มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
ดูบทความหลักที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏ

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาภายในจังหวัดศรีสะเกษ ปัจจุบัน เปิดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีในสาขาต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของจังหวัดและประเทศ

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

เนื่องจากจังหวัดศรีสะเกษเป็นจังหวัดที่ไม่มีสถาบันอุดมศึกษาที่เปิดสอนในระดับปริญญาตรี รวมทั้งยังมีความพร้อมไม่ว่าจะเป็นด้านสถานที่และเงินทุนที่จะจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดขึ้น โดยเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2540 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้จัดตั้งสถาบันราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพิ่มขึ้น โดย 1 ใน 5 แห่งนั้น คือ "สถาบันราชภัฏศรีสะเกษ" โดยในปี พ.ศ. 2542 "โครงการจัดตั้งสถาบันราชภัฏศรีสะเกษ" ได้รับนักศึกษาเป็นปีแรกได้รับความช่วยเหลือจาก สถาบันราชภัฏสุรินทร์

ต่อมา เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง "สถาบันราชภัฏศรีสะเกษ" ขึ้น และได้เปลี่ยนเป็น "มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ" ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2547

[แก้] สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

  • ตรามหาวิทยาลัย เป็นรูปวงรีสองวงล้อมตราพระราชลัญจกรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชที่พระราชทานให้แก่มหาวิทยาลัยราชภัฏ ภายในวงรีด้านบนเป็นอักษรภาษาไทยเขียนว่า "มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ" ด้านล่างเป็นอักษรภาษาอังกฤษเขียนว่า " SISAKET RAJABHAT UNIVERSITY"

[แก้] หน่วยงานและหลักสูตร


คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
หน่วยงาน ระดับปริญญาตรี 2 ปี ระดับปริญญาตรี 4 ปี ระดับปริญญาตรี 5 ปี ระดับปริญญาโท
ภาควิชาครุศาสตร์

หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต

  • สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา

หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต

  • สาขาการศึกษาปฐมวัย
  • สาขาคณิตศาสตร์
  • สาขาการสอนภาษาอังกฤษ

หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาบริหารการศึกษา
  • สาขาหลักสูตรและการสอน
ภาควิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต

  • สาขาการพัฒนาชุมชน

หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต

ภาควิชาบริหารธุรกิจและการจัดการ

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต

  • สาขาการจัดการทั่วไป
  • สาขาการบริหารธุรกิจ
    • เอกการบัญชี
    • เอกการตลาด
    • เอกคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต

  • สาขาการจัดการทั่วไป
  • สาขาการบริหารธุรกิจ
    • เอกการบัญชี
    • เอกการตลาด
    • เอกการบริหารทรัพยากรมนุษย์
    • เอกคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น