ภาษาไทลื้อ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภาษาไทลื้อ
พูดใน: สิบสองปันนา, จีน ไทย ลาว 
ภูมิภาค: ทวีปเอเชีย
จำนวนผู้พูด: 670,000 คน (จีน 250,000 คน พม่า 200,000 คน ไทย 134,000 คน เวียดนาม 5,000 คน)
ตระกูลภาษา: ไท-กะได
 ภาษาไทลื้อ
รหัสภาษา
ISO 639-1: ไม่มี
ISO 639-2:
ISO 639-3: khb
สารานุกรมภาษา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมภาษา

ภาษาไทลื้อ (ไทลื้อ : ᦨᦱᧄᦺᦑ กวามไต, จีน : 傣仂语 Dǎilèyǔ, เวียดนาม : Lự or Lữ) อยู่ในตระกูลภาษาไท-กะได และมีคำศัพท์และการเรียงคำศัพท์คล้ายกับภาษาไทยถิ่นอื่นๆ ผู้พูดภาษาไทลื้อ เรียกว่า ชาวไทลื้อ หรือ ชาวลื้อ ภาษาไทลื้อมีผู้พูดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 670,000 คน โดยมีจำนวนผู้พูดในประเทศจีน 250,000 คน ในประเทศพม่า 200,000 คน ในประเทศไทย 134,000 คน และในประเทศเวียดนาม 5,000 คน

[แก้] อิทธิพล

คำพูดภาษา ของชาวลื้อได้รับอิทธิพลของจีน และ พม่ามากกว่าล้านนา จึงมีสุภาษิตของชาวลื้อว่า "มีม่านเป๋นป่อ มีฮ่อเป๋นแม่" เช่นคำว่า เซ่อ ในภาษาจีน แปลว่า เจ้า ภาษาไทลื้อ มีความหมายอย่างเดียวกัน ในส่วนของล้านนานั้น อิทธิพลภาษาลื้อ และวัฒนธรรม เห็นเด่นชัดที่สุดคือ ลำพูน และน่าน เพราะสำเนียงภาษาที่นั่นส่วนใหญ่ คำล้านนาบางคำได้สูญหายไป คำศัพท์ภาษาลื้อมาแทน ค่อนข้างมาก เพราะประชากรของชาวไทลื้อมีอยู่มาก กว่าคนเมือง


ตัวหนังสือไทลื้อ

[แก้] ระบบเสียง

สระภาษาไทลื้อ มี อะ อา อิ อี เอ โอ้ ซึ่งหากนำเสียงสระเหล่านี้มาผันแล้วจะได้สำเนียงคำเฉพาะขึ้นมา

ภาษาไทลื้อ (เปรียบเทียบการผันอักษรตามภาษาไทย)

  • ไม่มีสระเอีย ฉะนั้นจะออกเสียง สระ เอ แทน เช่น เย (ฉางข้าวขนาดใหญ่ที่มีหลังคามุง) เม (เมีย) เต (รื้อถอน)เส (เสีย ใช้กับงานที่เกี่ยวกับผี) เบ (เบียร์)เม่ง (เมี่ยง) เจงหม่าย (เชียงใหม)
  • ไม่มีสระ อัว ฉะนั้นจะออกเสียง สระโอแทน เช่น โข (ขัว สะพาน) โง (วัว) โก๋ (กลัว) โห (หัว) โต๋ (ตัว) โค ((ก.)ล้างทำความสะอาด (น.)เสื้อผ้า)
  • ไม่มีสระอัวะ ฉะนั้นจะออกเสียง สระโอ๊ะแทน เช่น โล๊ะ (มองหา) โหล๊ะ (เสีย หรือ พัง) โก๊ะ (ถาดรองอาหาร) โต๊ะ (หลอก หรือ โกหก) โส๊ะ (ผสมปนเปกัน)
  • ไม่มีสระเอียะ ฉะนั้นจะออกเสียง สระ เอะ แทน เย๊ะ (ทำ) เป๊ะ (เปียก)
  • ไม่มีเสียงสระเอือะ ฉะนั้นจะออกเสียงสระเออ แทน เช่น เมอ (ไป) เก๋อ ((ก.)ให้อาหารสัตว์,(น.)เกลือ) เสอ (เสือ)
  • ไม่มีเสียงสระ เอือ ฉะนั้นจะออกเสียงสระเออ แทน เช่น เมิง (เมือง)
  • อ่านเสียงไม้หันอากาศ เป็นเสียง สระ แอ ผสมกับไม้ไต่คู้ เช่น คำว่า ตัน (ทัน)ออกเสียงว่า แต็น , หม่าแต็น (พุทรา)

หมายเหตุ (น.คือ คำนาม ก. คือคำกริยา)

สำเนียงจะสูงต่ำกันไป บางคำหากฟังสำเนียง คำคำเดียว กันแต่ ออกเสียงต่างกันนิดเดียว ความหมายจะเปลี่ยนไปทันที ซึ่งสำเนียงการผันจะต่างกันนิดเดียว เพราะชาวไทลื้อมักพูดเร็ว และตัดประโยคคำให้สั้นลง เช่น คำว่า เมอ แปลว่า ไป, บฺเม้อ (บ ควบกับคำว่าเมอ ออกเสียงสั้นครึ่งเสียง) แปลว่า ไม่ไป ,ได่ (ได้) บฺได่ (ไม่ได้) ออกเสียง บ่ะ ครึ่งเสียง ควบกับคำว่าได่

[แก้] สำเนียง

ภาษาไทลื้อในตระกูลเผ่าไทลื้อทั้ง 5 เผ่า นั้นแบ่งสำเนียงภาษาการพูดออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ โดยอาศัยสภาพทางภูมิศาสตร์ของแม่น้ำล้านจ้าง(โขง) เป็นตัวแบ่ง สำเนียงแรก คือ สำเนียงเชียงรุ่ง และสำเนียงเมืองล้า

1. สำเนียงเชียงรุ่ง หรือพูดอีกอย่างหนึ่งคือ สำเนียงคนยองถือว่าเป็นสำเนียงภาษากลางของชาวไทลื้อ คือเป็นภาษาของชาวเชียงรุ่ง เป็นสำเนียงที่พูดช้าและฟังดูสุภาพ มักมีคำว่า "เจ้า" ต่อท้ายเหมือนคนล้านนา สำเนียงนี้เป็นสำเนียงที่ใช้ในบริเวณสิบสองปันนาตอนกลาง และตะวันตกของสิบสองปันนา ครอบคลุ่มถึงรัฐฉาน ประเทศพม่า ประกอบด้วย (เมืองยอง, เมืองหลวย, เมืองยู้, เมืองเชียงลาบ, เมืองเลน, เมืองพะยาก และเมืองไฮ) เลยมาถึงประเทศลาวแถบเมืองสิงห์ (เชียงทอง), เชียงแขง, เวียงภูคา, บ่อแก้ว, ไซยะบูลี, เชียงฮ่อน, เชียงลม และหงสา โดยมีสำเนียงจะออกกลางๆ การผันสำเนียงเสียง จะอยู่ในระดับกลางๆ ขึ้นๆ ลงๆ ค่อนข้างน้อย แต่มักตัดคำพูดควบกันให้สั้นลง และมักเอื้อนเสียงพูด หรือลากเสียงยาว ภาษาชาวไทลื้อกลุ่มนี้พูดกันมากในจังหวัดลำพูน เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ เชียงราย น่าน (นับแต่ ตำบลยม อำเภอท่าวังผา, อำเภอปัว ขึ้นไปจนถึงเมืองเงิน และหลวงพระบาง, เมืองสิงห์ ของประเทศลาว)

2. สำเนียงภาษาไทลื้อกลุ่มเมืองล้า ได้รับอิทธิพลสำเนียงมาจากภาษาลาว หรือภาษาพวน มาค่อนข้างมาก สำเนียงการพูดออกไปทางภาษาลาว การผันสำเนียงขึ้นลงค่อนข้างเร็ว แต่ต่างกันที่สำเนียงพูดยังคงเป็นภาษาลื้อที่ไม่มี สระ อัว อัวะ เอีย สำเนียงการพูดนี้จะพูดในกลุ่มของชาวไทลื้อเมืองหล้า เมืองพง เมืองมาง เมืองเชียงบาน โดยในประเทศไทย ภาษากลุ่มนี้จะพูดใน อำเภอเชียงม่วน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา, อำเภอสองแคว อำเภอท่าวังผา (เฉพาะตำบลป่าคา และตำบลยอด อำเภอสองแคว) จังหวัดน่าน)

นอกจากนี้คำบางคำในภาษาไทลื้อยังแตกต่างกันไปตามสภาพของภูมิศาสตร์ และอิทธิพลของภาษากลุ่มที่ใกล้เคียง