วัดมัชฌันติการาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

วัดมัชฌันติการาม เป็นวัดราษฎร์ หน้าวัดติดกับคลองบางเขนใหม่โดยมีซอยวงศ์สว่าง 11 ผ่านเขตแยกวัดกับโรงเรียนวัดมัชฌันติการามอยู่คนละฝั่งซอย เลขที่วัด 102 วัดมัชฌันติการาม ถนนวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ

เจ้าจอมมารดาเที่ยง ผู้ได้ให้การอุปถัมภ์ในการสร้างวัด เริ่มต้นนั้นไม่ทราบแน่ชัดว่าสร้างในสมัยใด มีผู้สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เจ้าจอมมารดาเที่ยง เจ้าจอมมารดาในรัชกาลที่ 4ทรงเข้ามาอุปถัมภ์ในปีพุทธศักราช 2417 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานนามว่า “วัดมัชฌันติการาม” เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ ่เจ้าจอมมารดาเที่ยง ผู้ทรงอุปถัมภ์ต่อการสร้างวัด

วัดมัชฌันติการาม (วัดน้อย) ได้สร้างมาเมื่อใดไม่มีประวัติปรากฏชัดเจนจึงยากที่จะทราบประวัติความเป็นมาที่ถูกต้อง จากการเล่าสู่กันมาของคนในท้องถิ่น ประกอบกับหลักฐานที่พอจะรวบรวมได้ในปัจจุบันคือ วัดนี้เริ่มสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เป็นวัดป่าที่ล้อมไปด้วยสวนทุเรียนกล้วย หมาก ส้ม ในสมัยนั้นยังไม่มีชื่ออย่างเป็นทางการ แต่เป็นสถนที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ของพระธุดงค์ที่ผ่านไปมา มีพระอยู่บ้างไม่มีบ้าง

จนมาถึงพุทธศักราช 2417 เจ้าจอมมารดาเที่ยงเจ้าจอมมารดาในรัชกาลที่ 4เป็นองค์อุปถัมภ์ในการก่อสร้างศาสนวัตถุต่างๆ เพื่อจะให้เป็นวัดที่ถูกต้องตามพระวินัยและกฎหมายบ้านเมือง การสร้างวัดได้มาสำเร็จบริบูรณ์ในสมัยนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงรับเป็นพระธุระในการผูกพัทธสีมา และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “วัดมัชฌันติการาม”

เมื่อสิ้นบุญเจ้าจอมมารดาเที่ยงแล้ว ก็มีเจ้าจอมมารดาแสร์ พระบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอภันตรีปชาและจางวางตุ่มเป็นผู้ให้การอุปถัมภ์สืบต่อ ๆ กันมาตามลำดับจนมาถึงประชาชนทั่วไปให้การอุปถัมภ์ดังที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบันเนื่องจากสมัยก่อนการคมนาคมเหมือนในปัจจุบันเมื่อเจ้านายจะเสด็จไปทางน้ำ เจ้าจอมมารดาเที่ยงก็เช่นเดียวกัน รวมทั้งเจ้านายองค์อื่น ๆ เมื่อเสด็จมาวัดมัชฌันติการามก็เสด็จมาทางเรือ โดยอาศัยคลองบางเขนใหม่ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของวัด จึงเป็นที่มาของการสร้างอุโสถหันหน้าไปทางทิศตะวันตก อุโบสถได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พุทธศักราช 2418 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 40 เมตร ยาว 60 เมตร

การตั้งชื่อวัดนั้นก็เนื่องมาจาก เจ้าจอมมารดาเที่ยงเป็นผู้อุปถัมภ์ ในรัชกาลที่ 5 จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “มัชฌันติการาม” ตามชื่อของผู้อุปถัมภ์ในการสร้างวัด คือ มัชฌันติก และอารามซึ่งแปลตมาตัวว่า เที่ยง และ วัด เมื่อรวมกันจึงแปลได้ว่า “วัดของเจ้าจอมมารดาเที่ยง” คนส่วนมากชอบเรียกว่า วัดน้อย เพราะง่ายต่อการออกเสียงกว่าคำว่าวัดมัชฌันติการาม สันนิษฐานว่าการเรียกวัดน้อยนี้ เพราะเป็นวัดของเจ้าจอมมารดาในรัชกาลที่ 4 ซึ่งให้การอุปถัมภ์ ชาวบ้านทั่วไปถือว่า เป็นนางสนม เพื่อให้เข้าใจง่ายคู่กับวัดหลวง ซึ่งเป็นวัดของภรรยาหลวงให้การอุปถัมภ์เช่นเดียวกัน (อยู่ในซอยถัดไป ปัจจุบันวัดหลวงไม่มี เหลือแต่ที่ดินของวัด ซึ่งสำนักงานศาสนสมบัติ สำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นผู้ดูแล เนื่องจากการคมนาคมไม่สะดวกในสมัยก่อน จึงมีพระอยู่จำพรรษาไม่กี่รูปต้องไปนิมนต์พระจากวัดอื่นมาอยู่จำพรรษา เช่น วัดราชาธิวาส วัดปทุมวนาราม วัดราชบพิธ และวัดบวรนิเวศวิหาร จนต่อมามีการตัดถนนวงศ์สว่างผ่านด้านหลังวัด ทางวัดพร้อมด้วยอุบาสกอุบาสิกา มีลุงแม้น-ป้าทองใบ ใบสนและราษฎรผู้มีจิตศรัทธา ช่วยกันบริจาคที่ดินตัดถนนเข้าวัดในสมัยพระครูวิจิตรธรรมสาร (อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ 7)

หลังจากนั้นทางวัดได้ขออนุญาตเปิดโรงเรียนพระปริยัติธรรมทั้งแผนกนักธรรมและบาลีขึ้น โดยเป็นสาขาของวัดบวรนิเวศวิหาร จึงเป็นเหตุให้มีพระภิกษุสามเณรเข้ามาศึกษาเล่าเรียนเป็นจำนวนมาก ในแต่ละปีมีพระภิกษุสามเณรสอบได้ทั้งนักธรรมและบาลีเป็นจำนวนมาก จนได้รับการยกย่องจากพระเถรานุเถระชั้นผู้ใหญ่ตลอดมา

ปัจจุบันที่ดินวัดโฉนดเลขที่ 75465,75465 เดิมมีเนื้อที่ทั้งหมด 19 ไร่ 2 งาน 70 ตารางวา ต่อมาในปี พ.ศ. 2543 ได้มีคุณแม่อำพันธ์ (น้อย) – คุณพิไลลักษณ์ นาคเจริญ และคุณสมพงษ์ ทองทั่ว ถวายที่ดินเพิ่มอีก 1 งาน 19 ตารางวา รวมทั้งที่ดินที่ทางวัดมีโครงการจะซื้อต่อออกไปอีกเพื่อทำสวนธรรม ขณะอยู่ระหว่างรวบรวมปัจจัย ปัจจุบันวัดมีเนื้อที่โดย ประมาณ 24 ไร่

[แก้] รายนามเจ้าอาวาส

  • 1.พระครูธรรมสารวิจิตร (หลวงปู่อ่อน ญาณเตโช) พ.ศ. 2440 - 2457
  • 2.พระอาจารย์กล่อม พ.ศ. 2458 – 2460
  • 3.พระอาจารย์สำราญ พ.ศ. 2461 – 2464
  • 4.หลวงตาอินทร์ พ.ศ. 2465 – 2468
  • 5.พระครูชม (มาจากวัดราชบพิธ) พ.ศ. 2469 – 2475
  • 6.พระอาจารย์คำภา พ.ศ. 2476 – 2486
  • 7.พระครูวิจิตรธรรมสาร (วิสุธรรม จนฺทสาโร น.ธ.โท,ป.ธ.4) พ.ศ. 2487 – 2540
  • 8.ดร.พระครูธีรสารปริยัติคุณ (เดช กตปุญโญ น.ธ.เอก,ป.ธ.3,ศน.บ.M.A.,Ph.D) พ.ศ. 2540 - ปัจจุบัน

[แก้] สำนักนารีพรต

พระพุทธศาสนาเปิดโอกาสให้ทั้งกุลบุตรกลธิดา ผู้หวังความสงบเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาทั้งเป็นพระภิกษุ ภิกษุณี สามเณร แม่ชี เพื่อให้ทุกคนได้ศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้อย่างเท่าเทียมกัน วัดมัขฌันติการามได้รับการสถาปนาอย่างเป็นทางการมาตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๑๗ ตั้งแต่นั้นมามีพระภิกษุ สามเณร เดินทางมีศึกษาพระปริยัติธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่วัดแห่งนี้เป็นจำนวนมากแต่อีกด้านหนึ่งคือ กุลธิดา ผู้มีศรัทธาต่อพุทธศาสนา ต้องการเข้ามาศึกษาธรรมของพระพุทธองค์ เพื่อ หาอุบายใจการจำจิตใจของตนให้สะอาดสว่าง สงบ ตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา แต่ไม่มีสถาสที่เหมาะสมต่อการศึกษาทั้งปริยะติและปฏิบัติ ในระหว่างปีพุทธศักราช ๒๔๘๐-๒๔๘๖ วัดมัชฌันติการามว่างเว้นจากเจ้าอาวาส พระเดชพระคุณพระพรหมมุนี จากวัดบวรนิเวศวิหารในฐานะเจ้าคุณกรุงเทพมหานคร ได้เมตตาเข้ามารักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดมัขฌันติการาม ได้ตระหนักต่อความศรัทธาของอุบาสิกาที่ต้องการเข้ามาสู่ร่มเงาของพระพุทธศาสนา แต่ยังหาที่อยู่ประจำไม่ได้ ประกอบกับมีผู้มีจิตศรัทธา คือ ญาติของ คุณนพรัตน์ สมจิตร์ อดีตมัคคทายกวัดมัขฌันติการาม เป็นผู้มีจิตศรัทธา บริจาคจตุปัจจัยมาในการสร้างเสนาสนะต่าง ๆ ท่านมีเมตตาต่อทางสำนักชีอย่างเต็มใจยิ่ง ได้บอกบุญไปยังผู้มีจิตศรัทธา บริจาคปัจจัยในการก่อสร้างศาลาการเปรียญ และกฏิรับรอง พร้อมส่งผู้เชียวขาญด้านนวกรรมมาดูแลการก่อสร้างทั้งหมด ที่เป็นหัวใจของสำนักชี คือ ศาลาการเปรียญหรือหาสวดมนต์ปัจจุบัน จนเสร็จสมบูรณ์ดังเห็นในปัจจุบัน พร้อมทั้งหาแม่ชีที่มีจารวัตรเรียบร้อยมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าแม่ชี เพื่อดูแลความเรียบร้อยต่าง ๆ พระเดชพระคุณได้ประทานนามสำนักชีให้ เพื่อความเป็นศิริมงคลแก่สำนักชีที่ตั้งขึ้นใหม่คือ สำนักนารีพรต พร้อมทั้งตั้งหัวหน้าแม่ชี เพื่อ ดูแลปกครองความเรียบร้อยต่าง ๆ เป็นลำดับมา คือ

  • 1. แม่ชีเงิน เจริญทรัพย์ พ.ศ. ๒๔๘๗ - ๒๕๒๓
  • 2. แม่ชีลูกจันทร์ อิ่มประมูล พ.ศ. ๒๕๒๔ - ๒๕๔๑
  • 3. แม่ชีทิพย์วรรณ สีม่วง พ.ศ. ๒๕๔๒ - ๒๕๔๘
  • 4. แม่ชีสุรางค์ แสวงศิลป์ชัย ๒๕๔๘- ปัจจุบัน

ปัจจุบันสำนักนารีพรตสังกัดวัดมัขฌันติการาม เปิดรับกุลสตรีผู้มีความประสงค์เข้ามาบวชเนกขัมมะ เพื่อหาอุบายในการสงบใจและเจริญวิปัสสนากรรมฐานแก่บุคลทั่วไป ผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามได้ที่หัวหน้าแม่ชี สำนักนารีพรตได้ ปัจจะบันสำนักนารีพรตมีเนื้อที่ ๒ ไร่ ๒ งาน


[แก้] อ้างอิง