คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล
สัญลักษณ์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ถือได้ว่าเป็นคณะวิทยาศาสตร์ที่มีอาจารย์ได้รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นของไทยมากที่สุดของประเทศ และเป็นคณะวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการจัดอันดับสูงสุดในสาขาวิทยาศาสตร์ ทั้งด้านการเรียนการสอน และด้านการวิจัย จากการจัด อันดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย โดย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เมื่อปี พ.ศ. 2549 [1]

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการประกาศจัดตั้งในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2501 ในนาม "โรงเรียนเตรียมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์" โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข เป็นผู้ดำเนินการจัดตั้ง และดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน มีวัตถุประสงค์เบื้องต้น เพื่อจัดการศึกษาเตรียมแพทย์ และเตรียมประเภทวิชาอื่นๆ ขึ้นภายในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ โดยใช้สถานที่ที่ตึกเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในปีแรก และย้ายมายังอาคารเรียนใหม่ ณ ถนนศรีอยุธยา ในปีต่อมา

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท

หลังจากนั้น ในปี พ.ศ. 2503 รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติ ยกฐานะขึ้นเป็น "คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์" เปิดหลักสูตรการศึกษาในสาขาต่างๆ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ และวิทยาศาสตร์การแพทย์ ถึงระดับปริญญาตรี-โท (และเอก ในเวลาต่อมา) โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข ดำรงตำแหน่งคณบดีท่านแรก

ต่อมา คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ย้ายสถานที่ตั้งมาพื้นที่บนถนนพระรามที่ 6 ตรงข้ามกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งรัฐบาลไทยได้ให้การสนับสนุนที่ดิน 40 ไร่ และงบประมาณร่วมกับมูลนิธิร็อกกิเฟลเลอร์ ในการก่อสร้างอาคารบรรยาย และอาคารทดลองวิทยาศาสตร์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดตึกคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511

เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2512 มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ใช้พระนามาภิไธย "มหิดล" เป็นนามใหม่ของมหาวิทยาลัย และคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ใช้ชื่อใหม่เป็น "คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล" มาจนถึงปัจจุบัน

[แก้] ทำเนียบคณบดี

1. ศาสตราจารย์ ดร. สตางค์ มงคลสุข     พ.ศ. 2503-2514
2. ศาสตราจารย์ ดร.กำจร มนุญปิจุ     พ.ศ. 2514-2518
3. ศาสตราจารย์ ดร. สถิตย์ สิริสิงห     พ.ศ. 2518
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ไพโรจน์ เปรมปรีดิ์     พ.ศ. 2519-2534
5. ศาสตราจารย์ ดร.นพ. พรชัย มาตังคสมบัติ     พ.ศ. 2534-2542
6. ศาสตราจารย์ ดร. อมเรศ ภูมิรัตน     พ.ศ. 2542-2546
7. ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ โศภน     พ.ศ. 2546-2547
8. ศาสตราจารย์ ดร. อมเรศ ภูมิรัตน (วาระที่ 2)     พ.ศ. 2547-2550
9. ศาสตราจารย์ ดร. ศกรณ์ มงคลสุข     พ.ศ. 2550-ปัจจุบัน

[แก้] ภาควิชา

[แก้] หลักสูตร

ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

วิทยาศาสตรบัณฑิต(วท.บ.)

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(วท.ม.) (หลักสูตรนานาชาติ)

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(ปร.ด.) (หลักสูตรนานาชาติ)

  • สาขากายวิภาคศาสตร์และชีววิทยาโครงสร้าง
  • สาขาคณิตศาสตร์
  • สาขาเคมีเชิงฟิสิกส์
  • สาขาเคมีวิเคราะห์
  • สาขาเคมีอนินทรีย์
  • สาขาเคมีอินทรีย์
  • สาขาจุลชีววิทยา
  • สาขาชีวเคมี
  • สาขาชีววิทยา
  • สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ
  • สาขาพยาธิชีววิทยา
  • สาขาพิษวิทยา
  • สาขาฟิสิกส์
  • สาขาฟิสิกส์เชิงเคมี
  • สาขาเภสัชวิทยา
  • สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกาย
  • สาขาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุ
  • สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์
  • สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา
  • สาขาเวชศาสตร์์ระดับโมเลกุล
  • สาขาสรีรวิทยา

[แก้] หน่วยวิจัย และเครือข่ายวิจัย

[แก้] ที่ตั้ง

  1. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท : 272 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทร.0-2201-5000 โทรสาร 0-2354-7165
  2. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา : ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170 โทร.0-2441-9323

[แก้] สถานที่และกิจกรรมสำคัญภายในคณะ

สวนป่าในเมือง
Open House 2547
  1. ตึกกลม : เป็นอาคารเรียนขนาด 1,500 ที่นั่ง เป็นสถาปัตยกรรมที่มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของคณะวิทยาศาสตร์ สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2508 มีโถงใหญ่บริเวณด้านล่างสำหรับจัดกิจกรรม และรอบๆ ตึกเป็นลานมีโต๊ะนั่งอ่านหนังสือ และเป็นสถานที่จัดกิจกรรมในวาระโอกาสพิเศษต่างๆ
  2. สวนป่าในเมือง  : เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของคณะวิทยาศาสตร์ ที่มีการรักษาคุณลักษณะเฉพาะของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ จนได้รับรางวัลหน้าบ้านน่ามอง และรางวัลพระราชทานพฤกษานคราเหรียญเชิดชูเกียรติ จากกรุงเทพมหานคร บริเวณโดยรอบเป็นสวนป่าสัก สวนหย่อม สวนสุขภาพเพื่อการออกกำลังกาย ลานรวมใจ สวนนกเงือก และเส้นทาง Bio-Geo Path แหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนทางชีววิทยา พฤกษศาสตร์ และธรณีวิทยา
  3. พิพิธภัณฑ์สตางค์ มงคลสุข และหอเกียรติยศนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น : ตั้งอยู่ภายในห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข ชั้น 2-3 ตึกฟิสิกส์ เป็นอนุสรณ์รำลึกถึงเกียรติคุณของ ศาสตราจารย์ ดร. สตางค์ มงคลสุข คณบดีท่านแรก และผู้ก่อตั้งคณะวิทยาศาสตร์ จัดแสดงนิทรรศการถาวร จดหมายเหตุ ประวัติผลงานของคณาจารย์ที่สร้างชื่อเสียงให้แก่คณะวิทยาศาสตร์ เป็นสถานที่ศึกษาหาความรู้ของนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป
  4. กิจกรรม Open House : จัดขึ้นทุกปีที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียน นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยอื่น และผู้สนใจ เข้าชมคณะ งานวิจัย ห้องปฏิบัติการ และกิจกรรมต่างๆ ของคณะฯ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาต่อทางวิทยาศาสตร์ให้กับนักเรียน ในงานนี้นอกจากจะได้เข้าชมสถานที่และการทดลองทางวิทยาศาสตร์อย่างใกล้ชิดแล้ว นักเรียนยังสามารถปรึกษาการเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยมหิดลกับนักศึกษารุ่นพี่และคณาจารย์ได้อีกด้วย

[แก้] คณาจารย์และศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

นับตั้งแต่ก่อตั้งคณะฯ เมื่อปี พ.ศ. 2501 มาจนถึงปัจจุบัน มีคณาจารย์ที่ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ โดยได้รับรางวัลดีเด่นด้านการสอนและการวิจัยทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ เป็นจำนวนมาก อาทิ รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น จำนวน 10 ท่าน รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ จำนวน 7 ท่าน รางวัลอาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ จากที่ประชุมประธานสภาอาจารย์ มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.) จำนวน 4 ท่าน รางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นจำนวน 5 ท่าน รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่จำนวน 13 ท่าน รางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ จำนวน 1 ท่าน รางวัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มูลนิธิเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จำนวน 6 ท่าน เป็นต้น โดยศิษย์เก่าและคณาจารย์ที่มีชื่อเสียง เช่น

ดูเพิ่ม รายชื่อบุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัยมหิดล

[แก้] อ้างอิง

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น


ภาษาอื่น