มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
ตรามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.gif
“ เทคโนโลยีก้าวไกล อยู่ที่ไหนก็เรียนได้ ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน ”

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (อังกฤษ: Suan Dusit Rajabhat University) เป็นมหาวิทยาลัยในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ มีชื่อเสียงในเรื่องการโรงแรมและธุรกิจบริการ และสวนดุสิตโพล


เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

เดิมชื่อ “ โรงเรียนมัธยมวิสามัญการเรือน ” ได้ถือกำเนิดขึ้นโดยดำริของเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เพื่อเป็นโรงเรียนที่ได้ตระเตรียมความชำนาญให้แก่สตรี เป็นโรงเรียนการเรือนแห่งแรกของประเทศไทย สังกัดกองอาชีวศึกษา กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ เปิดดำเนินกิจการครั้งแรกเมื่อวันที่ 17พฤษภาคม พ.ศ. 2477 ณ วังกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ซึ่งในปัจจุบันเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตพณิชยการพระนคร ความมุ่งหมายเพื่ออบรมการบ้านการเรือนสำหรับสตรีหลักสูตร 3 ปี ต่อมาในปีพ.ศ. 2480ได้ย้ายมาอยู่ที่วังจันทรเกษ(กระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน )และเปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนมัธยมวิสามัญการเรือนมาเป็น “ โรงเรียนการเรือนวังจันทรเกษม ” โดยสังกัดกองและกรมเดิมโดยเปิดสอนหลักสูตรมัธยมการเรือน (หลักสูตร 3 ปี) และหลักสูตรการเรือนชั้นสูง (หลักสูตร 3 ปี) เพิ่มเติม

ต่อมาย้ายออกจากวังจันทรเกษมเข้ามาอยู่ในบริเวณสวนสุนันทา(ที่ตั้งปัจจุบัน)บนพื้นที่ประมาณ 37 ไร่ ในปี พ.ศ. 2484 และได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ โรงเรียนการเรือนพระนคร ” ได้ย้ายไปสังกัดกองฝึกหัดครู กรมสามัญศึกษา ในขณะเดียวกันกระทรวงศึกษาธิการก็ได้จัดตั้ง “โรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ” ขึ้น ในบริเวณพื้นที่เดียวกันกับโรงเรียนการเรือนพระนคร สังกัดกองฝึกหัดครู กรมสามัญศึกษาแต่แยกส่วนการบริหารจัดการออกจากกัน เมื่อกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศตั้งกรมการฝึกหัดครูขึ้นตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ฉบับ พ.ศ. 2497 เพื่อรวมการฝึกหัดครูที่จัดขึ้นในกรมต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เพื่อเป็นการประหยัดและเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการปรับปรุงการผลิตครูทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ โรงเรียนการเรือนพระนครจึงย้ายมาสังกัดกรมการฝึกหัดครู ในปี พ.ศ. 2498 และได้โอนแผนกฝึกหัดครูอนุบาลจากโรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ มาสังกัดโรงเรียนการเรือนพระนคร

ต่อมากระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศยกฐานะโรงเรียนการเรือนพระนครเป็นวิทยาลัย และ เปลี่ยนชื่อเป็น “ วิทยาลัยครูสวนดุสิต ” หลังจากที่ได้แก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2527 ให้วิทยาลัยสามารถเปิดสอนสายวิชาการอื่นได้ นอกเหนือจากสายวิชาชีพครู วิทยาลัยจึงเริ่มเปิดสอนสายวิชาการอื่นเป็นครั้งแรกในระดับอนุปริญญาก่อน รวมทั้งได้เปิดรับนักศึกษาชายเป็นสหศึกษาเป็นครั้งแรกด้วย

ในปีพ.ศ. 2538 มีประกาศพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ .2538 ทำให้วิทยาลัยครูสวนดุสิตเปลี่ยนแปลงวิทยฐานะเป็น “ สถาบันราชภัฏสวนดุสิต ”

ในปีพ.ศ. 2547 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้า พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ .2547 ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 121 ตอนพิเศษ 23ก ลงวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2547 เวลา 09.39 น. ทำให้สถาบันราชภัฏสวนดุสิต ยกฐานะเป็น “ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ” ในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 รวมถึงสถาบันราชภัฏทุกแห่งทั่วประเทมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตจัดอยู่ในกลุ่มมหาวิทยาลัยที่เน้นการผลิตบัณฑิตและพัฒนาสังคม จัดการเรียนการสอนและภารกิจอื่นทั้งในมหาวิทยาลัย และศูนย์การศึกษานอกมหาวิทยาลัยที่กระจายอยู่ในกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ทุกภูมิภาคของประเทศ

ตลอดเวลาในการพัฒนาจากโรงเรียนมัธยมวิสามัญการเรือนจนมาเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต มีการพัฒนาความเข้มแข็งของมหาวิทยาลัยตั้งอยู่บนพื้นฐานของความสามารถทางวิชาการที่มีมาอยู่เดิม และปรับปรุงพัฒนาให้สอดคล้องต่อการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตได้กำหนดอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นความเชี่ยวชาญดั้งเดิม และโดดเด่นเป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งสาขาวิชาที่มีความพร้อมสามารถตอบสนองความต้องการของสังคมและท้องถิ่น มีทั้งหมด 4 ด้าน ดังนี้

1. ด้านการศึกษาปฐมวัย 2. ด้านอุตสาหกรรมอาหาร 3. ด้านอุตสาหกรรมบริการ 4. ด้านพยาบาล


การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ การนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ ตลอดจนการบริหารการจัดการ ที่เป็นรูปแบบของสวนดุสิตจากภาวะผู้นำขององค์กร สร้างเป็นวัฒนธรรมของสวนดุสิต

1. การมีบุคลิกภาพที่ดี 2. การศึกษาหาความรู้ และพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ อยู่เสมอ 3. ความมีวินัยและการรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น 4. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ 5. ความมีระเบียบและประณีตในงานที่ทำ 6. มีความรู้จริงในสิ่งที่ทำ

ผู้บริหารสถาบัน (อดีต-ปัจจุบัน)

ผู้บริหาร ระยะ เวลาบริหาร

  1. คุณหญิงเพชรดา ณ ป้อมเพชร์                  พ.ศ. 2477
  2. นางนิลรัตน์ บรรณสิทธิ์วรสาสน์                 พ.ศ. 2477
  3. คุณหญิงไสววงศ์ ทองเจือ                        พ.ศ. 2477 – 2484
  4. นางบุญเกลื้อ กรลักษณ์                          พ.ศ. 2484 – 2489
  5. คุณหญิงกระจ่างศรี รักตะกนิษฐ์                พ.ศ. 2489 – 2518
  6. ศาสตราจารย์เรวดี วงศ์พรหมเมฆ              พ.ศ. 2518 – 2528
  7. รองศาสตราจารย์ลำพอง บุญช่วย              พ.ศ. 2528 – 2537
  8. รองศาสตราจารย์ธง รุญเจริญ                   พ.ศ. 2537 – 2538
  9. รองศาสตราจารย์ ดร. ศิโรจน์ ผลพันธิน      พ.ศ. 2538 – 2546
 10. รองศาสตราจารย์ ดร. สุขุม เฉลยทรัพย์     พ.ศ. 2546 – 2547
 11. รองศาสตราจารย์ ดร. ศิโรจน์ ผลพันธิน     พ.ศ. 2547–ปัจจุบัน

[แก้] หลักสูตรการศึกษา

[แก้] ระดับปริญญาตรี

[แก้] คณะครุศาสตร์

  • การศึกษาปฐมวัย

[แก้] คณะวิทยาการจัดการ

  • การบัญชี
  • บริหารธุรกิจ (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ)
  • บริหารธุรกิจ (การเงินการธนาคาร)
  • บริหารธุรกิจ (ธุรกิจระหว่างประเทศ)
  • บริหารธุรกิจ (การตลาด)
  • บริหารธุรกิจ (บริหารทรัพยากรมนุษย์ )
  • การวิเคราะห์และประเมิณสมัยใหม่
  • นิเทศศาสตร์ (วารสารศาสตร์)
  • นิเทศศาสตร์ (การประชาสัมพันธ์)
  • นิเทศศาสตร์ (การโฆษณา)
  • นิเทศศาสตร์ (วิทยุกระจายเสียง)
  • นิเทศศาสตร์ (วิทยุ/โทรทัศน์)
  • อุตสาหกรรมท่องเที่ยว (ธุรกิจท่องเที่ยว)
  • อุตสาหกรรมท่องเที่ยว (ธุรกิจการโรงแรม)
  • อุตสาหกรรมท่องเที่ยว (ธุรกิจร้านอาหารและภัตตาคาร)
  • อุตสาหกรรมท่องเที่ยว (ธุรกิจการบิน)

[แก้] คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

  • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
  • การจัดการสิ่งแวดล้อมและผังเมืองอุตสาหกรรม
  • อุตสาหกรรมอาหารและการบริการ
  • เทคโนโลยีสารสนเทศ (วิทยาการสารสนเทศ)
  • เทคโนโลยีสารสนเทศ (การจัดการสารสนเทศ)
  • เทคโนโลยีสารสนเทศ (สารสนเทศทางการบริหารธุรกิจ)
  • วิทยาการคอมพิวเตอร์
  • วิทยาศาสตร์ความปลอดภัย
  • วิทยาศาสตร์เครื่องสำอางค์

[แก้] คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์

  • ภาษาอังกฤษ
  • ภาษาอังกฤษธุรกิจ
  • ภาษาไทย
  • รัฐประศาสนศาสตร์
  • นิติศาสตร์
  • รัฐศาสตร์
  • การออกแบบงานแสดงและนิทรรศการ
  • คหกรรมศาสตร์
  • จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ

[แก้] คณะพยาบาลศาสตร์

  • พยาบาลศาสตร์

[แก้] คณะ

ตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ภาษาอังกฤษ
ตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ภาษาไทย

[แก้] สถาบัน/ศูนย์และหน่วยงานในมหาวิทยาลัย

[แก้] หน่วยงาน วิทยาเขต และศูนย์การศึกษา นอกมหาวิทยาลัย

[แก้] หน่วยงาน

  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (SCI) (อาคารดัชมิลล์ บางบำหรุ) (เปิดทำการปีการศึกษา 2550)
  • โรงเรียนการอาหารนานาชาติ (ICS) (ริมคลองบางบำหรุ) (เปิดทำการปีการศึกษา 2550)

[แก้] วิทยาเขต

  • สุพรรณบุรี (โครงการจัดตั้งในปีการศึกษา 2552 ปัจจุบันมีฐานะเป็นวิทยาเขต)

[แก้] ศูนย์การศึกษา


ศูนย์ การศึกษานอก มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต มีหน่วยงานดำเนินงานประสานงานจัดการเรียนการสอนระหว่างศูนย์การศึกษานอกสถาบันทุกศูนย์กับหน่วยงานต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยฯ เพื่อให้บริการงาน การจัดการศึกษา ด้านต่าง ๆ ดังนี้ • ผู้อำนวยการสำนักงานกลางศูนย์การศึกษานอกสถาบัน โทร. 243-9051-9, 668-7133-5 ต่อ 1210 โทรสาร 243-7204 • ฝ่ายทะเบียนและประมวลผลศูนย์การศึกษาฯ โทร. 243-9051-9, 668-7133-5 ต่อ 1211, 1219 • สำนักงานกลางศูนย์ฯ (ประสานงานวิชาการ) โทร. 243-9051-9, 668-7133-5 ต่อ 1219 สถานที่ตั้งศูนย์การศึกษานอกมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต มีศูนย์การศึกษานอกสถาบันทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด จำนวน 18 ศูนย์ ดังนี้

 ศูนย์จรัลสนิทวงศ์
 ที่ตั้ง 	 : ร.ร.เทคนิคพณิชยการจรัลสนิทวงศ์
  538 ซ.จรัลสนิทวงศ์ 41 ถ.จรัลสนิทวงศ์ เขตบางกอกน้อย กทม. 10700
 โทรศัพท์ 	 : 0-2434-5680
 โทรสาร 	 : 0-2434-6530
 สุโขทัย
 ที่ตั้ง 	 : ร.ร.พณิชยการสุโขทัย
  11 ถ.สุโขทัย เขตดุสิต กทม. 10300
 โทรศัพท์ 	 : 0-2668-7513-14
 โทรสาร 	 : 0-2668-8012
 พงษ์สวัสดิ์
 ที่ตั้ง 	 : ร.ร.พงษ์สวัสดิ์พณิชยการ
  14/5 ถ.พิบูลย์สงคราม ต.สวนใหญ่ อ.เมือง จ.นนทบุรี 1100
 โทรศัพท์ 	 : 0-2967-2044, 0-2967-2046
 โทรสาร 	 : 0-2967-2045
 ดุสิตพณิชยการ
 ที่ตั้ง 	 : ร.ร.ดุสิตพณิชยการ
  438/17 ซ.ราชเทวี 5 ถ.ราชวิถี เขตราชเทวี กทม. 10400
 โทรศัพท์ 	 : 0-2644-8967-8
 โทรสาร 	 : 0-2644-8967-8
 พณิชยการสันติราษฏร์
 ที่ตั้ง 	 : ร.ร.พณิชยการสันติราษฏร์
  138/1 ซ.พหลโยธิน 24 ถ.พหลโยธิน เขตจตุจักร กทม. 10900
 โทรศัพท์ 	 : 0-2939-3051
 โทรสาร 	 : 0-2939-3050
 เซ็นทรัลปิ่นเกล้า
 ที่ตั้ง 	 : อาคารสำนักงานเซ็นทรัลปิ่นเกล้า (ชั้น 7)
  7/222 ถ.บรมราชชนนี เขตบางกอกน้อย กทม. 10700
 โทรศัพท์ 	 : 0-2884-6243-4
 โทรสาร 	 : 0-2884-6125
 พณิชยการสยาม
 ที่ตั้ง 	 : ร.ร.พณิชยการสยาม
  664/47 ซ.จรัลฯ 56 ถ.จรัญสนิทวงศ์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กทม. 10700
 โทรศัพท์ 	 : 0-243-1892-4
 โทรสาร 	 : 0-2434-1891
 ธนาลงกรณ์
 ที่ตั้ง 	 : อาคารธนาลงกรณ์
  666 ถ.บรมราชชนนี แขวงบางบำหรุ เขตบางกอกน้อย กทม. 10700
 โทรศัพท์ 	 : 0-2446-8103-4
 โทรสาร 	 : 0-2446-8102
 บุษยมาส
 ที่ตั้ง 	 : อาคารบุษยมาสคอมเพล็กซ์
  555/15 ถ.ปู่เจ้าสมิงพราย ต.สำโรงใต้ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ 10130
 โทรศัพท์ 	 : 0-2757-9591, 0-2757-9560, 0-2757-9593
 โทรสาร 	 : 0-2757-9567
 ปราจีนบุรี
 ที่ตั้ง 	 : ร.ร.พณิชยการปราจีนบุรี

97 ถ.สุวรรณศร อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี 25000

 โทรศัพท์ 	 : 0-3720-0691, 0-3721-5872
 โทรสาร 	 : 0-3721-5872
 นครนายก
 ที่ตั้ง 	 : ร.ร.เทคโนโลยีวีรพัฒน์
  ซ/4-389 ถ.สุวรรณศร อ.เมือง จ.นครนายก 26000
 โทรศัพท์ 	 : 0-3732-1590
 โทรสาร 	 : 0-3732-1591
 นครปฐม
 ที่ตั้ง 	 : ร.ร.พัฒนบริหารธุรกิจนครปฐม
  235 ถ.เพชรเกษม (กม.68) ต.สระกระเทียม อ.เมือง จ.นครปฐม 73000
 โทรศัพท์ 	 : 0-3420-0391
 โทรสาร 	 : 0-3420-0390
 ชลบุรี
 ที่ตั้ง 	 : ร.ร.เทคโนโลยีชลบุรี
  80/90 ม.3 ต.เสม็ด อ.เมือง จ.ชลบุรี 20000
 โทรศัพท์ 	 : 0-3827-4364
 โทรสาร 	 : 0-3827-4360
 พัทยา
 ที่ตั้ง 	 : ร.ร.อักษรเทคโนโลยีพัทยา
  189/30 ม.11 ถ.เทพประสิทธิ เมืองพัทยา ต.หนองปรือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี 20260
 โทรศัพท์ 	 : 0-3830-0898
 โทรสาร 	 : 0-3830-0999
 สระบุรี
 ที่ตั้ง 	 : ร.ร.เทคโนโลยีบริหารสากลสระบุรี (ไอ-แมท)
  99 ม.1 กม.9 ถ.พหลโยธิน ต.เขาดินพัฒนา อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี 18000
 โทรศัพท์ 	 : 0-3636-9453
 โทรสาร 	 : 0-3636-9453
 พะเยา
 ที่ตั้ง 	 : ร.ร.ไชยพันธ์พงษ์เทคโนโลยี
  222 ต.ต้ำ อ.เมือง จ.พะเยา 56000
 โทรศัพท์ 	 : 0-5441-1298
 โทรสาร 	 : 0-5441-1298
 ลำปาง
 ที่ตั้ง 	 : ร.ร.ลำปางพณิชยการและเทคโนโลยี (LCCT)
  173 ถ.พหลโยธิน ต.ชมพู อ.เมือง จ.ลำปาง 52100
 โทรศัพท์ 	 : 0-5425-1107
 โทรสาร 	 : 0-5425-1049
 ระนอง 2
 ที่ตั้ง 	 : ซ.ระนอง 2 ถ.พระราม 5 แขวงนครไชยศรี เขตดุสิต กทม. 10300
 โทรศัพท์ 	 : 0-2241-7512-3
 โทรสาร 	 : 0-2241-7510
 วิทยาเขตพิษณุโลก
 ที่ตั้ง 	 : โรงเรียนเทคนิคพณิชยการพิษณุโลก
  691/11 ถ.มิตรภาพ อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000
 โทรศัพท์ 	 : 0-5521-1000
 โทรสาร 	 : 0-5521-1612
 ตรัง
 ที่ตั้ง 	 : วิทยาลัยการอาชีพห้วยยอด
  ถ.เทศารัษฎา บ้านโคกแค ม.2 ต.เขายาว อ.ห้วยยอด จ.ตรัง 92130
 โทรศัพท์ 	 : 0-7523-3292, 0-7527-1805
 โทรสาร 	 : 0-7527-1891
 โครงการความร่วมมือฯ ศบอ.บ้านแพ้ว
 ที่ตั้ง 	 : ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน อำเภอบ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร
 โทรศัพท์ 	 : 0-3448-302
 โทรสาร 	 : -

[แก้] ศูนย์การศึกษาที่ปิดทำการแล้ว

  • พณิชยการสยาม (ยกเลิกการใช้งานตั้งแต่ปีการศึกษา 2549 เป็นต้นไป) (ปัจจุบัน ศูนย์ พณิชยการสยาม ย้ายมาอยู่ ที่อนุสาวรีย์ชัยฯ (ซอยรางน้ำ) ชื่อศูนย์ รางน้ำ)
  • ลุมพินี (ยกเลิกการใช้งานตั้งแต่ปีการศึกษา 2550 เป็นต้นไป)
  • สันติราษฏร์ ยกเลิกตั้งแต่ปีการศึกษา 2551 เป็นต้นไป
  • สุโขทัย ยกเลิกตั้งแต่ปีการศึกษา 2551 เป็นต้นไป

[แก้] ศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันสวนดุสิต

[แก้] บุคคลที่มีชื่อเสียง จากวิทยาลัยครูสวนดุสิต สถาบันราชภัฏสวนดุสิต และ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

[แก้] อ้างอิง

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น