าเป็นอักษรเก่าแก่และเป็นสากล ด้วยเหตุที่อักษรนี้ใช้ในระบบการเขียนแทนเสียงพูดอย่างกว้างขวางที่สุดในโลกปัจจุบัน

นอกจากนี้อักษรโรมันยังถูกนำมาปรับใช้ในการเขียนภาษาต่าง ๆ ที่แยกออกมาจากภาษาละตินอีกด้วย คือ ภาษากลุ่มโรมานซ์ ซึ่งรวมภาษาฝรั่งเศส สเปน โปรตุเกส อิตาเลียน และยังขยายออกไปใช้กับภาษากลุ่มเยอรมันนิก ซึ่งรวมภาษาเยอรมัน อังกฤษ สวีเดน กลุ่มเคลติก และกลุ่มสลาวิกบางภาษา ในสมัยการแสวงหาอาณานิคมและเผยแพร่ศาสนาคริสต์ อักษรโรมันก็ถูกนำมาใช้เขียนภาษาพื้นเมืองในอเมริกา ภาษาพื้นเมืองในออสเตรเลีย และภาษาเอเชียตะวันออก เช่น ภาษามาเลย์ ภาษาบาฮาซาอินโดนีเซีย ภาษาเวียดนาม เป็นต้น เพื่อให้สามารถเขียนและอ่านภาษานั้น ๆ ได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังใช้ในภาษาจีน และภาษาอื่น ๆ อีกมากมาย

จะเห็นได้ว่าเสียงพูดในภาษากับตัวอักษร (alphabet) ในระบบการเขียน (script) เป็นคนละเรื่องกันแต่เกี่ยวข้องกัน ในระบบการเขียนส่วนใหญ่เราใช้อักษรแทนเสียงพูด

การที่บาลีไม่มีระบบการเขียนของตนเอง การเผยแผ่พระไตรปิฎกบาลีจะใช้อักษรในระบบการเขียนของภาษาต่าง ๆ บันทึกเนื้อหาสาระหรือข้อความที่เป็นบาลี รวมทั้งคัมภีร์พระไตรปิฎกบาลีด้วย เราจึงมีพระพุทธพจน์หรือคำทรงสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และคัมภีร์พระไตรปิฎกบาลี ซึ่งบันทึกด้วยอักษรในระบบการเขียนของภาษาต่าง ๆ เช่น อักษรธรรมล้านนาในภาษาล้านนา อักษรไทยในภาษาไทย อักษรมอญในภาษาพม่า อักษรลาวในภาษาลาว อักษรเขมรในภาษาเขมร ด้วยเหตุนี้เมื่อพุทธศาสนาเผยแผ่เข้าไปในยุโรปก็ได้ใช้อักษรโรมันบันทึกบาลีด้วย

อักษรโรมันมีความเป็นสากล เพราะเป็นอักษรที่ชาวโลกรู้จักกันอย่างแพร่หลาย เห็นได้จากเมื่อมีการพิมพ์พระไตรปิฎกบาลีเป็นอักษรสยามในสมัยรัชกาลที่ 5 ก็ได้เทียบอักษรสยามกับอักษรโรมัน ด้วย เพราะในสมัยนั้นได้มีการเขียนบาลีเป็นอักษรโรมันแล้ว

[แก้] บาลีกับสัทอักษรสากล

การใช้อักษรโรมันเพื่อจัดพิมพ์เสียงบาลีในพระไตรปิฎกบาลีทำให้เกิดความสะดวกและประสิทธิภาพในการพิมพ์พระไตรปิฎกในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นความพยายามในยุคแรก ๆ ของการศึกษาเสียงบาลีที่พิมพ์ด้วยอักษรโรมัน มิใช่เป็นการถ่ายทอดวัฒนธรรมการออกเสียงของชาติต่าง ๆ ในทวีปยุโรปที่ใช้อักษรโรมันในภาษาของตน เช่น การเขียนบาลีเป็นอักษรโรมันว่า me เป็นเสียงสระบาลีว่า <เม> [meː] มิใช่ออกเสียงว่า <มี> [miː] ในภาษาอังกฤษ เป็นต้น ดังนั้นเพื่อความชัดเจนยิ่งขึ้นในการออกเสียงบาลีที่เขียนด้วยอักษรโรมันในพระไตรปิฎก จึงมีความจำเป็นต้องใช้อักษรที่เป็นสากลและมีระบบการออกเสียงกลางที่นานาชาติยอมรับ ได้แก่ สัทอักษรสากล มากำกับการพิมพ์เสียงบาลีในพระไตรปิฎกบาลีอักษรโรมัน เพื่อให้ประชาชนชาวโลกทั่วไปสามารถออกเสียงบาลีได้ตรงกับที่สืบทอดมาในพระไตรปิฎก

สัทอักษรสากลเป็นชุดตัวอักษรที่สมาคมสัทศาสตร์สากลกำหนดขึ้นเพื่อให้เป็นระบบสากลสำหรับใช้ในการบันทึกเสียงพูดในภาษาต่าง ๆ และเพื่อให้ทราบว่าเสียงแต่ละเสียงนั้นมีการออกเสียงอย่างไร ใช้อวัยวะส่วนไหนในการออกเสียง ซึ่งผู้ที่จะใช้สัทอักษรเป็นเครื่องแสดงการออกเสียงก็จะต้องศึกษาและทำความเข้าใจล่วงหน้าร่วมกันก่อนว่า สัทอักษรแต่ละรูปนั้นอธิบายถึงลักษณะการออกเสียงอย่างไร สัทอักษรสากลสำหรับพยัญชนะใช้อักษรโรมันเป็นหลัก และมีการใช้อักษรกรีกบ้าง ส่วนสัทอักษรสากลสำหรับสระใช้อักษรแทนสระมาตรฐานของ แดเนียล โจนส์ (Daniel Jones) เป็นเกณฑ์ นอกจากนั้นยังมีเครื่องหมายเสริมสัทอักษรอื่น ๆ และเครื่องหมายแสดงสัทลักษณ์อื่น ๆ เช่น ความยาว เสียงมีลม (ธนิต) เสียงลักษณะนาสิก เสียงเกิดที่ฟัน เสียงพยัญชนะควบกล้ำ เป็นต้น

[แก้] ระบบการออกเสียงบาลี: ฐานกรณ์

ฐานกรณ์ คือ คำซึ่งใช้เรียกอวัยวะต่าง ๆ ในช่องปากที่ใช้ในการออกเสียง ฐานกรณ์ประกอบด้วย ฐานและกรณ์

ฐาน หมายถึง ตำแหน่งที่เกิดของเสียงซึ่งจะเป็นตำแหน่งในช่องปากที่ไม่เคลื่อนที่ในการออกเสียง ได้แก่ ริมฝีปากบน ฟันบน แนวปุ่มเหงือก หลังปุ่มเหงือก หน้าเพดานแข็ง เพดานแข็ง เพดานอ่อน ลิ้นไก่ และผนังคอ

กรณ์ หมายถึงอวัยวะต่าง ๆ ในช่องทางเดินเสียง ซึ่งเคลื่อนไปประชิดหรือใกล้กับฐานในการออกเสียง ได้แก่ ริมฝีปากล่าง ปลายลิ้น ส่วนปลายลิ้น หน้าลิ้น หลังลิ้น กลางลิ้น และโคนลิ้น

ในการออกเสียงต้องใช้อวัยวะที่เป็นฐานและกรณ์คู่กันเสมอ การใช้ฐานกรณ์ต่างกันเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เกิดเสียงแตกต่างกันไป

ดังนั้นจากหลักการออกเสียงบาลีของฐานและกรณ์เบื้องต้น ในบทความนี้จะกล่าวถึงประเด็นสำคัญของบาลีในเชิงสัททศาสตร์ประการต่าง ๆ ต่อไปดังนี้

ระบบการออกเสียงบาลี : สระและพยัญชนะ โดยการนำเสนอระบบเสียงที่สืบทอดมา ในคัมภีร์บริวารพระไตรปิฎกในพระพุทธศาสนาเถรวาท ได้แก่ สัททาวิเสส และสัทนีติสุตตมาลา โดยเปรียบเทียบ กับหลักการทางภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน

สัททอักษรสากลบาลี (International Phonetic Alphabet for Pāḷi : IPA Pāḷi) คือ การถ่ายถอดเสียงบาลีในพระไตรปิฎกที่บันทึกด้วยอักษรโรมัน โดยใช้สัททอักษรสากล (International Phonetic Alphabet : IPA)

การออกเสียงพิเศษของบาลี ได้แก่ การออกเสียงพยัญชนะควบกล้ำกับอัฒสระ และกับพยัญชนะอื่น ๆ บางเสียง โดยใช้เครื่องหมายพิเศษในการพิมพ์ ในการถ่ายถอดเสียงด้วยสัททอักษร สากล ได้ขอเสนอเพิ่มเครื่องหมาย [‿] เพื่อเชื่อมโยงเสียงให้ออกเสียงต่อเนื่องกันไป ซึ่งมีเสียงส่วนหนึ่งเป็นเสียงสะกดท้ายพยางค์แรกและต่อเนื่องไปเป็นเสียงอีกส่วนหนึ่งของพยางค์ถัดไป

ระบบการออกเสียงบาลี : สระและพยัญชนะ หัวข้อนี้นำเสนอระบบเสียงที่สืบทอดมาในคัมภีร์บริวารพระไตรปิฎกในพระพุทธศาสนาเถรวาท ได้แก่ สัททาวิเสส สัทนีติ เปรียบเทียบกับหลักการทางภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน

ระบบเสียงบาลีประกอบด้วยสระและพยัญชนะ คือ

[แก้] สระ

สระเป็นเสียงพูดประเภทหนึ่งใน 2 ประเภทใหญ่ ซึ่งได้แก่ สระ และพยัญชนะ ในทางสัททศาสตร์ สระหมายถึง เสียงที่เปล่งออกมาโดยทางลมเปิด ลมต้องผ่านออกกลางลิ้นเสมอ และขณะออกเสียง เส้นเสียงจะสั่น เสียงสระจึงมักเป็นเสียงก้อง ส่วนในทางสัททวิทยาหรือระบบเสียง สระหมายถึงหน่วยทางภาษาหรือหน่วยเสียง (phoneme) ซึ่งทำหน้าที่เป็นแกน (nucleus) ของพยางค์

ในการเปล่งเสียงสระ ตามปกติเพดานอ่อนยกสูงขึ้นติดผนังคอปิดกั้นมิให้ลมออกทางจมูก จึงเรียกสระเหล่านั้นว่าสระที่เปล่งเสียงในช่องปาก (oral sound) แต่ในบางครั้ง ขณะเปล่งเสียงสระเพดานอ่อนลดต่ำลง พร้อมกับการเปิดทางช่องปาก ลมจึงออกทั้งทางช่องปากและช่องจมูก จึงเรียกสระประเภทนี้ว่า สระลักษณะนาสิก (nasalised vowel)

ในการบรรยายวิธีการเปล่งเสียงสระ เราอาจจำแนกความแตกต่างได้ตามตำแหน่งลิ้นภายในช่องปากเป็นสำคัญ คือ สระที่เปล่งโดยลิ้นอยู่ในบริเวณส่วนหน้าของช่องปากเรียกว่า สระหน้า หากลิ้นอยู่ในบริเวณส่วนหลังของช่องปาก เรียกว่า สระหลัง ถ้าลิ้นอยู่ในบริเวณระหว่างส่วนหน้าและส่วนหลังของช่องปากเรียกว่า สระกลาง (central vowel) นอกจากนี้เราอาจจำแนกสระตามระดับของลิ้น คือ ลิ้นยกสูง ลิ้นลดต่ำ เป็นต้น ตลอดจนพิจารณาตามลักษณะของริมฝีปาก คือ ห่อหรือเหยียดมากน้อยเพียงใด

ในทางสัททวิทยา เมื่อบรรยายสระในภาษาต่าง ๆ อาจใช้คำว่าสระสูง (high vowel) หรือสระปิด (close vowel) เมื่อลิ้นยกสูง

ใช้คำว่าสระต่ำ (low vowel) หรือสระเปิด (open vowel) ในกรณีที่ลิ้นลดต่ำ และสระกลาง (mid vowel) หมายถึง สระลิ้นระดับกลาง

นอกจากนี้สระลักษณะนาสิก (nasalised vowel) อาจจัดกลุ่มเป็นสระนาสิก (nasal vowel) ได้ในลักษณะตรงข้ามกับสระที่เปล่งเสียงในช่องปาก (oral vowel)

[แก้] เสียงสระในบาลี

เสียงสระในบาลีจำแนกออกได้ตามตำแหน่งหน้า-หลังของลิ้น คือ สระหน้า สระกลาง หรือสระหลัง และตามระดับสูง-ต่ำของลิ้น คือ สระสูง สระกลาง หรือสระต่ำ ตลอดจนจำแนกออกตามลักษณะของริมฝีปาก คือ ห่อ หรือไม่ห่อ ได้ดังนี้

ตารางแสดงเสียงสระในบาลี

1. สระ อะ a [a], aṃ [ã] สระกลาง-ต่ำ เสียงสั้น ปากไม่ห่อ
2. สระ อา ā [aː] สระกลาง-ต่ำ เสียงยาว ปากไม่ห่อ
3. สระ อิ i [i], iṃ [ĩ] สระหน้า-สูง เสียงสั้น ปากไม่ห่อ
4. สระ อี ī [iː] สระหน้า-สูง เสียงยาว ปากไม่ห่อ
5. สระ อุ u [u] สระหลัง-สูง เสียงสั้น ปากห่อ
6. สระ อู ū [uː], uṃ [ũ] สระหลัง-สูง เสียงยาว ปากไม่ห่อ
7. สระ เอ e [eː] หรือ [eˑ] สระหน้า-กลาง เสียงยาวหรือเสียงกึ่งยาว ปากไม่ห่อ
8. สระ o i [oː] หรือ [oˑ] สระหลัง-กลาง เสียงยาวหรือเสียงกึ่งยาว ปากห่อ

ตารางแสดงเสียงสระในบาลี

หน้า
กลาง
หลัง
สูง
i
iṃ
ī
u
uṃ
ū
[i]
[ĩ]
[]
[u]
[ũ]
[]
กลาง
e
o
[]
[]
[]
[]
ต่ำ
a
aṃ
ā
[a]
[ã]
[]

[แก้] พยัญชนะ

ในทางสัทศาสตร์ เสียงพยัญชนะหมายถึงเสียงที่เปล่งออกมาโดยมีอวัยวะในการเปล่งเสียงหรือฐานกรณ์ (articulators) ดัดแปลงลมในช่องทางเดินเสียงในลักษณะต่าง ๆ เช่น ปิดสนิทกักลมไว้ ปล่อยให้ลมผ่านออกมาได้ ทั้งนี้ลมอาจผ่านออกกลางลิ้นหรือข้างลิ้นในลักษณะเสียงเสียดแทรกหรือเสียงเปิด ลมที่ผ่านออกมา อาจเป็นเสียงก้องหรือไม่ก้องก็ได้

ในทางสัททวิทยา พยัญชนะ หมายถึง หน่วยทางภาษาซึ่งทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบของพยางค์ปรากฏหน้าหรือหลังสระซึ่งเป็นแกนของพยางค์

จากเกณฑ์การพิจารณาพยัญชนะดังกล่าวข้างบนนี้ในทางสัทศาสตร์ เสียงบางเสียงเช่น [j] มีคุณสมบัติทางสัทศาสตร์เช่นเดียวกับเสียงสระ ได้แก่ [i] แต่ในทางสัทวิทยา เสียงนี้หากปรากฏในตำแหน่งขอบพยางค์คือ ในตำแหน่งต้นหรือท้ายพยางค์ เสียงประเภทนี้จะทำหน้าที่เป็นพยัญชนะและมีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น เสียงกึ่งสระ (semi-vowel) เสียงเปิด (approximant) เป็นต้น

[แก้] การจำแนกเสียงพยัญชนะ

การจำแนกเสียงพยัญชนะตามแนววิชาสัทศาสตร์ (phonetics) จะใช้ลักษณะ 3 ประการต่อไปนี้เป็นเกณฑ์คือ การจำแนกเสียงพยัญชนะโดยพิจารณาตามฐานที่เกิดของเสียง การจำแนกพยัญชนะตามสภาพของเส้นเสียง และการจำแนกเสียงพยัญชนะตามลักษณะของการเปล่งเสียง

[แก้] การจำแนกเสียงพยัญชนะโดยพิจารณาฐานที่เกิดของเสียง

เสียงพยัญชนะในบาลีจำแนกตามฐานที่เกิดเสียงได้เป็น 8 ประเภท คือ

  1. ฐานช่องเส้นเสียง (glottal กัณฐชะ) หมายถึง พยัญชนะที่มีฐานกรณ์อยู่ที่ช่องเส้นเสียง ได้แก่ h [ɦ]
  2. ฐานเพดานอ่อน (velar กัณฐชะ15) หมายถึง พยัญชนะที่เปล่งเสียงโดยมีฐานเพดานอ่อน และกรณ์ คือ ลิ้นส่วนหลัง ได้แก่ k [k], kh [kʰ], g [g], gh [gʱ], ṅ [ŋ]
  3. ฐานเพดานแข็ง (palatal ตาลุชะ15) หมายถึง พยัญชนะที่เปล่งเสียงโดยใช้กรณ์ คือ ลิ้นส่วนหน้ากับฐานเพดานแข็ง ได้แก่ c [c], ch [cʰ], j [ɟ], jh [ɟʱ], ñ [ɲ], y [j]
  4. ฐานปลายลิ้นม้วน (retroflex มุทธชะ15) มีฐานอยู่ที่ส่วนหลังของปุ่มเหงือกหรือส่วนหน้าของเพดานแข็ง หมายถึง พยัญชนะที่เปล่งเสียงโดยใช้ปลายลิ้นเป็นกรณ์ม้วนขึ้นไปแตะหรือใกล้ฐานหลังปุ่มเหงือกหรือหน้าเพดานแข็ง ได้แก่ ṭ [ʈ], ṭh [ʈʰ], ḍ [ɖ], ḍh [ɖʱ], ṇ [ɳ], r [ɻ], ḷ [ɭ]
  5. ฐานฟัน (dental ทันตชะ15) หมายถึง พยัญชนะที่เปล่งเสียงโดยใช้กรณ์คือ ปลายลิ้นกับฐาน คือ ฟันบน ได้แก่ t [t̪], th [t̪ʰ], d [d̪], dh [d̪ʱ], n [n̪], s [s̪], l [l̪]
  6. ฐานริมฝีปาก (bilabial โอฏฐชะ15) หมายถึง พยัญชนะที่เปล่งเสียงโดยใช้ริมฝีปากทั้งคู่ เป็นฐานและกรณ์ ได้แก่ p [p], ph [pʰ], b [b], bh [bʱ], m [m]
  7. ฐานริมฝีปากกับฟัน (labio-dental ทันโตฏฐชะ15) หมายถึง พยัญชนะที่เปล่งเสียงโดยใช้ริมฝีปากล่างกับฐาน คือ ฟันบน ได้แก่ v [ʋ]
  8. ฐานช่องจมูก (nasal cavity นาสิกา15) หมายถึง เสียงนิคคหิต ( ํ ) = ṃ [ ̃ ] ช่องจมูกที่เป็นทางเดินลมของสระสั้น 3 เสียง ซึ่งเป็นเสียงลักษณะนาสิก ได้แก่ /iṃ/ [ĩ], /aṃ/ [ã] และ /uṃ/ [ũ]

ในการออกเสียงพยัญชนะตามฐานที่เกิดเสียงทั้งหมดนี้ จะต้องมีการปรับสภาพของเส้นเสียงด้วย

[แก้] การจำแนกเสียงพยัญชนะตามสภาพของเส้นเสียง

เสียงพยัญชนะในบาลีอาจจำแนกออกได้ตามลักษณะการทำงานของเส้นเสียงในสภาพที่แตกต่างกันเป็น 2 ชนิด คือ เสียงไม่ก้องหรืออโฆษะ (voiceless sound) และเสียงก้องหรือโฆษะ (voiced sound) ดังนี้

เส้นเสียงสามารถทำงานในลักษณะคล้ายริมฝีปากคืออาจจะอยู่ห่างจากกัน หรือที่เรียกว่าเส้นเสียงเปิด ลมที่ผ่านเส้นเสียงในลักษณะนี้มีลักษณะเป็นลมหายใจ (breath) เส้นเสียงจะไม่สั่นจึงเรียกว่าเสียงไม่ก้องหรือเสียงอโฆษะ ตรงข้ามกับกรณีที่เส้นเสียงเข้ามาประชิดกัน และมีความตึงพอเหมาะ เมื่อมีลมผ่านก็จะดันให้เส้นเสียงเปิดออก ในขณะเดียวกันความตึงของเส้นเสียงก็จะดึงให้เส้นเสียงเข้ามาประชิดกันอีกจนทำให้มีการเปิดและปิดเป็นจังหวะที่เรียกว่า เส้นเสียงสั่น หรือเสียงก้อง หรือเสียงโฆษะ

ตัวอย่างพยัญชนะเสียงอโฆษะ เช่น p [p], ph [pʰ], t [t̪], th [t̪ʰ], s [s̪] ตัวอย่างพยัญชนะเสียงโฆษะ เช่น b [b], bh [bʱ], d [d], m [m], n [n̪], l [l̪]

[แก้] การจำแนกเสียงพยัญชนะตามลักษณะการออกเสียง

เสียงพยัญชนะในบาลีจำแนกตามลักษณะการเปล่งเสียง กล่าวคือ การดัดแปลงลมในช่องทางเดินเสียงขณะที่ออกเสียงพูด ทำให้เกิดเสียงลักษณะต่าง ๆ ได้เป็น 6 ประเภท ดังนี้

  1. เสียงกัก (stop) เสียงที่เกิดจากการออกเสียงโดยมีการกักลมในช่วงที่กรณ์เข้าประชิดฐานอย่างสนิท (complete closure) ในช่วงเวลาหนึ่ง เมื่อกรณ์แยกออกจากฐาน คือช่วงการเปิดช่องทางเดินเสียง ถ้าเป็นเสียงระเบิด (plosive) ลมก็จะระเบิดออกมา เช่น p [p], t [t̪], b [b] เสียงระเบิดมีลักษณะที่แตกต่างจากเสียงกัก คือ ในช่วงหลังการกักลม เสียงกักบางประเภท อวัยวะในการเปล่งเสียง เพียงแต่แยกออกจากกัน แต่ไม่มีเสียงระเบิดตามมา แต่บางเสียงมีกระแสลมตามออกมาหลังการระเบิด จึงเรียกว่า เสียงกักที่มีกลุ่มลมหรือเสียงธนิต (aspirated stop) เช่น เสียง ph [pʰ], th [t̪ʰ], bh [bʱ] เป็นต้น ส่วนเสียงกักที่ไม่มีกลุ่มลมตามมาเรียกว่า เสียงกักไม่มีลม หรือ เสียงสิถิล (unaspirated stop) เช่น เสียง p [p], t [t̪], b [b] เป็นต้น
  2. เสียงเสียดแทรก (fricative) คือเสียงที่เกิดจากการออกเสียงโดยฐานและกรณ์ประชิดกันก่อให้เกิดช่องทางเดินเสียงที่แคบ กระแสลมผ่านออกมาจะเป็นเสียงซ่า หรือเสียงเสียดแทรกในบาลีมี 2 เสียง ได้แก่ s [s̪] , h [ɦ]
  3. เสียงนาสิก (nasal) เสียงที่เกิดจากการกักลมให้สนิทในปาก เพดานอ่อนลดต่ำลงทำให้ลมผ่านขึ้นไปทางช่องจมูกได้ เช่น m [m], n [n̪], ṅ [ŋ] เป็นต้น และในกรณีที่เป็นเสียงสระ หากเปิดช่องจมูกพร้อมกันไปกับการออกเสียงสระก็จะได้เสียงสระลักษณะนาสิกที่แทนด้วยนิคคหิต (˚) = ṃ [ ̃] เช่นในคำ กึ /kiṃ/ [kĩ] เสียงลักษณะนาสิกนี้เกิดขึ้นได้กับสระเสียงสั้น 3 เสียง คือ อ [a], อิ [i], อุ [u] เป็น [ĩ],[ã],[ũ]เสียงลักษณะนาสิกที่เกิดกับสระนี้ในภาษาไทยไม่มี คนไทยจึงออกเสียงลักษณะนาสิกนี้เป็นเสียงสระกับพยัญชนะนาสิกฐานเพดานอ่อน ง [ŋ] สะกด เช่น เอตํ /etaṃ/ [etã] แต่คนไทยมักจะออกเสียงว่า เอตัง [etaŋ]
  4. เสียงเปิด หรือ เสียงกึ่งสระ (approximant / semi-vowel) เสียงเปิดทำหน้าที่เป็นพยัญชนะ คือเสียงที่เกิดจากการออกเสียงในลักษณะที่ฐานกรณ์อยู่ใกล้กันไม่มากนัก ทำให้กระแสลมผ่านช่องปากออกไปโดยสะดวก เช่นเดียวกับการเปล่งเสียงสระ ถ้าเสียงนี้ทำหน้าที่เป็นเสียงขอบพยางค์ (marginal sound) หรือเป็นพยัญชนะ เราจะเรียกว่า เสียงเปิด (approximant) หรือ เสียงกึ่งสระ (semi-vowel) คือมีคุณลักษณะเป็นเสียงสระ แต่ทำหน้าที่เป็นพยัญชนะ เช่น เสียง [j] ใน yo [joː] และเสียง [ʋ] ใน vo [ʋoː] คำ yo [joː] และ vo [ʋoː] เริ่มออกเสียงในช่วงสั้น ๆ ในลักษณะช่องทางเดินเสียงเปิดเช่นเดียวกับสระ i [i] แล้วจึงเลื่อนไปยังเสียงสระ o [oː] ที่เป็นแกนพยางค์ ทำให้เกิดเสียง y [j] ซึ่งมีกรณ์คือ ลิ้นส่วนหน้ายกขึ้นสูงไปยังฐานเพดานแข็ง ริมฝีปากเหยียดเส้นเสียงสั่น [j] เป็นเสียงพยัญชนะของอักษร y ในบาลี ส่วนคำ vo [ʋoː] เริ่มออกเสียงในช่วงสั้น ๆ ในลักษณะช่องทางเดินเสียงเปิดเช่นเดียวกับสระ u [u] แล้วจึงเลื่อนไปยังสระ o [oː] ที่เป็นแกนพยางค์ทำให้เกิดเสียง v [ʋ] ซึ่งมีกรณ์คือลิ้นส่วนหลังยกขึ้นสูงไปยังฐานเพดานอ่อน ริมฝีปากห่อเส้นเสียงสั่น [ʋ] เป็นเสียงพยัญชนะของอักษร v ในบาลี สรุปว่าเสียง “กึ่งสระ” หรือ “อัฒสระ” คือเสียงที่มีลักษณะการออกเสียงเช่นเดียวกับเสียงสระ แต่มีหน้าที่พยัญชนะ หรือเป็นเสียงขอบพยางค์ คือเกิดในช่วงสั้น ๆ ของพยางค์ ซึ่งในไวยากรณ์บาลี เรียกว่า อัฑฒสระพยัญชนะ ได้แก่ y [j], v [ʋ] , r [ɻ] , l [l̪] , ḷ [ɭ] เป็นต้น
  5. เสียงเปิดข้างลิ้น (lateral approximant) คือเสียงที่เกิดจากการออกเสียงในลักษณะที่ลมออกข้างลิ้น คือกรณ์เข้าประชิดฐานโดยสนิท แต่ส่วนข้างของลิ้นจะอยู่ห่างจากฐานในลักษณะเปิดให้กระแสลมออกมาได้สะดวก จากคำจำกัดความนี้ ในบาลีมีอยู่ 2 เสียง คือ l [l̪] ซึ่งเป็นเสียงที่เกิดจากปลายลิ้นยกขึ้นไปแตะฟันบนและข้างลิ้นลดลง และเสียงลิ้นม้วน ḷ [ɭ] ซึ่งปลายลิ้นม้วนขึ้นไปแตะหลังปุ่มเหงือกหรือหน้าเพดานแข็ง และข้างลิ้นเปิด
  6. เสียงเปิดลิ้นม้วน (retroflex approximant) คือเสียงที่เกิดจากการม้วนลิ้นขึ้นไปใกล้ฐานส่วนหลังของปุ่มเหงือกหรือส่วนหน้าของเพดานแข็งในลักษณะเปิดให้กระแสลมออกมาได้สะดวก ได้แก่ r [ɻ]

ตารางแสดงเสียงสระในบาลี เมื่อประกอบกับเสียงพยัญชนะ

อักษรโรมัน
ที่ใช้แทนเสียงบาลี
สัทอักษรสากล
(IPA)
เสียงสระในคำบาลี
(ตัวอย่างในพระไตรปิฎกบาลี)
i
[i]
cittam
[cit̪t̪ã]
ī
[]
devī
[d̪eːʋ]
a
[a]
atha
[at̪ʰa]
ā
[]
devā
[d̪eːʋ]
u
[u]
pubbe
[pubbeː]
ū
[]
bahū
[baɦ]
e
[]
etaṃ
[t̪ã]
o
[]
bodhi
[bd̪ʱi]
iṃ
[ĩ]
kiṃ
[kĩ]
aṃ
[ã]
kaṃ
[kã]
ūṃ
[ũ]
kuṃ
[kũ]

[แก้] ระบบเสียงสระในบาลี

ในระบบเสียงบาลีจะมีหน่วยเสียงสระอยู่รวม 11 หน่วยเสียง เป็นหน่วยเสียงสระนาสิก (nasal vowel) 3 หน่วยเสียง ซึ่งจะได้กล่าวถึงต่อไป และหน่วยเสียงสระทั่วไปที่เปล่งเสียงในช่องปาก (oral vowel) 8 หน่วยเสียง คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ซึ่งเขียนด้วยอักษรโรมันเป็น a ā i ī u ū e o โดยมีเครื่องหมาย ( – ) เหนือตัวอักษรแสดงว่าเป็นสระเสียงยาว ถือว่าเป็นคนละหน่วยเสียงกับสระเสียงสั้น ซึ่งมีอยู่เป็นคู่กันรวม 3 คู่ เป็น 6 หน่วยเสียง คือ a /a/ - ā /aː/, i /i/ - ī /iː/, u /u/ - ū /uː/

ส่วนตัวอักษร e o แทนหน่วยเสียงสระยาวรวม 2 หน่วยเสียง /e/, /o/ แต่ละหน่วยเสียงจะมีรูปย่อยหน่วยเสียงเป็นเสียงสระยาว [eː], [oː] หรือเสียงสระกึ่งยาว [eˑ], [oˑ] ก็ได้ ขึ้นอยู่กับลักษณะพยางค์และเสียงแวดล้อมในพยางค์ ดังนี้

เอ e ในพยางค์เปิด คือ พยางค์ที่ลงท้ายด้วยสระ จะเป็นเสียงสระยาว เอ [eː] เช่นในคำ เม /me/ = [meː] ส่วนในพยางค์ปิด คือ พยางค์ที่ลงท้ายด้วยพยัญชนะ จะเป็นเสียงสระกึ่งยาว เอ [eˑ] เช่นพยางค์ /met-/ = [meˑt̪] ในคำ เมตตา /mettā/ = [meˑt̪t̪aː]

ในทำนองเดียวกัน โอ o ในพยางค์เปิด คือพยางค์ที่ลงท้ายด้วยสระ จะเป็นเสียงสระยาว โอ [oː] เช่นในคำ โส /so/ = [soː] ส่วนในพยางค์ปิด จะเป็นเสียงสระกึ่งยาว โอ [oˑ] เช่น พยางค์ /oˑṭ/ = [oˑʈ] ในคำ โอฏฺฐ /oṭṭha/ = [oˑʈʈʰa]

[แก้] หน่วยเสียงสระในบาลี

ดังได้กล่าวแล้วว่าในระบบเสียงบาลีมีหน่วยเสียงสระทั่วไป 8 หน่วยเสียง และมีหน่วยเสียงสระลักษณะนาสิกอีก 3 หน่วยเสียง

ในประเทศศรีลังกาและประเทศไทยส่วนใหญ่จะออกเสียงนิคคหิตนี้เป็นเสียงนาสิกฐานเพดานอ่อน คือ ṅ [ŋ] ตัวอย่าง 3 คำนี้จะออกเสียงเป็น กิง - กัง - กุง /kiṅ - kaṅ - kuṅ/ [kiŋ - kaŋ - kuŋ]

หน่วยเสียงสระ หมายถึง เสียงที่ทำหน้าที่เป็นแกน (nucleus) ของพยางค์ เป็นเสียงที่มีความสำคัญ คือ แยกความหมายของคำได้ ดังในตัวอย่างคำคู่เทียบเสียง 4 คู่ ต่อไปนี้

ตารางแสดงหน่วยเสียงสระทั่วไป

เสียงสระ
ตัวอย่างคำบาลี
ไทย
โรมัน
สากล
อักษรไทย
อักษรโรมัน
สัทอักษรสากล
1
อิ - อี
i – ī
[i – iː]
อิติ - อีติ
iti – īti
[it̪i – t̪i]
2
อะ - อา
a – ā
[a – aː]
วร16 - วาร
vara – vāra
aɻa – ʋɻa]
3
อุ - อู
u – ū
[u – uː]
กุล - กูล
kula – kūla
[kul̪a – kl̪a]
4
เอ - โอ
e – o
[eː – oː]
เย - โย
ye – yo
[j - j]

คู่ที่ 4 e กับ o เป็นสระเสียงยาว จัดเป็นหน่วยเสียง 2 หน่วยเสียง เพราะสามารถแยกความหมายของคำได้ แต่เนื่องจากเสียงสระยาวกับสระกึ่งยาว [eː - eˑ], [oː - oˑ] 2 คู่นี้ แต่ละคู่เป็นเสียงที่คล้ายคลึงกัน และปรากฏในตำแหน่งที่มีเสียงแวดล้อมสับหลีกกัน (complementary distribution) จึงจัดให้เป็น 2 รูปย่อยของหน่วยเสียงเดียวกัน กล่าวคือ หน่วยเสียง /e/ ประกอบด้วยเสียงที่เป็นรูปย่อยหน่วยเสียง 2 รูป คือ [eː , eˑ] และหน่วยเสียง /o/ ประกอบด้วยเสียงที่เป็นรูปย่อยหน่วยเสียง 2 รูปคือ [oː , oˑ]

หน่วยเสียงสระนาสิก ซึ่งเขียนด้วยอักษรโรมันเป็น ṃ แทน นิคคหิต (˚) (=[ ̃]) ในบาลี โดยจะเขียนไว้ข้างหลังสระ ซึ่งเป็นสระเสียงสั้น 3 เสียง คือ iṃ [ĩ], aṃ [ã] และ uṃ [ũ] จัดเป็น 3 หน่วยเสียง เนื่องจากสามารถแยกความหมายของคำชุดเทียบเสียงซึ่งประกอบด้วยคำ 3 คำในตัวอย่างต่อไปนี้ได้ คือ

กิ - กํ - กุ /kiṃ – kaṃ– kuṃ/ [kĩ – kã – kũ]

การออกเสียงสระ เอ /e/ , โอ /o/ ในบาลี หน่วยเสียงยาว ในที่นี้ได้อธิบายลักษณะพิเศษของหน่วยเสียง สระยาว เอ /e/, โอ /o/ ในบาลีว่าเป็น 2 หน่วยเสียง แต่ละหน่วยเสียงจะมีรูปย่อยหน่วยเสียง 2 รูป คือ เป็นเสียงสระยาว หรืออาจจะเป็นเสียงสระกึ่งยาว (half-long) ก็ได้ ขึ้นอยู่กับลักษณะพยางค์และเสียงแวดล้อมในพยางค์ ดังนี้

รูปย่อยที่เป็นเสียงสระยาว [eː], [oː] จะเกิดในพยางค์เปิด คือ พยางค์ที่ไม่มีพยัญชนะท้ายหลังสระ ดังในตัวอย่าง เช่น

ตารางแสดง การออกเสียงสระ เอ, โอ ในบาลี

เสียงสระ
ตัวอย่างคำบาลี
ไทย
โรมัน
สากล
อักษรไทย
อักษรโรมัน
สัทอักษรสากล
1
อิ - อี
i – ī
[i – iː]
อิติ - อีติ
iti – īti
[it̪i – t̪i]
2
อะ - อา
a – ā
[a – aː]
วร16 - วาร
vara – vāra
aɻa – ʋɻa]
3
อุ - อู
u – ū
[u – uː]
กุล - กูล
kula – kūla
[kul̪a – kl̪a]
4
เอ - โอ
e – o
[eː – oː]
เย - โย
ye – yo
[j - j]

รูปย่อยที่เป็นเสียงสระกึ่งยาว [eˑ] และ [oˑ] จะเกิดในพยางค์ปิด หมายถึง พยางค์ที่มีพยัญชนะท้ายหลังสระ พยางค์ปิดในพระพุทธพจน์บาลี จะมีลักษณะเฉพาะคือ เป็นพยางค์ที่ลงท้ายด้วยพยัญชนะซ้อน คือ พยัญชนะซ้อนกัน 2 เสียง โดยเสียงแรกทำหน้าที่เป็นพยัญชนะท้าย (พยัญชนะสะกด) ของพยางค์แรก ส่วนพยัญชนะที่ตามมาจะทำหน้าที่เป็นพยัญชนะต้นของพยางค์ถัดไป

สระ e o ในบาลี เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะซ้อน จึงมีรูปย่อยที่เป็นเสียงสระกึ่งยาว (half-long) [eˑ], [oˑ]

ตารางแสดง เสียงสระกึ่งยาว

เสียงสระ
ตัวอย่างคำบาลี
สยาม
ไทย
โรมัน
สากล
อักษรสยาม
อักษรไทย
อักษรโรมัน
สัทอักษรสากล
เอ
เอ
e
[]
เมต์ตา
เมตฺตา
mettā
[mt̪t̪aː]
โอ
โอ
o
[]
โสต์ถิ
โสตฺถิ
sotthi
[st̪t̪i]

สระ เอ /e/, โอ /o/ เป็นสระเดี่ยว ่ ในที่นี้จะอธิบายว่า สระ เอ /e/, โอ /o/ เป็นสระเดี่ยว ซึ่งเป็นเสียงที่อยู่ในตำแหน่งระหว่างสระ 2 เสียง ซึ่งมีฐานต่างกัน

สระ เอ /e/ เกิดในตำแหน่งระหว่างสระ อะ [a] กับ อิ [i]

สระ โอ /o/ เกิดในตำแหน่งระหว่างสระ อะ [a] กับ อุ [u]

ทั้งนี้พิจารณาตามเสียงที่สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันเป็นหลักฐานสำคัญ ในที่นี้ถือว่าไม่ใช่สระประสมเพราะหากเป็นสระประสมจะเป็นสระเลื่อนเริ่มด้วยการออกเสียงที่สระหนึ่งและเลื่อนไปจบที่อีกสระหนึ่ง

[แก้] ข้อสังเกตบางประการในการใช้สัทอักษรสากลบาลี

ในการแสดงระบบการออกเสียงพยัญชนะบาลีในพระไตรปิฎกอักษรโรมันฉบับนี้ผู้เขียนได้เลือกใช้สัทอักษรสากล (IPA) ถ่ายถอดเสียงพยัญชนะบาลีเทียบเสียงกับอักษรโรมันไว้เป็นครั้งแรกโดยปรับปรุงจากเดิม เพื่อช่วยในการออกเสียงคำให้ถูกต้องยิ่งขึ้น สิ่งที่จัดทำใหม่เพื่อการนี้มีดังนี้

[แก้] การเลือกใช้สัทอักษรแทนเสียงพยัญชนะระเบิดฐานเพดานแข็ง 4 เสียง

จากการศึกษาข้อมูลเสียงและสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญที่ได้ทำการบันทึกเสียงบาลีในพระไตรปิฎก ได้ข้อสรุปการเลือกใช้สัทอักษรแทนเสียงพยัญชนะหยุด แตกต่างออกไปจากที่ได้มีการใช้อยู่ในที่อื่น ๆ ได้แก่ อักษรโรมัน สัททอักษรที่เลือกใช้ c [c] ch [cʰ] j [ɟ] jh [ɟʱ]

การเลือกใช้สัทอักษรสากล [c], [ɟ] มาเทียบเสียงกับหน่วยเสียงพยัญชนะ /c/, /j/ ใน ตารางพยัญชนะบาลีซึ่งเกิดที่เพดานแข็ง ด้วยเห็นว่าตรงตามเกณฑ์ของการใช้สัททอักษรสากลซึ่งเลือกใช้ตัวอักษรธรรมดาให้มากที่สุดในการถอดเสียงและตรงกับหลักเกณฑ์การออกเสียงตามฐานกรณ์ที่เกิดเสียง คือ ฐานเสียงเพดานแข็ง ดังที่กล่าวไว้ในคัมภีร์โบราณแสดงหลักภาษาหรือหลักไวยากรณ์บาลี ชื่อว่า คัมภีร์สัททาวิเสส สัททนีติสุตตมาลาด้วย

[แก้] สัทอักษรสำหรับหน่วยเสียง /r/

การจัดหน่วยเสียง /r/ เป็นหน่วยเสียงพยัญชนะเปิดปลายลิ้นม้วน (Retroflex approximant) ซึ่งออกเสียงโดยม้วนลิ้นไปทางส่วนหลังของปุ่มเหงือก โดยใช้สัทอักษร [ɻ] เทียบเสียงไว้ ตรงกับหลักเกณฑ์การออกเสียงในคัมภีร์สัททาวิเสส สัทนีติสุตตมาลา ไม่ใช่เป็นเสียงพยัญชนะเปิดฐานปุ่มเหงือก (alveolar approximant) ตามที่บางแห่งได้จัดไว้

[แก้] สัทอักษรสำหรับพยัญชนะโฆษะ-ธนิต กับพยัญชนะอโฆษะ-ธนิต

การใช้สัทอักษรสำหรับเสียงพยัญชนะโฆษะ-ธนิต (เสียงก้อง-มีลม) กับพยัญชนะอโฆสะ-ธนิต (เสียงไม่ก้อง-มีลม) มีประเด็นสำคัญคือการเลือกใช้สัญลักษณ์ [ ʰ ] และ [ ʱ ] แทนเสียงธนิต (มีลม) ซึ่งเป็นกลุ่มลมที่ตามหลังเสียงหยุดหรือเสียงระเบิด และแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

  • เสียงหยุดชนิดไม่ก้อง เมื่อออกเสียงนี้ กลุ่มลมที่ตามออกมาจะมีลักษณะไม่ก้องด้วย เช่น เสียง [kʰ], [t̪ʰ] เทียบได้กับเสียง /kh/, /th/ อักษรโรมัน ตามลำดับ
  • เสียงหยุดชนิดก้อง เมื่อออกเสียงนี้ กลุ่มลมที่ตามออกมาจะมีลักษณะก้องด้วย เช่น เสียง [gʱ], [bʱ] เทียบได้กับเสียง /gh/, /bh/ อักษรโรมัน ตามลำดับ

[แก้] เพิ่มสัญลักษณ์ประกอบสัทอักษร

จากข้อมูลเสียงบาลีแสดงเสียงฐานฟันของพยัญชนะเสียงหยุดหรือเสียงระเบิดอย่างชัดเจน ดังนั้น ในชุดสัทอักษรสากลบาลีนี้จึงได้เพิ่มสัญญลักษณ์ [ ̪ ] เช่นเสียง [t̪], [d̪] เทียบได้กับเสียง /t/, /d/ อักษรโรมัน ตามลำดับ หรือของพยัญชนะเสียดแทรก [s̪] เทียบได้กับเสียง /s/ อักษรโรมัน หรือของพยัญชนะเปิดข้างลิ้น [l̪] เทียบได้กับเสียง /l/ อักษรโรมัน

นอกจากนี้ ในการจัดสัททอักษรสากลเพื่อเทียบเสียงนิคคหิต ( ํ ) = /ṃ/ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แสดงสระลักษณะนาสิก ซึ่งเกิดกับสระเสียงสั้น ได้แก่ /aṃ/, /iṃ/, และ /uṃ/ จึงได้ริเริ่มใช้เครื่องหมายเสริมสัททอักษรสากล [~] แสดงว่าเป็นเสียงลักษณะสระนาสิก (nasal vowels) ดังในตัวอย่าง เช่น /aṃ/ [ã], /iṃ/ [ĩ], และ /uṃ/ [ũ]

ตารางแสดง หน่วยเสียงลักษณะสระนาสิก

อักษรสยาม
อักษรไทย
อักษรโรมัน
สัทอักษรสากล
เอตํ
เอตํ
etaṃ
[et̪ã]
นิพ์พุติ
นิพฺพุตึ
nibbutiṃ
[n̪ibbut̪ĩ]
พาหุ
พาหุ
bāhuṃ
[baːɦũ]

[แก้] การออกเสียงพิเศษของบาลี : การออกเสียงพยัญชนะอัฒฑสระควบกล้ำของบาลี

การออกเสียงพยัญชนะควบกล้ำของบาลี เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพยัญชนะอัฒสระและพยัญชนะอื่น ๆ บางเสียง เมื่อเป็นส่วนประกอบของเสียงพยัญชนะควบกล้ำ ซึ่งหมายถึงพยัญชนะ 2 เสียงที่เรียงติดต่อกันโดยไม่มีเสียงสระคั่นกลาง ในพระไตรปิฎกบาลีอักษรสยามใช้เครื่องหมาย “ยามักการ คือ ๎ ” (แสดงเสียงคู่หรือเสียงควบ) และในบางกรณ่ทำหน้าที่เป็นตัวสะกดในพยางค์ที่นำหน้าในคำเดียวกันด้วย ซึ่งในฉบับอักษรสยามใช้เครื่องหมาย “ไม้หันอากาศ” (แสดงเสียงสระอะ เมื่อมีตัวสะกด) ในพยางค์ที่นำหน้าในคำเดียวกันเพื่อแสดงการพิมพ์พยัญชนะเสียงควบกล้ำที่ทำหน้าที่เป็นเสียงสะกดพร้อมกันไปด้วย พยัญชนะควบกล้ำบาลีแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ พยัญชนะควบกล้ำที่เป็นพยัญชนะต้นคำและพยัญชนะควบกล้ำที่เกิดกลางคำระหว่างสระ เป็นพยัญชนะสะกดควบกล้ำ

ในการเรียงพิมพ์พระไตรปิฎกอักษรโรมัน ได้ดำเนินตามการสืบทอดเสียงบาลีในฉบับอักษรสยาม โดยได้พิมพ์สัททอักษรสากลบาลีเทียบไว้ด้วยเพื่อช่วยให้ผู้อ่านพระไตรปิฎกบาลีอักษรโรมันได้ออกเสียงถูกต้องชัดเจนยิ่งขึ้น ตัวอย่างที่สำคัญ แบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ ดังกล่าวคือ

[แก้] พยัญชนะควบกล้ำที่เป็นพยัญชนะต้นคำ

พยัญชนะควบกล้ำบาลีซึ่งเกิดต้นคำเป็นพยัญชนะต้น อาจประกอบด้วยพยัญชนะอัฒสระหรือพยัญชนะเปิด ได้แก่ ย ร ว ล ฬ [ j ɻ v l̪ ɭ ] โดยพยัญชนะเหล่านี้ จะเกิดร่วมกับพยัญชนะเสียงกัก เช่น ก ต ท ป พ [ k t̪ d p b ] เป็นเสียงพยัญชนะควบกล้ำ ดังในตัวอย่างต่อไปนี้

ตารางแสดง พยัญชนะเสียงควบกล้ำต้นคำ

เสียงควบ
ตัวอย่างคำบาลี
สยาม
ไทย
โรมัน
สากล
อักษรสยาม
อักษรไทย
อักษรโรมัน
สัทอักษรสากล
พ ๎ย
พฺย
by
[bj]
พ ๎ยัค์ฆ
พฺยคฺฆ
''''byaggha
[bjaɡɡʱa]
พ ๎ร
พฺร
br
[]
พ ๎รูติ
พฺรูติ
brūti
[uːt̪i]
ท ๎ว
ทฺว
dv
[d̪ʋ]
ท ๎วาร
ทฺวาร
dvāra
[d̪ʋaːɻa]
ต ๎ว
ตฺว
tv
[t̪ʋ]
ต ๎วํ
ตฺวํ
tvaṃ
[t̪ʋ„]
ป ๎ล
ปฺล
pl
[ p l ̪ ]
ป ๎ลวติ
ปฺลวติ
plavati
[ pl ̪ aʋati]
ก ๎ล
กฺล
kl
[ kl ̪ ]
เก ๎ลสมเล
เกฺลสมเล
klesamale
[ kl ̪ eamal̪e]

[แก้] พยัญชนะสะกดควบกล้ำ

พยัญชนะควบกล้ำบาลีที่เกิดกลางคำระหว่างสระจะออกเสียงเป็นพยัญชนะสะกดต่อเนื่องไป เป็นเสียงควบกล้ำ กล่าวคือนอกจากเป็นเสียงพยัญชนะสะกดของพยางค์แรกแล้วยังทำหน้าที่ร่วมเป็นเสียงพยัญชนะต้นควบกล้ำของพยางค์ถัดไปด้วย ซึ่งเรียกว่า “พยัญชนะสะกดควบกล้ำ”

พยัญชนะสะกดควบกล้ำประเภทนี้ อาจประกอบด้วยพยัญชนะอวรรค ทั้ง 7 เสียง ซึ่งรวมพยัญชนะอัฒสระหรือพยัญชนะเปิด คือ ย ร ว ล ฬ [ j ɻ v l̪ ɭ ] และพยัญชนะเสียงเสียดแทรก ส ห [ s̪ ɦ ]

เมื่อพยัญชนะควบกล้ำบาลีเกิดในตำแหน่งระหว่างสระ ส่วนที่เริ่มออกเสียงเป็นพยัญชนะควบกล้ำจะทำหน้าที่เป็นเสียงสะกดท้ายพยางค์แรกด้วย ดังนั้น เสียงนี้จึงทำหน้าที่ 2 อย่าง คือ เป็นเสียงสะกดของพยางค์แรกและต่อเนื่องไปเป็นเสียงเริ่มต้นพยัญชนะควบกล้ำในพยางค์ถัดไป

ตารางแสดง พยัญชนะสะกดควบกล้ำ

เสียงควบ
ตัวอย่างคำบาลี
สยาม
ไทย
โรมัน
สากล
อักษรสยาม
อักษรไทย
อักษรโรมัน
สัทอักษรสากล
ล ๎ย
ลฺย
ly
[ l ̪j]
กัล ๎ยา
กลฺยา
ka‿lyā
[kal ̪jaː]
พ ๎ร
พฺร
br
[]
อิทมัพ ๎รวี
อิทมพฺรวี
idama‿bra
[id̪amaaʋiː]
ป ๎ล
ปฺล
pl
[ pl ̪ ]
อุป ๎ลว
อฺปฺลว
u‿plava
[ u pl ̪ aʋa]
ก ๎ล
กฺล
kl
[ kl ̪ ]
จิต์ตัก ๎เลเสหิ
จิตฺตเกฺลเสหิ
citta‿klesehi
[ cit̪t̪a kl ̪eːɦi]
ต ๎ว
ตฺว
tv
[t̪ʋ]
กัต ๎วา
กตฺวา
ka‿tvā
[kat̪ʋaː]
ส ๎ม
สฺม
sm
[s̪m]
ตัส ๎มา
ตสฺมา
ta‿smā
[t̪as̪maː]

ตัวอย่างในภาพที่ 27 ไม่ใส่เครื่องหมายเชื่อมเสียง [‿] ในช่องสัททอักษรสากล ซึ่งอาจทำให้ผู้ไม่คุ้นเคยกับบาลีไม่ออกเสียงตัวสะกดของพยางค์แรก ดังนั้นเพื่อช่วยให้ผู้อ่านสามารถออกเสียงได้ถูกต้องตามหน้าที่ทั้งสองของเสียงพยัญชนะที่เริ่มเสียงควบกล้ำ คือ เป็นเสียงสะกดข้างหลังอยู่ท้ายพยางค์แรก และต่อเนื่องไปเป็นเสียงที่เริ่มต้นพยัญชนะต้นควบกล้ำในพยางค์ถัดไป ตลอดจนเชื่อมกับเสียงควบกล้ำด้วย โดยการเพิ่มเครื่องหมายเชื่อมเสียง

ตารางแสดง พยัญชนะสะกดควบกล้ำ พร้อมทั้งเสนอเพิ่มเครื่องหมายเชื่อมเสียง

เสียงควบ
ตัวอย่างคำบาลี
สยาม
ไทย
โรมัน
สากล
อักษรสยาม
อักษรไทย
อักษรโรมัน
สัทอักษรสากล
ล ๎ย
ลฺย
ly
[ l ̪j]
กัล ๎ย
ลฺย
ka‿lyā
[ka‿l ̪jaː]
พ ๎ร
พฺร
br
[]
อิทมัพ ๎รวี
อิทมพฺรวี
idama‿bra
[id̪ama‿b'̪'ɻaʋiː]
ป ๎ล
ปฺล
pl
[ pl ̪ ]
อุป ๎ล
อฺปฺล
u‿plava
[ u‿pl ̪ aʋa]
ก ๎ล
กฺล
kl
[ kl ̪ ]
จิต์ตัก ๎เสหิ
จิตฺตเกฺลเสหิ
citta‿klesehi
[ cit̪t̪a‿kl ̪eːɦi]
ต ๎ว
ตฺว
tv
[t̪ʋ]
กัต ๎ว
ตฺว
ka‿tvā
[ka‿t̪ʋaː]
ส ๎ม
สฺม
sm
[s̪m]
ตัส ๎ม
สฺม
ta‿smā
[t̪a‿s̪maː]

นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างอื่น ๆ เช่น เมื่อ ห [ɦ] มาประกอบกับพยัญชนะสะกดควบกล้ำที่เป็นพยัญชนะเปิดดังกล่าวข้างต้น และกับพยัญชนะนาสิก เช่น  ณ ม [ ɲ ɳ m ]

ตารางแสดง ตัวอย่างเมื่อ ห มาประกอบเป็นพยัญชนะสะกดควบกล้ำ

เสียงควบ
ตัวอย่างคำบาลี
สยาม
ไทย
โรมัน
สากล
อักษรสยาม
อักษรไทย
อักษรโรมัน
สัทอักษรสากล
 ๎ห
 ฺห
ñh
[ɲɦ]
ปั ๎หา
ปฺหา
pa‿ñhā
[paɲɦaː]
ณ ๎ห
ณฺห
'ṇ'h
[ɳɦ]
ตัณ ๎หา
ตณฺหา
ta‿'ṇ'hā
[t̪aɳɦaː]
ม ๎ห
มฺห
mh
[]
ตุเม ๎ห
ตุเมฺห
tu‿mhe
[t̪ueː]
ย ๎ห
ยฺห
yh
[]
มุย ๎หเต
มุยฺหเต
'mu‿'yhate
[muat̪eː]
ล ๎ห
ลฺห
lh
[l ̪ɦ]
วุล ๎หเต
วุลฺหเต
vu‿lhate
[ʋul ̪ɦat̪eː]
ว ๎ห
วฺห
vh
[ʋɦ]
อว ๎หิโต
อวฺหิโต
a‿vhito
[aʋɦit̪oː]
ฬ ๎ห
ฬฺห
ḷh
[ɭɦ]
รูฬ ๎หิ
รูฬฺหิ
rū‿ḷhi
[ɻuːɭɦi]

ตัวอย่างในภาพที่ 29 ไม่ใส่เครื่องหมายเชื่อมเสียง [‿] ในช่องสัทอักษรสากล ส่วนในภาพที่ 30 ขอเสนอการเพิ่มเครื่องหมายเชื่อมเสียง ซึ่งเริ่มจากเสียงสระซึ่งเป็นเสียงต่อเนื่องกับเสียงส่วนแรกของพยัญชนะควบกล้ำในพยางค์ถัดไป ทำนองเดียวกับในภาพที่ 28 ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ตารางแสดง ตัวอย่างเมื่อ ห มาประกอบเป็นพยัญชนะสะกดควบกล้ำ พร้อมทั้งเสนอเพิ่มเครื่องหมายเชื่อมเสียง

เสียงควบ
ตัวอย่างคำบาลี
สยาม
ไทย
โรมัน
สากล
อักษรสยาม
อักษรไทย
อักษรโรมัน
สัทอักษรสากล
 ๎ห
 ฺห
ñh
[ɲɦ]
ปั ๎ห
ฺห
pa‿ñhā
[pa‿ɲɦaː]
ณ ๎ห
ณฺห
'ṇ'h
[ɳɦ]
ตัณ ๎ห
ณฺห
ta‿'ṇ'hā
[t̪a‿ɳɦaː]
ม ๎ห
มฺห
mh
[]
ตุเม ๎ห
ตุเมฺห
tu‿mhe
[t̪u‿eː]
ย ๎ห
ยฺห
yh
[]
มุย ๎หเต
มุยฺหเต
'mu‿'yhate
[mu‿at̪eː]
ล ๎ห
ลฺห
lh
[l ̪ɦ]
วุล ๎หเต
วุลฺหเต
vu‿lhate
[ʋu‿at̪eː]
ว ๎ห
วฺห
vh
[ʋɦ]
ว ๎หิโต
วฺหิโต
a‿vhito
[a‿ʋɦit̪oː]
ฬ ๎ห
ฬฺห
ḷh
[ɭɦ]
รูฬ ๎ห
รูฬฺห
rū‿ḷhi
[ɻu‿ːɭɦi]

[แก้] การอ่านภาษาบาลี ที่เขียนด้วยอักษรไทย

การใช้อักษรไทยเขียนภาษาบาลีในปัจจุบันจะพบเห็นได้สองแบบ

  1. การเขียนแบบดั้งเดิม พบเห็นได้ในพระไตรปิฎกหรือในที่ที่ต้องการเขียนอย่างเป็นทางการ วิธีการอ่านเหมือนอ่านภาษาไทยปกติแต่มีหลักเพิ่มเติมดังนี้
    • พยัญชนะที่ไม่มีสระ อ่านเสมือนมีสระอะ ประสมอยู่ เช่น เทว อ่านว่า เท-วะ
    • พยัญชนะที่มี พินทุ ข้างใต้ ถือเป็นตัวสะกด หรือเสียงกล้ำ เช่น พฺรหฺม อ่านว่า พระ-ห์มะ (อักษรโรมัน คือ bra-hma), วณฺณ อ่าน วัณ-ณะ, เทฺว อ่าน ทะเว (ออกเสียง ท ไม่เต็มเสียง ให้ควบ ท+ว)
    • พยัญชนะที่มีนิคหิตอยู่ข้างบน ออกเสียงนาสิก หรือเหมือนสะกดด้วย "ง" เช่น อรหํ อ่านว่า อะ-ระ-หัง, กึ (สระอิ + นิคหิต ไม่ใช่สระอึ) อ่านว่า กิง
    • สระเอ ที่สะกดด้วย ย ให้ออกเสียงคล้ายสระไอ ไม่ใช่สระเอย เช่น อาหุเนยฺโย อ่าน อา-หุ-ไน-โย (ไม่ใช่ เนย-โย เพราะภาษาบาลีไม่มีสระเออ, a-hu-ney-yo)
  2. การเขียนแบบง่าย พบเห็นได้ตามหนังสือบทสวดมนต์ทั่วไปที่ต้องการให้ชาวบ้านอ่านได้ง่าย วิธีการอ่านจึงเหมือนอ่านภาษาไทยปกติ
    • มีการเขียนสระอะให้เห็นชัดเจน เช่น เทวะ และไม่มีการใช้พินทุหรือนิคหิต เนื่องจากเขียนตัวสะกดให้เห็นชัดอยู่แล้วเช่น วัณณะ, อะระหัง
    • ตัวควบกล้ำจะใช้ยามักการบอกการควบกล้ำ เช่น พ๎รห๎ม, เท๎ว
    • สระเอ ที่สะกดด้วย ย ก็ยังคงให้ออกเสียงในทำนองเดียวกับที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น เพียงแต่จะเขียนต่างกันเล็กน้อย เช่น อาหุเนยโย

[แก้] ไวยากรณ์

ภาษาบาลีเป็นภาษาที่มีวิภัตติปัจจัยตามแบบลักษณะของภาษาในตระกูลอินโด-ยูโรเปียน กล่าวคือการนำคำมาประกอบในประโยคจะต้องมีการผันคำโดยอาจจะเติมเสียงต่อท้ายหรือเปลี่ยนรูปคำบ้าง เช่นในภาษาอังกฤษเรามักจะเห็นการเติม -s สำหรับคำนามพหูพจน์ หรือเติม -ed สำหรับกริยาอดีต แต่ในภาษาบาลีมีสิ่งที่ต้องพิจารณามากกว่าภาษาอังกฤษอีกหลายอย่าง

[แก้] การผันคำนาม (Noun Declension)

ในที่นี้ขอหมายรวมทั้ง นามนาม (Nouns), คุณนาม (Adjectives) และสัพนาม (Pronouns) ซึ่งการนำคำนามเหล่านี้มาประกอบประโยคในภาษาบาลีจะพิจารณาสิ่งต่อไปนี้

  • ลิงก์ (Gender) หรือเพศ ในภาษาบาลีมีสามเพศคือชาย หญิง และไม่มีเพศ บางคำศัพท์เป็นได้เพศเดียว บางศัพท์อาจเป็นได้สองหรือสามเพศ ต้องอาศัยการจดจำเท่านั้น
  • วจนะ (Number) หรือพจน์ ได้แก่ เอกวจนะ และ พหุวจนะ
  • การก (Case) การกคือหน้าที่ของนามในประโยค อันได้แก่
    1. ปฐมา (Nominative) เป็นประธานหรือผู้กระทำ (มักแปลโดยใช้คำว่า อ..(อันว่า)....)
    2. ทุติยา (Accusative) เป็นกรรม (ซึ่ง..., สู่...)
    3. ตติยา (Instrumentive) เป็นเครื่องมือในการกระทำ (ด้วย..., โดย...,อัน....,ตาม.....)
    4. จตุตถี (Dative) เป็นกรรมรอง (แก่..., เพื่อ..., ต่อ...)
    5. ปัญจมี (Ablative) เป็นแหล่งหรือแดนเกิด (แต่..., จาก..., กว่า...)
    6. ฉัฏฐี (Genitive) เป็นเจ้าของ (แห่ง..., ของ...)
    7. สัตตมี (Locative) สถานที่ (ที่..., ใน...)
    8. อาลปนะ (Vocative) อุทาน (ดูก่อน...)
  • สระการันต์ (Termination Vowel) คือสระลงท้ายของคำศัพท์ที่เป็นนาม เพราะสระลงท้ายที่ต่าง ๆ กัน ก็จะต้องเติมวิภัตติที่ต่าง ๆ กันไป

ตัวอย่างเช่น คำว่า สังฆะ คำนี้มีสระ อะ เป็นการันต์และเพศชาย เมื่อนำไปใช้เป็นประธานเอกพจน์จะผันเป็น สังโฆ, ประธานพหูพจน์เป็น สังฆา, กรรมเอกพจน์เป็น สังฆัง, กรรมรองเอกพจน์เป็น สังฆัสสะ ฯลฯ
หรือคำว่า ภิกขุ คำนี้มีสระ อุ เป็นการันต์และเพศชาย เมื่อนำไปใช้เป็นประธานเอกพจน์ก็ผันเป็น ภิกขุ, ประธานพหูพจน์เป็น ภิกขะโว หรือ ภิกขู, กรรมเอกพจน์เป็น ภิกขุง, กรรมรองเอกพจน์เป็น ภิกขุสสะ หรือ ภิกขุโน ฯลฯ

[แก้] การผันคำกริยา (Verb Conjugation)

คำกริยาหรือที่เรียกว่าอาขยาต เกิดจากการนำธาตุของกริยามาลงปัจจัยและใส่วิภัตติ ตามแต่ลักษณะการใช้งานในประโยค

  • การใส่วิภัตติ เพื่อปรับกริยานั้นให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่กำลังนำไปใช้ มีสิ่งที่จะพิจารณาดังนี้
    • กาล (Tense) ดูว่ากริยานั้นเกิดขึ้นในเวลาใด
      1. วัตตมานา (Present - Indicative) กริยาปัจจุบัน ใช้ในประโยคบอกเล่า
      2. ปัญจมี (Present - Imperative) ใช้ในประโยคคำสั่ง หรือขอให้ทำ
      3. สัตตมี (Present - Optative) ใช้บอกว่าควรจะทำ พึงกระทำ
      4. ปโรกขา (Indefinite Past) กริยาอดีตที่ล่วงแล้ว เกินจะรู้ (Tense นี้ไม่ค่อยมีใช้แล้ว)
      5. หิยัตตนี (Definite Past) กริยาอดีต
      6. อัชชัตตนี (Recently Past) กริยาที่ผ่านไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ หรือในวันนี้
      7. ภวิสสันติ (Future) กริยาที่จะกระทำ
      8. กาลาติปัตติ (Conditional) กริยาที่คิดว่าน่าจะทำแต่ก็ไม่ได้ทำ (หากแม้นว่า...)
    • บท (Voice) ดูว่ากริยานั้นเกิดกับใคร
      1. ปรัสสบท (Active) เป็นการกระทำอันส่งผลกับผู้อื่น
      2. อัตตโนบท (Reflective) เป็นการกระทำอันส่งผลกับตัวเอง หรือมีสภาวะเป็นอย่างนั้นอยู่เอง
    • วจนะ (Number) เหมือนคำนามคือแบ่งเป็นเอกวจนะและพหุวจนะ ซึ่งวจนะของกริยาก็ต้องขึ้นกับวจนะของนามผู้กระทำ
    • บุรุษ (Person) บอกบุรุษผู้กระทำกริยา บุรุษในภาษาบาลีนี้จะกลับกับภาษาอังกฤษคือ
      1. บุรุษที่หนึ่ง หมายถึงผู้อื่น (เขา)
      2. บุรุษที่สอง หมายถึงผู้ที่กำลังพูดด้วย (เธอ)
      3. บุรุษที่สาม หมายถึงผู้ที่กำลังพูด (ฉัน)

ตัวอย่างเช่น กริยา วะทะ ที่แปลว่าพูด เป็นกริยาที่ Active ถ้าจะบอกว่า ฉันพูด ก็จะเป็น วะทามิ, เราพูด เป็น วะทามะ, เธอพูด เป็น วะทะสิ, เขาพูด เป็น วะทะติ, ฉันพึงพูด เป็น วะเทยยามิ, ฉันจักพูด เป็น วะทัสสามิ ฯลฯ

  • การลงปัจจัย สำหรับธาตุของคำกริยา ก่อนที่จะใส่วิภัตตินั้น อันที่จริงต้องพิจารณาก่อนด้วยว่า

กริยาที่นำมาใช้นั้นเป็นลักษณะปกติหรือมีการแสดงอาการอย่างใดเป็นพิเศษดังต่อไปนี้หรือเปล่า


[แก้] อัพพยศัพท์ (Indeclinables)

คือกลุ่มคำที่จะไม่ถูกผันไม่ว่าจะนำไปประกอบประโยคส่วนใดก็ตามได้แก่

  1. อุปสรรค
  2. ปัจจัย
  3. นิบาต

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ ความเป็นมาของพระไตรปิฎก ตอนที่ 76. คอลัมน์ ธรรมะใต้ธรรมมาสน์ โดย ไต้ ตามทาง. เรียกข้อมูลเมื่อ 14-6-52

[แก้] หนังสืออ่านเพิ่มเติม

  • สิริ เพ็ชรไชย ป.ธ.9 และวิจินตน์ ภาณุพงศ์, "พระไตรปิฎกปาฬิจุลจอมเกล้าบรมธัมมิกมหาราช ร.ศ. 112 อักษรสยาม" ฉบับอนุรักษ์ดิจิทัล, กองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ 2551.
  • Siri Petchai and Vichin Phanupong, "Chulachomklao of Siam Pāḷi Tipiṭaka, 1893", Digital Preservation Edition, Dhamma Society Fund 2009.
  • ร.ต.ฉลาด บุญลอย, ประวัติวรรณคดีบาลี, 2527
  • ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์, ประวัติภาษาบาลี : ความเป็นมาและที่สัมพันธ์กับภาษาปรากฤตและสันสกฤต, 2535.
  • ปราณี ฬาพานิช, ภาษาสันสกฤต: คุณค่าในการพัฒนาความเข้าใจภาษาบาลี,2536, หน้า 113-145.
  • Wilhem Geiger, Pali Literatur und Sprache,1892
  • Charles Duroiselle, A Practical Grammar of the Pāli Language 3rd Edition, 1997