พระมหาธรรมราชาที่ 1

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Lithai statue.png
พระมหาธรรมราชาที่ 1
พระบรมนามาภิไธย พระยาลิไท
พระปรมาภิไธย พระศรีสุริยพงศ์รามมหาราชาธิราช
พระอิสริยยศ พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัย
ราชวงศ์ ราชวงศ์พระร่วง
ครองราชย์ พ.ศ. 1890-พ.ศ. 1919
(โดยประมาณ)
ระยะครองราชย์ 29 ปี (โดยประมาณ)
รัชกาลก่อนหน้า พระยางั่วนำถุม
รัชกาลถัดไป พระมหาธรรมราชาที่ 2

พญาลิไท หรือ พระยาลิไท หรือ พระศรีสุริยพงศ์รามมหาราชาธิราช หรือพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ครองราชย์ พ.ศ. 1897 - พ.ศ. 1919) พระมหากษัตริย์อาณาจักรสุโขทัยราชวงศ์พระร่วงลำดับที่ 5 ทรงเป็นพระโอรสพระยาเลอไท และพระราชนัดดาของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

[แก้] พระราชประวัติ

พระยาลิไทเป็นกษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งกรุงสุโขทัย ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระยางั่วนำถุม เดิมทรงปกครองเมืองศรีสัชนาลัย ในฐานะองค์อุปราชหรือรัชทายาทเมืองสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ. 1882 ต่อมาเมื่อพระยาเลอไทเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 1884 พระยางั่วนำถุมได้ขึ้นครองราชย์จนเสด็จสวรรคตในพ.ศ. 1890 พระยาลิไทโดยต้องใช้กำลังทหารเข้ามายึดอำนาจเพราะที่สุโขทัยเกิดการกบฏการสืบราชบัลลังก์ ไม่เป็นไปตามครรลองครองธรรม พระยาลิไทยกทัพมาแย่งชิงราชสมบัติได้ และขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. 1890 ทรงพระนามว่า พระศรีสุริยพงศ์รามมหาธรรมราชาธิราช ในศิลาจารึกมักเรียกพระนามเดิมว่า "พญาลิไท" หรือเรียกย่อว่า พระมหาธรรมราชาที่ 1

1.พระมหาธรรมราชาลิไทพระองค์นี้ได้ทรงทราบพระไตรปิฎกแตกฉาน (ข้อนี้มีหนังสือไตรภูมิพระร่วง ที่ได้พิมพ์แล้วเป็นพยาน เป็นของพระมหาธรรมราชาลิไทให้แต่งขึ้น

[แก้] พระราชกรณียกิจ

พระยาลิไททรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมากนโยบายการปกครองที่ใช้ศาสนา เป็นหลักรวมความเป็นปึกแผ่นจึงเป็นนโยบายหลักในรัชสมัยนี้ ทรงสร้างเจดีย์ที่เมืองนครชุม (กำแพงเพชร) ทรงผนวชในพระพุทธศาสนาเมื่อ พ.ศ. 1905 ที่วัดป่ามะม่วงการที่ทรงออกผนวช นับว่าทำความมั่นคงให้พุทธศาสนามากขึ้น ดังกล่าวแล้วว่า หลังรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแล้ว บ้านเมืองแตกแยก วงการสงฆ์เองก็แตกแยก แต่ละสำนักแต่ละเมืองก็ปฏิบัติแตกต่างกันออกไป เมื่อผู้นำทรงมีศรัทธาแรงกล้าถึงขั้นออกบวช พสกนิกรทั้งหลายก็คล้อยตามหันมาเลื่อมใสตามแบบอย่างพระองค์ กิตติศัพท์ของพระพุทธศาสนาในสุโขทัยจึงเลื่องลือไปไกล พระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่หลายรูปได้ออกไปเผยแพร่ธรรมในแคว้นต่าง ๆ เช่น อโยธยา หลวงพระบาง เมืองน่าน พระเจ้ากือนา แห่งล้านนาไทย ได้นิมนต์พระสมณะเถระไปจากสุโขทัย เพื่อเผยแพร่ธรรม

นอกเมืองสุโขทัยทางทิศตะวันตก ทรงอาราธนาพระสามิสังฆราชจากลังกาเข้ามาเป็นสังฆราชในกรุงสุโขทัย เผยแพร่เพิ่มความเจริญให้แก่พระศาสนามากยิ่งขึ้น ทรงสร้างและบูรณะวัดมากมายหลายแห่ง รวมทั้งการสร้างพระพุทธรูปเป็นจำนวนมาก เช่น พระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา และพระพุทธรูปองค์สำคัญองค์หนึ่งของประเทศคือ พระพุทธชินราช ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร

พระยาลิไท ทรงปราดเปรื่องในความรู้ในพระพุทธศาสนา ทรงมีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฎก พระองค์ได้ทรงแบ่งพระสงฆ์ออกเป็น 2 ฝ่ายคือฝ่าย "คามวาสี" และฝ่าย "อรัญวาสี" โดยให้ฝ่ายคามวาสีเน้นหนักการสั่งสอนราษฎรในเมืองและเน้นการศึกษาพระไตรปิฎก ส่วนฝ่ายอรัญวาสีเน้นให้หนักด้านการวิปัสสนาและประจำอยู่ตามป่าหรือชนบท ด้วยทรงเป็นองค์อุปถัมภ์พระศาสนาตลอดพระชนม์ชีพ ราษฎรจึงถวายพระนามว่า "พระมหาธรรมราชา"

นอกจากศาสนาพุทธแล้ว พญาลิไทยังทรงอุปถัมภ์ศาสนาพราหมณ์ด้วยโดยทรงสร้างเทวรูปขนาดใหญ่หลายองค์ซึ่งยังเหลือปรากฏให้ศึกษาในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในกรุงเทพมหานครและที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดพิษณุโลก

ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญหลายประการ เช่น สร้างถนนพระร่วงตั้งแต่เมืองศรีสัชนาลัยผ่านกรุงสุโขทัยไปถึงเมืองนครชุม (กำแพงเพชร) บูรณะเมืองนครชุม สร้างเมืองสองแคว (พิษณุโลก) เป็นเมืองลูกหลวง

ด้านอักษรศาสตร์ทรงพระปรีชาสามารถนิพนธ์หนังสือไตรภูมิพระร่วงที่นับเป็นงานนิพนธ์ที่เก่าแก่ที่สุดเรื่องหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย

[แก้] ดูเพิ่ม

สมัยก่อนหน้า พระมหาธรรมราชาที่ 1 สมัยถัดไป
พระยางั่วนำถุม
ราชวงศ์พระร่วง
2leftarrow.png พระมหากษัตริย์ไทย
อาณาจักรสุโขทัย

(พ.ศ. 1897 - พ.ศ. 1919)
2rightarrow.png พระมหาธรรมราชาที่ ๒ (ลือไท)
ราชวงศ์พระร่วง
Crystal Clear app Login Manager.png พระมหาธรรมราชาที่ 1 เป็นบทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ พระมหาธรรมราชาที่ 1 ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ
ภาษาอื่น