ภาษาไทใหญ่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภาษาไทใหญ่
Shan-liktai2.png ลิ่กไต๊ လိၵ်ႈတႆးဢမ်ႇၼၼ်ၽႃႇသႃႇတႆး
(ၵႂၢမ်းလၢတ်ႈတႆး)
พูดใน: พม่า 
ภูมิภาค: ทวีปเอเชีย
จำนวนผู้พูด: 3.3 ล้านคน 
อันดับ: 126
ตระกูลภาษา: ภาษากลุ่มไท-กะได
 ภาษากลุ่มไต
  ภาษากลุ่มไตตะวันตกเฉียงเหนือ
   ภาษาไทใหญ่ 
ระบบการเขียน: อักษรไทใหญ่
รหัสภาษา
ISO 639-1: ไม่มี
ISO 639-2: shn
ISO 639-3: shn
สารานุกรมภาษา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมภาษา

ภาษาไทใหญ่ (ไทใหญ่:Shan-liktai2.png ลิ่กไต๊) เป็นภาษาตระกูลไท-กะได ใช้พูดในภาคเหนือของประเทศพม่า ประเทศไทย และทางตอนใต้ของประเทศจีน มีเสียงวรรณยุกต์ 5 เสียง ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนผู้พูดที่แน่นอน เนื่องจากสงครามระหว่างพม่ากับไทใหญ่ ทำให้การเข้าไปศึกษาเกี่ยวกับชาวไทใหญ่ทำได้ยาก คาดว่ามีผู้พูดราว 4-30 ล้านคน มีอักษรเป็นของตนเอง 2 ชนิดคือ อักษรไทใหญ่ ใช้ในพม่า และอักษรไทใต้คง ใช้ในจีน

แม้ว่าจะมีคำกล่าวว่า "อย่ากิ๋นอย่างม่าน อย่าต๋านอย่างไต" ซึ่งเปรียบเทียบกับวิถีชีวิตที่แตกต่างกันของชาวพม่า ที่ให้ความสำคัญกับการกินอยู่ กับชาวไทใหญ่ที่ให้ความสำคัญแก่การทำบุญ ถึงกระนั้นไทใหญ่ก็รับวัฒนธรรม ศาสนา ตลอดจนถึงคำในภาษาพม่าเข้ามามาก จนคำไทใหญ่หลายถิ่นเป็นกว๊ามไตโล้เล้ คือไทใหญ่พูดคำพม่าปนไปหมด เช่นที่เมืองสีป้อ และเมืองยางเป็นต้น[1]

เนื้อหา

[แก้] สำเนียงท้องถิ่น

ภาษาไทใหญ่มีสำเนียงแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น เช่น ฉานเหนือ ฉานใต้ เชียงตุง และพรมแดนติดกับจีนเรียกว่า ไทเหนือ โดยภาษาเมืองหนอง ถือเป็นภาษาไทหลวง สำเนียงของฉานเหนือ และฉานใต้จะแตกต่างโดยชัดเจน ส่วนที่เชียงตุงชนส่วนใหญ่มีเชื้อสายไทเขิน โดยมีส่วนต่างกับภาษาไทใหญ่อื่นๆ มาก และมีศัพท์เฉพาะค่อนข้างมาก และเสียง ร. ไม่เป็น ฮ. ไปทั้งหมด โดยเชียงตุงกับมืองไหยจะมีสุภาษิตคล้ายคลึงกันมากเลยทีเดียว

[แก้] เสียงวรรณยุกต์

วรรณยุกต์ ไทใหญ่ เสียง อักษรไทย ไทย
จัตวา ၼႃ /nǎː/ หนา หนา
เอก ၼႃႇ /nàː/ หน่า มาก
โท ၼႃႈ /nāː/ หน้า หน้า
ตรี ၼႃး /náː/ น้า นา
โทสั้น ၼႃႉ /na̰/ น่า น้า
  • คำที่เป็นเสียงตรีในภาษาไทใหญ่ ที่ใช้พยัญชนะตรงกับพยัญชนะตํ่าไทยนั้น ส่วนใหญ่จะตรงกับคำเสียงสามัญของภาษาไทย เช่น น้า แปลว่า นา, งู้ แปลว่า งู, ม้า แปลว่า มา, ล้า แปลว่า ลา, น้าน แปลว่า นาน เป็นต้น
  • คำที่เป็นเสียงจัตวาในภาษาไทใหญ่ ที่ใช้พยัญชนะตรงกับพยัญชนะกลางไทยนั้น ส่วนใหญ่จะตรงกับคำเสียงสามัญของภาษาไทย เช่น ก๋า แปลว่า กา, หลี(ดี๋) แปลว่า ดี, จ๋าง แปลว่า จาง, ป๋า แปลว่า ปลา, ต๋าย แปลว่า ตาย, อ๋าย แปลว่า อาย เป็นต้น
  • คำที่เป็นเสียงโทสั้นในภาษาไทใหญ่ ที่ใช้พยัญชนะตรงกับพยัญชนะตํ่าไทยนั้น ส่วนใหญ่จะตรงกับคำเสียงตรีของภาษาไทย เช่น ม่า แปลว่า ม้า, ก้า(ค่า) แปลว่า ค้า, จี้(ชี่) แปลว่า ชี้, จ้าง(ช่าง) แปลว่า ช้าง, ค่าน แปลว่า คร้านเป็นต้น

[แก้] การทักทาย (ล่องโต้งตั้ก)

ไทย ไทใหญ่ การออกเสียง หมายเหตุ
สวัสดี Shan-greeting.png หม่าอื่อ-สุง-ข้า คำว่า หม่าอื่อ-สุง ตรงกับคำไทยว่า ใหม่สูง หมายถึง เจริญ ก้าวหน้า ใช้เป็นคำทักทาย หมายถึง สวัสดี มีการเติมคำว่า ข้า ลงไปเพื่อบอกความสุภาพเช่นเดียวกับ ครับและค่ะในภาษาไทย
สบายดีหรือ ယူႇလီႁႃႉ? หยู่-หลี-ฮ้า ตรงกับคำไทยว่า อยู่ดีหรือ
สบายดีครับ/ค่ะ ယူႇလီယူႇၶႃႈ หยู่-หลี-อยู่-ข้า
แล้วท่าน/คุณล่ะสบายดีหรือ ၸဝ်ႈႁဝ်းၶဝ်/သူၶဝ်ေၵႃႈယူႇလီယူႇၶႃႈေၼႃႈ? จ้า-เฮา-เขา/สู-เขา-ก็-อยู่-หลี-อยู่-ข้า-น่อ
สบายดีครับ/ค่ะ ขอบคุณ ယူႇလီယူႇၶႃႈ ၶွပ်ႈၸႂ်ၶႃႈ หยู่-หลี-อยู่-ข้า
สวัสดี မႂ်ႇသုင် ใหม่สูง
ตอนเช้า ယၢမ်းၸဝ်ႉ ยามเจ้า
ตอนกลางวัน ယၢမ်းၵၢင်ဝၼ်း ยามก๋างวัน
ตอนเย็น/ค่ำ ယၢမ်းယဵၼ်/ၶမ်ႈ ยามเย็น/ค่ำ
ลาก่อน မွၼ်းမွၼ်း มอนมอน
แล้วเจอกันใหม่ ၵွႆႈထူပ်းၵၼ်မႂ်ႇ ก้อย-โทบ-กั๋นใหม่
โชคดี ၸုၵ်ႈလီ/ႁႂ်ႈမီးသုၼ်ႇမီးမၢၼ် โซ่กหลี/ให้มีสู่นมีหมาน
ขอโทษ ၵၼ်ႇေတႃး กั่นตอ
คุณชื่ออะไร ၸိုဝ်ႈၸဝ်ႈႁွင်ႉဝႃႈသင်/ၸိုဝ်ႈသင်? จื๋อเจ้าฮ่องว่าสัง/จื๋อสัง
ผม/ดิฉันชื่อ ... ၶႃႈႁဝ်းၸိုဝ်ႈ ... ข้าเฮาจื๋อ...
ยินดีที่ได้รู้จัก ယိၼ်းလီတီႈလႆႈႁူႉၸၵ်း ยินหลีตี้ไหล้ฮู่จั๊ก
เช่นกัน မိူၼ်ၵၼ် เหมินกั๋น
แล้วเจอกัน ထူပ်းၵၼ်မႂ်ႇ โทบกั๋นใหม่
ขอบคุณ ၶွပ်ႈၸႂ် ขอบใจ๋
ไม่เป็นไร ဢမ်ႇပဵၼ်သင် อ่ำเป็นสัง

[แก้] การนับเลข (ล่อง-นั่บ-อ่าน)

လွင်ႈၼပ်ႉဢၢၼ်ႇ

(႑) หนึ้ง ၼိုင်ႈ (႒) สอง သွင် (႓) สาม သၢမ် (႔) สี่ သီႇ (႕) ห้า ႁႃႈ (႖) ฮก ႁူၵ်း (႗) เจ๊ต ၸဵတ်း (႘) แปต ပႅတ်ႇ (႙) เก้า ၵဝ်ႈ (႑႐) ซิป သိပ်း

-เอ๊ต (เลขหนึ่งในหลักหน่วยเช่นเดียวกับภาษาไทย) ဢဵတ်း

ซีบเอ๊ด (สิบเอ็ต) သိပ်းဢဵတ်း (႑႑)

ซ้าว (ยี่สิบ) သၢဝ်း (႒႐)

ปาก (ร้อย) ပၢၵ်ႇ (႑႐႐)

เหง (พัน) ႁဵင် (႑ႇ႐႐႐)

หมื่น မိုၼ်ႇ (႑႐ႇ႐႐႐)

แสน သႅၼ် (႑႐႐ႇ႐႐႐)

ล่าน လၢၼ့် (႑ႇ႐႐႐ႇ႐႐႐)

[แก้] เวลา (ยาม)

ယၢမ်း

[แก้] ปี เดือน วัน (ปี๋ เหลิน วัน)

ပီႊလိူၼ်ဝၼ်း

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ บรรจบ พันธุเมธา. ไปสอบคำไทย. โครงการเผยแพร่วัฒนธรรมไทย กระทรวงศึกษาธิการ, 2522

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น