ภาษาพวน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภาษาพวน
พูดใน: ประเทศไทย ลาว 
ภูมิภาค: เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จำนวนผู้พูด: 306,000 คน [1]
ตระกูลภาษา: ไท-กะได
 คำ-ไท
  บี-ไท
   ไท-แสก
    ไท
     ไทตะวันตกเฉียงใต้
      ไทกลาง-ตะวันออก
       เชียงแสน
        ภาษาพวน 
ระบบการเขียน: อักษรพวน, อักษรลาว, อักษรไทย, อักษรตัวธรรมลาว
รหัสภาษา
ISO 639-1: ไม่มี
ISO 639-2:
ISO 639-3: phu
สารานุกรมภาษา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมภาษา

ภาษาพวน เป็นภาษาในตระกูลไท-กะได คำศัพท์ใกล้เคียงกับภาษาไทยถิ่นอีสานและภาษาลาวมากกว่าภาษาไทยภาคกลาง มีเสียงพยัญชนะ 20 เสียง เป็นตัวสะกดได้ 9 เสียง มีเสียงควบกล้ำเฉพาะ /คฺว/ เท่านั้น สระมี 21 เสียง เป็นสระเดี่ยว 18 เสียง สระประสม 3 เสียง วรรณยุกต์มี 6 เสียง

[แก้] ตัวอย่างคำในภาษาพวน[2][3][4]

ภาษาพวน ภาษาลาว ภาษาไทย
1 ฮัก ฮัก รัก
2 หัวเจอ หัวไจ หัวใจ
3 เผอ ไผ ใคร
4 ไปกะเลอ/ไปเก๋อ ไปไส/ไปได๋ ไปไหน
5 บ่วง/ช้อน บ่วง ช้อน
6 เห้อ ไห่/ไห้ ให้
7 เจ้าเป็นไทยบ้านเลอ [5] เจ้าเปนไทบ้านได๋ คุณเป็นคนบ้านไหน
8 เอ็ดผิเลอ/เอ็ดหังก้อ เฮ็ดหยัง ทำอะไร
9 ไปแท้อ้อ ไปอีหลีตั๊ว ไปจริงๆหรอ
10 เจ๊าแม่นเผอ เจ้าแม่นไผ คุณเป็นใคร
11 ป่องเอี๊ยม ป่องเอี๊ยม หน้าต่าง
12 มันอยู่กะเลอบุ๊ มันอยู่ไสบ่ฮู้ มันอยู่ไหนไม่รู้
13 ไปนำเดียวกันบ๊อ ไปนำกันบ่ ไปด้วยกันไหม
14 มากันหลายหน่อล้า มากันหลายคือกันน้อ มากันเยอะเหมือนกันนะ
15 มากี๊ท้อ มานี่เถอะ
16 บ๊าแฮ้ง อีแฮง อีแร้ง
17 บ๊าจ๊อน กระรอก
18 หม่ากะทัน หมากกะทัน พุทรา
19 หน้าแด่น หน้าผาก
20 หม่ามี้ บักมี่ ขนุน

[แก้] อ้างอิง

  • วีระพงศ์ มีสถาน. สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ พวน. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชนบท. 2539.