วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา
Mahidol Univercity Logo.jpg

วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นสถาบันการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา และ เวชศาสตร์การกีฬา แห่งแรกและชั้นนำของประเทศไทยที่เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตและวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา และยังเป็นศูนย์บริการกีฬาเพื่อสุขภาพแก่ประชาชนทั่วไป

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีพื้นฐานมาจากวิชาการแพทย์และสาธารณสุขซึ่งเกี่ยวข้องกับวิถีทางในการ พัฒนา สุขภาพและคุณภาพชีวิต เพื่อส่งผลดีต่อภาวะความเป็น อยู่โดยรวมของประชาชน เพื่อเป็นการรองรับการเสริมสร้างสุขภาพของปวง ชนโดยเน้นการป้องกัน เป็นหลักการเยียวยารักษาเป็นรอง การออกกำลังกายและกีฬาจึงเป็น กิจกรรมหนึ่งที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพภูมิคุ้มกันของร่างกายมนุษย์

มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดการเรียนการสอนและการวิจัยเกี่ยวกับเรื่องเวชศาสตร์การกีฬา(Sports Medicine)วิทยาศาสตร์การกีฬา (Sports Science)และสาขาต่างๆที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์สุขภาพมาเป็นเวลาช้านาน ด้วยความมุ่งมั่นที่จะให้เกิด ประโยชน์ และประสบผลสำเร็จสูงสุด จึงได้กำหนดวิสัยทัศน์และปรับพันธกิจ เพื่อสนอง ต่อนโยบายของประเทศ ในการส่งเสริม กีฬาของชาติ ิในทุกๆ ด้าน โดยให้ถือเป็นนโยบายปฏิบัติของทางราชการ คือ กีฬาเพื่อความเป็นเลิศและกีฬา เพื่อสุขภาพ และในปีพ.ศ. 2532 มหาวิทยาลัยมหิดลได้อนุมัติให้มีการจัดตั้ง วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาขึ้นตามแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระยะที่ 7 ให้เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าวิจัยสู่ความเป็นเลิศด้านการสร้างเสริมสุขภาพและสมรรถภาพของมนุษย์ด้วยวิทยาศาสตร์และ ์และเทคโนโลยีการกีฬา

หลังจากโครงการจัดตั้งวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาได้รับอนุมัติให้ยกฐานะเป็นวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาเรียบร้อยแล้ว ได้มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 113 ตอนที่ 25ก เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 ให้ตั้งวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาเป็นส่วนราชการหนึ่งในมหาวิทยาลัยมหิดลโดยให้มีฐานะเทียบเท่าคณะ ตั้งแต่วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2539การดำเนินการก่อส ร้างอาคารศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬา ได้แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2538 และได้รับพระบรมราชานุญาตให้เข้าเป็นหนึ่งในโครงการพระเกียรติของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เนื่องในวโรกาส เฉลิมฉลองรัชมังคลาภิเษก พระชนมพรรษา 5 รอบ และนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าพระราชทานชื่ออาคารนี้ว่า "สิริมงคล"

ในปีพ.ศ. 2538 โครงการจัดตั้งวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาได้รับอนุมัติผ่านสภามหาวิทยาลัยให้เป็นวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา ได้เปิดหลักสูตรปริญญาตรีวิทยาศาสตร์บัณฑิตหลักสูตรปริญญาโทวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬาและมีโครงการ จะเปิดหลักสูตรถึงระดับปริญญาเอกในอนาคตและเพื่อให้เป็นศูนย์กลางการจัด การเรียนการสอน ตลอดจนเป็นแหล่ง วิจัยมุ่งเป้าสู่ความเป็นเลิศ ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาและให้เป็นศูนย์บริการ กีฬาเพื่อสุขภาพแก่ประชาชนทั่วไป

พ.ศ. 2541 มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 25 และได้ใช้อาคารศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬาและสระว่ายน้ำ "สิริมงคล" เป็นสถานที่จัดพิธีเปิด

พ.ศ. 2548 มหาวิทยาลัยมหิดลได้เลือกอาคารศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬาและสระว่ายน้ำ "สิริมงคล" เป็นศูนยอำนวยการศูนย์สื่อมวลชน และเป็นสถานที่จัดประชุมวิชาการแข่งขันกีฬาฬามหาวิทวิทยาลัยแห่งประเทศ ไทยครั้งที่ 33

เนื่องในโอกาสที่มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับเกียรติ ให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย อีกครั้งหนึ่ง ในการมหาวิทยาลัยมหิดลได้กราบทูลเชิญพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์เสด็จทรงเปิด การประชุมวิชาการการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 33 ในวันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2548 เวลา 09.00 น. ณ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา

[แก้] หลักสูตร

  • ระดับปริญญาตรี
    • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา (หลักสูตรต่อเนื่อง 2 ปี และหลักสูตร 4 ปี)
    • ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการออกกำลังกายและการกีฬา
      • วิชาเอกการออกกำลังกายและการกีฬา (Exercise and Sport)
      • วิชาเอกกีฬาฟุตบอล (Football)
  • ระดับปริญญาโท
    • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา ประกอบด้วย 4 แขนงวิชา คือ
      • ชีวกลศาสตร์การกีฬา
      • สรีรวิทยาการกีฬา
      • โภชนศาสตร์การกีฬา
      • จิตวิทยาการกีฬา

[แก้] รายนามผู้อำนวยการ

ผู้อำนวยการ วาระการดำรงตำแหน่ง
1. รองศาสตราจารย นายแพทย์วิชัย วนดุรงค์วรรณ 16 มกราคม พ.ศ. 2540 - 16 ธันวาคม พ.ศ. 2542
2. ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์วารินทร์ ตัณฑ์ศุภศิริ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2542 - 30 กันยายน พ.ศ. 2543
3. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ปัญญา ไข่มุก 1 ตุลาคม พ.ศ. 2543 - 30 กันยายน พ.ศ. 2547
4. ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 - 27 ธันวาคม พ.ศ. 2550 (รักษาการ)
5. ศาสตราจารย์ นายแพทย์อรรถ นานา 22 ธันวาคม พ.ศ. 2550 - ปัจจุบัน


[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น