มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
ตราประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.jpg
ดูบทความหลักที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏ

มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการและกระจายโอกาสทางการศึกษาของประชากรในระดับภูมิภาค โดยจัดตั้งพร้อมกับสถาบันราชภัฏอีก 4 แห่ง อันได้แก่ สถาบันราชภัฏชัยภูมิ, สถาบันราชภัฏศรีสะเกษ, สถาบันราชภัฏนครพนม (ปัจจุบัน ได้รวมเข้ากับ มหาวิทยาลัยนครพนม แล้ว) และ สถาบันราชภัฏกาฬสินธุ์

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

คณะรัฐมนตรีมีมติให้ก่อตั้งสถาบันราชภัฏร้อยเอ็ดขึ้น ในปี พ.ศ. 2540 เพื่อกระจายการศึกษาไปยังส่วนภูมิภาคให้มีความเพียงพอต่อการต้องการของประชาชน โดยสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ กระทรวงศึกษาธิการ ได้ดำเนินการจัดตั้ง "โครงการจัดตั้งสถาบันราชภัฏร้อยเอ็ด" ขึ้น และได้ประกาศพระราชกฤษฏีกาจัดตั้งสถาบันราชภัฏร้อยเอ็ดในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เฉลย ภูมิพันธุ์ ดำรงตำแหน่งอธิการบดี เป็นท่านแรก

ต่อมา ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2547 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 มีผลให้สถาบันราชภัฏร้อยเอ็ด ยกฐานะเป็น "มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด" ดังเช่นปัจจุบัน

[แก้] หน่วยงานและหลักสูตร

[แก้] คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์

ภาควิชามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์

  • หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
    • สาขาวิชาภาษาจีน
    • สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ
    • สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม
    • สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน

ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร
  • สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์
  • สาขาวิชาก่อสร้าง

[แก้] หน่วยงานระดับวิทยาลัย

วิทยาลัยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

  • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

วิทยาลัยนิติรัฐศาสตร์

  • สาขาวิชานิติศาสตร์
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

วิทยาลัยการจัดการ

  • สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
  • สาขาวิชาการบัญชี
  • สาขาวิชาการจัดการทั่วไป
  • สาขาวิชาการตลาด

วิทยาลัยการศึกษา

  • สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา
  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
  • สาขาวิชาภาษาไทย
  • สาขาวิชาดนตรีศึกษา
  • สาขาวิชาสังคมศึกษา (หลักสูตรใหม่ 2553)
  • สาขาวิชาพลศึกษา (หลักสูตรใหม่ 2553)
  • สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย

บัณฑิตวิทยาลัย

  • หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
  • หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา
  • หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น
  • หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู
  • หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา


[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น