เจ้าฟ้าหญิงวิกตอเรีย มกุฎราชกุมารีแห่งสวีเดน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Crownprincess victoria of sweden 2006 june 18 gotatunneln.jpg
เจ้าฟ้าหญิงวิกตอเรีย มกุฎราชกุมารีแห่งสวีเดน
พระปรมาภิไธย วิกตอเรีย อิงกริด อลิซ เดซิเร
พระอิสริยยศ มกุฎราชกุมารีแห่งสวีเดน
ราชวงศ์ ราชวงศ์เบอร์นาดอตต์
พระราชวงศ์สวีเดน
ตราประจำราชสำนักสวีเดน

ฯลฯ

เจ้าฟ้าหญิงวิกตอเรีย มกุฎราชกุมารีแห่งสวีเดน (ภาษาอังกฤษ: Her Royal Highness Crown Princess Victoria of Sweden; หรือ ภาษาสวีเดน: Henne Kunglig Höghet Kronprinsessan Victoria, Sveriges kronprinsessa; พระนามเต็ม วิกตอเรีย อิงกริด อลิซ เดซิเร ประสูติ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2520กรุงสต็อกโฮล์ม) ทรงเป็นรัชทายาทอันดับหนึ่งในราชบัลลังก์สวีเดน หากเมื่อเสด็จขึ้นครองราชบัลลังก์ พระองค์จะทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถลำดับที่สี่ของประเทศ (ต่อจาก สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธที่ 1 สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินา และสมเด็จพระราชินีนาถอุลริคา เอเลโอนอรา)

นอกจากนี้พระองค์ยังทรงถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 7 ของราชนิกุลรุ่นเยาว์ที่เซ็กซี่มากสุดในโลก

เนื้อหา

[แก้] พระชนม์ชีพในวัยเยาว์

เจ้าหญิงประสูติเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2520โรงพยาบาลแคโรลินสกา ในกรุงสต็อกโฮล์ม โดยทรงเป็นพระราชธิดาองค์ใหญ่ใน สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟ และ สมเด็จพระราชินีซิลเวีย และเป็นสมาชิกในราชวงศ์เบอร์นาด็อต อีกทั้งมีเชื้อสายส่วนใหญ่เป็นเยอรมัน พระองค์ทรงเป็นรัชทายาทที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ (heir-apparent) ซึ่งเป็นสตรีเพียงองค์เดียวในโลก (แม้มีรัชทายาทหญิงในราชบัลลังก์อยู่อีกหลายองค์ แต่เป็นเพียงพระธิดาองค์ใหญ่ในรัชทายาทหรือมกุฎราชกุมาร) และทรงดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงมกุฎราชกุมารีแห่งสวีเดน (HRH The Crown Princess) นอกจากนั้นแล้วพระองค์ยังทรงอยู่ในอันดับที่ 192 ของลำดับการสืบราชบัลลังก์อังกฤษ โดยผ่านทางพระชนก ซึ่งทรงเป็นพระปนัดดาในเจ้าฟ้าหญิงมาร์กาเร็ตแห่งคอนน็อต พระราชนัดดาของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร จึงทำให้ทรงมีศักดิ์เป็นพระประยูรญาติ (เช่นเดียวกับสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธที่ 2 แห่งเดนมาร์ก และสมเด็จพระราชาธิบดีฆวน คาร์ลอสที่ 1 แห่งสเปน) ในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 หากเมื่อเจ้าหญิงเสวยสมบัติจะทรงได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสวีเดน

พระนามเรียกขานทั้งหมดของเจ้าหญิงวิกตอเรียเป็นการให้เกียรติแก่พระญาติต่างๆ โดยพระนามแรกมาจากเจ้าหญิงวิกตอเรียแห่งบาเดิน พระเปตามหัยยิกา (ย่าทวด) และพระมเหสีในสมเด็จพระราชาธิบดีกุสตาฟที่ 5 (แต่ก็เป็นการถวายพระเกียรติแด่สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียด้วย) ส่วนพระนามอื่นๆ มาจากเจ้าหญิงอิงกริดแห่งสวีเดน สมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์ก; อลิซ ซอมเมอร์ลาธ (สกุลเดิม เด โตเลโด) คุณยายชาวบราซิล และเดซิเร คลารี พระมเหสีในสมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 15 โยฮันแห่งสวีเดน และอดีตคู่หมั้นของนโปเลียน โบนาปาร์ต

เจ้าหญิงวิกตอเรียทรงเข้ารับศีลจุ่มเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2520 ณ มหาวิหารหลวง ในกรุงสต็อกโฮล์ม โดยมีพ่อและแม่ทูนหัวคือ สมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 แห่งนอร์เวย์ ราล์ฟ ซอมเมอร์ลาธ ซึ่งเป็นพี่ชายของสมเด็จพระราชินีซิลเวียแห่งสวีเดน สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์ และเจ้าหญิงเดซิเร่แห่งสวีเดน บารอนเนสซิลฟ์แวร์สคิเอิลด์ พระปิตุจฉา

เจ้าหญิงวิกตอเรียทรงเป็นแม่ทูนหัวให้กับพระโอรสธิดาของพระราชวงศ์อื่น ส่วนมากเป็นอนาคตรัชทายาทในราชบัลลังก์คือ เจ้าหญิงอิงกริด-อเล็กซานดราแห่งนอร์เวย์ เจ้าหญิงคาธารีนา-อาเมเลียแห่งเนเธอร์แลนด์ และ เจ้าชายคริสเตียนแห่งเดนมาร์ก รวมไปถึงเจ้าหญิงเอเลโอนอร์แห่งเบลเยียม

[แก้] การศึกษา

[แก้] การเปลี่ยนแปลงพระราชสถานะ

เจ้าหญิงทรงได้รับการเฉลิมพระอิสริยยศเป็นมกุฎราชกุมารีและรัชทายาทลำดับแรกแห่งราชบัลลังก์เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2523 จากการเปลี่ยนแปลงพระราชบัญญัติการสืบราชสมบัติแห่งปี พ.ศ. 2353 (Successionsordningen) ในปลายปี พ.ศ. 2522 การปฏิรูปรัฐธรรมนูญในครั้งนั้นหมายถึงเชื้อสายคนโตของพระมหากษัตริย์สามารถสืบราชสมบัติได้ไม่ว่าจะเป็นเพศใด สวีเดนเป็นประเทศแรกที่นำเอากฎหมายการสืบสันตติวงศ์โดยไม่คำนึงถึงเพศมาใช้ นอกจากจะทำให้เจ้าหญิงวิกตอเรียทรงเป็นรัชทายาทหญิงในราชบัลลังก์สวีเดนแล้ว ยังทำให้ได้ทรงเป็นสตรีพระองค์แรกในลำดับการสืบราชสมบัติ การเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญนี้ไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างมากจากพระมหากษัตริย์ ซึ่งทรงโปรดจะให้พระโอรสเป็นรัชทายาทลำดับที่ 1 และยังคงทรงมีความเห็นแบบนี้อยู่ เมื่อเจ้าหญิงทรงเป็นรัชทายาท ก็ยังทรงมีพระอิสริยยศเป็นดัชเชสแห่งวาสเตอร์เกิตลานด์ ซึ่งเป็นชื่อมณฑลที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของประเทศสวีเดนอีกด้วย

ก่อนการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ รัชทายาทในราชบัลลังก์ในตอนนั้นคือ เจ้าฟ้าชายคาร์ล ฟิลิป ดยุคแห่งแวร์มลานด์ พระอนุชาในเจ้าหญิง ตอนนี้พระองค์ทรงอยู่ในลำดับที่สองของการสืบราชสมบัติ นอกจากนี้ยังทรงมีพระกนิษฐาอีกพระองค์หนึ่งคือ เจ้าฟ้าหญิงเมดเดลีน ดัชเชสแห่งฮาลซิงลานด์และกาสตริคลานด์

[แก้] พระราชกรณียกิจ

เจ้าหญิงมกุฎราชกุมารีทรงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงพระราชอิสริยยศรัชทายาทแห่งราชบัลลังก์สวีเดนอย่างเป็นทางการในงานพระราชพิธี ณ ห้องโถงใหญ่ พระราชวังหลวงสต็อกโฮล์มในวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 โดยทรงกล่าวสุนทรพจน์ต่อหน้ารัฐสภาสวีเดน (Riksdag) เป็นครั้งแรก พระองค์ได้ทรงเสด็จเยือนต่างประเทศอย่างเป็นทางการในฐานะตัวแทนของราชอาณาจักรสวีเดนอยู่หลายครั้ง โดยครั้งแรกเป็นการเสด็จเยือนประเทศญี่ปุ่นช่วงฤดูใบไม้ร่วงในปี พ.ศ. 2544 ซึ่งได้เสด็จไปส่งเสริมการออกแบบของประเทศสวีเดน ต่อมาได้เสด็จเยือนโคโซโวในปี พ.ศ. 2545 ประเทศอียิปต์และสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2546 และในต้นปี พ.ศ. 2547 เจ้าหญิงมกุฎราชกุมารีได้เสด็จเยือนประเทศซาอุดีอาระเบีย ในฐานะที่ทรงเป็นส่วนหนึ่งในคณะผู้แทนทางธุรกิจอย่างเป็นทางการกลุ่มใหญ่จากสวีเดน หนึ่งในการเสด็จเยือนต่างประเทศเป็นการส่วนพระองค์ครั้งล่าสุดคือ การเยือนประเทศฮังการีในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2547 เพื่อเป็นประธานเปิดงานนิทรรศการ และการเสด็จเยือนประเทศออสเตรเลียอย่างเป็นทางการครั้งล่าสุดของพระองค์ก็เพื่อไปส่งเสิรมการออกแบบของประเทศสวีเดน ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2548 พระองค์ทรงเข้าร่วมการสัมมนาทางธุรกิจของสวีเดนและการฉลองวันสวีเดนที่กรุงอังการา ประเทศตุรกีในช่วงการเสด็จเยือนในทางประวัติศาสตร์ซึ่งจัดถวายโดยสถานทูตสวีเดน ณ กรุงอังการาและคณะมนตรีการค้าแห่งสวีเดน ณ กรุงอิสตันบูล และได้เสด็จเยี่ยมชมสถานที่ทางประวัติศาสตร์หลายแห่งในกรุงอิสตันบูล อาทิ มัสยิดสีน้ำเงิน พระราชวังทอปกาปีและโบสถ์ฮาเจียโซเฟีย นับเป็นการเยือนประเทศตุรกีอย่างเป็นทางการครั้งแรกของประเทศสวีเดนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2477

[แก้] การหมั้นหมายและอภิเษกสมรส

สื่อในประเทศสวีเดนได้ติดตามข่าวการหมั้นหมายและอภิเษกสมรสที่จะมีขึ้นของเจ้าหญิงวิกตอเรียมาเป็นหลายเวลาหลายปีนับแต่ทรงเริ่มมีความสัมพันธ์ และเมื่อในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ข่าวลือของการวางแผนงานอภิเษกสมรสซึ่งใกล้จะเกิดขึ้นกลายเป็นประเด็นสำคัญเกิดขึ้นก่อนหน้าในสภาคณะมนตรีระหว่างสมเด็จพระราชาธิบดีกับนายเฟรดริค ไรน์เฟลด์ นายกรัฐมนตรีแห่งสวีเดน[1] ทั้งนี้ภายใต้ข้อกำหนดของพระราชบัญญัติการสืบราชสันตติวงศ์แห่งสวีเดน รัฐบาลต้องเห็นชอบการอภิเษกสมรสของเจ้าชายหรือเจ้าหญิงแห่งสวีเดน ตามพระราชบัญชาของพระมหากษัตริย์ มิเช่นนั้นเจ้าชายหรือเจ้าหญิงพระองค์นั้นต้องสละสิทธิในลำดับการสืบราชสมบัติ ในเวลาต่อมาของวันเดียวกัน จึงเป็นที่ยืนยันว่าทรงมีพระบรมราชานุญาตออกมาและเจ้าหญิงวิกตอเรียจะทรงอภิเษกสมรสกับดาเนียล เวสต์ลิง ในช่วงฤดูร้อนของปี พ.ศ. 2553[2] วันอภิเษกสมรสได้กำหนดให้มีขึ้นในวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ณ มหาวิหารหลวง ในกรุงสต็อกโฮล์ม[3] ซึ่งเป็นการครบรอบปีที่ 34 ในการอภิเษกสมรสของสมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟ และสมเด็จพระราชินีซิลเวีย นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 และหลังจากการอภิเษกสมรส ดาเนียลจะได้รับการสถาปนาเป็น เจ้าชายดาเนียล ดยุคแห่งวาสเตอร์เกิตลานด์ (Prince Daniel, Duke of Västergötland)[4][5] นับว่าเป็นครั้งแรกของราชวงศ์สวีเดนที่บุรุษสามัญชนมาเข้าพิธีอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงรัชทายาทและได้รับพระราชทานฐานันดรศักดิ์ นอกจากนี้สมาชิกในราชวงศ์เบอร์นาด็อตซึ่งได้อภิเษกสมรสในวันเดียวกันคือ สมเด็จพระราชาธิบดีออสการ์ที่ 1 แห่งสวีเดน กับ ดัชเชสโยเซฟีนแห่งลอยช์เต็นแบร์ก เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2366 และ สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 15 แห่งสวีเดน กับ เจ้าหญิงหลุยส์แห่งเนเธอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2393[6]

[แก้] พระอิสริยยศ

  • พ.ศ. 2520 - พ.ศ. 2523: สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงวิกตอเรียแห่งสวีเดน (Her Royal Highness Princess Victoria of Sweden)
  • พ.ศ. 2523 - ปัจจุบัน: สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงมกุฎราชกุมารีแห่งสวีเดน ดัชเชสแห่งวาสเตอร์เกิตลันด์ (Her Royal Highness The Crown Princess of Sweden, Duchess of Västergötland)

[แก้] ราชตระกูล

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. กุสตาฟที่ 5 แห่งสวีเดน
 
 
 
 
 
 
 
8. กุสตาฟที่ 6 อดอล์ฟแห่งสวีเดน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
17. เจ้าหญิงวิกตอเรียแห่งบาเดิน
 
 
 
 
 
 
 
4. เจ้าชายกุสตาฟ อดอล์ฟ ดยุคแห่งวาสเตอร์บ็อตเต็น
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
18. เจ้าชายอาร์เธอร์ ดยุคแห่งคอนน็อต
 
 
 
 
 
 
 
9. เจ้าหญิงมาร์กาเร็ตแห่งคอนน็อต
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
19. เจ้าหญิงหลุยส์ มาร์กาเรเทแห่งปรัสเซีย
 
 
 
 
 
 
 
2. คาร์ลที่ 16 กุสตาฟแห่งสวีเดน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
20. เจ้าชายเลโอโพลด์ ดยุคแห่งออลบานี
 
 
 
 
 
 
 
10. เจ้าชายชาร์ลส์ เอ็ดเวิร์ด ดยุคแห่งแซ็กซ์-โคบูร์กและก็อตธา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
21. เจ้าหญิงเฮเลนาแห่งวัลเด็ค-ไพร์ม็อนท์
 
 
 
 
 
 
 
5. เจ้าหญิงซิบิลลาแห่งแซ็กซ์-โคบูร์กและก็อตธา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
22. เจ้าชายฟรีดริช เฟอร์ดินานด์, ดยุคแห่งแห่งชเลสวิก-โฮลชไตน์
 
 
 
 
 
 
 
11. เจ้าหญิงวิกตอเรีย อเดลไฮด์แห่งชเลสวิก-โฮลชไตน์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
23. เจ้าหญิงแคโรลีนแห่งชเลสวิก-โฮลชไตน์-ซอนเดอร์บูร์ก-ออกัสเต็นบูร์ก
 
 
 
 
 
 
 
1. เจ้าฟ้าหญิงวิกตอเรีย มกุฎราชกุมารีแห่งสวีเดน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
24. คาร์ล ซอมเมอร์ลาธ
 
 
 
 
 
 
 
12. โมริตซ์ ซอมเมอร์ลาธ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
25. แอนนา ทิลลี
 
 
 
 
 
 
 
6. วอลเธอร์ ซอมเมอร์ลาธ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
26. โยฮันน์ วาลเดา
 
 
 
 
 
 
 
13. แอร์นา วาลเดา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
27. โซฟี ชมิดท์
 
 
 
 
 
 
 
3. ซิลเวีย ซอมเมอร์ลาธ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
28. โฆอาคิม ฟลอเรียโน เด โตเลโด
 
 
 
 
 
 
 
14. อาร์เธอร์ ฟลอเรียโน เด โตเลโด
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
29. มาเรีย ฆูเลีย เด บารรอส
 
 
 
 
 
 
 
7. อลิซ โซอาเรส เด โตเลโด
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
30. เอมิเลียโน บัพติสตา โซอาเรส
 
 
 
 
 
 
 
15. เอลิซา โนวาอิส โซอาเรส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
31. โฆอากินา ดิอาส โนวาเอส
 
 
 
 
 
 

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ Engagement to be official today Dagens Nyheter, February 24, 2009
  2. ^ Crown Princess Victoria and Daniel Westling is Engaged, The Official Video on YouTube from The Royal Court, February 24, 2009
  3. ^ Crown Princess Victoria's Wedding Date Announced
  4. ^ Sweden's Future Queen to Marry Yahoo News, February 24, 2009
  5. ^ Engagement between Crown Princess Victoria and Daniel Westling. Swedish Royal Court (2009-02-24). สืบค้นวันที่ 2009-02-25
  6. ^ Royal wedding - June 19, 2010 (Royal Musings blog by Marlene Eilers Koenig)
สมัยก่อนหน้า เจ้าฟ้าหญิงวิกตอเรีย มกุฎราชกุมารีแห่งสวีเดน สมัยถัดไป
ไม่มี 2leftarrow.png ลำดับการสืบราชบัลลังก์แห่งสวีเดน
2rightarrow.png เจ้าฟ้าชายคาร์ล ฟิลิป
เจ้าฟ้าชายคาร์ล ฟิลิป 2leftarrow.png ลำดับการสืบราชบัลลังก์แห่งสหราชอาณาจักร
2rightarrow.png เจ้าฟ้าหญิงเมดเดลีน