มหาวิทยาลัยแม่โจ้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

'มหาวิทยาลัยแม่โจ้'
MJU crest logo.png
งานหนักไม่เคยฆ่าคน

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นสถาบันอุดมศึกษาด้านเกษตรกรรมที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศไทย เปิดสอนเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2477[1]

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้พัฒนามาจาก โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมประจำภาคเหนือ กระทรวงธรรมการ เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2477 เป็นสถานศึกษาขั้นสูงสุดทางการเกษตรของประเทศในสมัยนั้น ซึ่งมีประวัติที่เล่าขานและเป็นตำนานที่บอกกล่าวมายาวนานถึงเรื่องราวการบุกเบิกพื้นที่ และการต่อสู้กับงานหนัก เพื่อให้ความรู้ สติปัญญา ฝึกทักษะ อาชีพ และหล่อหลอมความทรหดอดทนของผู้เรียน เพื่อให้บรรลุผลของงานที่ทำ ท่ามกลางภยันตรายที่รุมล้อมรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นไข้ป่า ความกันดารของสภาพพื้นที่ที่เป็นป่า ขาดแคลนน้ำและดินเลว สภาพที่อยู่ที่กิน และห้องเรียนทีสร้างจากใบตองตึงพื้นเป็นดิน ซึ่งหากไม่มีหัวใจของนักต่อสู้งานหนัก จิตใจที่ตั้งมั่นและอดทนแล้ว คงมิอาจฟันฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ ดังกล่าวไปได้เลย สมดังปรัชญาของลูกแม่โจ้ "งานหนักไม่เคยฆ่าคน"

[แก้] ยุคสร้าง "แม่โจ้"

  • พ.ศ. 2477 จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม

เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) รัฐมนตรีกระทรวงธรรมการ ได้มีบัญชาให้จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมภาคเหนือที่แม่โจ้ ให้พระช่วงเกษตรศิลปการ เป็นอาจารย์ใหญ่คนแรก ควบคู่กับสถานีทดลองกสิกรรมภาคพายัพ โดยจัดแบ่งพื้นที่คนละครั้งกับสถานีทดลองซึ่งอยู่ด้านทิศเหนือ พื้นที่โรงเรียนอยู่ทางทิศใต้ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 900 ไร่เศษ สภาพพื้นที่ยังเป็นป่าตองตึงและไม้เหียงซึ่งเป็นไม้ขนาดย่อมส่วนไม้ป่าอื่น ๆ เช่น สัก ประดู่และตะเคียน มีอยู่เพียงประปรายเท่านั้น เหตุผลเพราะดินชั้นล่างเป็นดินดานแข็งโดยทั่วไป ระบบรากต้นไม้ไม่อาจหยั่งลึกได้ ส่วนดินชั้นบนก็เป็นดินทราย ขาดความอุดมสมบูรณ์สำหรับการปลูกพืชทั่ว ๆ ไป สภาพพื้นที่อย่างนี้จึงไม่มีใครต้องการจะทำประโยชน์อะไรแต่กลับเป็นเหตุผลจูงใจสำคัญยิ่ง ที่พระช่วงฯ ต้องการจะทำประโยชน์ในพื้นที่อย่างนี้ ท่านเล็งให้เห็นว่าการจะพัฒนาการเกษตร ให้เป็นแบบอย่างสำหรับเกษตรกรทั่วไปได้นั้น สิ่งหนึ่งที่จะทำคือ ต้องนำเอาความรู้มาสาธิตแสดงให้ประจักษ์ต่อบุคคลทั่วไป ได้เห็นว่าการปรับปรุงดินเลวให้สามารถใช้ปลูกพืชโดยจัดระบบปุ๋ยพืชสด การใช้ปุ๋ยหมักต่าง ๆ ในพื้นที่เกษตร ไม่ว่าจะเป็นพืชไร่ นา สวนไม้ผล แปลงปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์และระบบการหมุนเวียนใช้ประโยชน์ของพื้นที่นั้น จะสามารถทำการเกษตรได้ทุกอย่าง

การที่ต้องเปิดโรงเรียนตามนโยบายของกระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการ) อย่างเร่งด่วนในปีนี้นั้นสภาพสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เช่นห้องเรียน เรือนนอน โรงอาหารและบ้านพักครู จึงต้องจัดสร้างขึ้นอย่างลำลองชั่วคราว โดยใช้เสาไม้ หลังคาและฝาใช้ใบตองตึง พื้นเป็นดิน ห้องเรียนมีเฉพาะหลังคาไว้กันแดดและฝนเท่านั้น โต๊ะเรียนและม้านั่งก็ใช้ไม้กระดาน 2 แผ่นตอกยึดไว้ นั่งได้ 3 คน สร้างเรียงเป็นแถวไว้เนื่องจากมีนักเรียนเพียง 48 คนในปีแรก เป็นนักเรียนในบำรุง 37 คน และนอกบำรุง 11 คน (นักเรียนในบำรุง คือ นักเรียนที่จังหวัดต่าง ๆ ทั่วทุกภาคส่งเข้าเรียนโดยรัฐออกค่าใช้จ่ายค่าอาหารให้เดือนละ 15 บาท ส่วนประเภทนอกบำรุงคือ ผู้ที่สมัครมาเรียนเอง หรือเรียนด้วยทุนส่วนตัว เป็นค่าอาหารเดือนละ 10 บาท) จึงใช้ห้องเรียนเพียงห้องเดียวหมุนเวียนครูอาจารย์สอนแต่ละวิชากันไป (ปี พ.ศ. 2477 มีครูอาจารย์ 5 คน ส่วนปี พ.ศ. 2478 มีเพิ่มอีก 12 คน และรับนักเรียนเพิ่มเป็น 85 คน) ส่วนเรือนนอกนักเรียนนั้น ยกพื้นกระดานสูงจากพื้นดินราว 50 เซนติเมตร ฝาและหลังคาใช้ใบตองตึงทั้งหมด เวลาจะนอนต้องกางมุ้งเพื่อป้องกันยุงและขี้มอดที่ร่วงจากหลังคา

รับผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 6 หรือประกาศนียบัตรครูมูล (ป.) ใช้เวลาเรียน 2 ปี ได้รับประกาศนียบัตรประโยคครูประถมกสิกรรม (ป.ป.ก.) หากรับราชการจะได้เงินเดือนขั้นต้น 45 บาท ผู้สำเร็จการศึกษารุ่นแรกนี้มีจำนวน 48 คน อาทิ เลขประจำตัว 2: อาจารย์กำจร (ตาคำ) บุญแปง, เลขประจำตัว16: อาจารย์เลื่อน เมฆบังวัง, เลขประจำตัว 38: อาจารย์สุรัตน์ (หลี) มงคลชัยสิทธิ์ และเลขประจำตัว 45: อาจารย์วิภาต บุญศรี วังซ้าย เป็นต้น สามท่านแรกเมื่อจบการศึกษาแล้วก็ได้รับการบรรจุเป็นครูสอนในปี พ.ศ. 2479 ทันที ส่วนอาจารย์วิภาต บุญศรี วังซ้าย เข้ารับราชการเป็นพนักงานเกษตรกรรมผู้ช่วยและพนักงานยางที่อำเภอหาดใหญ่ และสอบชิงทุนหลวง (ทุน ก.พ.ในปัจจุบัน) ไปเรียนต่อปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติฟิลิปปินส์ ที่ลอสบานยอส ระหว่างปี พ.ศ. 2480 - 2483 เมื่อจบการศึกษาแล้ว จึงกลับมาสอนและเป็นอาจารย์ผู้ปกครองที่แม่โจ้ เมื่อปี พ.ศ. 2484

  • หลักสูตร ปปก.รับนักเรียนเพียง 3 รุ่น คือในปี 2477-79 (แม่โจ้ รุ่น 1 จำนวน 48 คน รุ่น 2 จำนวน 84 คน และ รุ่น 3 จำนวน 99 คน)
  • พ.ศ. 2478 โรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรม

กระทรวงธรรมการเห็นว่า หลักสูตรประโยคครูประถมกสิกรรม (ป.ป.ก.) ที่เปิดไปแล้วมีผู้สำเร็จการศึกษาจำนวนมากพอ และมีสถานศึกษาที่ต้องใช้ครูเกษตรเหล่านี้เพียงจำนวนน้อย จึงให้ยุบเลิกการสอนหลักสูตรดังกล่าว และเปิดหลักสูตรมัธยมวิสามัญเกษตรกรรมขึ้นแทน

หลักสูตรที่เปิดใหม่นี้ รับจากผู้สำเร็จมัธยมปีที่ 4 สายสามัญ เข้าเรียนต่ออีก 4 ปี จบการศึกษาแล้วจะไดรับประกาศนียบัตรประโยคมัธยมบริบูรณ์แผนกเกษตรกรรม เทียบได้ชั้นมัธยม 8

  • หลักสูตรมัธยมวิสามัญเกษตรกรรม (มก.) รับเพียง 4 รุ่น ในปี 2478-2481 (แม่โจ้ รุ่น 2 (มก.1) จำนวน 134 คน รุ่น 3 (มก.2) จำนวน 57 คน รุ่น 4 (มก.3) จำนวน62 คน รุ่น 5 (มก.4) จำนวน 51 คน
  • พ.ศ. 2481 จัดตั้งเป็น วิทยาลัยเกษตรศาสตร์

กระทรวงธรรมการได้โอนโรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรมให้กับกระทรวงเกษตราธิการโดยยุบรวมแห่งอื่น ๆ ที่บางกอกน้อย โนนวัด คอหงศ์ และที่แม่โจ้ แล้วจัดตั้งเป็นวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แม่โจ้ เพียงแห่งเดียว หลักสูตร 2 ปี ระดับอนุปริญญา โดยรับผู้สำเร็จชั้นมัธยม 8 สำเร็จแล้วบรรจุเป็นข้าราชการชั้นตรี อันดับ 1 อัตราเงินเดือน 80 บาท ตกลงในปีเดียวกันนี้ แม่โจ้จึงเป็นทั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม (ป.ป.ก. ปีสุดท้าย) มัธยมวิสามัญเกษตรกรรม และวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ตามลำดับโดยมี พระช่วงเกษตรศิลปการ เป็นผู้อำนวยการ

กลางปี พ.ศ. 2481 พระช่วงเกษตรศิลปการได้ย้ายไปรับตำแหน่งอธิบดีกรมเกษตรที่กรุงเทพฯ อาจารยจรัด สุนทรสิงห์ มารักษาการแทน

  • พ.ศ. 2482 เป็นโรงเรียนเตรียมวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เมื่อวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ย้ายจากแม่โจ้ไปตั้งที่บางเขนที่แม่โจ้จึงถูกจัดตั้งเป็นโรงเรียนเตรียมเกษตรศาสตร์ รับผู้สำเร็จชั้นมัธยมปลาย (ม.6 สายสามัญ) หลักสูตร 2 ปี สำเร็จแล้วเข้าศึกาต่อได้ที่วิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน โดยมีศาสตราจารย์ ดร.พนม สมิตานนท์ เป็นผู้อำนวยการ

ศาสตราจาร ดร.พนม ย้ายไปกรมเกษตร ขณะเดียวกันก็เป็นอาจารย์สอนในวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน เมื่อปี พ.ศ. 2484 อาจารย์ประเทือง ประทีปเสน จึงรักษาการผู้อำนวยการต่อจนถึงปี พ.ศ. 2486

  • พ.ศ. 2486 โรงเรียนเตรียมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เมื่อวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขนได้รับการสถาปนาเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แม่โจ้จึงเปลี่ยนไปเป็น"โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" หลักสูตร 2 ปี เพื่อเตรียมนักเรียนเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ต่อไป โดยมีศาสตราจารย์ ดร.พนม สมิตานนท์ เป็นผู้อำนวยการ

  • หลักสูตรตั้งแต่ปี 2482-87 เป็นหลักสูตร 2 ปี (แม่โจ้ รุ่น 6 - รุ่น 11)
  • พ.ศ. 2488 สถานศึกษาการเกษตรแม่โจ้

ได้มีการยกเลิกโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แม่โจ้ เนื่องจากต้องการที่จะควบรวมกิจการกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่บางเขนทั้งหมด กอรปกับในปีนี้เองสงครามโลกครั้งที่สอง ได้ทวีความรุนแรงขึ้น เส้นทางคมนาคมสำคัญ เช่นทางรถไฟ สะพาน ถูกทำลาย ทำให้มีผู้มาสมัครเรียนเพียง 12 คนเท่านั้น อีกทั้งแม่โจ้ก็อยู่ห่างไกลจากกรุงเทพมหานคร ไม่สะดวกในการติดต่อและดำเนินงานเชื่อมต่อกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่บางเขนจึงให้ยุบเลิกโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาเกษตรศาสตร์ที่แม่โจ้เสีย แต่พระช่วงเกษตรศิลปการ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมเกษตรเห็นว่า ควรจะคงสถานศึกษาการเกษตรแม่โจ้ไว้สักแห่งหนึ่ง เพราะถิ่นภาคเหนือเป็นแหล่งที่มีน้ำดี อากาศดี อุดมด้วยการกสิกรรมเหมาะที่จะเป็นศูนย์กลางความรู้ด้านการเกษตรแก่เยาวชนและเกษตรกร โดยจัดตั้งเป็นสถานศึกษาการเกษตร กำหนดเวลาเรียน 3 ปี ใช้หลักสูตรเตรียมอุดมศึกษาอย่างเดิม นับเป็นก้าวใหม่ของการให้การศึกษาอาชีวเกษตรของประเทศ

พ.ศ. 2490-91 งดรับนักศึกษา 2 ปี เพราะไม่ได้งบประมาณอุดหนุนและจำนวนผู้เรียนน้อย

  • พ.ศ. 2492 จัดตั้งเป็นโรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้

โอนกิจการของสถานศึกษาการเกษตรแม่โจ้ไปสังกัดกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดยจัดตั้งเป็นโรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้ เพื่อให้การศึกษาระดับประโยคอาชีวชั้นสูงเกษตรกรรม โดยรับนักศึกษาจากผู้สำเร็จประโยคอาชีวชั้นกลาง เกษตรกรรม และประโยคมัธยมศึกษาตอนต้น (มัธยมปีที่ 6) ใช้เวลาเรียน 3 ปี ได้รับประกาศนียบัตรอาชีวชั้นสูงเกษตรกรรม

ศาสตราจารย์ ดร.พนม สมิตานนท์ ยังดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการอยู่จนถึงปี พ.ศ. 2495 จึงได้ย้ายไปอยู่กับ สำนักงานอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (เอฟ.เอ.โอ.) ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา อาจารย์ไสว ชูติวัตร จึงมารับงานในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่สืบแทน จึงถึงปี พ.ศ. 2497 ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นตัวหน้ากองโรงเรียนเกษตรกรรม กรมอาชีวศึกษา


[แก้] รายนามอธิการบดี

สถาบันเทคโนโลยีการเกษตร
คนที่ รายนามอธิการบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 - 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2522
21 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 - 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2526
สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้
2. ศาสตราจารย์ ดร.ยรรยง สิทธิชัย 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2526 - 4 มิถุนายน พ.ศ. 2530
3. นายสุรพล สงวนศรี 5 มิถุนายน พ.ศ. 2530 - 30 เมษายน พ.ศ. 2532
4. รองศาสตราจารย์ ดร.อานนท์ เที่ยงตรง 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 - 30 เมษายน พ.ศ. 2536
1 พฤษภาคม พ.ศ. 2536 - 30 เมษายน พ.ศ. 2540
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
1 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 - 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2541
5. นายสราญ เพิ่มพูล 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 - 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2545
6. รองศาสตราจารย์ ดร.เทพ พงษ์พานิช 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 - 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2549
8 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 - ปัจจุบัน

[แก้] สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย

ต้นไม้สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย คือ อินทนิล[2]

  • อินทนิล เป็นไม้ยืนต้นที่แข็งแรง อายุยาวนาน และเจริญเติบโตได้ทุกสภาพของประเทศไทย แทน ความแข็งแกร่ง อดทน ของศิษย์แม่โจ้
  • ช่ออินทนิล มีลักษณะเกาะกันเป็นกลุ่มแน่น สีสด แทน ความรัก ความสามัคคี และความกลมเกลียว
  • อินทนิลเป็นต้นไม้ที่เจริญได้ดีในทุกภาคของประเทศไทย แทน ศิษย์แม่โจ้ที่มาจากทุกหนทุกแห่ง และกระจายกันออกไปเจริญเติบโตก้าวหน้าอยู่ทั่วทุกภาค
  • ต้น เปลือก และใบ ของอินทนิล ใช้เป็นยาสมุนไพรได้ แทน คุณค่าของศิษย์แม่โจ ที่ได้สร้างประโยชน์ให้กับสังคม


[แก้] หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย

[แก้] สำนักงานอธิการบดี

  • สำนักงานอธิการบดี
  • กองกลาง
  • กองกิจการนักศึกษา
  • กองแผนงาน
  • กองคลัง
  • กองการเจ้าหน้าที่
  • กองอาคารและสถานที่
  • กองสวัสดิการ
  • กองวิเทศสัมพันธ์
  • กองแนะแนว สหกิจศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์
  • สำนักส่งเสริมและพัฒนาวิชาการ
  • สำนักหอสมุด
  • บัณฑิตวิทยาลัย
  • มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
  • มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร
  • โครงการพัฒนาบ้านโปงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
  • ศูนย์กล้วยไม้และไม้ดอกไม้ประดับ
  • ศูนย์พัฒนาการท่องเที่ยว
  • ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ
  • ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพ
  • สภาข้าราชการและลูกจ้าง
  • สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • สำนักงานคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา

[แก้] คณะ/วิทยาลัย/สำนัก

  1. สาขาพืชศาสตร์
  2. สาขาวิชากีฎวิทยา
  3. สาขาวิชาอารักขาพืช
  4. สาขาวิชาโรคพืชวิทยา
  5. สาขาวิชาพืชสวนประดับ
  6. สาขาวิชาพืชผัก
  7. สาขาวิชาพืชไร่
  8. สาขาวิชาไม้ผล
  9. สาขาวิชาปฐพีศาสตร์
  10. สาขาวิชาเกษตรเคมี
  11. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร
  12. สาขาวิชาส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
  13. สาขาวิชาพลังงานทดแทน
  1. สาขาสัตวศาสตร์
  2. สาขาวิชาการผลิตสัตว์ปีก
  3. สาขาวิชาโคนมและโคเนื้อ
  4. สาขาวิชาการผลิตสุกร
  5. สาขาวิชาอาหารสัตว์
  6. สาขาวิชาสุขาภิบาลสัตว์
  1. ภาควิชาฟิสิกส์
  2. ภาควิชาเคมี
  3. ภาควิชาชีววิทยา
  4. ภาควิชาคณิตศาสตร์และสถิติ
  5. ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
  6. ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
  7. สาขาวิชาวัสดุศาสตร์
  1. สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม
  2. สาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิทัศน์
  3. สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์
  1. สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร
  2. สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร
  3. สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมอาหาร
  4. สาขาวิชาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  5. สาขาวิชาวัสดุศาสตร์ (อุตสาหกรรมการยาง)
  6. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
  1. สาขาวิชาการพัฒนาการท่องเที่ยว
  2. สาขาวิชาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
  1. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
  2. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร
  3. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
  4. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม
  5. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์
  6. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
  7. สาขาวิชาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
  1. สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
  2. สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ
  3. สาขาวิชาการเงิน
  4. สาขาวิชาการบัญชี
  5. สาขาวิชาการจัดการทั่วไป
  6. สาขาวิชาการตลาด
  1. สาขาวิชานิเทศศาสตร์บูรณาการ
  2. สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
  1. สาขาวิชาการประมง
  2. สาขาวิชาการประมง (เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ)
  3. สาขาวิชาการประมง (ชีววิทยาประมง)
  4. สาขาวิชาการประมง (การจัดการประมง)
  1. สาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัล
  1. สาขาวิชารัฐศาสตร์
  2. สาขาวิชาการจัดการชุมชน
  3. สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น (สมทบ)
  1. สำนักงานเลขานุการ
  2. ฝ่ายวิจัย
  3. ฝ่ายฝึกอบรม
  4. ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร
  5. ฝ่ายขยายพันธุ์พืชและสัตว์
  6. ฝ่ายพัฒนาเกษตรที่สูง
  7. ศูนย์การศึกษาและฝึกอบรมนานาชาติ
  8. คลินิกเทคโนโลยี

[แก้] ปริญญาโท

  • พืชไร่
  • พืชสวน
  • สัตวศาสตร์
  • ปฐพีศาสตร์
  • บริหารธุรกิจ
  • บริหารการเกษตรและป่าไม้
  • ส่งเสริมการเกษตร
  • นิเทศศาสตร์
  • ภาษาเพื่อการพัฒนา
  • พัฒนาสังคมและมนุษย์
  • เศรษฐศาสตร์สหกรณ์
  • เศรษฐศาสตร์การเกษตร
  • บริหารการพัฒนา
  • การจัดการนันทนาการและการท่องเที่ยว
  • เทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์
  • การจัดการทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อม
  • เทคโนโลยีทางอาหาร
  • เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
  • เทคโนโลยีชีวภาพ
  • การสื่อสารและสารสนเทศ
  • รัฐประศาสนศาสตร์

[แก้] ปริญญาเอก

  • การวางแผนและพัฒนาชนบท
  • สาขาวิชาบริหารศาสตร์
  • พัฒนาการท่องเที่ยว

[แก้] ศูนย์/โครงการจัดตั้ง

  • ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพ และสถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์
  • ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ
  • ศูนย์ภาษามหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • สถาบันบ่มเพาะวิสาหกิจ
  • สำนักงานตรวจสอบภายใน
  • สถานบริการวิชาการ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
  • ศูนย์วิจัยพลังงาน
  • สำนักงานประสานงานวิจัยเชิงบูรณาการ (สกว.แม่โจ้)
  • สำนักงานสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • ศูนย์วิจัยและพัฒนาลำไยแม่โจ้
  • โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
  • สำนักฟาร์มมหาวิทยาลัย

[แก้] สถาบัน/ศูนย์และหน่วยงานอื่นๆ

[แก้] วิทยาเขต

มหาวิทยาลัย ตั้งอยู่บนถนนเชียงใหม่-พร้าว ในพื้นที่ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ โดยห่างจากตัวเมืองจังหวัดเชียงใหม่ 10 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 12,879 ไร่ อยู่ใน 3 จังหวัด คือ

  1. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เลขที่ 63 หมู่ที่ 4 ถนนเชียงใหม่ - พร้าว ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
  2. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร อำเภอละแม จังหวัดชุมพร
  3. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ เลขที่ 17 หมู่ 3 ถนนยันตรกิจโกศล ตำบลแม่ทราย อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่


[แก้] บุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัย

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ รายนามบุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้

[แก้] พิธีพระราชทานปริญญาบัตร

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาในการพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ครั้งแรก เมื่อปี 2521 และได้เสด็จพระราชดำเนินในการพิธีพระราชทานปริญญาบัตรด้วยพระองค์เองเรื่อยมา แต่ในปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตร แก่บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตของมหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นประจำทุกปี ดังนั้น วันพระราชทานปริญญาบัตรของทุกปี จึงจัดให้อยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ตามอย่างคราวรับพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งแรก ในคราวรับพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกนั้นจัดขึ้นที่อาคารแผ่พืชน์ ซึ่งในปี 2553 เป็นครั้งที่ 32 บัณฑิตรุ่นที่ 33 ปัจจุบันพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ณ ศูนย์กีฬากาญจนาภิเษก รัชกาลที่ 9 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่

[แก้] อ้างอิง

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

ภาษาอื่น