ภาษาไทญ้อ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภาษาไทญ้อ
พูดใน: ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางในไทย ลาว
จำนวนผู้พูด:
ตระกูลภาษา: ไท-กะได
 คำ-ไท
  บี-ไท
   ไท-เสก
    ไท
     ตะวันตกเฉียงใต้
      ลาว-ผู้ไท
       ภาษาไทญ้อ
รหัสภาษา
ISO 639-1: ไม่มี
ISO 639-2:
ISO 639-3: nyw
สารานุกรมภาษา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมภาษา

ภาษาไทญ้อ (Nyaw) เป็นภาษากลุ่มไท-ลาว ที่พูดกันในหมู่ชาวไทญ้อ ซึ่งมีอยู่ในประเทศไทยราว 50,000 คน (พ.ศ. 2533) ในจังหวัดสกลนคร หนองคาย นครพนม มหาสารคาม ปราจีนบุรี และสระบุรี ส่วนใหญ่อพยพมาจากประเทศลาว เป็นชาวไทญ้อส่วนใหญ่พูดภาษาไทยอีสานได้ด้วย

ภาษาไทญ้อจัดอยู่ในตระกูลภาษาไท-กะได ภาษากลุ่มคำ-ไท สาขาเบ-ไท สาขาย่อยไต-แสก มีลักษณะคล้ายคลึงกับภาษาไทยถิ่นอีสานและภาษาลาวสำเนียงหลวงพระบาง มีพยัญชนะ 19 เสียง สระเดี่ยว 18 เสียง สระประสม 3 เสียง วรรณยุกต์ 4 เสียง พยัญชนะควบกล้ำ 6 เสียง

[แก้] อ้างอิง

  • เรืองเดช ปันเขื่อนขัติย์. ภาษาถิ่นตระกูลไทย. กทม. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชนบทมหาวิทยาลัยมหิดล. 2531.
  • Gordon, Raymond G., Jr. (ed.), 2005. Ethnologue: Languages of the World, Fifteenth edition. Dallas, Tex.: SIL International. Online version: http://www.ethnologue.com/.