มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

(เปลี่ยนทางมาจาก มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี)

มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี (อังกฤษ: Dhonburi Rajabhat University )

มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
“ สิกฺขมยปญฺญา ปัญญาเกิดจากการศึกษา ”

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี มีประวัติความเป็นมาเริ่มจากการจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูสตรีอาชีวศึกษา สังกัดกรมอาชีวศึกษาขึ้น และเปิดสอนเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2491 ต่อมาได้โอนมาสังกัดกรมการฝึกหัดครูตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อ พ.ศ. 2498 และได้เปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนฝึกหัดครูสตรีอาชีวศึกษา เป็นโรงเรียนฝึกหัดครูธนบุรี เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 และเป็นวิทยาลัยครูธนบุรี เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2513 และสามารถผลิตครูได้ถึงระดับปริญญาตรี ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 พ.ศ. 2527 วิทยาลัยครูธนบุรี รวมอยู่ในวิทยาลัยครูกลุ่มที่แปด ซึ่งประกอบด้วย วิทยาลัยครูจันทรเกษม วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา วิทยาลัยครูพระนคร วิทยาลัยครูสวนดุสิต และวิทยาลัยครูสวนสุนันทา ตามข้อบังคับของสภาการฝึกหัดครู ว่าด้วยการบริหารกลุ่มวิทยาลัย ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 โดยให้วิทยาลัยครูดำเนินการร่วมกัน เรียกว่า “สหวิทยาลัย” พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม “สถาบันราชภัฎ” แทน “วิทยาลัยครู” เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 และประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ เมื่อ พ.ศ. 2538 โดยยกฐานะวิทยาลัยครูทุกแห่ง เป็น “สถาบันราชภัฏ” วิทยาลัยครูธนบุรี จึงเปลี่ยนฐานะเป็นสถาบันราชภัฏธนบุรี ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษา และสาขาวิชาการอื่น ทั้งระดับปริญญาตรีและสูงกว่าปริญญาตรี พ.ศ. 2542 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เปิดสอนระดับบัณฑิตศึกษา สาขาบริหารการศึกษา สาขาไทยศึกษา สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต (ป.บัณฑิต) สาขาไทยศึกษาและหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู พ.ศ. 2547 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ มหาราช ทรงลงพระปรมาภิไธย ในพระราชบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 เป็นผลทำให้สถาบันราชภัฏทุกแห่งเปลี่ยนสถานภาพเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นนิติบุคคล สถาบันราชภัฏธนบุรี จึงเปลี่ยนสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 พ.ศ. 2549 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี พัฒนาหลักสูตรระดับปริญญาตรี และปริญญาโทขึ้นเองหลายหลักสูตร และทำการปรับปรุงหลักสูตรสภาสถาบันราชภัฏเดิมให้เป็นหลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี พ.ศ. 2549 เพื่อให้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา พ.ศ. 2548 และใช้เปิดสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2549 เป็นต้นมา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ มีภาระหน้าที่หลักในการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่เน้นคุณภาพและประสิทธิภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นและประเทศชาติ มุ่งมั่นจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้มีความงอกงามทางปัญญา แสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ และเป็นนักวิชาชีพที่ดี รวมทั้งได้พัฒนาและสร้างเสริมการวิจัย ให้เป็นเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้ การสร้างองค์ความรู้ และการพัฒนางานในหน้าที่ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และให้บริการทางวิชาการ เพื่อร่วมพัฒนาชุมชนท้องถิ่นให้เจริญก้าวหน้าและเกิดความมั่นคงยั่งยืน สมกับบทบาทของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

[แก้] สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

[แก้] ตราประจำมหาวิทยาลัย

  • สีน้ำเงิน แทนค่าสถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ให้กำเนิด และพระราชทาน “สถาบันราชภัฏ”
  • สีเขียว แทนค่าแหล่งที่ตั้งของสถาบันฯ 41 แห่งในแหล่งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม
  • สีทอง แทนค่าความเจริญรุ่งเรืองทางภูมิปัญญา
  • สีส้ม แทนค่าความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ก้าวไกลใน 40 สถาบัน
  • สีขาว แทนค่าความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

[แก้] สีประจำมหาวิทยาลัย

  • สีประจำมหาวิทยาลัย คือ สีเหลือง - ขาว

[แก้] ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย

Phigun.gif Chan.gif พิกุล - ต้นจัน

[แก้] คติพจน์/ปรัชญา/วิสัยทัศน์/พันธกิจ

คติพจน์ (Motto)

 	สิกขมยปญญา  ปัญญาเกิดจากการเรียนรู้

ปรัชญา (Philosophy)

 	 มหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้คู่คุณธรรม บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นกับภูมิปัญญาสากล สร้างองค์ความรู้เพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้ยั่งยืน และสร้างสังคมคุณภาพ

วิสัยทัศน์ (Vision)

 	มหาวิทยาลัย ราชภัฏธนบุรีเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ได้มาตรฐานสากล บริการวิชาการแก่สังคม ธำรงศิลปวัฒนธรรมเชื่อมโยงการวิจัยสู่การพัฒนาท้องถิ่น

พันธกิจ (Mission)

 	 มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีมุ่งมั่น
            1. จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนให้มีความงอกงามทางปัญญา แสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง มีคุณธรรม จริยธรรม และเป็นนักวิชาชีพที่ดี
            2. พัฒนาและสร้างเสริมการวิจัยให้เป็นเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้ การสร้างองค์ความรู้และการพัฒนาองค์กร
            3. เป็นแหล่งเรียนรู้และบริการวิชาการที่ทันสมัย เพื่อการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน
            4. เป็นแหล่งศึกษารวบรวม สืบสาน และสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรม บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น กับภูมิปัญญาสากล

[แก้] คณะ

[แก้] สถาบัน/ศูนย์และหน่วยงานในมหาวิทยาลัย

[แก้] สถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น