มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
ตราประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.jpg

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีที่จัดการเรียนการสอนในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ นครราชสีมา สุรินทร์ ขอนแก่น และสกลนคร

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548 ตามเจตนารมณ์ของมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งกำหนดให้สถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาเป็นนิติบุคคล เพื่อให้สถานศึกษาของรัฐดำเนินกิจการได้โดยอิสระสามารถพัฒนาระบบบริหาร และการจัดการที่เป็นของตนเอง มีความคล่องตัว มีเสรีภาพทางวิชาการและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสภามหาวิทยาลัยฯ

ดังนั้น จึงมีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จำนวน 9 แห่ง ขึ้นแทนสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เป็น 1 ใน 9 แห่ง เน้นการเรียนการสอนด้านวิชาชีพและเทคโนโลยีที่มีวัตถุปรสงค์ให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงที่มุ่งเน้นการปฏิบัติ ทำการสอน ทำการวิจัย ผลิตครูวิชาชีพ ให้บริการทางวิชาการในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม โดยต่อยอดให้ผู้สำเร็จการอาชีวศึกษามีโอกาสในการศึกษาต่อด้านวิชาชีพจนถึงระดับปริญญา

[แก้] ประวัติศูนย์กลางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

ศูนย์กลางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน หรือ วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (เดิม) อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 3 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 330 ไร่ ทิศเหนือติดถนนสุรนารายณ์ ทิศใต้ติดคลองลำตะคอง ทิศตะวันตกติดมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และทิศตะวันออกติดที่ดินของเอกชน บริเวณนี้แต่เดิมมีต้นตะโกขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้น จึงมีชื่อสามัญเรียกกันว่า "ทุ่งตะโกราย"

วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีลำดับความเป็นมาดังนี้

[แก้] วิสัยทัศน์

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เป็นผู้นำการจัดการศึกษาวิชาชีพ เพื่อพัฒนาคุณภาพกำลังคนสู่มาตรฐานสากล บนพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นำความรู้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถเชิงการแข่งขันสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตที่ดีของสังคม

[แก้] พันธกิจ

  1. จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาบนพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลตรงกับความพึงพอใจของผู้รับริการ
  2. สร้างงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่การผลิตการบริการ สามารถถ่ายทอดและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ประเทศ
  3. เพิ่มขีดความสามารถเชิงการแข่งขันด้านบริการวิชาการแบบบูรณาการ
  4. ทำนุบำรุงศาสนา อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม และรักษาสิ่งแวดล้อมให้มีคุณค่าต่อประเทศชาติ
  5. เป็นศูนย์กลางองค์ความรู้ทางการศึกษา บริหารจัดการด้วยธรรมาภิบาล เสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับบุคลากรของมหาวิทยาลัย

[แก้] เป้าประสงค์

  1. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เป็นแหล่งการศึกษาด้านวิชาชีพทางเทคโนโลยีเชิงบูรณาการ ที่มีความเข้มแข็งด้านวิชาการ เป็นที่พึ่งของประชาชนในทุกพื้นที่ให้สามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต
  2. ผลิตบัณฑิตวิชาชีพที่มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยี มีคุณธรรม และปฏิบัติงานได้อย่างมืออาชีพ
  3. ประชาชนมีศักยภาพในการสร้างงานด้านวิชาชีพ ด้านเทคโนโลยี ที่สามารถแข่งขันได้

[แก้] บัณฑิตที่พึงประสงค์

บัณฑิตของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ควรเป็นผู้ที่มีความรอบรู้ในวิชาการ บนพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างเพียงพอ เหมาะสมกับระดับประกาศนียบัตรและระดับปริญญาที่ได้รับ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันสู่การพัฒนาในการนำความรู้ทั้งทางด้านภาษาและองค์ความรู้เฉพาะที่ศึกษา มาประยุกต์ด้วยภูมิปัญญาและภูมิความคิดริเริ่มในการพัฒนาเพื่อปรับปรุงตนเองและหน้าที่การงาน ตลอดจนการตระหนักถึงการอนุรักษ์ สร้างสรรค์สิ่งแวดล้อม มีความคิดก้าวไกลที่สอดคล้องกับทิศทางของนานาอารยประเทศและยึดมั่นในเอกภาพของความเป็นไทย

[แก้] ความร่วมมือทางวิชาการกับหน่วยงานต่างประเทศ และภายในประเทศ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ได้มีความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยและหน่วยงานต่างประเทศ ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ดังนี้

  • ประเทศจีน - South China Agricultural University กิจกรรม พัฒนาบุคลากรด้านเกษตรกรรม
  • ประเทศใต้หวัน
    • National Pingtung University of Science and Technology กิจกรรมวิจัยร่วม แลกเปลี่ยนนักศึกษา ให้ทุนสัมมนา จัดส่งวิทยากรมาไทย
    • National Taiwan Normal University กิจกรรมอาจารย์สอนภาษาจีน
  • ประเทศนิวซีแลนด์ - Lincoln University กิจกรรมวิจัยร่วม และร่วมมือทางวิชาการ
  • ประเทศสวีเดน - Linkoping University, Malardalen University, University of Gavle กิจกรรมร่วมมือทางวิชาการ ศึกษาดูงาน
  • ประเทศเยอรมนี - University of Applied Sciences, Bosch Rexoroth AG กิจกรรม ร่วมมือทางวิชาการ
  • ประเทศกัมพูชา
    • Provincial Department of Agricultural กิจกรรม พัฒนาบุคลากรและร่วมมือทางวิชาการ
    • Battambang Royal University of Agriculture, Phnompenh กิจกรรม แลกเปลี่ยนนักศึกษาและร่วมมือทางวิชาการ
  • ประเทศเนเธอร์แลนด์ - Utrech University กิจกรรม วิจัยร่วม พัฒนาบุคลากรระดับปริญญาเอก

ความร่วมมือทางวิชาการภายในประเทศ

  • สถาบันพระบรมราชชนก ให้ความร่วมมือทางวิชาการ
  • สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ ตกลงให้ความร่วมมือและให้การสนับสนุนในการสร้าง "สังคมแห่งการเรียนรู้" โดยการร่วมนำผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ พร้อมทั้งกิจกรรมการวิจัยต่างๆ ร่วมนำเสนอในงาน "การนำเสนอผลงานวิจัยแห่งชาติ"
  • บริษัทเบทาโกรเกษตรอุตสาหกรรม จำกัด ตกลงให้ความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อการพัฒนาประมงในเชิงธุรกิจ
  • สภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา ให้ความร่วมมือในด้านการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม
  • บริษัท อสมท.(มหาชน)จำกัด ให้ความร่วมมือในการเปิดสถานีวิทยุกระจายเสียง คลื่น 97.25 Mhz. ณ อาคารเรียนคณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ (อาคาร 19)[1]

[แก้] จุดเด่นของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เน้นการจัดการศึกษา เพื่อให้บัณฑิตมีคุณลักษณะที่มีทักษะด้านช่างอุตสาหกรรม พณิชยกรรม การเกษตรกรรม เทคโนโลยีการเกษตร อุตสาหกรรมการเกษตร สถาปัตยกรรม และทักษะด้านธุรกิจการเกษตร สามารถปฏิบัติงานได้จริง มีความคิดสร้างสรรค์ที่ทำให้สามารถประกอบอาชีพได้หลากหลายอาชีพ

[แก้] บัณฑิตกิตติมศักดิ์

  • ปีการศึกษา 2549
    • นายสุรศักดิ์ สัมปัตติกร บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการ
    • นายสมโรจน์ คูกิจติเกษม วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสัตวศาสตร์
    • นางสมิหลา หยกอุบล วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเครื่องจักรกลเกษตร
  • ปีการศึกษา 2550
    • นายวีรธรรม ตระกูลเงินไทย ครุศาสตรอุตสาหกรรมดุษฎีบัณฑิต สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ประธานกลุ่มทอผ้าไหมยกทองจันทร์โสภา จ.สุรินทร์
    • นายอดิเรก ศรีประทักษ์ วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)
    • นายปรัชญา ปิ่นแก้ว วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประยุกต์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ บริษัท บาแรมยู จำกัด
    • นายชูศักดิ์ ชื่นประโยชน์ บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองประธานคณะกรรมการธุรกิจเกษตรและอาหาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
    • นายอภิชิต ล้ำเลิศพงศ์พนา วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอ.ที.ซี. (1993) จำกัด

[แก้] ศิษย์เก่าดีเด่นและศิษย์ปัจจุบันที่สร้างชื่อเสียง

[แก้] ด้านวิชาการ

  • นายทรงพล ลอวิราณ ได้รับรางวัลอันดับ 5 ฝีมือยอดเยี่ยม จาการแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียน (Asean Skills Competition)สาขาช่างเครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ ปี พ.ศ. 2544 ณ ประเทศเกาหลีใต้
  • นายสกล เกลื่อนสันเทียะ ได้รับรางวัลอันดับ 4 ฝีมือยอดเยี่ยม จาการแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียน (Asean Skills Competition)สาขาช่างเครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ ปี พ.ศ. 2546 ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
  • นายนิติพงษ์ บุบผามาลา ได้รับรางวัลอันดับ 3 เหรียญทองแดง จาการแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียน (Asean Skills Competition)สาขาช่างเครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ ปี พ.ศ. 2548 ณ ประเทศฟินแลนด์
  • นายณัฐพงศ์ ปัญญาศรี ได้รับรางวัลอันดับ 2 เหรียญเงิน จาการแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียน (Asean Skills Competition)สาขาช่างเครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ ปี พ.ศ. 2550 ณ ประเทศญี่ปุ่น
  • นายประวิทย์ บุญหล้า ได้รับรางวัลอันดับ 1 เหรียญทอง จาการแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียน (Asean Skills Competition)สาขาช่างเครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ ปี พ.ศ. 2551 ณ ประเทศมาเลเซีย
  • นายกรกช ชุมแสง ได้รับรางวัลอันดับ 2 เหรีญเงิน จาการแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียน (Asean Skills Competition)สาขาช่างเครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ ปี พ.ศ. 2551 ณ ประเทศมาเลเซีย

[แก้] ด้านกีฬา

[แก้] ด้านศิลปิน

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้] อ้างอิง

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
คณะ

บริหารธุรกิจวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์วิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ศิลปกรรมและออกแบบอุตสาหกรรมครุศาสตร์อุตสาหกรรมเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตรเทคโนโลยีสังคมเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยีเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีทรัพยากรธรรมชาติ

RMUTI
วิทยาเขต

ศูนย์กลางขอนแก่นกาฬสินธุ์สุรินทร์สกลนคร

School.svg มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เป็นบทความเกี่ยวกับ สถานศึกษา ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ