นนทรีย์ นิมิบุตร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นนทรีย์ นิมิบุตร
Nonzee Nimibutr at MTV 8th anniversary.jpg
งาน 8 ปี เอ็มทีวีไทยแลนด์
เกิด 18 ธันวาคม พ.ศ. 2505 (อายุ 47 ปี) [1]
นนทบุรี, ประเทศไทย
อาชีพ ผู้กำกับภาพยนตร์, นักเขียนบทภาพยนตร์, โปรดิวเซอร์ภาพยนตร์
ปีที่แสดง พ.ศ. 2540 - ปัจจุบัน
ผลงานเด่น 2499 อันธพาลครองเมือง (2540)
นางนาก (2542)
ข้อมูลบนเว็บ IMDb

นนทรีย์ นิมิบุตร ชื่อเล่นชื่อ อุ๋ย (เกิด 18 ธันวาคม พ.ศ. 2505 ที่จังหวัดนนทบุรี) เป็นทั้งผู้กำกับภาพยนตร์ ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ และนักเขียนบทภาพยนตร์ นับได้ว่าเขาเป็นผู้บุกเบิกวงการภาพยนตร์ยุคใหม่ของไทย ตั้งแต่ที่เขาได้กำกับเรื่อง 2499 อันธพาลครองเมือง ออกฉายเมื่อ พ.ศ. 2540 และหนังประสบความสำเร็จอย่างสูง วงการหนังไทยยุคใหม่ก็ได้เริ่มต้นขึ้น ซึ่งช่วยฟื้นฟูให้อุตสาหกรรมหนังไทยเข้าถึงกลุ่มคนดูยุคใหม่ๆมากขึ้น หลังจากที่ยุค พ.ศ. 2530 - 2540 หนังไทยอยู่ในภาวะตกต่ำมาเป็นเวลานาน

เนื้อหา

[แก้] ก่อนเข้าสู่วงการภาพยนตร์

สำเร็จการศึกษาจาก คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อปีพ.ศ. 2530 หลังจากนั้น ได้เริ่มทำงานในวงการบันเทิงด้วยเป็นผู้กำกับมิวสิควีดีโอให้กับบริษัทผู้ผลิตเทปชั้นนำของประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2517 และเริ่มทำการด้านการผลิตสารคดีและละคร หลังจากนั้นจึงได้เข้าสู่วงการกำกับโฆษณาอีกหลายปี ได้รับรางวัล แทคท์ อวอร์ดถึงสองครั้ง

น่าจะผิดพลาด ตรง "ได้เริ่มทำงานในวงการบันเทิงด้วยเป็นผู้กำกับมิวสิควีดีโอให้กับบริษัทผู้ผลิตเทปชั้นนำของประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2517 " ซึ่งไม่น่าจะใช่ เพราะเกิด 2505 จบ 2530 แต่ทำงานตอน 2517 มันขัด ๆ กันน่ะครับ

[แก้] เข้าสู่วงการภาพยนตร์

เริ่มสู่การกำกับหนังเรื่องแรกชื่อ 2499 อันธพาลครองเมือง ซึ่งร่วมเขียนบทโดย วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง ตัวหนังมีเนื้อหาเกี่ยวกับแก๊งอันธพาลวัยรุ่นในยุค 2499 ซึ่งหนังเรื่องนี้ทำรายได้ในไทยถึง 75 ล้านบาท[2] และได้รับเสียงตอบรับจากผู้ชมเป็นอย่างดี

หลังจากนั้นก็ได้กำกับภาพยนตร์เรื่องที่สอง คือ นางนาก ซึ่งหนังเรื่องนี้ ได้สร้างปรากฏการณ์ให้กับหนังสยองขวัญของไทยแนวใหม่ ด้วยการนำเรื่องเล่าท้องถิ่นที่เคยรู้จักกันดีอยู่แล้ว มาเสนอในรูปที่แปลกใหม่กว่าหนังผีเดิมๆที่เคยทำกันมาในยุคก่อน หนังเรื่องนี้การสร้างรายได้ถึง 149ล้านบาท[3] และมีผู้ชมชื่นชอบแทบทุกวัย ได้รับรางวัลในประเทศมามากมาย

ซึ่งหลังจากที่หนังทั้ง 2 เรื่องนี้ได้ฉายไป ถือได้ว่าเป็นการฟื้นฟูอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของไทย ที่ซบเซามาอย่างนานถึงเกือบ 10 ปี ได้กลับมามีชีวิตชีวาใหม่อีกครั้ง และทำให้มีหนังไทยแนวใหม่ๆ ออกฉายมากขึ้นกว่ายุคก่อนๆ

[แก้] รายชื่อหนัง

[แก้] ผู้กำกับ

[แก้] โปรดิวเซอร์

[แก้] อ้างอิง

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น


ภาษาอื่น