มหาวิทยาลัยศรีปทุม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Logo SPU.png
“ การศึกษาสร้างคน คนสร้างชาติ ”

มหาวิทยาลัยศรีปทุม (อังกฤษ: Sripatum University) เป็นมหาวิทยาลัยตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร

เนื้อหา

[แก้] ประวัติมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยศรีปทุม เป็นสถาบันอุมดมศึกษาเอกชนหนึ่งในห้าแห่งแรกของประเทศไทย ได้รับการสถาปนาขึ้นเมื่อ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2513 โดย ดร.สุข พุคยาภรณ์ ผู้ที่มีความเชื่อว่า การศึกษาสร้างคน คนสร้างชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จาก สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงพระราชทานนาม "ศรีปทุม" พร้อมความหมาย ว่า "เป็นบ่อเกิดแห่งวิชาที่เบิกบานเช่นดอกบัว" ทั้งเสด็จพระราชดำเนินเปิดป้ายนามสถาบันและพระราชทาน ปริญญาบัตร อนุปริญญาบัตร และประกาศนียบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษารุ่นที่ 1,2 และ 3 เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระด้านการจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของรัฐบาล และตอบสนองความต้องการของเยาวชนในส่วนภูมิภาค มหาวิทยาลัยจึงได้ขยายวิทยาเขตออกไปในปีการศึกษา 2530 โดยได้จัดตั้งวิทยาเขตที่สมบูรณ์แบบเป็นครั้งแรกที่จังหวัดชลบุรี ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในพิธีเปิดมหาวิทยาลัยศรีปทุมวิทยาเขตชลบุรี เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2530ในปี พ.ศ. 2537 มหาวิทยาลัยได้ตระหนักถึงความต้องการการพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่องสำหรับผู้บริหาร ซึ่งเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีความสำคัญยิ่งขององค์กร จึงขออนุมัติทบวงมหาวิทยาลัยจัดตั้งมหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาคารพญาไท ณ ชั้น 12 อาคารเอ็กซิม เขตพญาไท เพื่อเปิดสอนหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาสำหรับนักบริหารนับตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลามากกว่า 3 ทศวรรษ มหาวิทยาลัยศรีปทุมได้ปฏิบัติพันธกิจหลัก 4 ประการของสถาบันอุดมศึกษา คือ การสอน การวิจัย การให้บริการวิชาการแก่สังคม และการทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ได้อย่างครบถ้วน โดยมีปณิธานที่จะสร้างบัณฑิตศรีปทุมให้เป็นผู้กอปรด้วย "ปัญญา เชี่ยวชาญ เบิกบาน คุณธรรม" บัณฑิตมหาวิทยาลัยศรีปทุมได้สำเร็จการศึกษา ออกสู่สังคมและทำหน้าที่รับใช้ประเทศชาติ นำมาซึ่งความภาคภูมิใจและเป็นกำลังใจที่จะนำมหาวิทยาลัยแห่งนี้ก้าวไปข้างหน้าเป็น "มหาวิทยาลัยชั้นนำสำหรับคนรุ่นใหม่" อย่างแท้จริง


การพัฒนามหาวิทยาลัย เพื่อมุ่งสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำในภูมิภาค มหาวิทยาลัยศรีปทุม ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนา ทั้งด้านคุณภาพ และกายภาพ เพื่อสร้างทรัพยากรบุคคลให้มีความพร้อมต่อการพัฒนาด้านสังคม เศรษฐกิจและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยจึงมุ่งพัฒนาในด้านต่างๆ โดยสรุปดังนี้

1. การพัฒนาด้านวิชาการ

ถือเป็นหัวใจสำคัญที่สุดของระบบการศึกษา ในมหาวิทยาลัยศรีปทุม มหาวิทยาลัยจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษา การส่งเสริมคณาจารย์ให้เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ ด้วยทุนการศึกษาต่อ ทั้งในและต่างประเทศ ทุนวิจัย ทุนส่งเสริมการแต่งตำรา ทุนอบรมและศึกษาดูงานต่างประเทศ พัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสาขาวิชาชีพต่างๆ นอกจากระบบการประกันคุณภาพที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องแล้วมหาวิทยาลัย ยังได้รับการรับรองระบบการจัดการคุณภาพตามมาตรฐานสากล ISO 9001:2000 การจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีและบัญฑิตศึกษา ทั้งระบบ จาก Bureau Varitas Quality International (BVQI) ตั้งแต่ 8 มีนาคม 2545 ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเปิดดำเนินการสอนในระดับปริญญาโท รวม 50 หลักสูตร และเปิดสอนในหลักสูตรปริญญาเอก 2 หลักสูตร โดยกำหนดให้มีการผสมผสาน ทั้งด้านทฤษฏีและปฏิบัติ เพื่อให้ผู้เรียนคิดเป็นปฏิบัติได้ นอกจากการสอนในชั้นเรียน มหาวิทยาลัยจัดให้มีโครงการฝึกงานในสถานประกอบการจริง ในปีการศึกษา 2545 จนถึงปัจจุบันมหาวิทยาลัยศรีปทุมได้รับเลือก จากทบวงมหาวิทยาลัยให้เป็นหนึ่งในจำนวน 17 สถาบัน เข้าโครงการสหกิจศึกษา (Co-Operative Education) ซึ่งเป็นโครงการนำร่องของทบวงมหาวิทยาลัย ความสำเร็จของนักศึกษาที่เกิดจากผลงานด้านวิชาการนำมาซึ่งความภาคภูมิใจต่อมหาวิทยาลัย และสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทย มีดังต่อไปนี้รางวัลเกียรติยศ ALEXANDROS TOMBAZISPEIZE จากผลงาน The Bangkok Kitchen ในการประกวดแบบระดับนานาชาติ จัดโดย สมาพันธ์สถาปนิกนานาชาติ (Union Internationale des Architectes) ณ ประเทศสวิทเซอร์แลนด์ เมื่อเดือนมิถุนายน 2541 รางวัลชนเลิศการออกแบบสถาปัตยกรรม ในการประกวดผลงาน การออกแบบระดับนานาชาติในหัวข้อ The Architecture and Cities in the 21 st Sentury หรือสถาปัตยกรรมและเมืองในศตวรรษที่ 21 ซึ่งจัดโดย Union Internationale des Architectes (UIA) ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน โดย ผลงานชิ้นนี้ ได้รับการนำไปแสดง ณ กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน ในเดือนกรกฎาคม 2545 ด้วยชนะเลิศการประดิษฐ์หุ่นยนต์สมองกล ประเภทหุ่นยนต์บริการและรางวัลหุ่นยนต์ขวัญใจประชาชน ในการแข่งขัน Partner Robot ในมหกรรมหุ่นยนต์นานาชาติ "RoboFesta 2001" ที่เมือง Yokohama ประเทศญี่ปุ่น

2. การพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

มหาวิทยาลัยศรีปทุมตระหนักถึงความสำคัญของการใช้เทคโนโลยี เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน และเพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับอาจารย์ นักศึกษา ในการแสวงหาความรู้ที่ไร้ขอบเขตจำกัดใน สภาวะไร้พรมแดน มหาลัยจึงจัดตั้งหน่วยงานให้บริการด้านเทคโนโลยีทางการศึกษาได้แก่ ศูนย์ e-Learning ศูนย์คอมพิวเตอร์ ศูนย์สาระสนเทศเพื่อการจัดการ ศูนย์มีเดีย และศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนให้มีการประดิษฐ์ และนวัตกรรมใหม่ๆ โดยการจัดตั้งกองทุนสิ้งประดิษฐ์และนวัตกรรม สำหรับนักศึกษาด้วยทุนประเดิมจำนวน 3,000,000 บาท ในปีการศึกษา 2545 สนับสนุนคณาจารย์ในการจัดทำสื่อเสริมการสอนผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์

3. การพัฒนาด้านการภาพและสิ่งแวดล้อม

ที่ตั้งของมหาวิทยาลัยศรีปทุมวิทยาเขต ติดกับถนนสายหลักของประเทศ นักศึกษาจึงสามารถเดินทางมาได้สะดวกสบาย มหาวิทยาลัยตระหนักถึงการจัดสภาพแวดล้อมภายใน ที่เอื้อต่อวิถีชีวิตความเป็นนักศึกษาจึงมุ่งจัดภูมิทัศน์ให้สวยงาม ในปี พ.ศ. 2540 มหาวิทยาลัยได้รับรางวัล "หน้าบ้านน่ามอง" จากกรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ยังได้มีการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ขึ้นหลายอาคาร กล่าวคือ

อาคาร ดร.สุข พุคยาภรณ์

เปิดทำการในปี พ.ศ. 2535 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานในพิธีเปิด เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2536 อาคาร ดร.สุข พุดยาภรณ์ เป็นอาคารสูง 12 ชั้น ภายในอาคารประกอบด้วย ที่ทำการฝ่ายบริหารบัญฑิตวิทยาลัย และวิทยาลัยนานาชาติ ห้องเรียน และห้องประชุมความจุ 1,200 ที่นั่ง

อาคารสยามบรมราชกุมารี

เปิดทำการในปี พ.ศ. 2539 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมาร ีเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานในพิธีเปิด เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2539 เป็นอาคารสูง 15 ชั้น จัดเป็นศูนย์รวมของคณะที่จัดการเรียนการสอนในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และคณะสารสนเทศศาสตร์ ภายในอาคารนี้ประกอบไปด้วย ศูนย์คอมพิวเตอร์ ศูนย์ Internet ห้องปฏิบัติการที่ทันสมัย ห้องเรียน และห้องประชุม

อาคาร "30 ปี ศรีปทุม"

เปิดทำการ ในปี พ.ศ. 2544 โดยสมเด็จพระเทพรัคนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานในพิธีเปิด เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2544 เป็นอาคารสูง 12 ชั้น ภายในประกอบด้วย ที่ทำการของคณะนิติศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ คณะบัญชี คณะเศรษฐศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ ห้องสมุดมัลติมีเดีย ศูนย์สุขภาพ ศูนย์กีฬาในร่ม และห้องเรียนที่มีโสตทัศนูปกรณ์ทางการศึกษาที่ทันสมัยทุกห้องเรียน

ศูนย์มีเดีย "ดร.วีระ ปิตรชาติ"

เป็นศูนย์ที่มีความพร้อมของอุปกรณ์ สำหรับการเรียนการสอนทางด้านวิทยุโทรทัศน์ ที่ประกอบด้วยสตูดิโอขนาดใหญ่ สตูดิโอขนาดกลาง พร้อมห้องควบคุมชุดถ่ายทำนอกสถานที่ เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติและพร้อมที่จะก้าวไปสู่การทำงานแบบมืออาชีพ รวมทั้งมีห้องปฎืบัติการสำหรับตัดต่อและผลิตสื่อภาพและเสียงที่ทันสมัยสมบูรณ์มากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ

ศูนย์กีฬาในร่ม (Gymnasium)

เป็นสถานที่ออกกำลังกายสำหรับนักกีฬาที่มีความพร้อมด้านอุปกรณ์สนาม และสามารถจัดการแข่งขันที่รองรับผู้ชมได้ 800 ที่นั่ง

ศูนย์สุขภาพ (Health Club)

เป็นศูนย์บริหารร่างกายที่ครบครันด้วยอุปกรณ์การออกกำลังกายที่ทันสมัย ประเภทต่างๆ พร้อมห้อง Aerobic โยคะ โดยผู้ฝึกสอนและทีมบริหารมืออาชีพ

อาคาร "กิจกรรมนักศึกษาและโภชนาการ"

เป็นอาคารสูง 6 ชั้น โดยจัดให้เป็นส่วนของศูนย์อาหาร 4 ชั้น และส่วนของกิจกรรมนักศึกษา สโมสรนักศึกษา และชมรม เพื่อการให้บริการแก่นักศึกษาที่สมบูรณ์แบบ

อาคาร 20 ชั้น

จะดำเนินการก่อสร้างในปี พ.ศ. 2547 เพื่อเป็นหอสมุดกลางแห่งใหม่ที่สมบูรณ์แบบและทันสมัย ในการเป็นแหล่งค้นคว้าทางวิชาการ ด้วยระบบ Digital โดยจะใช้เวลาก่อสร้าง 2 ปี

อาคาร "ดร.สุข-มาลินี พุคยาภรณ์"

4. การพัฒนาด้านกิจกรรมนักศึกษา

มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญต่อพัฒนาการของนักศึกษา จึงส่งเสริมกิจกรรมด้านต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพ ทัศนคติ ความรอบรู้ วิสัยทัศน์ ความเบิกบาน และคุณธรรม โดยฝ่ายกิจการนักศึกษา สโมสรนักศึกษา ชมรมต่าง ๆ กิจกรรมเสริมหลักสูตรที่ทุกสาขาวิชาของแต่ละคณะดำเนินการ จึงเป็นส่วนหนึ่งของโอกาสที่นักศึกษาจะได้แสดงความสามารถตามความถนัดของแต่ละบุคคล นอกจากนี้ยังจัดให้มีศูนย์ให้คำปรึกษาที่พร้อมด้วยผู้ชำนาญการด้านจิตวิทยา คอยให้คำปรึกษาแนะนำอย่างใกล้ชิด ควบคู่ไปกับระบบอาจารย์ที่ปรึกษา

5. การพัฒนาด้านการกีฬา

การกีฬาเป็นส่วนหนึ่งที่จะส่งความสมบูรณ์ ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ มหาวิทยาลัยจึงสนับสนุนให้มีการเล่นกีฬา สนับสนุนพัฒนาทักษะความสามารถทางการกีฬาของนักศึกษา และสนับสนุนการพัฒนาด้านกีฬาอย่างต่อเนื่อง นอกจากจะจัดให้มีความพร้อมด้านสถานที่เพื่อออกกำลังกาย การส่งนักศึกษาเข้าร่วมงานแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกสถาบันแล้ว ยังจัดให้มีทุนการศึกษาสำหรับนักกีฬาปีละประมาณ 300 คน

นักกีฬาของมหาวิทยาลัยได้สร้างชื่อเสียงด้วยการชนะเลิศในกีฬาประเภทต่างๆ ติดต่อกันหลายสมัย

1. ชนะเลิศวอลเล่ย์บแลหญิง ประเภทหญิง 9 ปีติดต่อกัน ในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 21 พ.ศ. 2536 - ครั้งที่ 29 พ.ศ. 2544 2. ชนะเลิศกีฬาวอลเล่ย์บอลอุดมศึกษา ธนาคารกรุงเทพ จำกัด ประเภททีมหญิง 7 ปีติดต่อกัน 3. ชนะเลิศกีฬาเซปัคตะกร้อ ประเภททีมเดี่ยว 3 ปีติดต่อกัน การแข่งขันกีฬาของมหาวิทยาลยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 22 พ.ศ. 2537 - ครั้งที่ 24 พ.ศ. 2539 4. ชนะเลิศกีฬาบาสเกตบอล ประเภททีมหญิง 3 ปี ติดต่อกัน การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 22 พ.ศ. 2537 - ครั้งที่ 24 พ.ศ. 2539 5 .ชนะเลิศฟุตบอลไทยแลนด์ยูนิเวอร์ซิตี้ลีกครั้งที่ 2 พ.ศ. 2541 6 .ได้รับเหรียญทองเป็นอันดับที่ 1 ในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 28 พ.ศ. 2543 ครั้งที่ 29 "แม่โดมเกมส์" พ.ศ. 2544 และครั้งที่ 30 "ศรีปทุมเกมส์" พ.ศ. 2545 7. ชนะเลิศการแข่งขันรักบี้ฟุตบอล 7 คน ในการแข่งขันรักบี้นานาชาติ ครั้งที่ 27 "ศรีปทุมทัวร์นาเมนท์" หาดใหญ่ จังหวัด สงขลา 8. ชนะเลิศการแข่งขันรักบี้ฟุตบอล ประเภท 7 คน และ 15 คน ในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 29 9. ชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลพัชรกิติยาภาคัพ ครั้งที่1 และ 2 10. ชนะเลิศการแข่งขันวอลเล่ย์บอลไทยแลนด์ยูนิเวอร์ซิตี้ลีก ครั้งทื่ 2 ประเภททีม ชายและหญิง

[แก้] วิทยาลัยเขตชลบุรี

เปิดทำการใน พ.ศ. 2543 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานในพิธีเปิดเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2543 เป็นอาคารสูง 14 ชั้น ประกอบด้วย ห้องประชุมสื่อประสม (Multimedia Library) Self Access Learning Center ซึ่งนักศึกษาสามารถเรียนรู้ค้นคว้าด้วยตัวเอง จากสื่อต่างๆ ห้องบรรยาย 50 ห้อง พร้อมสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย สิ่งที่น่าสนใจของอาคารหลังนี้ คือ มีการติดระบบเสาอากาศทีวีไปยังทุกห้องเพื่อรองรับการเรียนการสอนทางไกลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

อาคาร "ศูนย์กิจกรรมนักศึกษา"

วิทยาเขตชลบุรี

เปิดทำการในปี พ.ศ. 2546 โดยจัดให้เป็นศูนย์กิจกรรม กีฬา ศูนย์อาหารและสุขภาพให้แก่นักศึกษา

ระบบการบริหารอาคารสถานที่และการรักษาความปลอดภัยนั้น เป็นส่วนหนึ่งที่มหาลัยได้ผ่านการรับรองมาตรฐาน ISO 9001:2000 โดยระบบการดูแลรักษาความปลอดภัยในทุกอาคาร จะติดตั้งระบบโทรทัศน์วงจรปิดไปยังห้องควบคุม พร้อมพนักงานรักษาความปลอดภัยชาย-หญิง ที่ทำหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยประจำทุกชั้นของอาคารและสถานที่ภายในมหาวิทยาลัยเพื่อสร้างความอุ่นใจแก่นักศึกษา

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยศรีปทุมมีความภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ที่นักกีฬาทุนของมหาวิทยาลัยได้รับคัดเลือกให้เป็นนักกีฬาทีมชาติ ทั้งประเภทบุคคลและประเภททีม และได้สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศชาติ โดยเข้าแข่งขันและได้รับเหรียญรางวัลในการแข่งขันระดับนานาชาติ เช่น การแข่งขันกีฬาซีเกมส์และเอเชี่ยนเกมส์ เป็นต้น

ด้วยศักยภาพด้านกีฬา การสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรมในการแข่งขันกีฬาการฝึกอบรมการเข้าร่วมเป็นโค้ช และผู้ตัดสินกีฬาประเภทต่างๆ ซึ่งถือว่าเป็นการให้บริการแก่สังคม เพื่อสร้างสรรค์คุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ในปี พ.ศ. 2541 กรุงเทพมหานคร จึงได้ ประกาศเกียรติคุณและมอบรางวัล "เพรชกรุงเทพ" สาขาผู้สนับสนุนและพัฒนาการกีฬาให้แก่มหาวิทยาลัยศรีปทุม นับเป็นเกียรติยศและความภาคภูมิใจอย่างยิ่ง

ในพ.ศ. 2546 มหาวิทยาลัย ศรีปทุมได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 30 ภายใต้ชื่อ "ศรีปทุมเกมส์" ซึ่งมีสถาบันอุดมศึกษาทั้งรัฐบาลและเอกชนเข้าร่วม การแข่งขันจำนวน 58 สถาบัน ระหว่างวันที่ 11 -18 มกราคม พ.ศ. 2546 ที่สนามรัชมังคลากีฬาสถาน กรุงเทพฯมหานคร แนวคิดหลักของการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยครั้งนี้คือ "เกมน้ำใจ เกมมิตรภาพ" โดยมหาวิทยาลัยศรีปทุมได้สร้างมิติใหม่ในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัย ได้แก่ การมีผู้สนับสนุนหลักรายเดียว การถ่ายทอดสดผ่านระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง การมีเพลงประจำการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัย "เพลงเกมน้ำใจ" การมอบถ้วยรางวัลประเภททีม เป็นต้น ผลจากการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 30 ทำให้มหาวิทยาลัยศรีปทุมได้รับคัดเลือกให้เป็นสถาบันดีเด่น และเป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่งที่มหาวิทยาลัยศรีปทุมได้เป็น "เจ้าเหรียญทอง" อีกครั้งหนึ่ง

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยศรีปทุมยังได้ให้การสนับสนุนการพัฒนาด้านกีฬาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปี 2547 ดร.รัชนีพร พุคยาภรณ์ พุกกะมาน อธิบดีมหาวิทยาลัยศรีปทุมได้รับรางวัลเกียรติยศ ในฐานะผู้สนับสนุนกีฬาดีเด่นแห่งชาติ จากสมาคมสุขศึกษาพลศึกษาและนันทนาการแห่งประเทศไทย และในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 33 "สุรนารีเกมส์" มหาวิทยาลัยศรีปทุม ยังได้ครองเหรียญทอง อันดับ 2 จากการแข่งขันกับสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ 102 สถาบัน

[แก้] วิทยาคารพญาไท

วิทยาคารพญาไท ได้เริ่มเปิดดำเนินการตั้งแต่เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2537 ด้วยเหตุผลที่ว่าผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีที่ทำงานแล้ว ส่วนหนึ่งต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาโทเพื่อเพิ่มคุณวุฒิ พัฒนาศักยภาพของตนเองและเพื่อความก้าวหน้าในอนาคต แต่ก็มีอุปสรรคจากภาระการทำงานและมีความกังวลว่าถ้าเรียนกับรุ่นเด็กจะพบปัญหาความแตกต่างระหว่างวัยและประสบการณ์ ประกอบกับสภาพการจราจรของกรุงเทพฯ ไม่เอื้ออำนวยในการเดินทางไปศึกษายังมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนระดับปริญญาโท ภาคค่ำที่อยู่ห่างใจกลางเมืองออกไป บุคคลเหล่านี้จึงขาดโอกาสในการศึกษาต่อ มหาวิทยาลัยศรีปทุมพิจารณาเห็นว่า มหาวิทยาลัยมีหน้าที่ในการจัดการศึกษาสร้างทรัพยากรบุคคลให้แก่ประเทศชาติ และมหาวิทยาลัยเองก็มีศักยภาพเพียงพอในการจัดการศึกษาระดับปริญญาโทได้อย่างดี จากประสบการณ์ที่ได้จัดการศึกษาระดับดังกล่าว ที่บางเขนมาเป็นเวลา 8 ปีแล้ว ฉะนั้นเพื่อสนองความต้องการของผู้ประสงค์จะศึกษาต่อ และช่วยขจัดปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ มหาวิทยาลัยจึงได้เปิดหลักสูตรปริญญาโท สำหรับนักบริหาร จำนวน 2 หลักสูตรได้แก่ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สำหรับนักบริหาร และหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สำหรับนักบริหาร โดยเลือกอาคารเอ็กซิม (อาคารบุญผ่องเดิม) ซึ่งเป็นอาคารที่ทันสมัย การคมนาคมสะดวก เป็นสถานที่ที่ให้การศึกษา ปัจจุบันมีผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาโท สำหรับนักบริหาร จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาคารพญาไทไปแล้ว 12 รุ่น จำนวนประมาณ 850 คน ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาคารพญาไท ได้ย้ายมาเปิดดำเนินการที่ อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ ชั้น 17 และชั้น 20 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร (ตรงข้ามสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 และสถานีรถไฟฟ้าสนามเป้า) ผู้ที่เข้ามาศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาคารพญาไท มีทั้งข้าราชการ พลเรือน ทหาร ตำรวจ แพทย์ วิศวกร สถาปนิก ผู้จัดการบริษัท รวมทั้งเจ้าของธุรกิจต่าง ๆ ทุกคนมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนางานและพัฒนาตนเองให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น

มหาวิทยาลัยศรีปทุม นอกจากจะเปิดดำเนินการเรียนการสอนที่ บางเขน และวิทยาเขตชลบุรีแล้ว ยังได้จัดตั้งวิทยาคารพญาไทขึ้น เพื่อเปิดสอนระดับปริญญาโท และระดับปริญญาเอก เพื่อสนองตอบต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ และความต้องการในการศึกษาต่อระดับสูงของผู้บริหารระดับต่าง ๆ ที่ต้องการศึกษาต่อในรูปแบบที่เหมาะสมกับประสบการณ์ วุฒิภาวะและเวลาที่มีอยู่อย่างจำกัด ในปีการศึกษา 2548 มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้รับการอนุมัติให้เปิดดำเนินการสอนในระดับปริญญาเอก ได้แก่ หลักสูตรการจัดการดุษฏีบัณฑิต หลักสูตรปริญญาโท ได้แก่ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายธุรกิจ และในปีการศึกษา 2549 มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้รับการอนุมัติให้เปิดดำเนินการสอนระดับปริญญาเอกอีก 1 หลักสูตร ได้แก่หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ หลักสูตรปริญญาโทอีก 1 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรอาคาร โดยมหาวิทยาลัยเห็นชอบให้เปิดดำเนินการที่วิทยาคารพญาไท

มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาคารพญาไท เป็นอาคารที่ทันสมัยมีการจัดการและการบริหารอย่างดี อยู่ย่านกลางเมือง การคมนาคมสะดวก เพราะทางขึ้นลงทางด่วนหลายทาง มีสถานีรถไฟฟ้าผ่าน ฉะนั้นจึงจัดสิ่งอำนวยความสะดวก และอุปกรณ์การเรียนการสอนที่ทันสมัย ในด้านอาจารย์ผู้สอน มหาวิทยาลัยได้จัดอาจารย์ที่เชี่ยวชาญและมีชื่อเสียง จากสถาบันการศึกษาภาครัฐ และองค์กรธุรกิจเป็นอาจารย์พิเศษ ในบางรายวิชามีอาจารย์บรรยายพิเศษ 3-4 ท่าน เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญมากกว่า 1 ท่าน เพราะมหาวิทยาลัยพิจารณาเห็นว่าการเรียนในระดับปริญญาเอกและปริญญาโท มีจำนวนวิชาไม่มากนัก ถ้าจัดอาจารย์ที่มีความสามารถในแต่ละเรื่องของวิชานั้นมาสอนก็จะทำให้นักศึกษาได้รับประโยชน์มากขึ้น นอกเหนือจากนั้นมหาวิทยาลัยยังจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรในลักษณะการบรรยายพิเศษ ทัศนศึกษา การสัมมนา และการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ให้แก่นักศึกษาอีกด้วย

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาคารพญาไทมีการเรียนการสอนดังนี้

ปริญญาเอก มี 2 หลักสูตร

1. หลักสูตรการจัดการดุษฎีบัณฑิต (D.M.) 1.1 กลุ่มวิชาการจัดการธุรกิจ 1.2 กลุ่มวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์

2. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ (Ph.D.PA.)

หลักสูตรปริญญาโท มี 5 หลักสูตร

1. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สำหรับนักบริหาร (Executive M.B.A.)

2. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สำหรับนักบริหาร (Executive M.P.A.)

3. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ (M.S. HRM.)

4. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรอาคาร (M.S.FM.)

5. หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายธุรกิจ (LL.M.)


[แก้] คณะวิชา

[แก้] บัณฑิตวิทยาลัย

  • การจัดการมหาบัณฑิต
  • นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
  • บัญชีมหาบัณฑิต
  • ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
    • สาขาวิชาบริหารการศึกษา
  • นิติศาสตรมหาบัณฑิต
    • สาขาวิชากฎหมายธุรกิจ
  • บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
    • ภาคปกติ
    • ภาคค่ำ
    • ภาคพิเศษ
    • พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
  • วิศวกรรมศาตรมหาบัณฑิต
    • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
    • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  • วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
    • สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ
    • สาขาระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์
    • สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์

[แก้] วิทยาเขต

วิทยาเขต มหาวิทยาลัยศรีปทุมเปิดดำเนินการสอนใน 3 วิทยาเขต ได้แก่

[แก้] วิทยาเขตบางเขน

มหาวิทยาลัยศรีปทุม (บางเขน) 61 ถ.พหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 Sripatum University (Bangkhen) 61 Phaholyothin Rd., Jatujak, Bangkok 10900 Tel : (662)579 1111, (662)561 2222 Ext .1000 Fax : (662)561 1721

[แก้] วิทยาเขตชลบุรี

มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี 79 ถนนบางนา-ตราด ต.คลองตำหรุ อ.เมือง จ.ชลบุรี 20000 โทรศัพท์ 0-3874-3690 ถึง 9 โทรสาร 0-3874-3700

[แก้] วิทยาคารพญาไท

มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาคารพญาไท อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ (SM Tower) ชั้น 17 และชั้น 20 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400 หมายเลขโทรศัพท์ 0-2298-0181 ถึง 3 หมายเชขโทรสาร 0-2298-0185

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

ภาษาอื่น