ราชสกุล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เมื่อปี พ.ศ. 2455 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงตราพระราชบัญญัตินามสกุลขึ้น บัญญัติว่าผู้ที่สืบเชื้อสายทางบิดามาจากบรรพบุรุษคนเดียวกันให้ใช้ "นามสกุล" เดียวกัน ทำให้คนไทยทุกคนมีนามสกุลใช้ และทำให้ทราบว่าใครเป็นพี่น้องหรือสืบเชื้อสายมาจากผู้ใด สำหรับพระราชวงศ์นั้น ผู้ใดสืบเชื้อสายมาจากพระราชโอรสพระองค์ใดของพระมหากษัตริย์ ก็โปรดให้ใช้พระนามของพระราชโอรสพระองค์นั้นเป็น "ราชสกุล"[1]

ราชตระกูล หมายถึง สกุลที่มิได้สืบเชื้อสายโดยตรงจาก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โดยมีการสืบสายจากสมเด็จพระเชษฐภคินี พระอนุชา และพระขนิษฐา ผู้เป็นพระโอรสและพระธิดาในสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก สำหรับสายพระพี่พระน้องนี้ บางครั้งก็เรียกกันว่า ราชตระกูลสายพระปฐมวงศ์ หรือ พระปฐมบรมราชวงศ์

ราชสกุล หมายถึง สกุลของผู้ที่สืบเชื้อสายโดยตรงจากพระมหากษัตริย์แห่ง พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทยซึ่งราชวงศ์จักรีนั้นราชสกุล ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 จนถึงปัจจุบัน โดยมักจะเป็นพระนามของพระราชโอรส และยังมีราชสกุลในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชอีก 18 ราชสกุล

บวรราชสกุล หมายถึง สกุลของผู้ที่สืบเชื้อสายมาจาก กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) และ กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข (วังหลัง)

ราชนิกุล หมายถึง สกุลที่เป็นพระญาติของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน นับทางฝ่ายสมเด็จพระบรมชนกนาถ (นับทางพระบิดา) โดยมากแล้วจะเป็นเชื้อเจ้า เพราะสืบสายลงมาจากเจ้านายพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง ในพระราชวงศ์ร่วมสกุลอันเดียวกัน ดั่งใช้นามสกุลว่า ณ อยุธยา อยู่ในปัจจุบันนี้

ราชินิกุล หมายถึง สกุลที่เป็นพระญาติของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน นับทางฝ่ายสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง (นับทางพระมารดา)


เนื้อหา

รัชกาลที่ 1

ราชสกุล

ราชสกุล ใน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มี 8 สกุล
ราชสกุล พระนามต้นราชสกุล ข้อมูลเพิ่มเติม
ฉัตรกุล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าฉัตร กรมหมื่นสุรินทรรักษ์ หม่อมเจ้าชาย 9 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 16 พระองค์
สถาปนาเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์
ดวงจักร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดวงจักร กรมหมื่นณรงค์หริรักษ์ หม่อมเจ้าชาย 2 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 3 พระองค์
สถาปนาเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์
ดารากร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดารากร กรมหมื่นศรีสุเทพ หม่อมเจ้าชาย 4 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 5 พระองค์
สถาปนาเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์
ทัพพะกุล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทับ กรมหมื่นจิตรภักดี หม่อมเจ้าชาย 1 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 5 พระองค์
พึ่งบุญ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไกรสร กรมหลวงรักษ์รณเรศ หม่อมเจ้าชาย 5 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 5 พระองค์
สุทัศน์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทัศน์ กรมหมื่นไกรสรวิชิต หม่อมเจ้าชาย 12 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 10 พระองค์
สุริยกุล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุริยา กรมพระรามอิศเรศ หม่อมเจ้าชาย 11 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 19 พระองค์ ไม่ปรากฏพระนาม 4 พระองค์
อินทรางกูร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทับทิม กรมหมื่นอินทรพิพิธ หม่อมเจ้าชาย 7 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 1 พระองค์

ราชตระกูล

ราชตระกูล สาย พระปฐมบรมราชวงศ์ มี 6 สกุล
ราชสกุล พระนามต้นราชสกุล ข้อมูลเพิ่มเติม
นรินทรางกูร พระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าทองจีน กรมหลวงนรินทรรณเรศร์
พระโอรสใน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี (พระเชษฐภคินี พระองค์ใหญ่ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก)
หม่อมเจ้าชาย 11 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 5 พระองค์
เทพหัสดิน พระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตัน กรมหลวงเทพหริรักษ์ (พระองค์เจ้าตัน)
พระโอรสใน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ (พระเชษฐภคินี พระองค์รอง ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก)
หม่อมเจ้าชาย 6 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 1 พระองค์
มนตรีกุล พระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุ้ย กรมหลวงพิทักษ์มนตรี
พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์
หม่อมเจ้าชาย 15 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 22 พระองค์
สถาปนาขึ้นเป็นพระวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์
อิศรางกูร พระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าเกศ กรมขุนอิศรานุรักษ์
พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์
หม่อมเจ้าชาย 26 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 41 พระองค์ ไม่ปรากฏพระนาม 15 พระองค์ สถาปนาขึ้นเป็นพระวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์
เจษฎางกูร สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าลา กรมหลวงจักรเจษฎา (พระองค์เจ้าลา)
พระอนุชาต่างพระชนนี ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
หม่อมเจ้าชาย 8 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 9 พระองค์
นรินทรกุล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากุ กรมหลวงนรินทรเทวี (พระองค์เจ้าหญิงกุ)
พระน้องนางเธอต่างพระชนนี ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
หม่อมเจ้าชาย 2 พระองค์ สถาปนาขึ้นเป็นพระวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์
ชั้นนัดดา หม่อมเจ้าชาย 2 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 3 พระองค์

บวรราชสกุล

บวรราชสกุล ใน วังหน้า-สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท มี 4 สกุล
ราชสกุล พระนามต้นราชสกุล ข้อมูลเพิ่มเติม
นีรสิงห์ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเณร หม่อมเจ้าชาย 5 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 1 พระองค์
ปัทมสิงห์ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบัว หม่อมเจ้าชาย 3 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 3 พระองค์
สังขทัต พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสังกะทัต กรมขุนนรานุชิต หม่อมเจ้าชาย 3 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 7 พระองค์ ไม่ปรากฏพระนาม 1 พระองค์
อสุนี พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอสุนี กรมหมื่นเสนีเทพ หม่อมเจ้าชาย 6 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 12 พระองค์


บวรราชสกุล ใน วังหลัง-สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข มี 2 สกุล
ราชสกุล พระนามต้นราชสกุล ข้อมูลเพิ่มเติม
ปาลกะวงศ์ พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปาน กรมหมื่นนราเทเวศร์ หม่อมเจ้าชาย 31 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 24 พระองค์
เสนีวงศ์ พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแตง กรมหลวงเสนีย์บริรักษ์ หม่อมเจ้าชาย 25 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 13 พระองค์

ดูเพิ่ม

รัชกาลที่ 2

ราชสกุล

ราชสกุล ใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มี 20 สกุล
ราชสกุล พระนามต้นราชสกุล ข้อมูลเพิ่มเติม
กปิตถา พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากปิตถา กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ หม่อมเจ้าชาย 3 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 5 พระองค์
กล้วยไม้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากล้วยไม้ กรมหมื่นสุนทรธิบดี หม่อมเจ้าชาย 8 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 4 พระองค์
กุญชร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากุญชร กรมพระพิทักษ์เทเวศร์ หม่อมเจ้าชาย 11 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 14 พระองค์
สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์
กุสุมา พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากุสุมา กรมหมื่นเทพสุนทร หม่อมเจ้าชาย 4 พระองค์
ชุมแสง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมแสง กรมหลวงสรรพศิลป์ปรีชา หม่อมเจ้าชาย 10 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 7 พระองค์
เดชาติวงศ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามั่ง กรมพระยาเดชาดิศร หม่อมเจ้าชาย 6 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 3 พระองค์
สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง 1 พระองค์
ทินกร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทินกร กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ หม่อมเจ้าชาย 15 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 9 พระองค์
นิยมิศร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเนียม หม่อมเจ้าชาย 3 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 2 พระองค์
นิลรัตน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านิลรัตน กรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา หม่อมเจ้าชาย 8 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 9 พระองค์
ปราโมช พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปราโมช กรมขุนวรจักรธรานุภาพ หม่อมเจ้าชาย 29 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 24 พระองค์ ไม่ปรากฏพระนาม 1 พระองค์ สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 2 พระองค์
พนมวัน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพนมวัน กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ หม่อมเจ้าชาย 6 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 5 พระองค์ ไม่ปรากฏพระนาม 1 พระองค์ สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์
ไพฑูรย์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไพฑูรย์ กรมหมื่นสนิทนเรนทร์ หม่อมเจ้าชาย 3 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 8 พระองค์
มรกฎ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามรกฎ กรมขุนสถิตย์สถาพร หม่อมเจ้าชาย 4 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 7 พระองค์
มหากุล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโต กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศร์ หม่อมเจ้าชาย 9 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 6 พระองค์
มาลากุล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 2 พระองค์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง 2 พระองค์[2] หม่อมเจ้าชาย 3 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 4 พระองค์
สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 2 พระองค์
เรณุนันทน์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเรณู หม่อมเจ้าชาย 3 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 12 พระองค์
วัชรีวงศ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากลาง กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์ หม่อมเจ้าชาย 9 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 15 พระองค์
สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์
สนิทวงศ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านวม กรมหลวงวงศาธิราชสนิท หม่อมเจ้าชาย 21 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 31 พระองค์
สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 3 พระองค์ [3]
อรุณวงศ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรุณวงศ์ กรมหลวงวรศักดาพิศาล หม่อมเจ้าชาย 6 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 7 พระองค์
อาภรณ์กุล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์ หม่อมเจ้าชาย 7 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 2 พระองค์

บวรราชสกุล

บวรราชสกุล ใน วังหน้า-สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ มี 10 สกุล
ราชสกุล พระนามต้นราชสกุล ข้อมูลเพิ่มเติม
บรรยงกะเสนา พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประยงค์ กรมขุนธิเบศร์บวร หม่อมเจ้าชาย 9 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 5 พระองค์
พยัคฆเสนา พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเสือ หม่อมเจ้าชาย 5 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 5 พระองค์
ภุมรินทร พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภุมริน หม่อมเจ้าชาย 1 พระองค์
ยุคันธร พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ายุคันธร กรมหมื่นอนันตการฤทธิ์ หม่อมเจ้าชาย 2 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 2 พระองค์
รองทรง พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารองทรง กรมหมื่นสิทธิสุขุมการ หม่อมเจ้าชาย 7 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 3 พระองค์ ไม่ปรากฏพระนาม 2 พระองค์ สถาปนาขึ้นเป็นพระวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์
รังสิเสนา พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าใย หม่อมเจ้าชาย 5 พระองค์
รัชนิกร พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนิกร หม่อมเจ้าชาย 7 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 3 พระองค์
สหาวุธ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมแสง หม่อมเจ้าชาย 9 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 7 พระองค์
สีสังข์ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสีสังข์ หม่อมเจ้าชาย 2 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 2 พระองค์
อิศรเสนา พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพงศ์อิศเรศ กรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิเดช หม่อมเจ้าชาย 8 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 4 พระองค์

ราชินิกุล

หมายถึง พระญาติวงศ์ของสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๑ ซึ่งมักเรียกรวมๆ กันไปว่า ราชินิกุลบางช้าง เพราะนิเวศสถานเดิมอยู่ ตำบลอัมพวา แขวงอำเภอบางช้าง (ซึ่งต่อมาจึงยกเป็นเมืองสมุทรสงคราม และจังหวัดสมุทรสงครามตามลำดับ ราชินิกุลก๊กใหญ่ คือ สกุลบุนนาค

ราชนิกุล พระญาติวงศ์ของสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๑
สกุล ต้นสกุล ข้อมูลเพิ่มเติม
ณ บางช้าง
ชูโต
แสง-ชูโต เจ้าคุณชายชูโต (พระเชษฐาในสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี)
สวัสดิ์-ชูโต เจ้าคุณชายชูโต (พระเชษฐาในสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี)
บุนนาค เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค)

ดูเพิ่ม

รัชกาลที่ 3

ราชสกุล

ราชสกุล ใน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มี 13 สกุล
ราชสกุล พระนามต้นราชสกุล ข้อมูลเพิ่มเติม
โกเมน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโกเมน กรมหมื่นเชษฐาธิเบนทร์ หม่อมเจ้าชาย 1 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 5 พระองค์ ไม่ปรากฏพระนาม 3 พระองค์
คเนจร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคเนจร กรมหมื่นอมเรนทรบดินทร์ หม่อมเจ้าชาย 17 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 13 พระองค์
งอนรถ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้างอนรถ หม่อมเจ้าชาย 1 พระองค์ ไม่ปรากฏพระนาม 1 พระองค์
ชมพูนุท พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชมพูนุท กรมขุนเจริญผลพูลสวัสดิ์ หม่อมเจ้าชาย 3 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 2 พระองค์
สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์
ชุมสาย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมสาย กรมขุนราชสีหวิกรม หม่อมเจ้าชาย 4 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 4 พระองค์
สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์
ปิยากร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปียก หม่อมเจ้าชาย 1 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 3 พระองค์
ลดาวัลย์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลดาวัลย์ กรมหมื่นภูมินทรภักดี หม่อมเจ้าชาย 14 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 25 พระองค์ ไม่ปรากฏพระนาม 1 พระองค์
สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์ และพระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าหญิง 3 พระองค์
ลำยอง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลำยอง หม่อมเจ้าชาย 1 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 3 พระองค์
ศิริวงศ์ สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ พระองค์เจ้าศิริวงศ์ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ หม่อมเจ้าชาย 3 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 6 พระองค์
สถาปนาขึ้นเป็นพระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 3 พระองค์ และพระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง 4 พระองค์ และสถาปนาพระอัฐิเป็นสมเด็จพระบรมราชินี 1 พระองค์
สิงหรา พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิงหรา กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ หม่อมเจ้าชาย 10 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 16 พระองค์
สุบรรณ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุบรรณ กรมขุนภูวนัยนฤเบนทราธิบาล หม่อมเจ้าชาย 7 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 6 พระองค์
อรณพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรรณพ กรมหมื่นอุดมรัตนราษี หม่อมเจ้าชาย 5 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 1 พระองค์
อุไรพงศ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุไร กรมหมื่นอดุลยลักษณสมบัติ หม่อมเจ้าชาย 8 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 8 พระองค์
สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์

บวรราชสกุล

บวรราชสกุล ใน วังหน้า-สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพย์ มี 5 สกุล
ราชสกุล พระนามต้นราชสกุล ข้อมูลเพิ่มเติม
กำภู พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากำภู หม่อมเจ้าชาย 4 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 8 พระองค์
เกสรา พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเกสรา กรมหมื่นอานุภาพพิศาลศักดิ หม่อมเจ้าชาย 2 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 7 พระองค์
อิศรศักดิ์ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์ หม่อมเจ้าชาย 12 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 14 พระองค์
อนุชะศักดิ์ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านุช หม่อมเจ้าชาย 7 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 6 พระองค์
นันทิศักดิ์ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเริงคนอง หม่อมเจ้าชาย 8 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 4 พระองค์

ราชินิกุล

หมายถึง พระญาติวงศ์ ของสมเด็จพระศรีสุลาลัยพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ซึ่งทรงเป็นพระสนมเอกในรัชกาลที่ ๒ มิใช่พระอัครมเหสี ราชินิกุล รัชกาลที่ ๓ ที่มีผู้สืบสายสกุลเป็นที่รู้จักกันดี คือ สายพระยาพัทลุง (ทองขาว) สามีของท่านปล้อง น้านางของสมเด็จพระศรีสุลาลัย และสายสกุล ศิริสัมพันธ์ สืบมาจาก ท่านสาด น้านางของสมเด็จพระศรีสุลาลัยเช่นกัน หากแต่คนละมารดากับพระชนนีเพ็ง ผู้เป็นชนนีของสมเด็จพระศรีสุลาลัย

ราชนิกุล พระญาติวงศ์ของสมเด็จพระศรีสุลาลัยพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในรัชกาลที่ ๒
สกุล ต้นสกุล ข้อมูลเพิ่มเติม
ศิริสัมพันธ์
ณ พัทลุง พระยาพัทลุง (ทองขาว)

ดูเพิ่ม

รัชกาลที่ 4

ราชสกุล

ราชสกุล ใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มี 27 สกุล
ราชสกุล พระนามต้นราชสกุล ข้อมูลเพิ่มเติม
กมลาศน์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากมลาสเลอสรรค์ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร หม่อมเจ้าชาย 14 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 13 พระองค์
กฤดากร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์ หม่อมเจ้าชาย 15 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 6 พระองค์
สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 2 พระองค์ [4]
เกษมศรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเกษมศรีศุภโยค กรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ หม่อมเจ้าชาย 18 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 12 พระองค์
สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์
ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับสามัญชน 1 พระองค์
เกษมสันต์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ หม่อมเจ้าชาย 43 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 25 พระองค์ ไม่ปรากฏพระนาม 3 พระองค์ ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับสามัญชน 2 พระองค์
คัคณางค์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล กรมหลวงพิชิตปรีชากร หม่อมเจ้าชาย 2 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 4 พระองค์
สถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง 1 พระองค์
จักรพันธุ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ หม่อมเจ้าชาย 7 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 9 พระองค์ ไม่ปรากฏพระนาม 1 พระองค์
สถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 2 พระองค์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง 3 พระองค์ และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า 12 พระองค์ [5]
ชั้นนัดดา หม่อมเจ้าชาย 17 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 15 พระองค์
สถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์
ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับสามัญชน 6 พระองค์
จันทรทัต พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรทัตจุฑาธาร กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา หม่อมเจ้าชาย 9 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 4 พระองค์ ไม่ปรากฏพระนาม 2 พระองค์ ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับสามัญชน 1 พระองค์
จิตรพงศ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ หม่อมเจ้าชาย 5 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 4 พระองค์
ชยางกูร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไชยานุชิต กรมหมื่นพงศาดิศรมหิป หม่อมเจ้าชาย 15 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 8 พระองค์
ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับสามัญชน 2 พระองค์
ชุมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ หม่อมเจ้าชาย 11 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 3 พระองค์
ไชยันต์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย หม่อมเจ้าชาย 5 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 8 พระองค์
สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์ [6]
ดิศกุล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ หม่อมเจ้าชาย 14 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 23 พระองค์
ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับสามัญชน 1 พระองค์
ทวีวงศ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทวีถวัลยลาภ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ หม่อมเจ้าชาย 6 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 9 พระองค์
ทองแถม พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ หม่อมเจ้าชาย 8 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 9 พระองค์
ทองใหญ่ พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม หม่อมเจ้าชาย 11 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 15 พระองค์
ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับสามัญชน 1 พระองค์
เทวกุล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ หม่อมเจ้าชาย 25 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 23 พระองค์
สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์
นพวงศ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านพวงศ์ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส หม่อมเจ้าชาย 15 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 7 พระองค์
สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 2 พระองค์
ชั้นนัดดา หม่อมเจ้าชาย 2 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 1 พระองค์
ภาณุพันธุ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช หม่อมเจ้าชาย 9 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 7 พระองค์
สถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 2 พระองค์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง 2 พระองค์ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 4 พระองค์ และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง 1 พระองค์ [7]
ชั้นนัดดา หม่อมเจ้าชาย 4 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 5 พระองค์ ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับสามัญชน 3 พระองค์
วรวรรณ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ หม่อมเจ้าชาย 19 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 14 พระองค์
สถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง 1 พระองค์ และพระนางเธอ 1 พระองค์
ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับสามัญชน 2 พระองค์
วัฒนวงศ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ กรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์ หม่อมเจ้าชาย 4 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 3 พระองค์
ศรีธวัช พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีสิทธิธงไชย กรมขุนสิริธัชสังกาศ หม่อมเจ้าชาย 5 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 2 พระองค์ ไม่ปรากฏพระนาม 7 พระองค์
ศุขสวัสดิ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุขสวัสดี กรมหลวงอดิศรอุดมเดช หม่อมเจ้าชาย 23 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 14 พระองค์
สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์ และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง 1 พระองค์
โศภางค์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ หม่อมเจ้าชาย 2 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 1 พระองค์
สวัสดิกุล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ กรมพระสมมตอมรพันธ์ หม่อมเจ้าชาย 2 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 1 พระองค์
สวัสดิวัตน์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ หม่อมเจ้าชาย 22 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 24 พระองค์ ไม่ปรากฏพระนาม 2 พระองค์
สถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมราชินี 1 พระองค์
ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับสามัญชน 6 พระองค์
สุประดิษฐ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุประดิษฐ์ กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร หม่อมเจ้าชาย 5 พระองค์, หม่อมเจ้าหญิง 9 พระองค์
สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง 1 พระองค์
โสณกุล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา หม่อมเจ้าชาย 8 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 5 พระองค์[8]
สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์

บวรราชสกุล

บวรราชสกุล ใน วังหน้า-พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว มี 11 สกุล
ราชสกุล พระนามต้นราชสกุล ข้อมูลเพิ่มเติม
สุธารส พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุธารส หม่อมเจ้าหญิง 1 พระองค์
วรรัตน์ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรัตน์ กรมหมื่นพิศาลบวรศักดิ หม่อมเจ้าชาย 15 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 10 พระองค์
ภาณุมาศ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุมาศ หม่อมเจ้าชาย 4 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 1 พระองค์
หัสดินทร พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหัสดินทร์ กรมหมื่นบริรักษ์นรินทรฤทธิ์ หม่อมเจ้าชาย 2 พระองค์
นวรัตน พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเนาวรัตน์ กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์ หม่อมเจ้าชาย 7 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 5 พระองค์
ยุคนธรานนท์ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ายุคนธร หม่อมเจ้าชาย 2 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 4 พระองค์
โตษะณีย์ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโตสินี กรมหมื่นจรัสพรปฏิภาณ หม่อมเจ้าชาย 6 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 10 พระองค์
ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับสามัญชน 2 พระองค์
นันทวัน พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านันทวัน หม่อมเจ้าชาย 2 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 1 พระองค์
พรหเมศ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรหเมศ หม่อมเจ้าชาย 2 พระองค์
จรูญโรจน์ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญโรจน์เรืองศรี กรมหมื่นจรัสพรปฏิภาณ หม่อมเจ้าชาย 13 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 4 พระองค์
สายสนั่น พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสนั่น หม่อมเจ้าชาย 4 พระองค์

ดูเพิ่ม

รัชกาลที่ 5

ราชสกุล

ราชสกุล ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มี 15 สกุล
ราชสกุล พระนามต้นราชสกุล ข้อมูลเพิ่มเติม
กิติยากร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ หม่อมเจ้าชาย 13 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 12 พระองค์
สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์
ชั้นนัดดา สถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถ 1 พระองค์
ชั้นปนัดดา สถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า 1 พระองค์
รพีพัฒน์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ หม่อมเจ้าชาย 6 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 7 พระองค์
ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับสามัญชน 2 พระองค์
ประวิตร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม กรมหลวงปราจิณกิติบดี หม่อมเจ้าชาย 5 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 2 พระองค์
จิรประวัติ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช หม่อมเจ้าชาย 4 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 2 พระองค์
อาภากร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ หม่อมเจ้าชาย 9 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 4 พระองค์
สถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์
ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับสามัญชน 3 พระองค์
บริพัตร สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต หม่อมเจ้าชาย 3 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 5 พระองค์
สถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง 4 พระองค์ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์ และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง (และลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับสามัญชน) 1 พระองค์
ชั้นนัดดา หม่อมเจ้าหญิง 1 พระองค์
ฉัตรไชย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง 3 พระองค์ หม่อมเจ้าชาย 3 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 5 พระองค์
ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับสามัญชน 3 พระองค์
เพ็ญพัฒน์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม หม่อมเจ้าชาย 2 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 1 พระองค์
ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับสามัญชน 1 พระองค์
จักรพงษ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ หม่อมเจ้าชาย 1 พระองค์ สถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า
ยุคล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศร์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 3 พระองค์
ชั้นนัดดา หม่อมเจ้าชาย 9 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 10 พระองค์
ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับสามัญชน 7 พระองค์
วุฒิชัย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร หม่อมเจ้าชาย 5 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 7 พระองค์
ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับสามัญชน 3 พระองค์
สุริยง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุริยงประยุรพันธ์ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส หม่อมเจ้าชาย 9 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 3 พระองค์
ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับสามัญชน 2 พระองค์
รังสิต สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร หม่อมเจ้าชาย 2 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 1 พระองค์
ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับสามัญชน 1 พระองค์
มหิดล สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์ หม่อมเจ้าชาย 1 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 1 พระองค์ สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ทุกพระองค์
ต่อมาสถาปนาขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 2 พระองค์ และเจ้าฟ้าหญิง 1 พระองค์
ชั้นนัดดา เจ้าฟ้าชาย 1 พระองค์ เจ้าฟ้าหญิง 3 พระองค์
ชั้นปนัดดา พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าหญิง 3 พระองค์ หม่อมเจ้าชาย 4 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 1 พระองค์ (สถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าหญิง)
จุฑาธุช สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย หม่อมเจ้าชาย 1 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 1 พระองค์
สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชายและพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง

บวรราชสกุล

บวรราชสกุล ใน วังหน้า-สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ มี 9 สกุล
ราชสกุล พระนามต้นราชสกุล ข้อมูลเพิ่มเติม
วิไลยวงศ์ พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิไลยวรวิลาส หม่อมเจ้าชาย 5 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 3 พระองค์
กาญจนะวิชัย พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากาญจโนภาสรัศมี กรมหมื่นชาญไชยบวรยศ หม่อมเจ้าชาย 2 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 6 พระองค์
กัลยาณะวงศ์ พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากัลยาณประวัติ กรมหมื่นกวีพจน์สุปรีชา หม่อมเจ้าชาย 4 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 3 พระองค์
ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับสามัญชน 2 พระองค์
สุทัศนีย์ พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทัศนนิภาธร หม่อมเจ้าชาย 7 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 3 พระองค์
ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับสามัญชน 2 พระองค์
วรวุฒิ พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวุฒิอาภรณ์ หม่อมเจ้าชาย 5 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 3 พระองค์
รุจจวิชัย พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารุจาวรฉวี หม่อมเจ้าชาย 1 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 1 พระองค์
วิบูลยพรรณ พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิบูลยพรรณรังษี หม่อมเจ้าชาย 2 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 1 พระองค์
รัชนี พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ หม่อมเจ้าชาย 7 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 4 พระองค์
สถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง 1 พระองค์
ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับสามัญชน 2 พระองค์
วิสุทธิ พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรวิสุทธิ์ หม่อมเจ้าชาย 5 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 1 พระองค์

ดูเพิ่ม

รัชกาลที่ 7

ราชสกุล

ราชสกุล ใน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มี 1 สกุล
ราชสกุล พระนามต้นราชสกุล ข้อมูลเพิ่มเติม
ศักดิเดช ภาณุพันธ์ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต เป็นพระโอรสองค์สุดท้องใน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช และทรงเป็นพระราชโอรสบุญธรรมใน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต ทรงสมรสกับหม่อมมณี และเมื่อหม่อมมณีตั้งครรภ์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงพระกรุณาพระราชทานนาม ศักดิเดชน์ จากพระนามาภิไธย ประชาธิปกศักดิเดชน์ เพื่อใช้เป็นชื่อราชสกุล แต่ทางคณะผู้สำเร็จราชการแผ่นดินไม่ยินยอมให้ใช้ โดยอ้างเรื่องสิทธิ์ในการสืบสันตติวงศ์ จึงมาใช้ "ศักดิเดช ภาณุพันธ์" แทน[9][10]

ราชสกุลในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช 18 ราชสกุล ได้แก่

  • ราชสกุล สินสุข (สินศุข)
  • ราชสกุล จาตุรงคกุล
  • ราชสกุล รุ่งไพโรจน์
  • ราชสกุล ศิลานนท์
  • ราชสกุล โกมารกุล ณ นคร
  • ราชสกุล ณ นคร
  • ราชสกุล อินทรโยธิน
  • ราชสกุล คชวงศ์ (คชวงษ์)
  • ราชสกุล มหาณรงค์
  • ราชสกุล อินทรกำแหง
  • ราชสกุล อินทโสฬส
  • ราชสกุล อินทนุชิต
  • ราชสกุล เชิญธงไชย
  • ราชสกุล เนียมสุริยะ
  • ราชสกุล นิลนานนท์ (นินนานนท์)
  • ราชสกุล พงษ์สิน
  • ราชสกุล ศิริพร
  • ราชสกุล ชูกริส (ชูกฤส)


ต้นสกุล ณ

สกุล ณ

สกุล ที่ได้รับพระราชทาน [11][12]
สกุล สืบเชื้อสาย พระราชทาน ความสัมพันธ์
ณ กาฬสินธุ์ พระไชยสุนทร (หมาสุ่ย) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ พระยาไชยสุนทร (เก) กรมการพิเศษเมืองกาฬสินธุ์ มณฑลร้อยเอ็ด หลานทวด
ณ จัมปาศักดิ์ เจ้ายุติธรรมธร (คำสุก) เจ้านครจัมปาศักดิ์ เจ้าศักดิ์ประสิทธิ์ (เจ้าเบงคำ) และเจ้าศักดิ์ประเสริฐ์ (เจ้าอุย) ซึ่งได้ขอเข้ามารับราชการในเมืองไทย โดยไม่ยอมอยู่ในบังคับของฝรั่งเศส บุตร
ณ เชียงใหม่ พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๑ และเจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ ๓ เจ้าแก้วนวรัฐ (แก้ว) เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๙ องค์สุดท้าย
ณ เชียงตุง เจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง พระเจ้าผู้ครองนครเชียงตุง องค์สุดท้าย เจ้าฟ้าพรหมลือ ราชบุตรองค์สุดท้ายในเจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง เจ้าผู้ครองนครเชียงตุง องค์สุดท้าย
ณ ตะกั่วทุ่ง พระยาโลหะภูมิพิสัย ผู้สำเร็จราชการเมืองตะกั่วทุ่ง อำมาตย์โท หลวงราชภักดี (หร่าย) ยกกระบัตรมณฑลปัตตานี หลานทวด หลานทวด
ณ ถลาง พระยาถลาง (ฤกษ์) พระยาสุนทราทรธุรกิจ (หมี) กระทรวงมหาดไทย และพระอาณาจักรบริบาล (อ้น) กระทรวงมหาดไทย และพระพิไสยสุนทรการ (แปลง) ฃ้าหลวงตรวจการกรมสรรพากรนอก หลานทวด
ณ นคร สมเด็จพระเจ้าบรมราชาธิบดีศรีธรรมราชาโศกราช องค์พระปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรศรีวิชัย นายพลเอก เจ้าพระยาวรเดชศักดาวุธ (แย้ม ณ นคร) ปลัดทูลฉลองกระทรวงกลาโหม
ณ น่าน พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช (สุริย) พระเจ้าผู้ครองนครน่าน พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช
ณ ป้อมเพชร พระยาเพชร์ชฎ บรรดาศักดิ์เดิม พระสมุทบุรานุรักษ์ (ฃำ) ผู้ว่าราชการเมืองสมุทรปราการ เดิมตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ ป้อมเพชร กรุงศรีอยุธยา พระยาเพชร์ชฎ
ณ พัทลุง พระยาพัทลุง (ขุน) บรรดาศักดิ์เดิม พระยาแก้วเการพพิไชย ผู้สำเร็จราชการเมืองพัทลุง สมัยกรุงธนบุรี รองอำมาตย์เอก หลวงวิบูลย์บุรขันฑ์ (นพ) กรมการพิเศษเมืองพัทลุง หลานปู่
ณ พิศณุโลก หม่อมคัทริน พระชายาในสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ ภายหลังในรัชกาลที่ ๗ พระราชทานนามสกุลเป็น จักรพงศ์ หม่อมคัทริน
ณ มโนรม ผู้ว่าราชการเมืองมโนรม หลวงวินิจสารา (ดวง) นายเวรกรมบัญชาการ กระทรวงนครบาล หลานทวด
ณ มหาไชย พระยานรนารถภักดี ถิ่นฐานเดิมอยู่ที่ตำบลมหาไชย พระยาเทพทวาราวดี (สาย) อธิบดีกรมมหาดเล็ก สมัยรัชกาลที่ ๖
ณ ราชสีมา เจ้าพระยากำแหงสงคราม (ทองอิน) ผู้สำเร็จราชการเมืองนครราชสีมา
ณ ร้อยเอ็จ เพี้ยพระนคร (คำ) เจ้าเมืองร้อยเอ็จ พระยาขัตติยวงษา เอกาธิกะสตานันต์ (เหลา) ผู้สำเร็จราชการเมืองร้อยเอ็ด หลานทวด
ณ ระนอง พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี ชื่อเดิม ซู้เจียง แซ่คอ (คอซู้เจียง) ผู้สำเร็จราชการเมืองระนอง อำมาตย์เอก พระยารัตนเศรษฐี (ยู่หงี) ผู้สำเร็จราชการเมืองระนอง หลานปู่
ณ ลำปาง พระเจ้าคำโสม พระเจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ ๔ พลตรี เจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต (บุญทวงษ์) เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ ๑๓
ณ ลำภูน เจ้าหลวงเศรษฐีคำฝั้น เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ ๑ และเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๓ พลตรี เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ (น้อยจักรคำ) เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ ๑๐ องค์สุดท้าย
ณ วิเชียร ผู้ว่าราชการเมืองวิเชียรบุรี พระยาประเสริฐสงคราม (ใจ) จางวางกำกับราชการอำเภอวิเชียร จังหวัดเพชรบูรณ์ หลานปู่
ณ วังขนาย นายธีระ ณ วังขนาย คหบดีมีภูมิลำเนาอยู่ตำบลวังขนาย ตระกูลชุ้นฟุ้งซึ่งเป็นสกุลเดิม
ณ สงขลา เจ้าพระยาสงขลา (หลวงสุวรรณคีรีสมบัติ) ชื่อเดิม เหยี่ยง แซ่เหงา เจ้าเมืองสงขลา สมัยกรุงธนบุรี พระยาพฤกษาภิรมย์ (ฑิตย์) เจ้ากรมสวนหลวง
ณ หนองคาย พระประทุมเทวาภิบาล (สุวอ) เจ้าเมืองหนองคาย พระอนุชาติวุฒาธิคุณ (แพ) นายอำเภอเมืองเพ็ญ เมืองอุดรธานี หลานปู่
ณ อุบล พระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนแรก พระอุบลเดชประชารักษ์ (เสือ) กรมการพิเศษจังหวัดอุบลราชธานี หลานทวด
สกุล ที่มีการต่อท้ายนามสกุล
สกุล สืบเชื้อสาย พระราชทาน ความสัมพันธ์
พรหมสาขา ณ สกลนคร เจ้าเมืองสกลนคร พระยาประจันตประเทศธานี (โง่นคำ) หลานทวด
ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม เจ้าเมืองมหาสารคาม พระเจริญราชเดช (อุ่น) กรมการพิเศษเมืองมหาสารคาม มณฑลร้อยเอ็จ ทวดชื่อราชวงษ์ (หล้า) ปู่ชื่ออุปฮาด (ภู)
รัตนดิลก ณ ภูเก็ต พระภูเก็ตโลหเกษตรรักษ์
สุนทรกุล ณ ชลบุรี กรมขุนสุนทรภูเบศร์ พระนามเดิมว่าเรืองหรือจีนเรือง เดิมเป็นชาวเมืองชลบุรี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯสถาปนาขึ้นเป็นเจ้านาย หม่อมหลวงจาบ
สกุล ที่มีการต่อท้ายนามสกุลที่แยกออกจาก สกุล เดิม
สกุล สกุลใหม่ พระราชทาน
ณ นคร โกมารกุล ณ นคร พลเอกพระยาโกมาราชชัยยานุชิตร
ณ ถลาง ประทีป ณ ถลาง
ณ พัทลุง สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. ^ http://www.blogth.com/blog/Colum/5912.html
  2. ^ สายสกุลมาลากุล
  3. ^ สายสกุลสนิทวงศ์
  4. ^ สายสกุลกฤดากร
  5. ^ พีระเดช อนุพงษ์ จักรพันธุ์, ม.ร.ว.. ๑๕๐ ปี สมเด็จเจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมีฯ กรมพระจักรพรรดิพงษ์. กรุงเทพฯ : กระทรวงการคลัง, 2548. 278 หน้า.
  6. ^ กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. ก่อนเลือนหายในสายลม. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, พ.ศ. 2542. 333 หน้า. ISBN 978-974-42-6298-1
  7. ^ สัจธรรม. อาทิตย์อุไทย The Rising Prince เสี้ยวหนึ่งของพระชนม์สมเด็จวังบูรพา. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มจี, พ.ศ. 2551. 210 หน้า. ISBN 978-974-16-3093-6
  8. ^ ราชสกุลโสณกุล
  9. ^ จุลลดา ภักดีภูมินทร์ , เลาะวัง เล่ม 2
  10. ^ http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Pid=16678
  11. ^ http://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetailsql.asp?stcolumnid=3004&stissueid=2591&stcolcatid=2&stauthorid=13
  12. ^ http://www.amed.go.th/AboutUs/palace/nameH.htm

แหล่งข้อมูลอื่น