ปรัชญา ปิ่นแก้ว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปรัชญา ปิ่นแก้ว
Prachya Pinkaew 20070116.jpg
ชื่อจริง ปรัชญา ปิ่นแก้ว
เกิด 2 กันยายน พ.ศ. 2505 (อายุ 47 ปี)
อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
อาชีพ ผู้กำกับภาพยนตร์, นักเขียนบทภาพยนตร์, ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์

ปรัชญา ปิ่นแก้ว เกิดเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2505 เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ไทย นักเขียนบทภาพยนตร์ และ ผู้ควบคุมการสร้าง ผลงานภาพยนตร์สร้างชื่อคือเรื่อง องค์บาก และ ต้มยำกุ้ง

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

ปรัชญา ปิ่นแก้ว เกิดที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา จบการศึกษาชั้นประถมจากโรงเรียนสุขานารี ระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนบุญวัฒนา และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ที่คณะสถาปัตยกรรม สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

เขาได้เริ่มผู้กำกับศิลป์ให้กับบริษัท แพคช๊อท ในปี 2530 ในตำแหน่งอาร์ทไดเร็คเตอร์ และ ตำแหน่งครีเอทีฟ โดยเป็นผู้กำกับมิวสิกวิดีโอที่บริษัทอาร์เอส โปรโมชั่น ได้รับรางวัลจากการประกวดอยู่หลายหน โดยเฉพาะได้รับรางวัลโทรทัศน์ทองคำ ผู้กำกับมิวสิกวิดีโอยอดเยี่ยม 4 ครั้ง จากเพลงเก็บตะวัน ของอิทธิ พลางกูร เพลงลูกผู้ชาย ของฉัตรชัย เปล่งพานิช เพลงกระจกร้าว ของไฮร็อก และเพลงไวกว่าแสงของ หรั่ง ร็อคเคสตร้า

ปี พ.ศ. 2535 ได้เริ่มงานกำกับภาพยนตร์ ภาพยนตร์เรื่องแรกคือ รองต๊ะแล่บแปล๊บ จากนั้นกำกับภาพยนตร์และอำนวยการสร้างภาพยนตร์อีกเป็นจำนวนมาก อาทิเช่น เกิดอีกทีต้องมีเธอ, ปอบหวีดสยอง, มนต์เพลงลูกทุ่ง เอฟ.เอ็ม, 7 ประจัญบาน, FAKE โกหกทั้งเพ, เฮี้ยน, นายอโศกกับนางสาวเพลินจิต, คน ผี ปีศาจ, บอดี้การ์ดหน้าเหลี่ยม, เอกซ์แมน แฟนพันธุ์เอกซ์, เกิดมาลุย, 7 ประจัญบาน 2, ฟอร์มาลีนแมน รักเธอเท่าฟ้า, เฉิ่ม, เสือร้องไห้, มนุษย์เหล็กไหล ฯลฯ และภาพยนตร์ที่สร้างชื่อคือ องค์บาก ต้มยำกุ้ง และ ช็อกโกแลต ปี2551 ภาพยนตร์เรื่อง ฝัน-หวาน-อาย-จูบ (4Romances) กำกับตอน"หวาน"[1]

เขาได้ลาออกจากบริษัทอาร์เอสฟิล์มเมื่อปี 2541 มาเปิดบริษัทบาแรมยู

ปี 2552 เขาได้รับพระราชทานดุษฎีบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน[2]

[แก้] ผลงาน

[แก้] กำกับภาพยนตร์

[แก้] อำนวยการสร้าง

[แก้] อ้างอิง

ภาษาอื่น